ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ประเทศไทยจะต้องสร้างอธิปไตยไซเบอร์ หรือ Cyber Sovereignty และใช้ได้จริงอยู่ในประเทศสักที

ยกตัวอย่าง เช่น 

ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน สี จิ้นผิง ได้กล่าวเสมอในการประชุมสุดยอกผู้นำโลกเกี่ยวกับปัญหา "อธิปไตยไซเบอร์" หรือ "Cyber Sovereignty " ที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก ท่านกล่าวว่าทุกประเทศทั่วโลกมีสิทธิที่จะกำหนดนโยบายด้านไซเบอร์ในประเทศของตน เพื่อป้องกันการรุกรานโดยต่างชาติในรูปแบบที่ไม่ต้องใช้กำลังทางทหารหรือกระสุนแม้แต่เพียงนัดเดียว แต่เป็นการรุกรานหรือการล่าอาณานิคมในรูปแบบใหม่ ที่ประชาชนในประเทศเป้าหมายไม่ได้รับรู้ว่ากำลังถูกรุกรานอยู่ เนื่องการรุกรานดังกล่าวไม่ต้องใช้กำลังแต่อย่างใด เป็นการรุกรานทางความคิด ความเชื่อ ค่อยๆส่งข้อมูลเข้ามาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนในชาติเหล่านี้ เราคงเคยเห็นกันจากประสบการณ์ "Arab Spring" ในตะวันออกกลางมาแล้ว มีผลต่อการเลือกตั้ง มีผลต่อการเมืองการปกครอง ภัยจากการรุกรานเข้ามาเปลี่ยนความคิดดังกล่าวนั้น น่ากลัวยิ่งกว่าภัยจากการแฮกของแฮกเกอร์เสียอีก  เนื่องจากแฮกเกอร์จะเข้าระบบเพื่อดึงข้อมูล หรือทำให้ระบบล่ม ที่เราเห็นปัญหามัลแวร์กันอยู่เป็นประจำ หากแต่การเจาะเข้าไปในจิตใจของมนุษย์ ให้ปรับเปลี่ยนความคิด ความเชื่อ  ความศรัทธา ทำให้ชอบหรือไม่ชอบ รักหรือเกลียดในบุคคล สินค้า หรือบริการ หรือบริษัทต่างๆ ตลอดจนผู้นำในแต่ละประเทศมีผลกระทบโดยตรงต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศต่างๆ ตลอดจนส่งผลกระทบถึงความมั่นคงของชาติหรือ "National Security" ในที่สุด  



ในปัจจุบันเทคโนโลยีด้านการบริหารจัดการข้อมูลในปริมาณมหาศาลของบริษัทยักษ์ใหญ่ใน Silicon Valley มีการพัฒนาไปค่อนข้างไกลมากกว่าที่เราคิด ไม่ว่าจะเป็น Big Data Analytics, Machine Leaning, Deep Learning ตลอดจนการนำ AI (Artificial Intelligence) มาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลแทนมนุษย์ หลายบริษัทนอกจากจะว่าจ้าง Data Scientist แล้วยังมีตำแหน่งที่เราไม่ค่อยเคยได้ยิน คือ “Chief Data Officer" คอยกำหนด "Data Strategy " ให้กับองค์กร คอยดูแลการบริหารจัดการข้อมูล ที่ไหลเวียนอยู่ในระบบ ทำอย่างไรให้ข้อมูล"ทำเงิน" ให้กับองค์กร ที่เราเรียกว่า "Data Monetization" ทำให้ "Big Data" กลายเป็น "Big Money "  


ตลอดจนมีการนำหลักการ "Psychometric" ทางด้านจิตวิทยามาใช้ในการรับรู้และวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้บริโภค ผู้ใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์หลายพันล้านคนบนโลกใบนี้กำลังถูกเทคโนโลยีขั้นสูงวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคล ทำให้บริษัทยักษ์ใหญ่ที่ใช้เทคโนโลยีดังกล่าวสามารถล่วงรู้ถึงความคิด พฤติกรรมของผู้บริโภค เพื่อจะนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ สร้างผลกำไรให้แก่บริษัทของตนโดยตรง รวมถึงการส่งข้อมูลมาให้เราได้เห็น ได้รับรู้บนสมาร์ทโฟน อยู่เป็นประจำ เนื่องจากคนไทยใช้สมาร์ทโฟนถึง 6 ชั่วโมงต่อวัน ทำให้การโฆษณาสินค้าและบริการได้ย้ายฐานจากสิ่งพิมพ์ตลอดจนวิทยุ โทรทัศน์ เข้าสู่บริการ OTT (Over The Top) บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผ่านทางโซเซียลมีเดียแอปต่างๆ  

ที่เรารู้จักกัน ไม่ว่าจะเป็น Facebook ,Lineหรือ YOUTUBE กลายเป็น " New Platform " ในการทำธุรกิจ ธุรกรรมต่างๆของคนทั่วโลกในขณะนี้
ทำความรู้จัก 4 ระดับของการวิเคราะห์ข้อมูล "Big Data Anaytics"  

หลักการวิเคราะห์ข้อมูล "Big Data Anaytics" ดังกล่าวมีทฤษฎีที่ "Gartner " ได้เคยวิเคราะห์ไว้ในงานวิจัยของพวกเขาว่า มีสี่ขั้นของระดับในการวิเคราะห์ข้อมูล (ดูรูป) ดังนี้ 


The Four Types of Data Analytics (source: Gartner)
ขั้นที่1 "What happened :  Descriptive Analytics" 
ทำให้นักวิเคราะห์สามารถรับรู้ได้ว่า กำลังเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น ที่มีผลกระทบและมีนัยยะต่อสิ่งที่กำลังเฝ้าจับตาดูอยู่ สามารถนำมาใช้ใน การบริหารจัดการ Security Operation Center (SOC) ดูแลการเฝ้าระวังด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ หรือเฝ้าดู Brand Image/Reputation Risk" ในโลกโซเชียลว่ามีผลกระทบอะไร เกิดขึ้นในเชิงบวก หรือเชิงลบต่อสินค้าและบริการ ตลอดจน "Brand" และชื่อเสียงของบริษัท หรือ ชื่อเสียงของผู้บริหารระดับสูง
ขั้นที่ 2 "Why did it happened? :  Diagnostic Analytics"  

ทำให้นักวิเคราะห์สามารถบอกได้ว่า ทำไมถึงเกิดเหตุการณ์ในขั้นที่1 ที่มาที่ไปของการเกิดเหตุการณ์ ทำให้รับรู้ข้อมูลเพิ่มเติมและเข้าใจปัญหามากขึ้น
ขั้นที่ 3  "What will happen? : Predictive Analytics " 

ทำให้นักวิเคราะห์สามารถ "ทำนาย" หรือ "คาดการณ์" เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ล่วงหน้า เป็นประโยชน์ต่อองค์กรในการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง และสามารถสั่งการTake Action ได้ทันท่วงที 

ขั้นที่ 4 "How to prevent bad thing from happening and to potentialize the good once?: Prescriptive Analytics "
เป็นขั้นสูงสุดที่นักวิเคราะห์สามารถป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ และในทางกลับกัน สามารถทำให้เกิดเหตุการณ์ที่องค์กรอยากให้เกิดขึ้นเพื่อเป็นประโยชน์ต่อองค์กร เช่น ทำให้ Promotion Campaign มีผลกระทบต่อการเลือกตั้ง มีผลต่อการซื้อขายสินค้าและบริการ ตลอดจนส่งผลกระทบถึงชื่อเสียงขององค์กรและผู้บริหารระดับสูง 

เราจะเห็นได้ชัดเจนว่า ยุคแห่ง" Data-Driven Economy" กำลังส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของประชาชน ตลอดจนเศรษฐกิจสังคมของประเทศชาติ ที่ผู้นำประเทศและรัฐบาลจะอยู่เฉยไม่ได้กับปรากฎการณ์ดังกล่าว รัฐจำเป็นต้องเร่งกำหนดนโยบายทางไซเบอร์และยุทธศาสตร์ ไซเบอร์ "National Cyber Policy and National Cyber Strategy" เพื่อกำหนดทิศทางให้กับประชาชนในประเทศ ตลอดจนปัจจุบันการ "รุกรานทางความคิด" ต่อประชาชนในประเทศในรูปแบบใหม่ดังที่กล่าวมาแล้วในตอนต้น 


“Digital Literacy and Digital Quotient (DQ) are so important in the future”
ถึงเวลาแล้วหรือยังที่คนไทยควรจะรับรู้ปัญหาเรื่อง "อธิปไตยไซเบอร์" และ "การละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล" ที่พวกเรากำลังเผชิญกันอยู่ตลอดเวลาบนสมาร์ทโฟนโดยที่เราไม่รู้ตัวหรืออาจไม่ทราบถึงกลเม็ดวิธีการที่แยบยลดังกล่าว ดังนั้น ประเทศไทยและประชาชนชาวไทยควรเข้าใจผลกระทบจากการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงดังกล่าวในการบริหารจัดการข้อมูลเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคและประชาชน ดังที่เห็นตัวอย่างในระดับโลกกันมาแล้ว
รัฐบาลในทุกประเทศควรตะหนักถึงผลกระทบดังกล่าวและควรรีบทำการ "Educate" ประชาชนให้มี "Digital Literacy" และมี "ภูมิคุ้มกันทางดิจิทัล" ที่ดี เพื่อที่จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อการตลาดแบบไฮเทคที่นับวันจะส่งผลรุนแรงขึ้นเรื่อยๆและประชาชนต้องตกเป็นเหยื่อโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เราจึงควรปรับปรุงและทำความเข้าใจเรื่อง  "Digital Literacy" และ "Digital Quotient" ให้ถ่องแท้ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทางไซเบอร์ให้กับตนเอง ครอบครัว องค์กรและประเทศชาติอันเป็นที่รักยิ่งของเราต่อไป
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่