สรุปผลการสัมมนาในโครงการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง กระบวนการตรวจสอบศาลและองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งจัดโดยคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2566
(ตอนที่ 2)
ผู้ร่วมสัมมนา
ศาสตราจารย์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์
อดีตประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ 2550
และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ผมมีประเด็นที่อยากจะพูดคือ ที่มาของมาตรา 213 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ที่เป็นปัญหามีประเด็นในทางกฎหมาย 2-3 ประเด็น บางประเด็นเกี่ยวเนื่องกับรัฐธรรมนูญ บางประเด็นเกี่ยวเนื่องกับ พรบ. ศาลรัฐธรรมนูญ ประเด็นที่เกี่ยวกับศาลรัฐธรรมนูญคือแบบนี้ รัฐธรรมนูญ ผู้ใดได้รับกระทบสิทธิกายภาพจากการกระทำให้ฟ้องศาลรัฐธรรมนูญได้
คำว่าผู้ใดหมายถึงประชาชน ไม่ใช่หมายถึงหน่วยงานของรัฐ หลักนี้เป็นหลักทั่วไปที่ใช้ในศาลรัฐธรรมนูญและศาลปกครอง ก็คือเขาสร้างศาลขึ้นไม่ได้ให้หน่วยงานของรัฐมาฟ้องประชาชน เขาสร้างศาลขึ้นเพื่อให้ประชาชนฟ้องหน่วยงานของรัฐ ผมยกตัวอย่างท่านจะได้เห็นภาพ นาย ก ถูกผู้บังคับบัญชาลงโทษทางวินัย ต่อมานาย ก ก็ถูกลงโทษ นาย ก ก็ไปฟ้อง กพค. หรือคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม คำถามคือถ้าคณะกรรมการกพค.ระบุให้นาย ก ไม่ผิด ผู้บังคับบัญชาบอกว่าผิด กพค.บอกไม่ผิด ผู้บังคับบัญชามีสิทธิ์ไปฟ้องศาลปกครองบอกว่านาย ก ผิด ไม่ได้หรอก หลักของเราคือหน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ฟ้องประชาชนไม่ได้ หลักนี้จะเป็นหลักทั่วไป ซึ่งผมคิดว่าใช้กับมาตรา 213 ด้วย
คนที่ไปฟ้องศาลรัฐธรรมนูญ มาตรา 213 ได้มีเรื่องเกี่ยวข้อง 3 เรื่องคือ 1. พระราชบัญญัติศาลปกครอง 2. ระเบียบศาลปกครอง 3. มติศาลปกครอง เขาไปฟ้องว่ามติ ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เขาไม่ได้ฟ้อง พ.ร.บ เขาไม่ได้ฟ้องระเบียบศาล มาตรา 41 ของ พ.ร.บ. ศาลปกครองเขียนว่า อายุความในการฟ้องคดีหรือ 5 ปี 5 ปีเกิดปัญหาขึ้น ตอนที่เกิดเรื่องโฮปเวลล์ ศาลปกครองยังไม่เปิด มันก็เลยเถียงกันว่า 5 ปีนับตั้งแต่รู้ โฮปเวลล์ เขารู้ตั้งแต่ก่อนศาลปกครองเปิด ถูกไหม ถ้านับตั้งแต่รู้ก่อนศาลปกครองเปิด 5 ปีมันเร็วมาก รู้แต่ศาลปกครองเปิด 5 ปี รู้มาก่อนละ 2 ปี รวมกัน 5 ปี แต่คำถามคือเรานับอย่างนี้ได้ไหม ที่เถียงกันในการพิพากษาก็คือว่า ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่าต้องนับตั้งแต่ศาลปกครองเปิด แล้วก็มติของที่ประชุมใหญ่ของศาลปกครองเขาว่าอย่างนี้ แต่ว่าศาลรัฐธรรมนูญไปแจ้งความว่ามติของศาลปกครองสูงสุด มีค่าเท่าระเบียบ ถามว่ามติกับระเบียบต่างกันยังไง กฎหมายก็ไปเขียนถ้าเป็นระเบียบต้องส่งสภาผู้แทนราษฎร ถ้าเป็นมติไม่ต้องส่ง แต่ถ้าบอกว่ามติเกี่ยวพันกับคนทั่วไป มตินี้ก็มีสาระเทียบเท่าระเบียบนั่นเองเพราะงั้นต้องส่งสภา เมื่อไม่ส่งสภา ศาลรัฐธรรมนูญก็ตัดสินว่าไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
แต่คำถามใหญ่ที่ถามคือ เมื่อกี้ผมพูดไปแล้วนะ 1 ผู้ใด นี่ต้องหมายถึงประชาชน 2 ผู้นั้นต้องถูกกระทบสิทธิเสรีภาพ ถามว่าเขาถูกกระทบสิทธิเสรีภาพอะไร กระทรวงคมนาคม การรถไฟแห่งประเทศไทย คุณถูกกระทบสิทธิเสรีภาพอะไร เขาอาจจะถูกกระทบสิทธิเสรีภาพก็ได้ แต่เนื้อหาที่ไปฟ้อง ไม่ได้ฟ้องเรื่องกระทบสิทธิเสรีภาพเลย เนื้อหาที่ไปฟ้องคือ ฟ้องเรื่องว่ามติของที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุดขัดรัฐธรรมนูญ
การที่ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินแบบนี้ไม่ใช่ครั้งแรก และไม่ใช่ครั้งสุดท้าย แต่ท่านทั้งหลายคงได้ยินประโยคที่ว่า ตุลาการภิวัตน์ เวลาศาลตัดสินเสร็จ ศาลตัดสินผิด ศาลอาจจะเกิดจากศาลสำคัญผิดในข้อเท็จจริงข้อกฎหมาย คือศาลตัดสินไปด้วยเจตนาบริสุทธิ์ แต่ศาลตัดสินผิด เพราะว่าศาลมีมูลเหตุชักจูงใจ มีเรื่องคอร์รัปชั่น มีเรื่องรู้ก็เป็นไปได้ คือศาลเอาปัจจัยภายนอกที่ไม่ใช่กฎหมายมาคำนึง ศาลเอาเรื่องนโยบาย ศาลเอาเรื่องความรู้สึกทางสังคมมาตัดสิน อันเนี้ยที่เป็นปัญหาใหญ่ของศาล ไม่ใช่เฉพาะศาลรัฐธรรมนูญ ยกตัวอย่างเช่น ศาลยุติธรรมก็เคยตัดสินใช่มั้ยว่า คนดูแลป่าช้าสามารถครอบครองปรปักษ์ป่าช้าได้ ก็แย่มาก
สมัยก่อนศาลยุติธรรมเคยตัดสินว่า การสร้างสะพานลอยหน้าบ้านคน เป็นการละเมิดคน แต่ต่อมาศาลก็กลับคำพิพากษาว่า การสร้างสะพานลอยหน้าบ้านคน กทม.สามารถทำได้ ผมยกตัวอย่างไว้อย่างนี้เพื่อจะบอกท่านว่า เรากำลังพูดถึงเรื่องว่าศาลตัดสินผิด ได้ครับ แต่การตัดสินที่ผิดของศาล ต้องไม่ใช่เรื่องจิต ไม่ใช่เรื่องการรับเรียกเงิน ไม่ใช่เรื่องการตัดสินโดยเอาปัจจัยภายนอก มาเป็นตัวชี้ขาด
คดีโฮปเวลล์ ผมมองเจตนามองความเห็นของคนไม่ได้ เราไม่รู้หรอกว่าศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยังไง ศาลปกครองตัดสินยังไง แต่ว่าคดีนี้ ถ้าท่านตามข่าว รัฐบาลต้องคืนเงิน 11,000 ล้านบาทบวกดอกเบี้ย 7.5% ถ้าศาลรัฐธรรมนูญไม่กลับคำพิพากษาไม่ลงแบบนี้ ต้องจ่ายกันไปละเรียบร้อยแล้ว เพราะฉะนั้นในเชิงแบบนี้คำถามใหญ่ที่เป็นคำถามว่า ศาลรัฐธรรมนูญ นอกจากดูตัวบทกฎหมาย แล้วดูเม็ดเงินได้ไหม
(ยังมีต่อโปรดติดตามตอนที่ 3)
อดีตประธานสสร.วิพากษ์กระบวนการยุติธรรมควรตัดสินจากตัวบทกฎหมายมากกว่าปัจจัยภายนอก
(ตอนที่ 2)
ผู้ร่วมสัมมนา
ศาสตราจารย์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์
อดีตประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ 2550
และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ผมมีประเด็นที่อยากจะพูดคือ ที่มาของมาตรา 213 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ที่เป็นปัญหามีประเด็นในทางกฎหมาย 2-3 ประเด็น บางประเด็นเกี่ยวเนื่องกับรัฐธรรมนูญ บางประเด็นเกี่ยวเนื่องกับ พรบ. ศาลรัฐธรรมนูญ ประเด็นที่เกี่ยวกับศาลรัฐธรรมนูญคือแบบนี้ รัฐธรรมนูญ ผู้ใดได้รับกระทบสิทธิกายภาพจากการกระทำให้ฟ้องศาลรัฐธรรมนูญได้
คำว่าผู้ใดหมายถึงประชาชน ไม่ใช่หมายถึงหน่วยงานของรัฐ หลักนี้เป็นหลักทั่วไปที่ใช้ในศาลรัฐธรรมนูญและศาลปกครอง ก็คือเขาสร้างศาลขึ้นไม่ได้ให้หน่วยงานของรัฐมาฟ้องประชาชน เขาสร้างศาลขึ้นเพื่อให้ประชาชนฟ้องหน่วยงานของรัฐ ผมยกตัวอย่างท่านจะได้เห็นภาพ นาย ก ถูกผู้บังคับบัญชาลงโทษทางวินัย ต่อมานาย ก ก็ถูกลงโทษ นาย ก ก็ไปฟ้อง กพค. หรือคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม คำถามคือถ้าคณะกรรมการกพค.ระบุให้นาย ก ไม่ผิด ผู้บังคับบัญชาบอกว่าผิด กพค.บอกไม่ผิด ผู้บังคับบัญชามีสิทธิ์ไปฟ้องศาลปกครองบอกว่านาย ก ผิด ไม่ได้หรอก หลักของเราคือหน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ฟ้องประชาชนไม่ได้ หลักนี้จะเป็นหลักทั่วไป ซึ่งผมคิดว่าใช้กับมาตรา 213 ด้วย
คนที่ไปฟ้องศาลรัฐธรรมนูญ มาตรา 213 ได้มีเรื่องเกี่ยวข้อง 3 เรื่องคือ 1. พระราชบัญญัติศาลปกครอง 2. ระเบียบศาลปกครอง 3. มติศาลปกครอง เขาไปฟ้องว่ามติ ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เขาไม่ได้ฟ้อง พ.ร.บ เขาไม่ได้ฟ้องระเบียบศาล มาตรา 41 ของ พ.ร.บ. ศาลปกครองเขียนว่า อายุความในการฟ้องคดีหรือ 5 ปี 5 ปีเกิดปัญหาขึ้น ตอนที่เกิดเรื่องโฮปเวลล์ ศาลปกครองยังไม่เปิด มันก็เลยเถียงกันว่า 5 ปีนับตั้งแต่รู้ โฮปเวลล์ เขารู้ตั้งแต่ก่อนศาลปกครองเปิด ถูกไหม ถ้านับตั้งแต่รู้ก่อนศาลปกครองเปิด 5 ปีมันเร็วมาก รู้แต่ศาลปกครองเปิด 5 ปี รู้มาก่อนละ 2 ปี รวมกัน 5 ปี แต่คำถามคือเรานับอย่างนี้ได้ไหม ที่เถียงกันในการพิพากษาก็คือว่า ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่าต้องนับตั้งแต่ศาลปกครองเปิด แล้วก็มติของที่ประชุมใหญ่ของศาลปกครองเขาว่าอย่างนี้ แต่ว่าศาลรัฐธรรมนูญไปแจ้งความว่ามติของศาลปกครองสูงสุด มีค่าเท่าระเบียบ ถามว่ามติกับระเบียบต่างกันยังไง กฎหมายก็ไปเขียนถ้าเป็นระเบียบต้องส่งสภาผู้แทนราษฎร ถ้าเป็นมติไม่ต้องส่ง แต่ถ้าบอกว่ามติเกี่ยวพันกับคนทั่วไป มตินี้ก็มีสาระเทียบเท่าระเบียบนั่นเองเพราะงั้นต้องส่งสภา เมื่อไม่ส่งสภา ศาลรัฐธรรมนูญก็ตัดสินว่าไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
แต่คำถามใหญ่ที่ถามคือ เมื่อกี้ผมพูดไปแล้วนะ 1 ผู้ใด นี่ต้องหมายถึงประชาชน 2 ผู้นั้นต้องถูกกระทบสิทธิเสรีภาพ ถามว่าเขาถูกกระทบสิทธิเสรีภาพอะไร กระทรวงคมนาคม การรถไฟแห่งประเทศไทย คุณถูกกระทบสิทธิเสรีภาพอะไร เขาอาจจะถูกกระทบสิทธิเสรีภาพก็ได้ แต่เนื้อหาที่ไปฟ้อง ไม่ได้ฟ้องเรื่องกระทบสิทธิเสรีภาพเลย เนื้อหาที่ไปฟ้องคือ ฟ้องเรื่องว่ามติของที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุดขัดรัฐธรรมนูญ
การที่ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินแบบนี้ไม่ใช่ครั้งแรก และไม่ใช่ครั้งสุดท้าย แต่ท่านทั้งหลายคงได้ยินประโยคที่ว่า ตุลาการภิวัตน์ เวลาศาลตัดสินเสร็จ ศาลตัดสินผิด ศาลอาจจะเกิดจากศาลสำคัญผิดในข้อเท็จจริงข้อกฎหมาย คือศาลตัดสินไปด้วยเจตนาบริสุทธิ์ แต่ศาลตัดสินผิด เพราะว่าศาลมีมูลเหตุชักจูงใจ มีเรื่องคอร์รัปชั่น มีเรื่องรู้ก็เป็นไปได้ คือศาลเอาปัจจัยภายนอกที่ไม่ใช่กฎหมายมาคำนึง ศาลเอาเรื่องนโยบาย ศาลเอาเรื่องความรู้สึกทางสังคมมาตัดสิน อันเนี้ยที่เป็นปัญหาใหญ่ของศาล ไม่ใช่เฉพาะศาลรัฐธรรมนูญ ยกตัวอย่างเช่น ศาลยุติธรรมก็เคยตัดสินใช่มั้ยว่า คนดูแลป่าช้าสามารถครอบครองปรปักษ์ป่าช้าได้ ก็แย่มาก
สมัยก่อนศาลยุติธรรมเคยตัดสินว่า การสร้างสะพานลอยหน้าบ้านคน เป็นการละเมิดคน แต่ต่อมาศาลก็กลับคำพิพากษาว่า การสร้างสะพานลอยหน้าบ้านคน กทม.สามารถทำได้ ผมยกตัวอย่างไว้อย่างนี้เพื่อจะบอกท่านว่า เรากำลังพูดถึงเรื่องว่าศาลตัดสินผิด ได้ครับ แต่การตัดสินที่ผิดของศาล ต้องไม่ใช่เรื่องจิต ไม่ใช่เรื่องการรับเรียกเงิน ไม่ใช่เรื่องการตัดสินโดยเอาปัจจัยภายนอก มาเป็นตัวชี้ขาด
คดีโฮปเวลล์ ผมมองเจตนามองความเห็นของคนไม่ได้ เราไม่รู้หรอกว่าศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยังไง ศาลปกครองตัดสินยังไง แต่ว่าคดีนี้ ถ้าท่านตามข่าว รัฐบาลต้องคืนเงิน 11,000 ล้านบาทบวกดอกเบี้ย 7.5% ถ้าศาลรัฐธรรมนูญไม่กลับคำพิพากษาไม่ลงแบบนี้ ต้องจ่ายกันไปละเรียบร้อยแล้ว เพราะฉะนั้นในเชิงแบบนี้คำถามใหญ่ที่เป็นคำถามว่า ศาลรัฐธรรมนูญ นอกจากดูตัวบทกฎหมาย แล้วดูเม็ดเงินได้ไหม
(ยังมีต่อโปรดติดตามตอนที่ 3)