ประวัติศาสตร์การอภิวัฒน์การศึกษาไทย 2538 ที่มาของรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยเพื่อปฏิรูปประเทศไทย 2540 โดยสันติวิธี

กระทู้สนทนา
https://ppantip.com/topic/42344098 กระทู้เก่ามีปัญหา จึงมาตั้งกระทู้ใหม่  ข้าพเจ้าเลือก tag จากคำแนะนำทุกครั้งนะคะ งงค่ะที่มีปัญหา

ปี2538คุณพ่อสขุวิช รังสิตพล ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการพบว่า ค่าเฉลี่ยการศึกษาประเทศไทยมีระดับเพียง 5.3 ปี หรือ ต่ำกว่าประถม 6 แรงงานไทยร้อยละ 79.1จึงเป็นแรงงานไร้ฝีมือและยากจน ประชาชนต้องตัดสินกันด้วยปืนแทนกฎหมาย

สะท้อนว่ากระทรวงศึกษาธิการไม่สามารถจัดบริการการศึกษาทั่วถึง เมื่อลงพื้นที่ตรวจสอบพบว่าคนไทย อายุ 3-17 ปี จานวน 4.35 ล้านคน เป็นผู้ “ตกหล่น” ทาง การศึกษา หมายถึง ไม่มีโอกาสได้เข้าเรียน หรือแม้ได้เข้าเรียนแต่ออกกลางครันได้เรียนต่อเนื่องตามสิทธิ 6 ปี ตามรัฐธรรมนูญ2534

คุณพ่อสขุวิช รังสิตพลในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธกิารจึงต้องอภิวัฒน์การศึกษาไทย ด้วยการประกาศใช้ “แผนแม่บทนโยบายปฏิรูปการศึกษายุคโลกาภิวัฒน์ 2538:เพื่อเตรียมพร้อมพลเมือง ไทยสาหรับศตวรรษท่ี 21” เมื่อ ธันวาคม 2538 

เพื่อปฏิรูปสถานศึกษา ปฏิรูปครู ปฏิรูปการเรียนการสอน และ ปฏิรูประบบบริหารจัดการสถานศึกษา เพื่อให้สถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการซึ่งมีนักเรียนในระบบ12.33ล้านคน ได้รับบริการการศึกษาที่ดีมีคุณภาพ ครูผู้สอนได้รับการแก้ไขปัญหา มีความพร้อมและความสุขในการสอน เปลี่ยนการสอนเป็นแนวทางยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง อนุมัติให้มีการจัดทำพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ห้องสมุด ศูนย์การเรียนรู้หลายหมื่นเเห่งทุกท้องถิ่นทั่วประเทศไทย และ กระจายงบประมาณ กระจายอำนาจให้สถานศึกษา จัดบรรจุบุคลากร บริหารงบประมาณ และ จัดซื้อจัดจ้างได้เอง เพื่อแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำในการจัดบริการการศึกษา 

และ ได้นำกฎหมายปี 2491 มาใช้รับรองเพื่อให้กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาเบิกได้จริงเมื่อ มกราคม 2539 โดยมีเจตนารมณ์ในการยกหนี้ให้ผู้ที่เรียนจบจริง เพื่อป้องกันการนำเงินทุนไปใช้ในธุรกรรมอื่น

แต่กระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้นมีไม่มีทรัพยากรพอ คุณพ่อสุขวิชในฐานะรองนายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงมอบให้สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แก้ไขแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่7 โดยนำแผนอภิวัฒน์การศึกษาไทย2538 เพิ่มเติมไปในแผน

การแก้ไขแผนจากส่วนกลางมีปัญหาในการปฏิบัติการ คุณพ่อสุขวิช รังสิตพล จึงคิดกระบวนทัศน์ใหม่ในการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่8 

แผนพัฒนาฯฉบับท่ี 8 เป็นแผนปฏิรูปความคิดและคุณค่าใหม่ของสังคมไทย เน้นให้ “คนเป็น ศูนย์กลางของการพัฒนา” โดยให้เศรษฐกิจเป็นเพียงเครื่องมือช่วยพัฒนาให้คนมีความสุขและมีคุณภาพ ชีวิตที่ดีขึ้น หรือการปฏิรูปการศึกษาแบบบูรณาการ 

แผนพัฒนาฯฉบับท่ี 8 ได้ปรับเปลี่ยนนวิธีการพัฒนาประเทศมาเป็นการพัฒนาแบบองค์รวม มีกระบวนการ ที่จะเชื่อมโยงมิติต่างๆ ของการพัฒนา ประเทศ ตลอดจนเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายร่วมจัดทำแผน

แผนพัฒนาฯฉบับท่ี 8 เร่ิมใช้จริงวันท่ี 1 ตุลาคม 2539 ตามมติคณะรัฐมนตรี23ตุลาคม2539 ในการแปลงแผนเป็นคู่มือปฏิบัติการ และเพียง 180 วัน หลังจากเร่ิมใช้แผนพัฒนาฯ8 กระทรวงศึกษาธิการรสามารถรับตกหล่น ทั่วทุกภูมิภาคเข้าเรียนได้ทุกคน 

เด็กตกหล่นช่วงวัย3-5ปีได้เข้าเรียน7แสนคน เด็กตกหล่นช่วงวัย6-11ปีได้เข้าเรียน6.5แสนคน เด็กตกหล่นช่วงวัย12-14ปีได้เข้าเรียน1ล้านคน และเด็กตกหล่นช่วงวัย15-17ปีได้เข้าเรียน2ล้านคน

มีการเปิดโรงเรียนใหม่ 2,685 แห่ง ,เปิดสถาบันอาชีวะ 278 แห่ง เป็นต้น และ ปรับปรุงสถานศึกษา 29,845แห่ง อาคารเรียน 38,112 หลัง อาคารเอนกประสงค์ 12,227 หลัง และห้องน้ำสะอาดถูกสุขลักษณะ 11,257 หลังสาหรับเด็กในระบบเดิม12.33ล้านคน รวมถึงผลิตน้ำบริโภคอุปโภคใช้ในสถานศึกษาและแบ่งปันชุมชนใกล้เคียง เป็นต้น

การอภิวัฒน์การศึกษาไทย2538 นับเป็นจุดเร่ิมต้นการบริหารการศึกษาแบบนิติบุคคลในประเทศไทยคร้ังแรกอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยความร่วมมือของสถานศึกษา ผู้ปกครอง เอกชน รัฐบาล องค์กรระหว่างประเทศ และอื่นๆ 

การอภิวัฒน์การศึกษาไทย2538ได้รับรางวัลจากประเทศฟิลิปปินส์ 1รางวัลในปี2539 และ รางวัลUNESCOด้านการศึกษา3 รางวัลระหว่างปี2540-2541

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับท่ี 8 คือจุดเร่ิมต้นของการ ขับเคลื่อนพลังทางสังคมให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างกว้างใหญ่ และนำไปสู่การสร้าง แนวคิดพื้นฐานในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2540 ซึ่งกำหนดให้จัดทำกฎหมายลูกประกอบ รัฐธรรมนูญด้านการศึกษา ภายหลังจึงมีการจัดทำพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542

ภายหลัง Professor James Heckman เจ้าของรางวัลโนเบลด้านเศรษฐศาสตร์ในปี ค.ศ. 2000 หรือ 2543 ระบุว่าเด็กในช่วงวัย 0-5 ขวบหากได้รับ การพัฒนาที่ถูกต้องและทั่วถึง (โดยเฉพาะเด็กจากครอบครัวที่ไม่พร้อม) แล้วจะก่อให้เกิดผลตอบแทนต่อสังคม ร้อยละ 7-12 ทุกปี 





แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่