ฝนดาวตกโอไรโอนิดส์ หรือ ฝนดาวตกกลุ่มดาวนายพราน เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงวันที่ 2 ตุลาคม - 7 พฤศจิกายน ของทุกปี สำหรับปีนี้ มีอัตราการตกสูงสุดในวันที่ 21 ตุลาคม 2560 คาดการณ์ว่าจะมีอัตราการตกสูงสุดเฉลี่ยประมาณ 20 ดวงต่อชั่วโมง มีศูนย์กลางการกระจายอยู่บริเวณแขนของกลุ่มดาวนายพราน ทางทิศตะวันออก สังเกตได้ตั้งแต่เวลาประมาณ 23.00 น. เป็นต้นไป ในคืนดังกล่าวตรงกับดวงจันทร์ข้างขึ้น 1 ค่ำ เป็นคืนที่ท้องฟ้ามืดปราศจากแสงจันทร์รบกวน เหมาะแก่การสังเกตฝนดาวตกเป็นอย่างยิ่ง
วิธีการสังเกตฝนดาวตกที่ดีที่สุด คือ มองด้วยตาเปล่า ในทิศทางการกระจายตัวของฝนดาวตก เลือกสถานที่ที่ห่างจากแสงเมืองให้มากที่สุดจะทำให้เห็นดาวตกได้ชัดเจนยิ่งขึ้น หากฟ้าใสไร้ฝนสามารถชมด้วยตาเปล่าได้ทั่วประเทศ และหากพลาดชมฝนดาวตกครั้งนี้ สามารถติดตามชมฝนดาวตกลีโอนิดส์ ในคืนวันที่ 17 พฤศจิกายน 2560 ได้อีกเช่นกัน
ฝนดาวตกโอไรโอนิดส์ เกิดจากโลกเคลื่อนที่ตัดผ่านเส้นทางการโคจรของดาวหางฮัลเลย์ (1P/Halley) ที่หลงเหลือเศษฝุ่นและวัตถุขนาดเล็กจำนวนมากทิ้งไว้ในวงโคจรขณะเคลื่อนที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์เมื่อปี 2529 แรงโน้มถ่วงของโลกจึงดึงดูดเศษฝุ่นและวัตถุดังกล่าวเข้ามาเสียดสีกับชั้นบรรยากาศโลก เกิดการลุกไหม้ เห็นเป็นแสงวาบคล้ายลูกไฟพุ่งกระจายตัวออกมาบริเวณกลุ่มดาวนายพราน มีสีเหลืองและเขียว สวยงามพาดผ่านท้องฟ้า
ภาพจำลองศูนย์กลางการกระจายของฝนดาวตกโอไรออนิดส์ และตำแหน่งของกลุ่มดาวนายพราน คืนวันที่ 21 ตุลาคม 2560 เวลา 23:00 น.
ลุ้นชม ฝนดาวตกโอไรโอนิดส์ 21 ตุลาคม 2560
ฝนดาวตกโอไรโอนิดส์ หรือ ฝนดาวตกกลุ่มดาวนายพราน เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงวันที่ 2 ตุลาคม - 7 พฤศจิกายน ของทุกปี สำหรับปีนี้ มีอัตราการตกสูงสุดในวันที่ 21 ตุลาคม 2560 คาดการณ์ว่าจะมีอัตราการตกสูงสุดเฉลี่ยประมาณ 20 ดวงต่อชั่วโมง มีศูนย์กลางการกระจายอยู่บริเวณแขนของกลุ่มดาวนายพราน ทางทิศตะวันออก สังเกตได้ตั้งแต่เวลาประมาณ 23.00 น. เป็นต้นไป ในคืนดังกล่าวตรงกับดวงจันทร์ข้างขึ้น 1 ค่ำ เป็นคืนที่ท้องฟ้ามืดปราศจากแสงจันทร์รบกวน เหมาะแก่การสังเกตฝนดาวตกเป็นอย่างยิ่ง
วิธีการสังเกตฝนดาวตกที่ดีที่สุด คือ มองด้วยตาเปล่า ในทิศทางการกระจายตัวของฝนดาวตก เลือกสถานที่ที่ห่างจากแสงเมืองให้มากที่สุดจะทำให้เห็นดาวตกได้ชัดเจนยิ่งขึ้น หากฟ้าใสไร้ฝนสามารถชมด้วยตาเปล่าได้ทั่วประเทศ และหากพลาดชมฝนดาวตกครั้งนี้ สามารถติดตามชมฝนดาวตกลีโอนิดส์ ในคืนวันที่ 17 พฤศจิกายน 2560 ได้อีกเช่นกัน
ฝนดาวตกโอไรโอนิดส์ เกิดจากโลกเคลื่อนที่ตัดผ่านเส้นทางการโคจรของดาวหางฮัลเลย์ (1P/Halley) ที่หลงเหลือเศษฝุ่นและวัตถุขนาดเล็กจำนวนมากทิ้งไว้ในวงโคจรขณะเคลื่อนที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์เมื่อปี 2529 แรงโน้มถ่วงของโลกจึงดึงดูดเศษฝุ่นและวัตถุดังกล่าวเข้ามาเสียดสีกับชั้นบรรยากาศโลก เกิดการลุกไหม้ เห็นเป็นแสงวาบคล้ายลูกไฟพุ่งกระจายตัวออกมาบริเวณกลุ่มดาวนายพราน มีสีเหลืองและเขียว สวยงามพาดผ่านท้องฟ้า
ภาพจำลองศูนย์กลางการกระจายของฝนดาวตกโอไรออนิดส์ และตำแหน่งของกลุ่มดาวนายพราน คืนวันที่ 21 ตุลาคม 2560 เวลา 23:00 น.