นับตั้งแต่ กาลิเลโอ ค้นพบ ดวงจันทร์ยูโรปา มา ปัจจุบันยังไม่มียานอวกาศลำใดที่ไปสำรวจและศึกษา ดวงจันทร์ ยูโรปา โดยตรง ข้อมูลต่างๆของ ดวงจันทร์ยูโรปา ล้วนมาจากยานที่ไปสำรวจดาวพฤหัสทั้งสิ้น
วันที่ 20 ส.ค. 2520 NASA ส่งยาน Voyager 2 ขึ้นสู่อวกาศ และเข้าสู่วงโคจรรอบดาวพฤหัส ในวันที่ 8 กรกฎาคม 2522 เพื่อทำ Gravity Assist ในการที่จะใช้แรงโน้มถ่วงของ ดาวพฤหัส เหวี่ยงยานไปยังดาวยูเรนัส ก่อนที่ใช้แรงโน้มถ่วงของ ดาวยูเรนัส เหวี่ยงนานไปยังดาวเนปจูน และทำ Gravity Assist ครั้งสุดท้ายเพื่อเหวี่ยงยานออกนอกระบบสุริยะ และระหว่างที่ยานทำ Gravity Assist ที่ดาวพฤหัส ยานก็ได้ถ่ายภาพดวงจันทร์ยูโรปา กลับโลกในวันที่ 9 ก.ค. พ.ศ. 2522 ซึ่งคือภาพนี้
ซึ่งในภาพเผยให้เห็นรอยขีดข่วนที่เป็นลักษณะเด่นของดวงจันทร์ยูโรปา ซึ่งเป็นแนวสันเขา ตัดกับพื้นน้ำแข็ง ที่แตกออกเป็นเสี่ยงๆ ซึ่งเทคโนโลยีของยาน Voyager ในตอนนั้นไม่สามารถทำให้เห็นรายละเอียดของพื้นน้ำแข็งมากนัก และนี่ก็เป็นข้อมูลแรกของดวงจันทร์ยูโรปา
หลังจากนั้นในปี พ.ศ 2532 NASA ได้ส่งยานกาลิเลโอไปสำรวจดาวพฤหัส ซึ่งใช้เวลากว่า 6 ปี ในการที่ยานจะเดินทางเข้าสู่วงโคจรรอบดาวพฤหัส คือ ในวันที่ 8 ธันวาคม 2538 ยานเดินทางเข้าสู่วงโคจรรอบดาวพฤหัส ก่อนที่ในปี 2541 ยานได้ถ่านภาพความละเอียดสูงของดวงจันทร์ยูโรปากลับมายังโลก ดังภาพนี้
ซึ่งใช้เทคโนโลยีการถ่ายภาพที่มีความละเอียดมากขึ้น เผยให้เห็นสีที่ถูกต้องของพื้นน้ำแข็งของดาว ช่วยยืนยันความถูกต้องของข้อมูลจากยาน Voyager 2 อีกที
ก่อนที่ต่อมา วันที่ 5 สิงหาคม พ ศ. 2554 NASA ได้ปล่อยยาน Juno ขึ้นสู่อวกาศ มุ่งหน้าไปสำรวจดาวพฤหัสบดี และยานได้เข้าสู่วงโคจรรอบดาวพฤหัส เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2559 ( 4 ปี 10 เดือน 29 วัน นับจากวันปล่อยขึ้นสู่อวกาศ) และวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2565 ยานได้ถ่ายภาพดวงจันทร์ยูโรปา กลับมายังโลก ซึ่งเป็นข้อมูลล่าสุดของดวงจันทร์ยูโรปา และเป็นภาพถ่ายที่มีความละเอียดคมชัดมากที่สุดคือภาพนี้
และในปีนี้ คือวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ.2567 NASA ก็จะปล่อยยาน Europa Clipper ขึ้นสู่อวกาศ โดยจะเป็นยานอวกาศลำแรกที่ไปศึกษาและสำรวจ ดวงจันทร์ยูโรปา โดยตรง ซึ่งจากข้อมูลของดวงจันทร์ยูโรปาที่มีในตอนนี้ ทำให้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าบนดวงจันทร์ของดาวพฤหัสดวงนี้ อาจะมีมหาสมุทรอยู่ใต้เปลือกน้ำแข็ง ซึ่งอาจมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้ ดังนั้นโครงการนี้จึงเน้นไปที่การศึกษาถึงสภาพแวดล้อมที่สิ่งมีชีวิตจะสามารถอาศัยอยู่ได้ รวมถึงศึกษาองค์ประกอบทางเคมีที่อาจจะก่อให้เกิดสิ่งมีชีวิตได้ นั่นคือการศึกษาวัดปริมาณธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน และ ซัลเฟอร์ รวมถึงศึกษาผลกระทบที่ดวงจันทร์ดวงนี้ได้รับจากแรงโน้มถ่วงมหาศาลของดาวพฤหัส และดวงจันทร์บริวารขนาดใหญ่อีก 3 ดวง โดยอุปกรณ์ที่ติดตั้งไปในยานมีดังนี้
Europa Imaging System (EIS) เป็นระบบถ่ายภาพ ซึ่งประกอบด้วยกล้อง wide-angle camera (WAC) ซึ่งเป็นกล้องถ่ายภาพมุมกว้าง และกล้อง narrow-angle camera (NAC) ซึ่งเป็นกล้องถ่ายภาพมุมแคบ กล้องแต่ละตัวมีเซ็นเซอร์ 8 เมกะพิกเซล ที่ไวต่อความยาวของคลื่นแสงในช่วงที่ตามมองเห็นได้ จนถึงช่วงคลื่นใกล้อินฟราเรด และอัลตราไวโอเลต โดกล้อง NAC สามารถหมุนได้ 60 องศาบนแกน 2 แกน ทั้งกล้อง WAC และ กล้อง NAC จะทำงานร่วมกันเพื่อสร้างภาพสามมิติและมีฟิลเตอร์สำหรับสร้างภาพสี
Europa Thermal Emission Imaging System (E-THEMIS) กล้องถ่ายภาพความร้อนโดยใช้แสงอินฟาเรดเพื่อแยกแยะบริเวณที่มีอุณภูมิแตกต่างกัน ซึ่งจะทำให้ทราบได้ว่าน้ำที่เป็นของเหลวที่มีอุณหภูมิสูงกว่าบริเวณที่เป็นน้ำแข็งอยู่ใกล้พื้นผิวหรืออาจปะทุขึ้นสู่พื้นผิว
Spectrometry อุปกรณ์ตรวจจับองค์ประกอบทางเคมีของพื้นผิว ซึ่งจะทำให้ทราบได้ว่าพื้นผิวประกอบด้วยธาตุอะไรบ้าง เนื่องจากว่าอะตอมของธาตุแต่ละชนิดจะมีความสามารถดูกลืนคลื่นแสงที่ความยาวคลื่นที่แตกต่างกัน
Europa Ultraviolet Spectrograph (Europa-UVS) อุปกรณ์รวมแสงอัลตราไวโอเลต ซึ่งจะตรวจสอบองค์ประกอบของชั้นบรรยากาศของดาว รวมถึงกิจกรรมของกลุ่มควัน แก๊ส และก้อนเมฆต่างๆ
Mapping Imaging Spectrometer for Europa (MISE) กล้องถ่ายภาพอินฟาเรด สำหรับทำแผนที่การกระจายตัวของน้ำ เกลือ และสารอินทรีย์ต่างๆ
Plasma and Magnetic Field อุปกรณ์ตรวจจับพลาสมา และสนามแม่เหล็กของดาวพฤหัสที่ส่งผลต่อดวงจันทร์ยูโรปา
Europa Clipper Magnetometer (ECM) อุปกรณ์ตรวจวัดสนามแม่เหล็กของดวงจันทร์ยูโรปา
Plasma Instrument for Magnetic Sounding (PIMS) คือ ถ้วยฟาราเดย์ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่จะตรวจวัดพลาสมาที่ถูกกักเก็บไว้ในชั้นบรรยากาศของดาวพฤหัส ซึ่งจะทำให้สนามแม่เหล็กบริเวณใกล้ดวงจันทร์ยูโรปาบิดเบือนไป ซึ่งตะทำให้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับมหาสมุทรของดวงจันทร์ยูโรปา
Radar & Gravity อุปกรณ์ตรวจวัดแรงโน้มถ่วงและเรดาร์วิเคราะห์องค์ประกอบของวัตถุภายใต้เปลือกน้ำแข็ง
Gravity/Radio Science อุปกรณ์ตรวจจับปรากฏการณ์ดรอบเพลอร์ เพื่อตรวจวัดอิทธิพลจากแนวโน้มถ่วงของดาวพฤหัสที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของดวงจันทร์ยูโรปาจากการโคจรเป็นวงรีรอบดาวพฤหัส ซึ่งมีทั้งช่วงที่อยู่ใกล้และไกลจากดาวพฤหัส
Radar for Europa Assessment and Sounding: Ocean to Near-surface (REASON) เรดาร์ตรวจจับและค้นมหาสมุทรภายใต้เปลือกน้ำแข็งจากการตรวจจับคลื่นเสียงสะท้อน
MAss Spectrometer for Planetary EXploration/Europa (MASPEX) สเป็กโตรมิเตอร์สำวิเคราะห์แก๊สในบรรยากาศ และศึกษาองค์ประกอบของมหาสมุทร
SUrface Dust Analyzer (SUDA) อุปกรณ์วิเคราะห์ฝุ่นบนพื้นผิว
โดยสามารถชมการถ่ายทอดสดการปล่อยยานได้ที่ช่อง YouTube ของ NASA :
https://www.youtube.com/live/lQToTWKwtuw?si=IS9rq-9o_4FnL5GA
ภาพจำลองยาน Europa Clipper
ข้อมูลจาก :
NASA
https://europa.nasa.gov/spacecraft/instruments/
https://europa.nasa.gov/
https://www.nasa.gov/missions/europa-clipper/nasas-juno-gets-highest-resolution-close-up-of-jupiters-moon-europa/
https://www.jpl.nasa.gov/images/pia00459-europa-during-voyager-2-closest-approach/
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
https://www.narit.or.th/index.php/astronomy-news/1187-europa-clipper
10 ตุลาคม นี้ NASA เตรียมส่งยาน Europa Clipper สำรวจดวงจันทร์ Europa ของดาวพฤหัส
วันที่ 20 ส.ค. 2520 NASA ส่งยาน Voyager 2 ขึ้นสู่อวกาศ และเข้าสู่วงโคจรรอบดาวพฤหัส ในวันที่ 8 กรกฎาคม 2522 เพื่อทำ Gravity Assist ในการที่จะใช้แรงโน้มถ่วงของ ดาวพฤหัส เหวี่ยงยานไปยังดาวยูเรนัส ก่อนที่ใช้แรงโน้มถ่วงของ ดาวยูเรนัส เหวี่ยงนานไปยังดาวเนปจูน และทำ Gravity Assist ครั้งสุดท้ายเพื่อเหวี่ยงยานออกนอกระบบสุริยะ และระหว่างที่ยานทำ Gravity Assist ที่ดาวพฤหัส ยานก็ได้ถ่ายภาพดวงจันทร์ยูโรปา กลับโลกในวันที่ 9 ก.ค. พ.ศ. 2522 ซึ่งคือภาพนี้
ซึ่งในภาพเผยให้เห็นรอยขีดข่วนที่เป็นลักษณะเด่นของดวงจันทร์ยูโรปา ซึ่งเป็นแนวสันเขา ตัดกับพื้นน้ำแข็ง ที่แตกออกเป็นเสี่ยงๆ ซึ่งเทคโนโลยีของยาน Voyager ในตอนนั้นไม่สามารถทำให้เห็นรายละเอียดของพื้นน้ำแข็งมากนัก และนี่ก็เป็นข้อมูลแรกของดวงจันทร์ยูโรปา
หลังจากนั้นในปี พ.ศ 2532 NASA ได้ส่งยานกาลิเลโอไปสำรวจดาวพฤหัส ซึ่งใช้เวลากว่า 6 ปี ในการที่ยานจะเดินทางเข้าสู่วงโคจรรอบดาวพฤหัส คือ ในวันที่ 8 ธันวาคม 2538 ยานเดินทางเข้าสู่วงโคจรรอบดาวพฤหัส ก่อนที่ในปี 2541 ยานได้ถ่านภาพความละเอียดสูงของดวงจันทร์ยูโรปากลับมายังโลก ดังภาพนี้
ซึ่งใช้เทคโนโลยีการถ่ายภาพที่มีความละเอียดมากขึ้น เผยให้เห็นสีที่ถูกต้องของพื้นน้ำแข็งของดาว ช่วยยืนยันความถูกต้องของข้อมูลจากยาน Voyager 2 อีกที
ก่อนที่ต่อมา วันที่ 5 สิงหาคม พ ศ. 2554 NASA ได้ปล่อยยาน Juno ขึ้นสู่อวกาศ มุ่งหน้าไปสำรวจดาวพฤหัสบดี และยานได้เข้าสู่วงโคจรรอบดาวพฤหัส เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2559 ( 4 ปี 10 เดือน 29 วัน นับจากวันปล่อยขึ้นสู่อวกาศ) และวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2565 ยานได้ถ่ายภาพดวงจันทร์ยูโรปา กลับมายังโลก ซึ่งเป็นข้อมูลล่าสุดของดวงจันทร์ยูโรปา และเป็นภาพถ่ายที่มีความละเอียดคมชัดมากที่สุดคือภาพนี้
และในปีนี้ คือวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ.2567 NASA ก็จะปล่อยยาน Europa Clipper ขึ้นสู่อวกาศ โดยจะเป็นยานอวกาศลำแรกที่ไปศึกษาและสำรวจ ดวงจันทร์ยูโรปา โดยตรง ซึ่งจากข้อมูลของดวงจันทร์ยูโรปาที่มีในตอนนี้ ทำให้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าบนดวงจันทร์ของดาวพฤหัสดวงนี้ อาจะมีมหาสมุทรอยู่ใต้เปลือกน้ำแข็ง ซึ่งอาจมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้ ดังนั้นโครงการนี้จึงเน้นไปที่การศึกษาถึงสภาพแวดล้อมที่สิ่งมีชีวิตจะสามารถอาศัยอยู่ได้ รวมถึงศึกษาองค์ประกอบทางเคมีที่อาจจะก่อให้เกิดสิ่งมีชีวิตได้ นั่นคือการศึกษาวัดปริมาณธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน และ ซัลเฟอร์ รวมถึงศึกษาผลกระทบที่ดวงจันทร์ดวงนี้ได้รับจากแรงโน้มถ่วงมหาศาลของดาวพฤหัส และดวงจันทร์บริวารขนาดใหญ่อีก 3 ดวง โดยอุปกรณ์ที่ติดตั้งไปในยานมีดังนี้
Europa Imaging System (EIS) เป็นระบบถ่ายภาพ ซึ่งประกอบด้วยกล้อง wide-angle camera (WAC) ซึ่งเป็นกล้องถ่ายภาพมุมกว้าง และกล้อง narrow-angle camera (NAC) ซึ่งเป็นกล้องถ่ายภาพมุมแคบ กล้องแต่ละตัวมีเซ็นเซอร์ 8 เมกะพิกเซล ที่ไวต่อความยาวของคลื่นแสงในช่วงที่ตามมองเห็นได้ จนถึงช่วงคลื่นใกล้อินฟราเรด และอัลตราไวโอเลต โดกล้อง NAC สามารถหมุนได้ 60 องศาบนแกน 2 แกน ทั้งกล้อง WAC และ กล้อง NAC จะทำงานร่วมกันเพื่อสร้างภาพสามมิติและมีฟิลเตอร์สำหรับสร้างภาพสี
Europa Thermal Emission Imaging System (E-THEMIS) กล้องถ่ายภาพความร้อนโดยใช้แสงอินฟาเรดเพื่อแยกแยะบริเวณที่มีอุณภูมิแตกต่างกัน ซึ่งจะทำให้ทราบได้ว่าน้ำที่เป็นของเหลวที่มีอุณหภูมิสูงกว่าบริเวณที่เป็นน้ำแข็งอยู่ใกล้พื้นผิวหรืออาจปะทุขึ้นสู่พื้นผิว
Spectrometry อุปกรณ์ตรวจจับองค์ประกอบทางเคมีของพื้นผิว ซึ่งจะทำให้ทราบได้ว่าพื้นผิวประกอบด้วยธาตุอะไรบ้าง เนื่องจากว่าอะตอมของธาตุแต่ละชนิดจะมีความสามารถดูกลืนคลื่นแสงที่ความยาวคลื่นที่แตกต่างกัน
Europa Ultraviolet Spectrograph (Europa-UVS) อุปกรณ์รวมแสงอัลตราไวโอเลต ซึ่งจะตรวจสอบองค์ประกอบของชั้นบรรยากาศของดาว รวมถึงกิจกรรมของกลุ่มควัน แก๊ส และก้อนเมฆต่างๆ
Mapping Imaging Spectrometer for Europa (MISE) กล้องถ่ายภาพอินฟาเรด สำหรับทำแผนที่การกระจายตัวของน้ำ เกลือ และสารอินทรีย์ต่างๆ
Plasma and Magnetic Field อุปกรณ์ตรวจจับพลาสมา และสนามแม่เหล็กของดาวพฤหัสที่ส่งผลต่อดวงจันทร์ยูโรปา
Europa Clipper Magnetometer (ECM) อุปกรณ์ตรวจวัดสนามแม่เหล็กของดวงจันทร์ยูโรปา
Plasma Instrument for Magnetic Sounding (PIMS) คือ ถ้วยฟาราเดย์ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่จะตรวจวัดพลาสมาที่ถูกกักเก็บไว้ในชั้นบรรยากาศของดาวพฤหัส ซึ่งจะทำให้สนามแม่เหล็กบริเวณใกล้ดวงจันทร์ยูโรปาบิดเบือนไป ซึ่งตะทำให้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับมหาสมุทรของดวงจันทร์ยูโรปา
Radar & Gravity อุปกรณ์ตรวจวัดแรงโน้มถ่วงและเรดาร์วิเคราะห์องค์ประกอบของวัตถุภายใต้เปลือกน้ำแข็ง
Gravity/Radio Science อุปกรณ์ตรวจจับปรากฏการณ์ดรอบเพลอร์ เพื่อตรวจวัดอิทธิพลจากแนวโน้มถ่วงของดาวพฤหัสที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของดวงจันทร์ยูโรปาจากการโคจรเป็นวงรีรอบดาวพฤหัส ซึ่งมีทั้งช่วงที่อยู่ใกล้และไกลจากดาวพฤหัส
Radar for Europa Assessment and Sounding: Ocean to Near-surface (REASON) เรดาร์ตรวจจับและค้นมหาสมุทรภายใต้เปลือกน้ำแข็งจากการตรวจจับคลื่นเสียงสะท้อน
MAss Spectrometer for Planetary EXploration/Europa (MASPEX) สเป็กโตรมิเตอร์สำวิเคราะห์แก๊สในบรรยากาศ และศึกษาองค์ประกอบของมหาสมุทร
SUrface Dust Analyzer (SUDA) อุปกรณ์วิเคราะห์ฝุ่นบนพื้นผิว
โดยสามารถชมการถ่ายทอดสดการปล่อยยานได้ที่ช่อง YouTube ของ NASA : https://www.youtube.com/live/lQToTWKwtuw?si=IS9rq-9o_4FnL5GA
ภาพจำลองยาน Europa Clipper
ข้อมูลจาก :
NASA
https://europa.nasa.gov/spacecraft/instruments/
https://europa.nasa.gov/
https://www.nasa.gov/missions/europa-clipper/nasas-juno-gets-highest-resolution-close-up-of-jupiters-moon-europa/
https://www.jpl.nasa.gov/images/pia00459-europa-during-voyager-2-closest-approach/
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
https://www.narit.or.th/index.php/astronomy-news/1187-europa-clipper