ที่มาของข่าว :-
https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_4941222
เนื้อหา :-
คืน 7-8 ธ.ค.ชมดาวพฤหัสฯใกล้โลกที่สุดในรอบปี ห่าง 611 ล้านกม.สดร.ตั้งกล้องให้ส่องทั่วประเทศ
วันที่ 6 ธันวาคม สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) หรือ NARIT แจ้งว่า คืนวันที่ 7 ธันวาคม นี้ สดร. ชวนชม ดาวพฤหัสบดีใกล้โลกที่สุดในรอบปี ผ่านกล้องโทรทรรศน์ 6 จุดสังเกตการณ์หลัก กรุงเทพฯ เชียงใหม่ โคราช ขอนแก่น ฉะเชิงเทรา และสงขลา
โดยคืนวันที่ 7-8 ธันวาคม 2567 ดาวพฤหัสบดีจะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ (Jupiter Opposition) หมายถึง ตำแหน่งที่ดวงอาทิตย์ โลก และดาวพฤหัสบดี เรียงอยู่ในเส้นตรงเดียวกัน มีโลกอยู่ตรงกลาง ส่งผลให้ดาวพฤหัสบดีอยู่ในตำแหน่งใกล้โลกที่สุดในรอบปี ห่างจากโลกประมาณ 611.76 ล้านกิโลเมตร ในวันดังกล่าว เมื่อดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า ดาวพฤหัสบดีจะปรากฏสว่างทางทิศตะวันออก สังเกตได้ด้วยตาเปล่า นานตลอดคืนจนถึงรุ่งเช้า
หากมองผ่านกล้องโทรทรรศน์ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 นิ้ว ที่มีกำลังขยายตั้งแต่ 30 เท่าขึ้นไป จะสามารถสังเกตเห็น “ดวงจันทร์กาลิเลียน” ทั้ง 4 ดวง ได้แก่ ไอโอ ยูโรปา แกนีมีด คัลลิสโต รวมถึง “แถบเมฆ” ที่สวยงามของดาวพฤหัสบดี และหากใช้กำลังขยาย 100 เท่าขึ้นไป จะสามารถเห็น “จุดแดงใหญ่” พายุหมุนยักษ์ที่มีขนาดใหญ่กว่าโลกถึง 1.3 เท่า ได้อย่างชัดเจน
เมื่อวานนี้ใครพลาดชม วันนี้ยังมีโอกาสอีกวันครับ ใครมีกล้องดูดาว ก็สามารถตั้งดูได้เลย ใครไม่มี หรือมีแค่กล้องส่องทางไกลก็เอามาดูได้ครับ
ถ้าฟ้าเปิดชัดๆ ไม่มีแสงไฟรบกวน เพ่งมองดีๆอาจจะได้ดวงจันทร์ของดาวพฤหัส 3 ดวงครับ
คืน 7-8 ธ.ค.ชมดาวพฤหัสใกล้โลกที่สุดในรอบปี ห่าง 611 ล้านกม.สดร.ตั้งกล้องให้ส่องทั่วประเทศ
เนื้อหา :-
คืน 7-8 ธ.ค.ชมดาวพฤหัสฯใกล้โลกที่สุดในรอบปี ห่าง 611 ล้านกม.สดร.ตั้งกล้องให้ส่องทั่วประเทศ
วันที่ 6 ธันวาคม สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) หรือ NARIT แจ้งว่า คืนวันที่ 7 ธันวาคม นี้ สดร. ชวนชม ดาวพฤหัสบดีใกล้โลกที่สุดในรอบปี ผ่านกล้องโทรทรรศน์ 6 จุดสังเกตการณ์หลัก กรุงเทพฯ เชียงใหม่ โคราช ขอนแก่น ฉะเชิงเทรา และสงขลา
โดยคืนวันที่ 7-8 ธันวาคม 2567 ดาวพฤหัสบดีจะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ (Jupiter Opposition) หมายถึง ตำแหน่งที่ดวงอาทิตย์ โลก และดาวพฤหัสบดี เรียงอยู่ในเส้นตรงเดียวกัน มีโลกอยู่ตรงกลาง ส่งผลให้ดาวพฤหัสบดีอยู่ในตำแหน่งใกล้โลกที่สุดในรอบปี ห่างจากโลกประมาณ 611.76 ล้านกิโลเมตร ในวันดังกล่าว เมื่อดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า ดาวพฤหัสบดีจะปรากฏสว่างทางทิศตะวันออก สังเกตได้ด้วยตาเปล่า นานตลอดคืนจนถึงรุ่งเช้า
หากมองผ่านกล้องโทรทรรศน์ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 นิ้ว ที่มีกำลังขยายตั้งแต่ 30 เท่าขึ้นไป จะสามารถสังเกตเห็น “ดวงจันทร์กาลิเลียน” ทั้ง 4 ดวง ได้แก่ ไอโอ ยูโรปา แกนีมีด คัลลิสโต รวมถึง “แถบเมฆ” ที่สวยงามของดาวพฤหัสบดี และหากใช้กำลังขยาย 100 เท่าขึ้นไป จะสามารถเห็น “จุดแดงใหญ่” พายุหมุนยักษ์ที่มีขนาดใหญ่กว่าโลกถึง 1.3 เท่า ได้อย่างชัดเจน
เมื่อวานนี้ใครพลาดชม วันนี้ยังมีโอกาสอีกวันครับ ใครมีกล้องดูดาว ก็สามารถตั้งดูได้เลย ใครไม่มี หรือมีแค่กล้องส่องทางไกลก็เอามาดูได้ครับ
ถ้าฟ้าเปิดชัดๆ ไม่มีแสงไฟรบกวน เพ่งมองดีๆอาจจะได้ดวงจันทร์ของดาวพฤหัส 3 ดวงครับ