ถัดจาก “สัปเหร่อ” ก็ถึงเวลาของ “ธี่หยด” กันบ้าง ตัวภาพยนตร์มีกระแสมาได้ระยะหนึ่งก่อนเข้าฉายแล้ว ซึ่งตัวต้นทางมาจากเรื่องเล่าในตำนานของกระทู้หนึ่งใน Pantip เมื่อปี พ.ศ. 2558 (ประมาณเกือบ 10 ปีเอง ไม่น่าถึงขั้นตำนาน ฮ่าๆ) เป็นเรื่องราวสยองขวัญที่เกิดขึ้นในชนบทของจังหวัดหนึ่ง ซึ่งเอาเข้าจริงสิ่งที่ทำให้เรื่องนี้น่าสนใจที่สุด เห็นทีจะเป็นคำว่า “ธี่หยด” นี่แหละ เพราะมันชวนให้เราสงสัยเหลือเกินว่ามันคืออะไรกันแน่ (มั่นใจว่าเกือบร้อยทั้งร้อยต้องสะดุดเมื่อได้ยินหรือได้อ่านคำนี้)
และคงต้องชื่นชมทีมงานโปรโมตภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วย ที่สร้างกระแสได้เปรี้ยงปร้างและจุดติดยาวนานจนถึงวันที่ภาพยนตร์เข้าฉาย เพราะคำๆ นี้เริ่มกลับมาตั้งแต่ที่ คุณกิต-กิตติศักดิ์ กิตติวิรยานนท์ เจ้าของกระทู้ต้นฉบับ นำเรื่องราวของเขาไปเล่าอีกครั้งใน The Ghost Radio ที่มีผู้ติดตามเป็นจำนวนมาก ก่อนหน้าที่ภาพยนตร์จะฉายได้ราว 3 เดือน ไม่ว่าจะบังเอิญหรือตั้งใจแต่ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยกระตุ้นให้คนอยากเข้าไปชมภาพยนตร์เรื่องนี้กันมากพอสมควร (แถมยังมีฉบับนิยายในชื่อ ธี่หยด...แว่วเสียงครวญคลั่ง ให้ตามไปอ่านกันอีก)
แต่ถ้าพูดถึงความเป็นภาพยนตร์เราคงต้องมาโฟกัสกันที่ตัวอย่างหนังที่ปล่อยออกมา ต้องยอมรับว่าจากตัวอย่าง ส่วนของฉากในท้องเรื่องที่เผยออกมามันตรงกับสิ่งที่จินตนาการไว้ตอนอ่านกระทู้ต้นฉบับไม่มีผิด (ยังไม่ได้อ่านนิยายกับฟังในเดอะโกสต์) จึงค่อนข้างคาดหวังไว้พอสมควร และจากชื่อชั้นของผู้กำกับ ทวีวัฒน์ วันทา ที่งานก่อนหน้านี้อย่าง “ทองสุก 13” ก็พอทำให้เห็นฝีม้ายลายมือได้เป็นอย่างดี รวมถึงด้วยความที่มีพล็อตความคล้ายกับ “ร่างทรง” จึงแอบคาดหวังลึกๆ ว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้ต้องไปสุดทาง การแสดงต้องถึง งานสร้างต้องถึง เหมือนกับหนังรุ่นพี่ที่ประสบความสำเร็จไปแล้ว
แต่ธี่หยดก็คือธี่หยด ซึ่งแอบเซอร์ไพร์สเหมือนกันว่า ผู้กำกับคุ้ย ทวีวัฒน์ จะไม่เลือกใช้วิธีการที่หนังผีสมัยนี้นิยมกันมาก นั่นคือ การค่อยๆ เล่าเรื่อง ค่อยๆ ให้ผู้ชมซึมซับบรรยากาศของความหลอน หรือที่เรียกกันว่า การเล่าเรื่องแบบ slow burn โดยในธี่หยดแทบไม่มีฉากไหนที่เราเรียกได้ว่า slow เลย ทุกอย่างดูรวดเร็ว ดุดัน หลอกเป็นหลอก ใช้ฉากจั้มสแคร์อัดใส่ผู้ชมอย่างต่อเนื่อง เสียงประกอบกระหึ่มลั่นโรง ทั้งเสียงกรี๊ด เสียงคาถา เสียงปืน (ยิ่งในโรง IMAX เสียงแน่นได้ใจมาก) ชนิดที่ว่าเอาให้ตายกันไปข้างนึง (ยิ่งเวลาใบหน้าของผีโผล่แต่ละที ปิดตาแทบไม่ทัน)
ตรงนี้ยืนยันจากการให้สัมภาษณ์ในที่ต่างๆ ของผู้กำกับคุ้ย ทวีวัฒน์ ที่มักจะบอกว่าภาพยนตร์ของเขา คือการพาผู้ชมขึ้นไปนั่งบนรถไฟเหาะ เมื่อขึ้นแล้วจะลงไม่ได้จนกว่าจะถึงปลายทาง ซึ่งก็เป็นเช่นนั้นจริง ฉากแต่ละฉากถูกสร้างขึ้นเพื่อปล่อยความน่ากลัวและความระทึกมากกว่าจะเล่าเรื่อง แต่ก็ต้องแลกมาด้วยการทิ้งประเด็นหลักๆ หลายอย่างไป ทั้งประเด็นเรื่องครอบครัว ที่ควรจะเล่าความสัมพันธ์ของตัวละครให้มากกว่านี้ โดยเฉพาะตัวของเฮียฮั่น (ปรเมศร์ น้อยอ่ำ) ผู้เป็นหัวหน้าครอบครัว ที่กลายเป็นตัวประกอบเล็กๆ ไปซะอย่างนั้น หรือเรื่องของคุณไสยมนต์ดำในเรื่องก็ยังมีที่มาค่อนข้างคลุมเครือ
ซึ่งหากเทียบกับภาพยนตร์ทั่วไป เนื้อเรื่องของธี่หยดไม่อาจเรียกได้ว่าสมบูรณ์แบบ ซึ่งถ้าใครเคยได้อ่านต้นทางที่เป็นกระทู้จะพบว่า เรื่องราวของการเล่นของทำคุณไสยในเรื่องมันถูกเล่าอย่างคลุมเครืออยู่แล้ว (แต่ในนิยายมีการบอกชัดเจนว่าคืออะไร) และต้องยอมรับความจริงว่าจุดขายของเรื่องนี้ คือ เสียงธี่หยดและบรรยากาศความวังเวงในมุมมองของการเล่าโดยบุคคลที่สาม ซึ่งก็คือ หยาด (เดนิส-เจลีลชา คัปปุน)แต่ในภาพยนตร์การจะผูกกล้องติดไว้กับหยาดตลอดเวลาคงทำไม่ได้ นี่จึงเป็นจุดแตกต่างระหว่างทั้งสองรูปแบบที่เลียนแบบกันไม่ได้
ด้วยเหตุนี้เราจึงได้เห็นภาพมุมกว้างมากขึ้น เห็นว่าในแต่ละคืนเกิดอะไรขึ้นบ้าง ไม่ใช่แค่รอการบอกเล่าจากพี่ๆ เท่านั้น และผู้กำกับคุ้ย ทวีวัฒน์ ก็เปลี่ยนคำบอกเล่าเหล่านั้นเป็นภาพบนจอได้อย่างถึงอารมณ์ เสียงปังของปืน ความวุ่นวายนอกบ้าน เกิดอะไรขึ้นบ้างในตอนกลางคืน ผู้ชมจะได้เห็นทั้งหมด และแน่นอนฉากภาพจำในเรื่องก็มาครบ (ชอบสุดก็เห็นจะเป็นฉากแย้มเคาะเรียกนี่แหละ) ส่วนเรื่องราวหลักๆ ของหยาด และคนอื่นๆ ในครอบครัวก็ยังเหมือนเดิมแทบทั้งหมด (แอบรู้สึกว่าตัวละครเยอะไป บางคนไม่ค่อยจะมีบทบาทเท่าไหร่)
แต่ที่โดดเด่นกว่าใครเพื่อนและเป็นตัวละครที่ผู้อ่านชื่นชอบอย่างมาก นั่นคือ พี่ยักษ์ พี่คนโตของบ้าน ที่รับบทโดย ณเดชน์ คูกิมิยะ แม้ว่าใบหน้าอันหล่อเหลาและเนื้อตัวสะอาดสะอ้านของเขาจะไม่ค่อยตรงกับจินตนาการของผู้อ่านสักเท่าไหร่ (ที่จริงก็ทุกคนเลย ครอบครัวนี้หน้าตาดีทั้งบ้าน ซึ่งดูยังไงก็ไม่ใช่คาแรคเตอร์ของคนที่ต้องอยู่กับไร่กับสวน จึงไม่แปลกที่จะมีคนไม่ชอบ) แต่ณเดชน์ใช้พลังทางการแสดงของเขา ถ่ายทอดตัวละครนี้ออกมาแบบที่เราก็คงไม่ต้องครหาแล้วว่าเขาจะใช่พี่ยักษ์ที่อยู่ในหัวเราหรือไม่ (ดูยังไงก็นึกถึงพระเอกจาก Evil Dead)
แย้มก็เป็นอีกคนที่รับบทหนักเช่นกัน รับบทโดย มิ้ม-รัตนวดี วงศ์ทอง นักแสดงวัยรุ่นที่มีผลงานการแสดงภาพยนตร์เรื่องแรก สายตาและใบหน้าตอนโดนผีเข้าของเธอจะน่ากลัวสั่นประสาทหรือไม่คงขึ้นอยู่กับบุคคล(แต่หลายเสียงบอกว่าน่ารักมากกว่า) แต่ที่รู้สึกเสียดายคงเป็นการที่ตัวละครนี้ (และอีกหลายคน) ยังช้ำไม่พอ คือยังมีความติดหล่อติดสวยกันอยู่ หากเทียบกับ Evil Dead Rise ที่ฉายช่วงเมษาปีนี้ คำสาปที่ส่งผลกับตัวละครยังทำให้เราเชื่อได้มากกว่าว่าสิ่งที่เกิดขี้นมันโหดร้ายเหมือนตกนรกจริงๆ (แต่ธี่หยดก็คงไม่ต้องถึงขั้นนั้น แต่อยากให้บ้าพลังประมาณร่างทรงกำลังดี)
อย่างไรก็ตามรสชาติของธี่หยดยังเป็นการสร้างแนวทางใหม่ๆ ให้กับหนังผีไทย ที่เอะอะก็พึ่งบุญ พึ่งพระหรือศาสนาในการสู้กับศาสตร์มืด แต่แทนที่ด้วยปืนลูกซองและความกล้าเท่านั้นที่ถูกใช้เป็นอาวุธ (บวกด่าผีด้วย ฮ่าๆ) มันเป็นการแก้ปัญหาแบบบ้านๆ ของคนอย่างยักษ์ที่เห็นชีวิตของคนในครอบครัวสำคัญที่สุด ไม่ว่าจะมีเรื่องทะเลาะบาดหมางกับใครก็เอาไว้ก่อน ตอนนี้ช่วงน้องก่อน และที่ชอบอีกจุด คือ เสียงธี่หยดมีผลในการสะกดคนที่ได้ยิน ซึ่งมันก็มีเหตุผลดีและอธิบายว่าทำไมคนในบ้านถึงไม่รู้ว่าแย้มออกจากบ้านไป (ตรงนี้ไม่แน่ใจว่าในนิยายมีด้วยรึเปล่า)
ถ้าจะติดนิดหน่อยก็ตรงที่การเล่าเรื่องในตอนแรกมันไม่ทำให้เรารู้สึกผูกพันธ์กับตัวแย้มได้มากพอ ผลลัพธ์สุดท้ายของเรื่องจึงไม่ได้ส่งผลต่อความรู้สึกเท่าไหร่ (หรือเป็นเพราะว่ารู้ตอนจบไปแล้ว) และตัวบ้านที่จะดูเล็กไปสักหน่อย ทำให้หลายฉากเหมือนต้องหลบมุมถ่ายเอา และสุดท้ายฉากสู้ผีตอนกลางคืนที่เป็นจุดขายหลัก น่าจะมีเยอะกว่านี้ มาสักสิบยี่สิบตัวไปเลย แล้วให้พี่ยักษ์เอาเลื่อยไฟฟ้าไล่สับ (ไม่ใช่ละ)
สรุป ธี่หยด งานที่ต่อยอดมาได้ไกลเกินคาดจากจุดเริ่มต้นที่เป็นกระทู้ใน Pantip สู่ภาพยนตร์ที่ให้ความรู้สึกแปลกใหม่ เมื่อศาสนาอาจจะพึ่งไม่ได้มากเท่ากับลูกซองในมือของพี่ยักษ์ เป็นความบันเทิงในระดับที่คิดไม่ถึงเหมือนกัน (ได้ขึ้นรถไฟเหาะเหมือนที่ผู้กำกับแจ้งไว้) ถ้าหากภาพยนตร์เรื่องนี้ประสบความสำเร็จเราคงได้เห็นการดัดแปลงเรื่องราวต่างๆ ในจักรวาลนี้อีกหลายๆ เรื่องเลย
Story Decoder
[รีวิว] ธี่หยด - ไม่เน้นน่ากลัว แต่เน้นด่าผี กับความมันส์ในระดับที่คาดไม่ถึงสำหรับหนังผีไทย
และคงต้องชื่นชมทีมงานโปรโมตภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วย ที่สร้างกระแสได้เปรี้ยงปร้างและจุดติดยาวนานจนถึงวันที่ภาพยนตร์เข้าฉาย เพราะคำๆ นี้เริ่มกลับมาตั้งแต่ที่ คุณกิต-กิตติศักดิ์ กิตติวิรยานนท์ เจ้าของกระทู้ต้นฉบับ นำเรื่องราวของเขาไปเล่าอีกครั้งใน The Ghost Radio ที่มีผู้ติดตามเป็นจำนวนมาก ก่อนหน้าที่ภาพยนตร์จะฉายได้ราว 3 เดือน ไม่ว่าจะบังเอิญหรือตั้งใจแต่ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยกระตุ้นให้คนอยากเข้าไปชมภาพยนตร์เรื่องนี้กันมากพอสมควร (แถมยังมีฉบับนิยายในชื่อ ธี่หยด...แว่วเสียงครวญคลั่ง ให้ตามไปอ่านกันอีก)
แต่ถ้าพูดถึงความเป็นภาพยนตร์เราคงต้องมาโฟกัสกันที่ตัวอย่างหนังที่ปล่อยออกมา ต้องยอมรับว่าจากตัวอย่าง ส่วนของฉากในท้องเรื่องที่เผยออกมามันตรงกับสิ่งที่จินตนาการไว้ตอนอ่านกระทู้ต้นฉบับไม่มีผิด (ยังไม่ได้อ่านนิยายกับฟังในเดอะโกสต์) จึงค่อนข้างคาดหวังไว้พอสมควร และจากชื่อชั้นของผู้กำกับ ทวีวัฒน์ วันทา ที่งานก่อนหน้านี้อย่าง “ทองสุก 13” ก็พอทำให้เห็นฝีม้ายลายมือได้เป็นอย่างดี รวมถึงด้วยความที่มีพล็อตความคล้ายกับ “ร่างทรง” จึงแอบคาดหวังลึกๆ ว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้ต้องไปสุดทาง การแสดงต้องถึง งานสร้างต้องถึง เหมือนกับหนังรุ่นพี่ที่ประสบความสำเร็จไปแล้ว
แต่ธี่หยดก็คือธี่หยด ซึ่งแอบเซอร์ไพร์สเหมือนกันว่า ผู้กำกับคุ้ย ทวีวัฒน์ จะไม่เลือกใช้วิธีการที่หนังผีสมัยนี้นิยมกันมาก นั่นคือ การค่อยๆ เล่าเรื่อง ค่อยๆ ให้ผู้ชมซึมซับบรรยากาศของความหลอน หรือที่เรียกกันว่า การเล่าเรื่องแบบ slow burn โดยในธี่หยดแทบไม่มีฉากไหนที่เราเรียกได้ว่า slow เลย ทุกอย่างดูรวดเร็ว ดุดัน หลอกเป็นหลอก ใช้ฉากจั้มสแคร์อัดใส่ผู้ชมอย่างต่อเนื่อง เสียงประกอบกระหึ่มลั่นโรง ทั้งเสียงกรี๊ด เสียงคาถา เสียงปืน (ยิ่งในโรง IMAX เสียงแน่นได้ใจมาก) ชนิดที่ว่าเอาให้ตายกันไปข้างนึง (ยิ่งเวลาใบหน้าของผีโผล่แต่ละที ปิดตาแทบไม่ทัน)
ตรงนี้ยืนยันจากการให้สัมภาษณ์ในที่ต่างๆ ของผู้กำกับคุ้ย ทวีวัฒน์ ที่มักจะบอกว่าภาพยนตร์ของเขา คือการพาผู้ชมขึ้นไปนั่งบนรถไฟเหาะ เมื่อขึ้นแล้วจะลงไม่ได้จนกว่าจะถึงปลายทาง ซึ่งก็เป็นเช่นนั้นจริง ฉากแต่ละฉากถูกสร้างขึ้นเพื่อปล่อยความน่ากลัวและความระทึกมากกว่าจะเล่าเรื่อง แต่ก็ต้องแลกมาด้วยการทิ้งประเด็นหลักๆ หลายอย่างไป ทั้งประเด็นเรื่องครอบครัว ที่ควรจะเล่าความสัมพันธ์ของตัวละครให้มากกว่านี้ โดยเฉพาะตัวของเฮียฮั่น (ปรเมศร์ น้อยอ่ำ) ผู้เป็นหัวหน้าครอบครัว ที่กลายเป็นตัวประกอบเล็กๆ ไปซะอย่างนั้น หรือเรื่องของคุณไสยมนต์ดำในเรื่องก็ยังมีที่มาค่อนข้างคลุมเครือ
ซึ่งหากเทียบกับภาพยนตร์ทั่วไป เนื้อเรื่องของธี่หยดไม่อาจเรียกได้ว่าสมบูรณ์แบบ ซึ่งถ้าใครเคยได้อ่านต้นทางที่เป็นกระทู้จะพบว่า เรื่องราวของการเล่นของทำคุณไสยในเรื่องมันถูกเล่าอย่างคลุมเครืออยู่แล้ว (แต่ในนิยายมีการบอกชัดเจนว่าคืออะไร) และต้องยอมรับความจริงว่าจุดขายของเรื่องนี้ คือ เสียงธี่หยดและบรรยากาศความวังเวงในมุมมองของการเล่าโดยบุคคลที่สาม ซึ่งก็คือ หยาด (เดนิส-เจลีลชา คัปปุน)แต่ในภาพยนตร์การจะผูกกล้องติดไว้กับหยาดตลอดเวลาคงทำไม่ได้ นี่จึงเป็นจุดแตกต่างระหว่างทั้งสองรูปแบบที่เลียนแบบกันไม่ได้
ด้วยเหตุนี้เราจึงได้เห็นภาพมุมกว้างมากขึ้น เห็นว่าในแต่ละคืนเกิดอะไรขึ้นบ้าง ไม่ใช่แค่รอการบอกเล่าจากพี่ๆ เท่านั้น และผู้กำกับคุ้ย ทวีวัฒน์ ก็เปลี่ยนคำบอกเล่าเหล่านั้นเป็นภาพบนจอได้อย่างถึงอารมณ์ เสียงปังของปืน ความวุ่นวายนอกบ้าน เกิดอะไรขึ้นบ้างในตอนกลางคืน ผู้ชมจะได้เห็นทั้งหมด และแน่นอนฉากภาพจำในเรื่องก็มาครบ (ชอบสุดก็เห็นจะเป็นฉากแย้มเคาะเรียกนี่แหละ) ส่วนเรื่องราวหลักๆ ของหยาด และคนอื่นๆ ในครอบครัวก็ยังเหมือนเดิมแทบทั้งหมด (แอบรู้สึกว่าตัวละครเยอะไป บางคนไม่ค่อยจะมีบทบาทเท่าไหร่)
แต่ที่โดดเด่นกว่าใครเพื่อนและเป็นตัวละครที่ผู้อ่านชื่นชอบอย่างมาก นั่นคือ พี่ยักษ์ พี่คนโตของบ้าน ที่รับบทโดย ณเดชน์ คูกิมิยะ แม้ว่าใบหน้าอันหล่อเหลาและเนื้อตัวสะอาดสะอ้านของเขาจะไม่ค่อยตรงกับจินตนาการของผู้อ่านสักเท่าไหร่ (ที่จริงก็ทุกคนเลย ครอบครัวนี้หน้าตาดีทั้งบ้าน ซึ่งดูยังไงก็ไม่ใช่คาแรคเตอร์ของคนที่ต้องอยู่กับไร่กับสวน จึงไม่แปลกที่จะมีคนไม่ชอบ) แต่ณเดชน์ใช้พลังทางการแสดงของเขา ถ่ายทอดตัวละครนี้ออกมาแบบที่เราก็คงไม่ต้องครหาแล้วว่าเขาจะใช่พี่ยักษ์ที่อยู่ในหัวเราหรือไม่ (ดูยังไงก็นึกถึงพระเอกจาก Evil Dead)
แย้มก็เป็นอีกคนที่รับบทหนักเช่นกัน รับบทโดย มิ้ม-รัตนวดี วงศ์ทอง นักแสดงวัยรุ่นที่มีผลงานการแสดงภาพยนตร์เรื่องแรก สายตาและใบหน้าตอนโดนผีเข้าของเธอจะน่ากลัวสั่นประสาทหรือไม่คงขึ้นอยู่กับบุคคล(แต่หลายเสียงบอกว่าน่ารักมากกว่า) แต่ที่รู้สึกเสียดายคงเป็นการที่ตัวละครนี้ (และอีกหลายคน) ยังช้ำไม่พอ คือยังมีความติดหล่อติดสวยกันอยู่ หากเทียบกับ Evil Dead Rise ที่ฉายช่วงเมษาปีนี้ คำสาปที่ส่งผลกับตัวละครยังทำให้เราเชื่อได้มากกว่าว่าสิ่งที่เกิดขี้นมันโหดร้ายเหมือนตกนรกจริงๆ (แต่ธี่หยดก็คงไม่ต้องถึงขั้นนั้น แต่อยากให้บ้าพลังประมาณร่างทรงกำลังดี)
อย่างไรก็ตามรสชาติของธี่หยดยังเป็นการสร้างแนวทางใหม่ๆ ให้กับหนังผีไทย ที่เอะอะก็พึ่งบุญ พึ่งพระหรือศาสนาในการสู้กับศาสตร์มืด แต่แทนที่ด้วยปืนลูกซองและความกล้าเท่านั้นที่ถูกใช้เป็นอาวุธ (บวกด่าผีด้วย ฮ่าๆ) มันเป็นการแก้ปัญหาแบบบ้านๆ ของคนอย่างยักษ์ที่เห็นชีวิตของคนในครอบครัวสำคัญที่สุด ไม่ว่าจะมีเรื่องทะเลาะบาดหมางกับใครก็เอาไว้ก่อน ตอนนี้ช่วงน้องก่อน และที่ชอบอีกจุด คือ เสียงธี่หยดมีผลในการสะกดคนที่ได้ยิน ซึ่งมันก็มีเหตุผลดีและอธิบายว่าทำไมคนในบ้านถึงไม่รู้ว่าแย้มออกจากบ้านไป (ตรงนี้ไม่แน่ใจว่าในนิยายมีด้วยรึเปล่า)
ถ้าจะติดนิดหน่อยก็ตรงที่การเล่าเรื่องในตอนแรกมันไม่ทำให้เรารู้สึกผูกพันธ์กับตัวแย้มได้มากพอ ผลลัพธ์สุดท้ายของเรื่องจึงไม่ได้ส่งผลต่อความรู้สึกเท่าไหร่ (หรือเป็นเพราะว่ารู้ตอนจบไปแล้ว) และตัวบ้านที่จะดูเล็กไปสักหน่อย ทำให้หลายฉากเหมือนต้องหลบมุมถ่ายเอา และสุดท้ายฉากสู้ผีตอนกลางคืนที่เป็นจุดขายหลัก น่าจะมีเยอะกว่านี้ มาสักสิบยี่สิบตัวไปเลย แล้วให้พี่ยักษ์เอาเลื่อยไฟฟ้าไล่สับ (ไม่ใช่ละ)
สรุป ธี่หยด งานที่ต่อยอดมาได้ไกลเกินคาดจากจุดเริ่มต้นที่เป็นกระทู้ใน Pantip สู่ภาพยนตร์ที่ให้ความรู้สึกแปลกใหม่ เมื่อศาสนาอาจจะพึ่งไม่ได้มากเท่ากับลูกซองในมือของพี่ยักษ์ เป็นความบันเทิงในระดับที่คิดไม่ถึงเหมือนกัน (ได้ขึ้นรถไฟเหาะเหมือนที่ผู้กำกับแจ้งไว้) ถ้าหากภาพยนตร์เรื่องนี้ประสบความสำเร็จเราคงได้เห็นการดัดแปลงเรื่องราวต่างๆ ในจักรวาลนี้อีกหลายๆ เรื่องเลย
Story Decoder