อาหารที่ทำให้เสี่ยงเป็นนิ่ว และทำอย่างไรไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ

อาหารเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคนิ่วในบริเวณต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นถุงน้ำดี ไต อวัยวะทางเดินปัสสาวะ แม้ว่าผู้ที่ได้รับการรักษาผ่าตัดแล้วไม่ปรับพฤติกรรมรับประทานอาหารตามคำแนะนำของแพทย์ ก็สามารถกลับมาเป็นซ้ำใหม่ได้ และต้องสูญเสียเวลา ค่าใช้จ่าย รวมทั้งความเสี่ยงของอาการที่อาจจะมีความรุนแรงเพิ่มสูงขึ้น นำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนหรือโรคอื่น ถึงขั้นติดเชื้อในกระแสโลหิต เสียชีวิตในเวลาต่อมา
 

อาหารที่มีออกซาเลตสูง

แคลเซียมชนิดหนึ่งที่เป็นสารก่อนิ่ว โดยร่างกายไม่สามารถดูดซึมได้ จึงมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นในปัสสาวะ เช่น

- ช็อกโกแลต
- ปวยเล้ง
- ผักโขม
- หน่อไม้
- ผักชีฝรั่ง
- มันเทศ
- ถั่วชนิดต่าง ๆ
- งา
- น้ำชา
 
 
อาหารโซเดียมสูง

เป็นตัวกระตุ้นปริมาณแคลเซียมในปัสสาวะให้สูงขึ้น โดยเฉพาะอาหารสำเร็จรูปต่าง ๆ ในผลิตภัณฑ์กระป๋อง แช่แข็ง เช่น

- บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
- ผักดองกระป๋อง
- ข้าวกล่องที่ต้องผ่ากรรมวิธีอุ่นโดยใช้เครื่องไมโครเวฟตามร้านสะดวกซื้อ
- น้ำพริกหรือซอส
- ขนมขบเคี้ยว

นอกจากนี้ยังมีโซเดียมแฝงที่มีปริมาณสูง แต่รสชาติไม่ค่อยมีความเค็ม โดยเฉพาะเนื้อสัตว์แปรรูปและเบเกอรี่ ได้แก่

- ไส้กรอก
- หมูยอ
- กุนเชียง
- เนย
- ชีส
- ขนมปัง
- เค้ก
- คุกกี้
- น้ำอัดลม
- เครื่องดื่มชูกำลัง

เนื้อสัตว์ที่ไขมันสูง

จะไปเพิ่มปริมาณของกรดยูริก ลดระดับของซิเตรตที่ป้องกันนิ่วในร่างกาย รวมทั้งเกิดคอเลสเตอรอลที่น้ำดีขับออกไม่หมดจนตกตะกอน โดยเฉพาะตรงส่วนหนังและเครื่องใน ไม่ว่าจะเป็นโปรตีนจาก

- หมู
- ไก่
- เป็ด
- ตับ
- เซี่ยงจี๊
- ปลาซาร์ดีน
- หอย
- นม
 

ป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำของโรคนิ่ว

- หลีกเลี่ยงอาหารในกลุ่มที่กล่าวมาข้างต้น
- ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
- รับประทานผัก ผลไม้ ธัญพืช หรือแคลเซียมเสริม
- ออกกำลังกายประเภทคาร์ดิโอ ตามศักยภาพของร่างกาย
- ควบคุมน้ำหนักให้มีดัชนีมวลอยู่ในเกณฑ์ระดับปกติ
- ทำกิจกรรมนันทนาการเพื่อผ่อนคลายความเครียด เช่น รับชมภาพยนตร์ ฟังเพลง เล่นดนตรี เป็นต้น
 

หลังผ่าตัดนิ่วผู้ป่วยจะมีอาการไม่สบายท้อง เจ็บ ปวด หรือถ่ายบ่อย เพราะการย่อยไขมันในร่างกายยังไม่ปกติ ทั้งนี้ควรได้รับวิตามินซีไม่เกิน 500 มิลลิกรัมต่อวัน เพราะอาจจะไปเพิ่มปริมาณออกซาเลตได้ รวมทั้งหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่ รวมทั้งหากมีความผิดปกติต้องรีบมาพบแพทย์ทันที
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่