ดาวตกจากฝนดาวตกสามารถปรากฏในบริเวณใดก็ได้ทั่วท้องฟ้า แต่เมื่อลากเส้นย้อนไปตามแนวของดาวตก จะไปบรรจบกันที่จุดหนึ่ง เรียกจุดนั้นว่าจุดกระจายฝนดาวตก (radiant) ชี่อฝนดาวตกมักตั้งตามกลุ่มดาวหรือดาวที่อยู่บริเวณจุดกระจายนี้ แสงจันทร์และแสงจากตัวเมืองเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการสังเกตดาวตก จึงควรหาสถานที่ที่ฟ้ามืด ยิ่งฟ้ามืดก็จะยิ่งมีโอกาสเห็นดาวตกมากขึ้น
ควันค้าง (persistent train)
คือปรากฏการณ์ที่ดูเหมือนควันลอยค้างบนท้องฟ้าตรงจุดที่ดาวตกหายวับไป ศัพท์คำนี้ยังไม่มีการใช้แพร่หลายในภาษาไทย จึงขอเรียกว่าควันค้างตามลักษณะที่ปรากฏไปพลางก่อน ควันค้างเกิดจากการเรืองแสงในบรรยากาศชั้นบน โดยมีดาวตกเป็นตัวการทำให้โมเลกุลในบรรยากาศแตกตัวเป็นไอออน ความเข้มและอายุของควันค้างขึ้นอยู่กับขนาด องค์ประกอบ และความเร็วของดาวตก ลูกไฟซึ่งเกิดจากสะเก็ดดาวขนาดใหญ่มักก่อให้เกิดควันค้างอยู่อย่างนั้นนานหลายนาที ก่อนจะเปลี่ยนรูปร่าง จางลง และสลายตัวไปในที่สุด
ฝนดาวตกควอดแดรนต์ (Quadrantids / QUA)
มีชื่อตามกลุ่มดาวควอดแดรนต์ (Quadrans Muralis) ซึ่งเป็นกลุ่มดาวเก่า ปัจจุบันไม่มีแล้ว จุดกระจายดาวตกอยู่บริเวณตรงกลางระหว่างกลุ่มดาวเฮอร์คิวลีส คนเลี้ยงสัตว์ และมังกร ฝนดาวตกควอดแดรนต์มีจำนวนสูงสุดราววันที่ 3-4 มกราคม ของทุกปี ประเทศที่เห็นฝนดาวตกกลุ่มนี้ได้ดีที่สุดคือประเทศในละติจูดสูง ๆ ของซีกโลกเหนือ
นักดาราศาสตร์ค้นพบฝนดาวตกควอดแดรนต์เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 แต่ไม่พบว่าวัตถุใดคือต้นกำเนิด จนกระทั่ง ค.ศ. 2003 เมื่อมีการค้นพบดาวเคราะห์น้อย 2003 อีเอช 1 (2003 EH1) ซึ่งวงโคจรใกล้เคียงกับดาวตกที่มาจากฝนดาวตกกลุ่มนี้ และยังพบว่ามันอาจเป็นชิ้นส่วนหรือเป็นวัตถุเดียวกับดาวหางซี/1490 วาย 1 (C/1490 Y1) ที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์เมื่อปลาย ค.ศ. 1490 อัตราตกสูงสุดในภาวะอุดมคติของฝนดาวตกควอดแดรนต์สูงถึง 120 ดวงต่อชั่วโมง (แปรผันได้ระหว่าง 60-200) แต่มีช่วงเวลาสั้น แสดงว่าธารสะเก็ดดาวค่อนข้างแคบมาก
ฝนดาวตกพิณ (Lyrids / LYR)
เกิดตั้งชื่อตามกลุ่มดาวพิณ (Lyra) มีจำนวนสูงสุดราววันที่ 21-22 เมษายน ของทุกปี อัตราตกสูงสุดในภาวะอุดมคติอยู่ที่ 18 ดวงต่อชั่วโมง (เคยสูงถึง 90 ในช่วงเวลาสั้น ๆ เมื่อ พ.ศ. 2525)
ค้นพบเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ต้นกำเนิดของฝนดาวตกพิณคือดาวหางแทตเชอร์ (C/1861 G1 Thatcher) เป็นดาวหางที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยคาบ 415 ปี เข้าใกล้ดวงอาทิตย์ล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2404 นักดาราศาสตร์ค้นพบใน 6 ปีต่อมาว่าตำแหน่งที่โลกอยู่ ณ วันที่ 20 เมษายน ของทุกปี เป็นตำแหน่งที่วงโคจรของดาวหางอยู่ห่างจากโลกเพียง 0.002 หน่วยดาราศาสตร์ หลังจากนั้นได้พบหลักฐานในบันทึกของจีน กล่าวถึงฝนดาวตกพิณเมื่อ 687 ปีก่อนคริสต์ศักราช
ฝนดาวตกอีตาคนแบกหม้อน้ำ (Eta Aquariids / ETA)
ตั้งชื่อตามดาวอีตา (η) ในกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ (Aquarius) มีจำนวนสูงสุดราววันที่ 4-5 พฤษภาคม ของทุกปี อัตราตกสูงสุดในภาวะอุดมคติอยู่ที่ 70 ดวงต่อชั่วโมง (แปรผันได้ระหว่าง 40-85)
ต้นกำเนิดคือดาวหางแฮลลีย์ (1P/Halley) เป็นดาวหางที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยคาบประมาณ 76 ปี เข้าใกล้ดวงอาทิตย์ล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2529 ดาวหางแฮลลีย์ทำให้เกิดฝนดาวตกอีกกลุ่มหนึ่งในเดือนตุลาคมด้วย
โดยกระแสธารของเศษหินและเศษฝุ่นขนาดน้อยใหญ่ที่ดาวหางฮัลเลย์ (1P/Halley) ทิ้งไว้ในขณะเคลื่อนผ่านเข้ามาในระบบสุริยะชั้นใน เมื่อโลกโคจรผ่านกระแสธารดังกล่าว สายธารของเศษหินและฝุ่นของดาวหางจะถูกแรงดึงดูดของโลกดึงเข้ามาเผาไหม้ในชั้นบรรยากาศโลกเกิดเป็นลำแสงวาบ หรือในบางครั้งเกิดเป็นลูกไฟที่มีสีสวยงาม
ฝนดาวตกเดลตาคนแบกหม้อน้ำใต้ (Southern Delta-Aquariids / SDA)
ตั้งชื่อตามดาวเดลตา (δ) ในกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ (Aquarius) มีจำนวนสูงสุดราววันที่ 29-30 กรกฎาคม ของทุกปี อัตราตกสูงสุดในภาวะอุดมคติอยู่ที่ 16 ดวงต่อชั่วโมง
ค้นพบเมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ต้นกำเนิดคือดาวหางมัคโฮลซ์ (96P/Machholz) เป็นดาวหางที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยคาบ 5 ปี ค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2529 เข้าใกล้ดวงอาทิตย์ล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2550 ปีนี้ดาวหางมัคโฮลซ์จะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดในกลางเดือนกรกฎาคม ดาวตกจากฝนดาวตกกลุ่มนี้มีความสว่างน้อย เมื่อเทียบกับฝนดาวตกกลุ่มหลักกลุ่มอื่น ๆ
ฝนดาวตกเพอร์ซิอัส (Perseids / PER)
หรือฝนดาวตกวันแม่ เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 17 กรกฎาคม - 24 สิงหาคม เป็นฝนดาวตกที่มีชื่อเสียงในประเทศตะวันตก โดยเฉพาะในละติจูดสูง ๆ ทางเหนือ ซึ่งจุดกระจายดาวตกจะขึ้นไปอยู่สูงเกือบกลางฟ้าในเวลาเช้ามืด อัตราการเกิดดาวตกสูงถึงกว่า 100 ดวงต่อชั่วโมง และเกิดในฤดูร้อนซึ่งท้องฟ้าโปร่ง แต่การสังเกตฝนดาวตกกลุ่มนี้ในประเทศไทยมักพบอุปสรรคจากเมฆเพราะเป็นฤดูฝน
ฝนดาวตกเพอร์ซิอัสมีต้นกำเนิดมาจากดาวหางสวิฟต์-ทัตเทิล (109P/Swift-Tuttle) ดาวหางดวงนี้เข้าใกล้ดวงอาทิตย์ครั้งล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2535 มีคาบ 130 ปี จุดกระจายฝนดาวตกเพอร์ซิอัสอยู่บริเวณกึ่งกลางระหว่างกลุ่มดาวเพอร์ซิอัสกับแคสซิโอเปีย เริ่มเห็นได้ตั้งแต่เวลาประมาณ 4 ทุ่มครึ่ง แต่ยังมีน้อย จะสังเกตได้ดีหลังเที่ยงคืนและดีที่สุดในช่วงที่จุดกระจายดาวตกอยู่สูงซึ่งตรงกับช่วง 1-2 ชั่วโมงก่อนท้องฟ้าสว่างในเวลาเช้ามืด
ฝนดาวตกนายพราน (Orionids / ORI)
ฝนดาวตกนายพรานเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 2 ตุลาคม - 7 พฤศจิกายน ตั้งชื่อตามกลุ่มดาวนายพราน (Orion) มีอัตราตกสูงสุดราววันที่ 21 ตุลาคม ของทุกปี อัตราตกสูงสุดในภาวะอุดมคติอยู่ที่ 25 ดวงต่อชั่วโมง (ช่วง พ.ศ. 2549 - 2552 อัตราตกได้เพิ่มสูงผิดปกติไปอยู่ที่ 40-70 ดวงต่อชั่วโมงติดต่อกัน 2 หรือ 3 วัน) ต้นกำเนิดฝนดาวตกนายพรานคือดาวหางแฮลลีย์ (1P/Halley) เป็นดาวหางที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยคาบประมาณ 76 ปี เข้าใกล้ดวงอาทิตย์ล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2529
โดยเศษชิ้นส่วนของดาวหางฮัลเลย์ มีลักษณะเป็นริ้วสีขาวพาดผ่านท้องฟ้า และ เกิดลูกไฟคู่กัน เกิดฝนดาวตกมากที่สุดประมาณ 300 ดวง ความเร็วประมาณ 66 กิโลเมตรต่อวินาที
ฝนดาวตกสิงโต (Leonids / LEO)
หรือฝนดาวตกลีโอนิดส์ เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 6-30 พฤศจิกายน ตั้งชื่อตามกลุ่มดาวสิงโต (Leo) มีอัตราตกสูงสุดราววันที่ 17 พฤศจิกายน ของทุกปี อัตราตกสูงสุดในภาวะอุดมคติอยู่ที่ 10-20 ดวงต่อชั่วโมง
ต้นกำเนิดฝนดาวตกสิงโตคือดาวหางเทมเพล-ทัตเทิล (55P/Tempel-Tuttle) เป็นดาวหางที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยคาบประมาณ 120 ปี เข้าใกล้ดวงอาทิตย์ล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2541 ธารสะเก็ดดาวของฝนดาวตกสิงโตมีหลายสาย ทำให้บางปีมีอัตราตกสูงมาก สำหรับปีนี้โลกไม่ได้ผ่านใกล้ธารสะเก็ดดาวที่สำคัญ คาดว่าไม่น่าจะมีอัตราตกสูงเกินกว่าระดับปกติ
ลีโอนิดส์ เกิดจากสายธารเศษฝุ่นของดาวหาง 55 พี เทมเพล-ทัตเทิล ที่ยังหลงเหลืออยู่ในวงโคจรของดาวหางตัดผ่านวงโคจรของโลก ทำให้เศษฝุ่นของดาวหางเหล่านั้นเสียดสีกับชั้นบรรยากาศโลก เกิดการเผาไหม้จนเห็นเป็นแสงสว่างวาบคล้ายลูกไฟวิ่งพาดผ่านท้องฟ้า ทิศทางวงโคจรของฝนดาวตกลีโอนิดส์สวนทางกับทิศทางวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ทำให้ความเร็วของเม็ดฝุ่นที่เข้ามาเสียดสีกับบรรยากาศโลกมีความเร็วค่อนข้างมาก โดยมีความเร็วสูงถึง 71 กิโลเมตรต่อวินาที ฝนดาวตกลีโอนิดส์ เป็นฝนดาวตกที่มีความสว่างมากที่สุด จึงได้รับการขนานนามว่า “ราชาแห่งฝนดาวตก”
ฝนดาวตกคนคู่ (Geminids / GEM)
ฝนดาวตกเจมินิดส์หรือ เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 7-17 ธันวาคม ตั้งชื่อตามกลุ่มดาวคนคู่ (Gemini) จุดกระจายดาวตกอยู่ใกล้ดาวคาสเตอร์ ตกสูงสุดราววันที่ 13-15 ธันวาคม ของทุกปี ด้วยอัตราตกในภาวะอุดมคติที่ 120 ดวงต่อชั่วโมง
เกิดจากการที่โลกเคลื่อนที่เข้าตัดกับกระแสธารของเศษหินและเศษฝุ่นขนาดน้อยใหญ่ที่ดาวเคราะห์น้อย 3200 เฟธอน (3200 Phaethon ซึ่งคาดว่าเคยเป็นดาวหางมาก่อน ) ทิ้งไว้ในขณะเคลื่อนผ่านเข้ามาในระบบสุริยะชั้นใน เมื่อโลกโคจรผ่านเส้นทางดังกล่าว สายธารของเศษหินและฝุ่นของดาวเคราะห์น้อยจะถูกแรงดึงดูดของโลกดึงเข้ามาเผาไหม้ในชั้นบรรยากาศโลกเกิดเป็นลำแสงวาบ หรือในบางครั้งเกิดเป็นลูกไฟที่มีสีสวยงาม (fireball)
จุดเด่นของฝนดาวตกเจมินิดส์คือ มีความเร็วของดาวตกไม่มากนัก ประกอบกับมีอัตราตกค่อนข้างมากจึงสังเกตได้ง่าย สามารถมองเห็นได้รอบทิศ สามารถดูได้ด้วยตาเปล่า ไม่จำเป็นต้องมองผ่านกล้องโทรทรรศน์ ถือเป็นโอกาสดีในการสังเกตการณ์ ทั้งนี้ ควรเลือกสถานที่ท้องฟ้ามืดสนิทไม่มีแสงไฟรบกวน
ฝนดาวตกยีราฟ (Camelopardalids : CAM)
ฝนดาวตกในกลุ่มดาวยีราฟนี้เกิดจากเศษฝุ่นของดาวหางที่มีชื่อว่า 209P/LINEAR นอกจากนั้นยังมีเส้นแสงของสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) ที่กำลังโคจรผ่านท้องฟ้าบริเวณนั้นอีกด้วย กล่าวว่าในตอนเช้าตรู่ของวันที่ 24 พฤษาคม เราจะสังเกตเห็นฝนดาวตกนี้ได้บนท้องฟ้าทางด้านทิศเหนือซึ่งฝนดาวตกยีราฟเป็นฝนดาวตกกลุ่มใหม่
ดาวหาง 209 พี/ลีเนียร์ ถูกค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2547 ตัวเลข 209 และตัวอักษร P แสดงว่าเป็นดาวหางรายคาบลำดับที่ 209 ดาวหางรายคาบคือดาวหางที่มีคาบการโคจรน้อยกว่า 200 ปี ดาวหางดวงนี้มีคาบการโคจรเพียง 5 ปี และไม่ใช่ดาวหางที่สว่างนัก ไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า จำเป็นต้องใช้กล้องโทรทรรศน์ และแผนที่ดาวที่แสดงตำแหน่งดาวหางเทียบกับดาวฤกษ์
Cr.narit.or.th
Cr.thaiastro.nectec.or.th
สีของดาวตกบอกถึงธาตุของดาว
แสงสีเด่นสะดุดตาที่เห็นจากดาวตกเกิดขึ้นจากสาเหตุหลายอย่างคือ องค์ประกอบของธาตุและสารประกอบของอุกกาบาตเอง องค์ประกอบของอากาศที่อุกกาบาตเคลื่อนที่ผ่านไป และความเร็วของอุกกาบาต เนื่องจากขณะที่อุกกาบาตเคลื่อนที่ผ่านอวกาศในชั้นบรรยากาศ อากาศบริเวณนั้นจะร้อนและแตกตัวจนทำให้อุกกาบาตร้อนและแตกตัวด้วย จึงเกิดส่วนผสมของโมเลกุลที่แตกตัวที่ว่านี้เป็นกระบวนการทางเคมีที่ทำให้เกิดแสงสว่างตามช่วงคลื่นต่าง ๆ หรือแสงสีต่าง ๆ ตามสมบัติของธาตุและสารประกอบแต่ละชนิด แต่ส่วนใหญ่เห็นเป็นช่วงคลื่นรวมกันคือ แสงสีขาว
นักวิทยาศาสตร์สามารถศึกษาองค์ประกอบของฝุ่นอุกกาบาตได้จากสีของแสงที่เปล่งออกมา เรียกว่าการศึกษาสเปกตรัม (spectrum) ของฝุ่นอุกกาบาต เมื่อผ่านชั้นบรรยากาศของโลกจะบอกถึงธาตุที่เป็นส่วนประกอบได้ดังนี้
หากลุกไหม้เป็นสีม่วงหรือชมพู แสดงว่าตัวอุกกาบาตนั้นมี “แคลเซียม” เป็นส่วนประกอบในปริมาณมาก
เป็นสีฟ้าหรือน้ำเงิน แสดงว่าตัวอุกกาบาตนั้นมี “เหล็ก” เป็นส่วนประกอบในปริมาณมาก
เป็นสีเขียว แสดงว่าตัวอุกกาบาตนั้นมี “แมกนิเซียม” เป็นส่วนประกอบในปริมาณมาก
เป็นสีเหลืองแสดงว่าตัวอุกกาบาตนั้นมี “โซเดียม” เป็นส่วนประกอบในปริมาณมาก
เป็นสีส้ม แสดงว่าตัวอุกกาบาตนั้นมี “ไนโตรเจน” เป็นส่วนประกอบในปริมาณมาก
เป็นสีแดง แสดงว่าตัวอุกกาบาตนั้นมี “อ็อกซิเจน” เป็นส่วนประกอบในปริมาณมาก
Cr.news.trueid.net
มาดูหนังที่เกี่ยวกับดาวตกกัน
Cr.facebook.com/cwatchthemovies/
ปรากฏการณ์ก้อนหินอวกาศ
ควันค้าง (persistent train)
คือปรากฏการณ์ที่ดูเหมือนควันลอยค้างบนท้องฟ้าตรงจุดที่ดาวตกหายวับไป ศัพท์คำนี้ยังไม่มีการใช้แพร่หลายในภาษาไทย จึงขอเรียกว่าควันค้างตามลักษณะที่ปรากฏไปพลางก่อน ควันค้างเกิดจากการเรืองแสงในบรรยากาศชั้นบน โดยมีดาวตกเป็นตัวการทำให้โมเลกุลในบรรยากาศแตกตัวเป็นไอออน ความเข้มและอายุของควันค้างขึ้นอยู่กับขนาด องค์ประกอบ และความเร็วของดาวตก ลูกไฟซึ่งเกิดจากสะเก็ดดาวขนาดใหญ่มักก่อให้เกิดควันค้างอยู่อย่างนั้นนานหลายนาที ก่อนจะเปลี่ยนรูปร่าง จางลง และสลายตัวไปในที่สุด
ฝนดาวตกควอดแดรนต์ (Quadrantids / QUA)
มีชื่อตามกลุ่มดาวควอดแดรนต์ (Quadrans Muralis) ซึ่งเป็นกลุ่มดาวเก่า ปัจจุบันไม่มีแล้ว จุดกระจายดาวตกอยู่บริเวณตรงกลางระหว่างกลุ่มดาวเฮอร์คิวลีส คนเลี้ยงสัตว์ และมังกร ฝนดาวตกควอดแดรนต์มีจำนวนสูงสุดราววันที่ 3-4 มกราคม ของทุกปี ประเทศที่เห็นฝนดาวตกกลุ่มนี้ได้ดีที่สุดคือประเทศในละติจูดสูง ๆ ของซีกโลกเหนือ
นักดาราศาสตร์ค้นพบฝนดาวตกควอดแดรนต์เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 แต่ไม่พบว่าวัตถุใดคือต้นกำเนิด จนกระทั่ง ค.ศ. 2003 เมื่อมีการค้นพบดาวเคราะห์น้อย 2003 อีเอช 1 (2003 EH1) ซึ่งวงโคจรใกล้เคียงกับดาวตกที่มาจากฝนดาวตกกลุ่มนี้ และยังพบว่ามันอาจเป็นชิ้นส่วนหรือเป็นวัตถุเดียวกับดาวหางซี/1490 วาย 1 (C/1490 Y1) ที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์เมื่อปลาย ค.ศ. 1490 อัตราตกสูงสุดในภาวะอุดมคติของฝนดาวตกควอดแดรนต์สูงถึง 120 ดวงต่อชั่วโมง (แปรผันได้ระหว่าง 60-200) แต่มีช่วงเวลาสั้น แสดงว่าธารสะเก็ดดาวค่อนข้างแคบมาก
ฝนดาวตกพิณ (Lyrids / LYR)
เกิดตั้งชื่อตามกลุ่มดาวพิณ (Lyra) มีจำนวนสูงสุดราววันที่ 21-22 เมษายน ของทุกปี อัตราตกสูงสุดในภาวะอุดมคติอยู่ที่ 18 ดวงต่อชั่วโมง (เคยสูงถึง 90 ในช่วงเวลาสั้น ๆ เมื่อ พ.ศ. 2525)
ค้นพบเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ต้นกำเนิดของฝนดาวตกพิณคือดาวหางแทตเชอร์ (C/1861 G1 Thatcher) เป็นดาวหางที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยคาบ 415 ปี เข้าใกล้ดวงอาทิตย์ล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2404 นักดาราศาสตร์ค้นพบใน 6 ปีต่อมาว่าตำแหน่งที่โลกอยู่ ณ วันที่ 20 เมษายน ของทุกปี เป็นตำแหน่งที่วงโคจรของดาวหางอยู่ห่างจากโลกเพียง 0.002 หน่วยดาราศาสตร์ หลังจากนั้นได้พบหลักฐานในบันทึกของจีน กล่าวถึงฝนดาวตกพิณเมื่อ 687 ปีก่อนคริสต์ศักราช
ฝนดาวตกอีตาคนแบกหม้อน้ำ (Eta Aquariids / ETA)
ตั้งชื่อตามดาวอีตา (η) ในกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ (Aquarius) มีจำนวนสูงสุดราววันที่ 4-5 พฤษภาคม ของทุกปี อัตราตกสูงสุดในภาวะอุดมคติอยู่ที่ 70 ดวงต่อชั่วโมง (แปรผันได้ระหว่าง 40-85)
ต้นกำเนิดคือดาวหางแฮลลีย์ (1P/Halley) เป็นดาวหางที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยคาบประมาณ 76 ปี เข้าใกล้ดวงอาทิตย์ล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2529 ดาวหางแฮลลีย์ทำให้เกิดฝนดาวตกอีกกลุ่มหนึ่งในเดือนตุลาคมด้วย
โดยกระแสธารของเศษหินและเศษฝุ่นขนาดน้อยใหญ่ที่ดาวหางฮัลเลย์ (1P/Halley) ทิ้งไว้ในขณะเคลื่อนผ่านเข้ามาในระบบสุริยะชั้นใน เมื่อโลกโคจรผ่านกระแสธารดังกล่าว สายธารของเศษหินและฝุ่นของดาวหางจะถูกแรงดึงดูดของโลกดึงเข้ามาเผาไหม้ในชั้นบรรยากาศโลกเกิดเป็นลำแสงวาบ หรือในบางครั้งเกิดเป็นลูกไฟที่มีสีสวยงาม
ฝนดาวตกเดลตาคนแบกหม้อน้ำใต้ (Southern Delta-Aquariids / SDA)
ตั้งชื่อตามดาวเดลตา (δ) ในกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ (Aquarius) มีจำนวนสูงสุดราววันที่ 29-30 กรกฎาคม ของทุกปี อัตราตกสูงสุดในภาวะอุดมคติอยู่ที่ 16 ดวงต่อชั่วโมง
ค้นพบเมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ต้นกำเนิดคือดาวหางมัคโฮลซ์ (96P/Machholz) เป็นดาวหางที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยคาบ 5 ปี ค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2529 เข้าใกล้ดวงอาทิตย์ล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2550 ปีนี้ดาวหางมัคโฮลซ์จะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดในกลางเดือนกรกฎาคม ดาวตกจากฝนดาวตกกลุ่มนี้มีความสว่างน้อย เมื่อเทียบกับฝนดาวตกกลุ่มหลักกลุ่มอื่น ๆ
ฝนดาวตกเพอร์ซิอัส (Perseids / PER)
หรือฝนดาวตกวันแม่ เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 17 กรกฎาคม - 24 สิงหาคม เป็นฝนดาวตกที่มีชื่อเสียงในประเทศตะวันตก โดยเฉพาะในละติจูดสูง ๆ ทางเหนือ ซึ่งจุดกระจายดาวตกจะขึ้นไปอยู่สูงเกือบกลางฟ้าในเวลาเช้ามืด อัตราการเกิดดาวตกสูงถึงกว่า 100 ดวงต่อชั่วโมง และเกิดในฤดูร้อนซึ่งท้องฟ้าโปร่ง แต่การสังเกตฝนดาวตกกลุ่มนี้ในประเทศไทยมักพบอุปสรรคจากเมฆเพราะเป็นฤดูฝน
ฝนดาวตกเพอร์ซิอัสมีต้นกำเนิดมาจากดาวหางสวิฟต์-ทัตเทิล (109P/Swift-Tuttle) ดาวหางดวงนี้เข้าใกล้ดวงอาทิตย์ครั้งล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2535 มีคาบ 130 ปี จุดกระจายฝนดาวตกเพอร์ซิอัสอยู่บริเวณกึ่งกลางระหว่างกลุ่มดาวเพอร์ซิอัสกับแคสซิโอเปีย เริ่มเห็นได้ตั้งแต่เวลาประมาณ 4 ทุ่มครึ่ง แต่ยังมีน้อย จะสังเกตได้ดีหลังเที่ยงคืนและดีที่สุดในช่วงที่จุดกระจายดาวตกอยู่สูงซึ่งตรงกับช่วง 1-2 ชั่วโมงก่อนท้องฟ้าสว่างในเวลาเช้ามืด
ฝนดาวตกนายพราน (Orionids / ORI)
ฝนดาวตกนายพรานเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 2 ตุลาคม - 7 พฤศจิกายน ตั้งชื่อตามกลุ่มดาวนายพราน (Orion) มีอัตราตกสูงสุดราววันที่ 21 ตุลาคม ของทุกปี อัตราตกสูงสุดในภาวะอุดมคติอยู่ที่ 25 ดวงต่อชั่วโมง (ช่วง พ.ศ. 2549 - 2552 อัตราตกได้เพิ่มสูงผิดปกติไปอยู่ที่ 40-70 ดวงต่อชั่วโมงติดต่อกัน 2 หรือ 3 วัน) ต้นกำเนิดฝนดาวตกนายพรานคือดาวหางแฮลลีย์ (1P/Halley) เป็นดาวหางที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยคาบประมาณ 76 ปี เข้าใกล้ดวงอาทิตย์ล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2529
โดยเศษชิ้นส่วนของดาวหางฮัลเลย์ มีลักษณะเป็นริ้วสีขาวพาดผ่านท้องฟ้า และ เกิดลูกไฟคู่กัน เกิดฝนดาวตกมากที่สุดประมาณ 300 ดวง ความเร็วประมาณ 66 กิโลเมตรต่อวินาที
ฝนดาวตกสิงโต (Leonids / LEO)
หรือฝนดาวตกลีโอนิดส์ เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 6-30 พฤศจิกายน ตั้งชื่อตามกลุ่มดาวสิงโต (Leo) มีอัตราตกสูงสุดราววันที่ 17 พฤศจิกายน ของทุกปี อัตราตกสูงสุดในภาวะอุดมคติอยู่ที่ 10-20 ดวงต่อชั่วโมง
ต้นกำเนิดฝนดาวตกสิงโตคือดาวหางเทมเพล-ทัตเทิล (55P/Tempel-Tuttle) เป็นดาวหางที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยคาบประมาณ 120 ปี เข้าใกล้ดวงอาทิตย์ล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2541 ธารสะเก็ดดาวของฝนดาวตกสิงโตมีหลายสาย ทำให้บางปีมีอัตราตกสูงมาก สำหรับปีนี้โลกไม่ได้ผ่านใกล้ธารสะเก็ดดาวที่สำคัญ คาดว่าไม่น่าจะมีอัตราตกสูงเกินกว่าระดับปกติ
ลีโอนิดส์ เกิดจากสายธารเศษฝุ่นของดาวหาง 55 พี เทมเพล-ทัตเทิล ที่ยังหลงเหลืออยู่ในวงโคจรของดาวหางตัดผ่านวงโคจรของโลก ทำให้เศษฝุ่นของดาวหางเหล่านั้นเสียดสีกับชั้นบรรยากาศโลก เกิดการเผาไหม้จนเห็นเป็นแสงสว่างวาบคล้ายลูกไฟวิ่งพาดผ่านท้องฟ้า ทิศทางวงโคจรของฝนดาวตกลีโอนิดส์สวนทางกับทิศทางวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ทำให้ความเร็วของเม็ดฝุ่นที่เข้ามาเสียดสีกับบรรยากาศโลกมีความเร็วค่อนข้างมาก โดยมีความเร็วสูงถึง 71 กิโลเมตรต่อวินาที ฝนดาวตกลีโอนิดส์ เป็นฝนดาวตกที่มีความสว่างมากที่สุด จึงได้รับการขนานนามว่า “ราชาแห่งฝนดาวตก”
ฝนดาวตกคนคู่ (Geminids / GEM)
ฝนดาวตกเจมินิดส์หรือ เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 7-17 ธันวาคม ตั้งชื่อตามกลุ่มดาวคนคู่ (Gemini) จุดกระจายดาวตกอยู่ใกล้ดาวคาสเตอร์ ตกสูงสุดราววันที่ 13-15 ธันวาคม ของทุกปี ด้วยอัตราตกในภาวะอุดมคติที่ 120 ดวงต่อชั่วโมง
เกิดจากการที่โลกเคลื่อนที่เข้าตัดกับกระแสธารของเศษหินและเศษฝุ่นขนาดน้อยใหญ่ที่ดาวเคราะห์น้อย 3200 เฟธอน (3200 Phaethon ซึ่งคาดว่าเคยเป็นดาวหางมาก่อน ) ทิ้งไว้ในขณะเคลื่อนผ่านเข้ามาในระบบสุริยะชั้นใน เมื่อโลกโคจรผ่านเส้นทางดังกล่าว สายธารของเศษหินและฝุ่นของดาวเคราะห์น้อยจะถูกแรงดึงดูดของโลกดึงเข้ามาเผาไหม้ในชั้นบรรยากาศโลกเกิดเป็นลำแสงวาบ หรือในบางครั้งเกิดเป็นลูกไฟที่มีสีสวยงาม (fireball)
จุดเด่นของฝนดาวตกเจมินิดส์คือ มีความเร็วของดาวตกไม่มากนัก ประกอบกับมีอัตราตกค่อนข้างมากจึงสังเกตได้ง่าย สามารถมองเห็นได้รอบทิศ สามารถดูได้ด้วยตาเปล่า ไม่จำเป็นต้องมองผ่านกล้องโทรทรรศน์ ถือเป็นโอกาสดีในการสังเกตการณ์ ทั้งนี้ ควรเลือกสถานที่ท้องฟ้ามืดสนิทไม่มีแสงไฟรบกวน
ฝนดาวตกยีราฟ (Camelopardalids : CAM)
ฝนดาวตกในกลุ่มดาวยีราฟนี้เกิดจากเศษฝุ่นของดาวหางที่มีชื่อว่า 209P/LINEAR นอกจากนั้นยังมีเส้นแสงของสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) ที่กำลังโคจรผ่านท้องฟ้าบริเวณนั้นอีกด้วย กล่าวว่าในตอนเช้าตรู่ของวันที่ 24 พฤษาคม เราจะสังเกตเห็นฝนดาวตกนี้ได้บนท้องฟ้าทางด้านทิศเหนือซึ่งฝนดาวตกยีราฟเป็นฝนดาวตกกลุ่มใหม่
ดาวหาง 209 พี/ลีเนียร์ ถูกค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2547 ตัวเลข 209 และตัวอักษร P แสดงว่าเป็นดาวหางรายคาบลำดับที่ 209 ดาวหางรายคาบคือดาวหางที่มีคาบการโคจรน้อยกว่า 200 ปี ดาวหางดวงนี้มีคาบการโคจรเพียง 5 ปี และไม่ใช่ดาวหางที่สว่างนัก ไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า จำเป็นต้องใช้กล้องโทรทรรศน์ และแผนที่ดาวที่แสดงตำแหน่งดาวหางเทียบกับดาวฤกษ์
Cr.narit.or.th
Cr.thaiastro.nectec.or.th
สีของดาวตกบอกถึงธาตุของดาว
แสงสีเด่นสะดุดตาที่เห็นจากดาวตกเกิดขึ้นจากสาเหตุหลายอย่างคือ องค์ประกอบของธาตุและสารประกอบของอุกกาบาตเอง องค์ประกอบของอากาศที่อุกกาบาตเคลื่อนที่ผ่านไป และความเร็วของอุกกาบาต เนื่องจากขณะที่อุกกาบาตเคลื่อนที่ผ่านอวกาศในชั้นบรรยากาศ อากาศบริเวณนั้นจะร้อนและแตกตัวจนทำให้อุกกาบาตร้อนและแตกตัวด้วย จึงเกิดส่วนผสมของโมเลกุลที่แตกตัวที่ว่านี้เป็นกระบวนการทางเคมีที่ทำให้เกิดแสงสว่างตามช่วงคลื่นต่าง ๆ หรือแสงสีต่าง ๆ ตามสมบัติของธาตุและสารประกอบแต่ละชนิด แต่ส่วนใหญ่เห็นเป็นช่วงคลื่นรวมกันคือ แสงสีขาว
นักวิทยาศาสตร์สามารถศึกษาองค์ประกอบของฝุ่นอุกกาบาตได้จากสีของแสงที่เปล่งออกมา เรียกว่าการศึกษาสเปกตรัม (spectrum) ของฝุ่นอุกกาบาต เมื่อผ่านชั้นบรรยากาศของโลกจะบอกถึงธาตุที่เป็นส่วนประกอบได้ดังนี้
หากลุกไหม้เป็นสีม่วงหรือชมพู แสดงว่าตัวอุกกาบาตนั้นมี “แคลเซียม” เป็นส่วนประกอบในปริมาณมาก
เป็นสีฟ้าหรือน้ำเงิน แสดงว่าตัวอุกกาบาตนั้นมี “เหล็ก” เป็นส่วนประกอบในปริมาณมาก
เป็นสีเขียว แสดงว่าตัวอุกกาบาตนั้นมี “แมกนิเซียม” เป็นส่วนประกอบในปริมาณมาก
เป็นสีเหลืองแสดงว่าตัวอุกกาบาตนั้นมี “โซเดียม” เป็นส่วนประกอบในปริมาณมาก
เป็นสีส้ม แสดงว่าตัวอุกกาบาตนั้นมี “ไนโตรเจน” เป็นส่วนประกอบในปริมาณมาก
เป็นสีแดง แสดงว่าตัวอุกกาบาตนั้นมี “อ็อกซิเจน” เป็นส่วนประกอบในปริมาณมาก
Cr.news.trueid.net
มาดูหนังที่เกี่ยวกับดาวตกกัน
Cr.facebook.com/cwatchthemovies/