โรคเตียงดูด การเสพติดการนอน

ขี้เกียจไม่อยากลุกจากเตียง ไม่มีแรงบันดาลใจทำสิ่งใหม่ ๆ อยากนอนทั้งวัน 
ตื่นแล้วไม่อยากลุกจากเตียง หรือนี่อาจเป็นสัญญาณของภาวะ Dysania “โรคเตียงดูด question

Dysania (โรคเตียงดูด) หรือบางครั้งอาจถูกเรียกว่า Clinomania หรือ Clinophilia 
เป็นคำที่ใช้อธิบายความรู้สึกที่มาจากความลำบากในการตื่นนอน หรือการลุกจากเตียงในตอนเช้า 
ทั้ง ๆ ที่นอนหลับเพียงพอแล้ว ซึ่งปัญหานี้อาจเกี่ยวข้องกับปัจจัยสุขภาพจิตต่าง ๆ 
เช่น ภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล และความผิดปกติที่เกิดขึ้นจากการนอน หรือสภาวะทางการแพทย์อื่น ๆ  
ผู้ที่มีอาการนี้มักจะพบว่า ภาวะ Dysania รบกวนการทำงานและชีวิตส่วนตัว ซึ่งนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์ตามมามากมาย 
เช่น การสูญเสียต่อรายได้ ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างลดน้อยถอยลง และทำลายความเป็นอยู่ที่ดีทั้งทางกายและจิตใจ 

วันนี้พี่หมอฝั่งธน...จะมาให้ความรู้  ideaโรคเตียงดูด การเสพติดการนอนidea

Dysania (โรคเตียงดูด
คือปัญหาที่มาจากภาวะสุขภาพจิตหรือสุขภาพกายบกพร่อง และภาวะนี้สามารถส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้
ภาวะที่จะทำให้ผู้ที่เป็นไม่อยากลุกจากเตียง ซึ่งเกิดมาจากความรู้สึกหนักใจ หรือมีอาการวิตกกังวลเมื่อคิดว่าจะลุกจากเตียง
หรือบางครั้งอาจจะเกิดความรู้สึกเหนื่อยล้าอย่างหนัก ไม่อยากลุกไปใช้ชีวิตเท่าไหร่ และถึงแม้ว่าจะลุกมาจากเตียงได้แล้ว
แต่ผู้ที่มีภาวะ Dysania ก็รู้สึกว่าอยากจะกลับไปนอนที่เตียงอีกครั้ง 
ภาวะนี้มักเป็นเรื้อรัง ภาวะ Dysania จะมีความคล้ายคลึงกับภาวะ Clinomania แต่ไม่เหมือนกันทั้งหมด 
โดยที่ภาวะ Clinomania จะทำให้ผู้ที่อยู่ในภาวะนี้อยากนอนอยู่บนเตียงทั้งวัน และมีปัญหากับการลุกจากเตียงมาก ๆ 
แต่ภาวะ Dysania หรือ อาการโรคเตียงดูด ผู้ที่มีอาการจะอยากนอนอยู่บนเตียงประมาณ 1 – 2 ชั่วโมงแม้จะตื่นแล้ว 
และทั้งภาวะ Dysania และ Clinomania สามารถรบกวนชีวิตของผู้ที่เป็นได้อย่างมาก และทำให้การเข้าสังคมยากขึ้น



อาการของ Dysania โรคเตียงดูด
หลังกลับมาจากทำงานหรือเรียนก็ล้มตัวลงนอนบนเตียงทันที คิดว่าการนอนบนเตียงเป็นความสุขที่สุดในชีวิต
คิดถึงเวลานอนตลอดเวลา ทำกิจกรรม เช่น รับประทานอาหาร เสพโซเชียล ทำงาน บนที่นอน
ถูกบุคคลใกล้ชิดกล่าวหาว่ามีพฤติกรรมเกียจคร้าน หงุดหงิดหากมีใครมายุ่งกับที่นอน กดเลื่อนนาฬิกาปลุก เพื่อขยายเวลานอน

นอนแค่ไหนเรียกว่ามากเกินไป question
ระยะเวลาการนอนที่เพียงพอของแต่ละคนแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับอายุและสุขภาพ 
แต่โดยทั่วไปผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีมีควรนอนเฉลี่ย 7-9 ชั่วโมงต่อวัน 
แต่เมื่อใดที่รู้สึกว่าต้องการนอนมากกว่า 8-9 ชั่วโมงต่อวัน นั่นอาจเป็นสัญญาณบอกถึงปัญหาสุขภาพ
ระยะเวลาการนอนที่เพียงพอของแต่ละช่วงวัย
เด็กทารก ควรนอน 12 -16 ชั่วโมง/วัน
เด็ก 1-2 ปี ควรนอน 11 -14 ชั่วโมง/วัน
เด็ก 3-5 ปี ควรนอน 10 -13 ชั่วโมง/วัน
เด็ก 6-12 ปี ควรนอน 9 -12 ชั่วโมง/ วน
วัยรุ่น 13-18 ปี ควรนอน 8 -10 ชั่วโมง/วัน
วัยทำงาน ควรนอน 7 -9 ชั่วโมง/วัน

ผลกระทบหากเป็นโรคเตียงดูด exclaim
ตื่นยาก อ่อนเพลียง่าย อาจไม่ได้เป็นเพราะคุณขี้เกียจ แต่กำลังเสพติดความเครียดที่ต้องเจอในแต่ละวัน
จนทำให้ภาวะต่อมหมวกไตล้า จนมีอาการแสดงออกอย่างที่เห็น ถ้าเกิดความเครียดสะสมเรื้อรัง
จากการทำงานหนักมากเกินไป พักผ่อนไม่พอ หรือออกกำลังกายเกินพอดี ระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลที่ลดลง
จะทำให้ไม่มีแรงลุกขึ้นจากที่นอนตอนเช้า ขาดความกระตือรือร้น และอ่อนเพลียตอนกลางวัน
อารมณ์แปรปรวน บางรายมีอาการเครียดหรือซึมเศร้าร่วมด้วย อาการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ที่รวดเร็ว
โดยการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์นี้ อาจเกี่ยวข้องกับอาการเจ็บป่วยหรือความเปลี่ยนแปลงภายในร่างกาย
แม้แต่โรคจิตเวชบางชนิด เช่น โรคไบโพลาร์ โรคจิตอารมณ์ เป็นต้น

ง่วงตลอดเวลาบ่งบอกถึงโรคอะไรบ้างexclaim
• โรคโลหิตจาง เป็นผลจากร่างกายขาดเซลล์เม็ดเลือดแดง ที่จะนำออกซิเจนจากปอดมาเลี้ยงเซลล์ต่างๆ ทั่วร่างกาย
ทำให้ผู้ป่วยง่วงนอนบ่อยและเฉื่อยชา มีความคิดความอ่านด้อยลง
• เบาหวาน เพราะระดับน้ำตาลในเลือดไม่คงที่ ทำให้มีอาการอ่อนเพลีย ง่วงนอนบ่อย
• โรคซึมเศร้า ผู้ป่วยโรคนี้จะเป็นผลมาจากสารเคมีในสมองโดยตรง ที่ทำให้เวลานอนแปรปรวนไม่แน่นอน หลับๆ ตื่นๆ และนอนไม่หลับ
• ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ภาวะการกรนซึ่งเป็นสาเหตุให้นอนหลับไม่เพียงพอ อาจส่งผลต่อให้เป็นภาวะเสี่ยงนี้ในระยะยาว
• โรคลมหลับ หนึ่งในโรคสุดแปลก โดยลักษณะอาการของผู้ป่วยจะง่วงมากผิดปกติในตอนกลางวันและหลับได้บ่อยมาก พอหลับแล้วก็จะฝันในทันที กลไกควบคุมการหลับตื่นผิดปกติ ทำให้ควบคุมการนอนไม่ได้

ideaวิธีแก้ไขถ้าไม่อยากกลายเป็นคนติดเตียงidea
• ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่ เช่น งดดูทีวีและงดเล่นโทรศัพท์มือถือก่อนเข้านอน 1 ชม. เข้านอน-ตื่นนอนให้เป็นเวลา
งดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
• ทานของหวาน เพื่อให้อารมณ์ดีขึ้น ความสุขที่เกิดขึ้นหลังจากที่เราได้รับน้ำตาลเข้าสู่ร่างกายนั้น
เกิดจากพลังงานที่ทำให้เรารู้สึกกระปรี้กระเปร่า สดชื่นสดใส ไม่ว่าจะอ่อนเพลียแค่ไหน ความหวานก็สามารถช่วยได้
แต่ต้องอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม
• ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะส่งผลให้ร่างกายมีความสดชื่น กระฉับกระเฉง 
พร้อมที่จะดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ การออกกำลังกายให้ได้ผลดีนั้น จะต้องค่อย ๆ ทำและใช้เวลา 
ควรทำอย่างสม่ำเสมอด้วยวิธีการที่เหมาะสม จะทำให้ร่างกายเกิดพัฒนาการอย่างมีคุณภาพ และมีสุขภาพแข็งแรงในระยะยาว
• พบแพทย์และใช้ยารักษา หากมีความรู้สึกว่าปฏิบัติตามวิธีดังกล่าวแล้วไม่ได้ผล 
ควรไปปรึกษาคุณหมอหรือผู้เชียวชาญเกี่ยวกับด้านสุขภาพจิตต่าง ๆ
เพื่อเข้าสู่กระบวนการใช้ยารักษาอาการต่อไป เพื่อสุขภาพที่ดีและให้ร่างกายได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ค่ะ

lovelovelove
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่