จุดจบของการอภิวัฒน์การศึกษาไทยในยุคโลกาภิวัฒน์ 2538-2540 ในปี 2542

กระทู้สนทนา
มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง กลุ่มอำนาจเก่าซึ่งไม่สามารถจัดบริการการศึกษาให้คนไทยทั่วถึง ตั้งแต่ประกาศใช้แผนการศึกษาระดับประถม ปี 2494 โดยอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็น เสาเอกแห่งวงการศึกษาไทย

น่าแปลก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาซึ่ง อภิวัฒน์การศึกษาไทยปี 2538 ส่งผลให้คนไทยทุกคน ทั้งรวยและจนมีสิทธิ์เรียนหนังสือครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชาติไทย  ความจริงซึ่ง แผนแม่บทนโยบายปฏิรูปการศึกษายุคโลกาภิวัฒน์2538:เพื่อเตรียมพร้อมพลเมืองไทย การปฏิรูปการศึกษาไทยที่แท้จริง ถูกลบออกจากประวัติศาสตร์การศึกษาของประเทศไทย ทั่งที่เป็นการปฏิรูปการศึกษาของประชาชนในการเข้าร่วมปรับปรุงสถานศึกษา เพื่อให้มีศักยภาพในการรับลูกหลานของตนในทุกท้องถิ่นทั่วไทย ผลงานของคนจนร่วมมือกันทั่วประเทศไม่มีสิทธิ์ได้รับการบันทึก ในประวัติศาสตร์การศึกษาชาติ

ในขณะที่กฎหมายลูกประกอบรัฐธรรมนูญ2540 ด้านการศึกษา2542 ซึ่งสร้างความหายนะให้ระบบการศึกษาชาติ ตั้งแต่ 19 ตุลาคม 2542 คณะรัฐมนตรีต้องอนุมัติโครงการอาหารกลางวัน  ตามแผนแม่บทนโยบายปฏิรูปการศึกษายุคโลกาภิวัฒน์2538  การแก้ไขเพิ่มเติม โรงเรียนนิติบุคคล 2545 และอื่นๆอีกมากที่ตกหล่น จากการอภิวัฒน์การศึกษาไทย2538  ขออนุญาตเจ้าของบทความตามลิ้งค์ด้านล่างเพราะเขียนได้ดีมาก และ ขอให้ข้อมูลว่า ปี 2542 ไม่มีการปฏิรูปการศึกษาใดๆ และ กฎหมายหรือเอกสารใดๆจากห้องแอร์ มีแต่กดทับและสร้างปัญหาให้ระบบการศึกษาไทย ขอให้ลงพื้นที่จริง รับฟัง และร่วมกับประชาชนจึงแก้ไขปัญหาได้ค่ะ  

เงินภาษีประชาชนเท่าไหร่?  ในการโฆษณา ให้ประชาชนทั้งประเทศเข้าใจผิดว่า กระทรวงศึกษาธิการจัดบริการการศึกษาทั่วถึงเมื่อปี 2542  ใครต้องรับผิดชอบ ค่าเสียหาย ค่าเสียโอกาสของประชาชน เพราะคนไม่กี่คน ทำลายโอกาสของคนไทย ด้วยกฎหมายลูกประกอบรัฐธรรมนูญ2540 ด้านการศึกษา2542
http://www.educationnews.in.th/26688.html
      
15 ปี ปฏิรูปการศึกษาไทย
       เลาะเลียบคลองผดุงฯ
       ตุลย์ ณ ราชดำเนิน tulacom@gmail.com
       ผ่านมาวันนี้ย่างเข้าสู่เดือนกันยายน 2556 หากนับเอาเดือน สิงหาคม ปี 2542 เป็นวันที่บรรดานักปฏิรูปการศึกษายุคนั้น ประกาศถึงความสำเร็จและภาคภูมิใจที่สามารถผลักดันให้เกิดกฎหมายการศึกษาแห่งชาติ ก่อเกิดคุณอนันต์แก่ประเทศชาติเป็นล้นพ้น อันส่งผลต่อคุณภาพของคนไทยในอนาคต ผ่านมา 15 ปีพอดี
       จากคนกลุ่มหนึ่งที่เรียกขานกันว่า 9 อรหันต์การศึกษาในสำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปการศึกษา ส่วนใหญ่หัวนอกและไม่ยอมฟังเสียงท้วงติงของคนศธ. มั่นใจว่าการปรับโครงสร้างและการ กระจายอำนาจจัดการศึกษา การจัดการเรียนรู้ที่ถือผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และการพัฒนาวิชาชีพครู ตามแนวคิดของตนนั้นถูกต้อง
       นับแต่นั้นมา ศธ.จากที่เคยมีโครงสร้าง 14 กรม ยุบรวมเหลือ 5 องค์กรหลัก คือ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ .) และสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.)
       กระนั้นก็ดียังมีเรื่องที่โต้แย้งและถกเถียงในความเห็นไม่เพียงเรื่องการพัฒนาวิชาชีพครู และเขตพื้นที่การศึกษาจะลงตัวที่จำนวนเท่าไร ตามมาด้วยการศึกษาที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หรือ ไชลด์เซ็นเตอร์
       จากวลีเด็ดของนักเรียนหญิงคนหนึ่งที่ทำเอาคำขวัญวันเด็กของนายกรัฐมนตรี ปี 2545 แทบตกพื้นที่ข่าว คือ การวิจารณ์ถึงวิธีการจัดการเรียนการสอนไชลด์เซ็นเตอร์ของคุณครู มีสภาพไม่ต่างไปจาก ควายเซ็นเตอร์ เนื่องจากครูไม่เข้าใจและยังไม่มีแหล่งเรียนรู้นอกห้องพอที่จะทำให้เข้าถึงการเรียนรู้ด้วยตนเองได้
       ผ่านไป 7 ปีตรงกับ 23 ส.ค. 2549 สมศ.เปิดผลการออกประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานรอบแรก พ.ศ. 2544-2548 จำนวน 30,010แห่ง ไม่ได้มาตรฐานขั้นต่ำถึง 20,000 แห่ง และอยู่ขั้นโคม่าหรือ ICU กว่า 15,000 แห่ง
       เดือนสิงหาคมที่เพิ่งจะผ่านมาครบ 15 ปี อยากให้ลองทบทวนกันว่า นับแต่ประกาศใช้ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 เปลี่ยนรมว.ศธ.และรัฐมนตรีช่วยมาแล้วเท่าใด น่าจะเป็นสถิติสูงสุดในโลก
       ส่วนใหญ่เมื่อมาแล้วมักพยายามสร้างให้มีผลงานใหม่ๆ มั่นใจตนเองถึงความรู้ ความเก่งและเฉลียวฉลาดเหนือกว่าคนการศึกษาที่ทำงานมายาวนาน
       ก็อย่างที่เห็นและเป็นไป 15 ปี ปฏิรูปการศึกษา มีอะไรที่ไปถึงฝั่งอย่างที่คิดกันมั่ง ช่วยบอกที
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่