หลายคนเข้าใจผิด เรื่องดาวหางฮัลเลย์ เมื่อคืน 21/10/66

เมื่อคืนมีปรากฎการณ์ฝนดาวตกโอไรออนิดส์  บริเวณกลุ่มดาวนายพราน (Orion)
ฝนดาวตกโอไรออนิดส์” เกิดจากโลกเคลื่อนที่ตัดผ่านเส้นทางการโคจรของดาวหางฮัลเลย์ (1P/Halley) ที่หลงเหลือเศษฝุ่นและวัตถุขนาดเล็กจำนวนมากทิ้งไว้ในวงโคจร ขณะเคลื่อนที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์  เมื่อปี 2529 

แต่หลายคนเข้าใจผิด  คิดว่าที่เห็นเมื่อคืนที่ผ่านมา ที่เห็นดาวตกพุ่งเป็นแสงวาบ นั่นคือตัวดาวหางฮัลเลย์ 
ดาวหางฮัลเลย์ มีคาบโคจรประมาณ 75-79 ปี  ครั้งล่าสุดที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ผ่านโลก ก็เมื่อปี 2529 
ครั้งต่อไปจะโคจรกลับมาอีกที่ในปี  พ.ศ 2604 (ห่างจากผู้ใหญ่ลี ตีกลองประชุม 100 ปีพอดี 555 hahahahahaha) แต่จริงๆแล้วไม่ใช่ มันเป็นเศษฝุ่นขนาดเล็กที่ถูกดาวหางฮัลเลย์ทิ้งไว้ในวงโคจร แล้วช่วงที่โลก โคจรรอบดวงอาทิตย์ตรงบริเวณใกล้นี้ แรงโน้มถ่วงของโลกจึงดึงดูดเศษฝุ่นเข้ามาเสียดสีกับชั้นบรรยากาศโลก จึงทำให้เกิดปรากฏการณ์ฝนดาวตกให้เราเห็น 
ไม่ใช่ตัวดาวหางฮัลเลย์ แต่เป็นเศษฝุ่นและวัตถุขนาดเล็ก จากการโคจรของดาวหางฮัลลเย์ 

https://twitter.com/search?q=%23%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AE%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B9%8C&src=trend_click&vertical=trends
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่