วันที่ 3 พฤศจิกายน 2566 ดาวพฤหัสบดีจะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ (Jupiter Opposition) หมายถึง ตำแหน่งที่ดวงอาทิตย์ โลก และดาวพฤหัสบดี เรียงอยู่ในเส้นตรงเดียวกัน มีโลกอยู่ตรงกลาง ส่งผลให้ดาวพฤหัสบดีอยู่ในตำแหน่งใกล้โลกที่สุดในรอบปี ห่างจากโลกประมาณ 595 ล้านกิโลเมตร
ในวันดังกล่าว เมื่อดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า ดาวพฤหัสบดีจะปรากฏสว่างทางทิศตะวันออก สังเกตได้ด้วยตาเปล่า นานตลอดคืนจนถึงรุ่งเช้า
ถ้าฟ้าเปิด ใครมีกล้องดูดาว ไม่ถึงกับต้องมีคุณภาพดีมาก ลองเอามาส่องดูครับ มาดูดวงจันทร์ Galilean moons ดวงจันทร์ใหญ่ทั้ง 4 ของดาวพฤหัส
มีความสุขทุกครั้งเวลาตั้งกล้องดู ทั้งดาวพฤหัส และดาวเสาร์ ดาวพฤหัส นั่นจะมีของแถมมาด้วยคือ ดวงจันทร์ใหญ่ทั้ง 4 ดวง "Galilean moons"
ส่วนใครมีกล้องคุณภาพสูงๆ ก็มาดูพายุหมุน จุดแดงยักษ์ กันครับ (ส่วนตัวหมดสิทธิ กล้องที่มี เห็นแค่ดวงจันทร์ทั้ง 4 จุดแดงยักษ์หมดสิทธิ
)
:- (เครดิต) ขออนุญาติ และขอขอบคุณ NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
ดาวพฤหัสบดีใกล้โลกที่สุดในรอบปี
ในวันดังกล่าว เมื่อดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า ดาวพฤหัสบดีจะปรากฏสว่างทางทิศตะวันออก สังเกตได้ด้วยตาเปล่า นานตลอดคืนจนถึงรุ่งเช้า
ถ้าฟ้าเปิด ใครมีกล้องดูดาว ไม่ถึงกับต้องมีคุณภาพดีมาก ลองเอามาส่องดูครับ มาดูดวงจันทร์ Galilean moons ดวงจันทร์ใหญ่ทั้ง 4 ของดาวพฤหัส
มีความสุขทุกครั้งเวลาตั้งกล้องดู ทั้งดาวพฤหัส และดาวเสาร์ ดาวพฤหัส นั่นจะมีของแถมมาด้วยคือ ดวงจันทร์ใหญ่ทั้ง 4 ดวง "Galilean moons"
ส่วนใครมีกล้องคุณภาพสูงๆ ก็มาดูพายุหมุน จุดแดงยักษ์ กันครับ (ส่วนตัวหมดสิทธิ กล้องที่มี เห็นแค่ดวงจันทร์ทั้ง 4 จุดแดงยักษ์หมดสิทธิ)
:- (เครดิต) ขออนุญาติ และขอขอบคุณ NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)