การพัฒนา กองทัพสิงคโปร์ โดยมีต้นแบบมาจาก กองทัพอิสราเอล
กองทัพอิสราเอลกับการพัฒนากองทัพสิงคโปร์ เบื้องหลังการจัดตั้ง กองทัพสิงคโปร์ยุคใหม่ โดยถอดแผนแบบทุกอย่างมาจากกองทัพอิสราเอล ผู้ที่มีบทบาทอย่างมาก ในด้านการพัฒนากองทัพสิงคโปร์ก็คือ นายลี กวนยู ในอดีตที่ผ่านมากองทัพสิงคโปร์ถูกมองจากโลกภายนอกว่าเป็นกองทัพที่มีแต่เพียงยุทโธปกรณ์อันทรงอานุภาพ หากต้องเข้าสู่สนามรบจริง โดยมีการเปรียบเทียบสถานการณ์ในตะวันออกกลางช่วงที่ประเทศคูเวตซึ่งมีลักษณะการจัดกําลังคล้ายกับประเทศสิงคโปร์ และมีอาวุธยุทโธปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน แต่ก็ไม่สามารถต้านทานการบุกของอิรัก ภายใต้การนําของอดีตประธานาธิบดีซัดดัมฮุสเซน ที่เข้าไปบุกคูเวตในช่วงปี 2543
ความแตกต่างของกองทัพสิงคโปร์และกองทัพคูเวตที่เห็นได้อย่างชัดเจนก็คือ การมีมาตรฐานการจัดกําลังรบ ซึ่งตั้งอยู่บนฐานของความเป็นจริงที่ประกอบไปด้วยกําลังทหารที่พร้อมจะรับมือกับการรุกรานจากภายนอกประเทศ สิ่งเหล่านี้ทําให้ต้องมองย้อนกลับไปในอดีตตั้งแต่การก่อตั้งรากฐานของกองทัพสิงคโปร์ว่า มีที่มาจากที่ใด ในหนังสือเรื่องจากประเทศโลกที่สามสู่ความเป็นประเทศโลกที่หนึ่ง เรื่องราวของสิงคโปร์1965 ถึง 2000 เขียนโดยอดีตนายกรัฐมนตรี ลีกวนยู ได้เปิดเผยเรื่องราวที่ปกปิดมาเป็นเวลานานกว่าสี่สิบปีว่ากองทัพสิงคโปร์นั้นแท้จริงแล้ว ได้รับการจัดตั้งขึ้นโดยกองทัพอิสราเอล ตั้งแต่สิงคโปร์ประกาศเอกราชจากมาเลเซียเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ปีพุทธศักราช 2508 ในช่วงระยะเวลานั้น อินเดียและอียิปต์ ได้เสนอความช่วยเหลือในการจัดตั้งกองทัพสิงคโปร์ แต่ก็ได้รับการปฏิเสธจาก นายลี กวนยู
ในช่วงต้นของการประกาศเอกราชกองทัพสิงคโปร์มีกําลังทหารป้องกันประเทศเพียงสองกรมทหารราบเท่านั้นซึ่งอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของนายทหารอังกฤษอีกทั้งทหารจํานวนสองในสามก็ไม่ได้เป็นประชากรสิงคโปร์ดังนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมคนแรกของสิงคโปร์ คือนายโก๊ะ เคนสุวี จึงได้ติดต่อไปยังทูตอิสราเอลประจําประเทศไทยเพื่อขอให้สนับสนุนในการจัดตั้งกองทัพเนื่องจากในขณะนั้นสิงคโปร์และอิสราเอลยังไม่ได้มีความสัมพันธ์ทางการทูตจนถึงระดับที่มีการตั้งสถานเอกอัครราชทูตอิสราเอลในสิงคโปร์อิสราเอลเปิดสถานทูตของตนในสิงคโปร์เมื่อปี 2512
ก่อนหน้านั้นใช้การติดต่อผ่านสถานทูตอิสราเอลในประเทศไทย และในเวลาไม่กี่วันเจ้าหน้าที่สถารทูตของอิสลาเอลก็เดินทางจากกรุงเทพมาถึงสิงคโปร์พร้อมกับเจ้าหน้าที่จากหน่วยมอสซาร์ซึ่งเป็นหน่วยสืบราชการลับของอิสราเอลรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสิงคโปร์ ได้พาเจ้าหน้าที่ของอิสราเอลทั้งสองคน พร้อมกับภารกิจลับที่สุดเดินทางเข้าพบนายลีกวนยูเพื่อร่วมหารือกันในการจัดตั้งกองทัพสิงคโปร์ การหารือดังกล่าวส่งผลให้ นาย ยิปซัค ราบิน เสนาธิการของกองทัพอิสราเอลซึ่งต่อมาดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 5 ของอิสราเอล ได้อนุมัติให้ส่งพลตรี เลฮาวาม เซอีวี ซึ่งดํารงตําแหน่งรองเจ้ากรม ยุธการของกองทัพอิสราเอลเดินทางมายังสิงคโปร์ เพื่อเตรียมการทั้งหมด โดยพลตรี เรฮาวาม เซอีวี ได้กล่าวกับนาย ลีกกวนยู และฝ่ายสิงคโปร์ว่าแทนที่จะสร้างกระทรวงกลาโหมและฝ่ายเสนาธิการ เราต้องการจะสร้างกองทัพสิงคโปร์ที่มีศักยภาพที่ยอดเยี่ยม
การเดินทางเข้ามาของที่ปรึกษาทางทหารของอิสราเอลในภารกิจนี้เป็นความลับ สิงคโปร์ต้องมั่นใจว่าการส่งความช่วยเหลือของอิสราเอลเข้ามาในสิงคโปร์ จะต้องไม่ถูกแพร่งพลายออกไปเพราะในเวลานั้น อิสราเอลกําลังมีปัญหากับชาติอาหรับ ในขณะเดียวกัน สิงคโปร์ ก็เป็นเกาะเล็กเล็ก ที่มีประชากรส่วนใหญ่มีเชื้อสายจีน และมีที่ตั้งอยู่ท่ามกลางประเทศที่เป็นมุสลิม คือประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย 24 ธันวาคม 2508 ที่ปรึกษาทางทหารของอิสราเอลจํานวน 6 นาย เดินทางมายังสิงคโปร์เพื่อปฏิบัติภารกิจ ในการจัดตั้งหน่วยทหารราบของกองทัพสิงคโปร์ ตลอดจนกําหนดหลักนิยมในการรบบนพื้นฐานของการสร้างกองทัพสิงคโปร์ ให้ก้าวไปสู่ความเป็นกองทัพมืออาชีพ
ภารกิจแรกของอิสราเอลคือ การสร้างนักเรียนนายร้อยชาวสิงคโปร์ เพื่อให้เป็นผู้บังคับบัญชาและครูฝึกของกองทัพ
ภารกิจที่สอง คือการมอบหมายให้นักเรียนนายร้อย ที่กําลังได้รับการฝึกเป็นนายทหาร เขียนคู่มือการปฏิบัติการรบขึ้นเอง ในพื้นที่เขตร้อนซึ่งแตกต่างจากการรบในพื้นที่ทะเลทรายของอิสราเอล โดยมีที่ปรึกษาทางทหารชาวอิสราเอลทั้งหมดคอยปรับแต่งเนื้อหาให้มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
ภารกิจที่สาม คือการฝึกภาคปฏิบัติ ที่มีครูฝึกของกองทัพสิงคโปร์ ทําหน้าที่เป็นผู้ควบคุมการฝึกด้วยตนเอง
นับแต่นั้นมา ที่ปรึกษาทางทหารของอิสราเอลก็เริ่มทําการฝึกทหารสิงคโปร์จํานวน 300 ที่คัดเลือกมาจากผู้สมัครจํานวนกว่า 2,000 นาย พร้อมกับจัดหลักสูตรผู้บังคับหมวด และหลักสูตรนายทหาร ตามแผนการฝึกขั้นพื้นฐามีนายทหารสิงคโปร์จํานวน 117 นาย จากจํานวนทั้งหมด 300 ที่สามารถผ่านการฝึกเป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตร ส่วนที่เหลือได้รับการพิจารณาว่าไม่มีขีดความสามารถเพียงพอที่จะเป็นนายทหาร แต่ก็ยังคงอยู่ในกองทัพต่อไปโดยมี ยศนายสิบ เมื่อมีนายทหารและกําลังพลที่มีความเป็นทหารมืออาชีพมากเพียงพอ ที่จะเปิดหลักสูตรนายทหารฝ่ายเสนาธิการ ต่อมาที่ปรึกษาทางทหารของอิสราเอลก็เริ่มขยายขนาดของกองทัพ มีการจัดตั้งศูนย์ฝึกของกองทัพสิงคโปร์ขึ้น ที่เมืองปาเซอร์ลาบา และเริ่มเกณฑ์ชายชาวสิงคโปร์ที่มีอายุระหว่าง 18 ถึง 24 ปีเข้าเป็นทหาร เพื่อจัดตั้งกรมทหารราบเพิ่มจากเดิมที่มีอยู่สองกรม เป็น4 กรม แต่ละกรมมีผังการจัดตามแบบของกองทัพอิสราเอล
ในแต่ละกรม จะมีกองร้อยปืน ยาวจํานวนสามกองร้อย และกองร้อยสนับสนุนหนึ่งกองร้อย พร้อมกองร้อยกองบังคับการกรม มีกําลังพลรวม 600 นาย นายทหารอิสราเอลพบว่าการเกณฑ์ทหารในสิงคโปร์มีปัญหาอย่างมากเนื่องจากสิงคโปร์มีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวจีน มีการศึกษาดี และมีงานทํา เหลือเพียงคนว่างงานเท่านั้นที่ต้องการหรือสมัครใจเป็นทหารเพียงเพื่อหาเลี้ยงชีพ การเกณฑ์ทหารในสิงคโปร์ในระยะแรก
จึงกลายเป็นแหล่งสําหรับคนว่างงานและไร้การศึกษาที่ปรึกษาทางทหาร ของอิสราเอลพยายามอธิบายให้นายลีกวนยูเข้าใจว่าคุณภาพทางการศึกษาของทหารมีความสําคัญมากเพียงใดและหากได้ทหารเกณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพการสร้างกองทัพจะมีอุปสรรค แต่นายลีกวนยู และนายโก๊ะ เคนสุวีรัฐมนตรีกลาโหมของสิงคโปร์ในขณะนั้นชี้แจงว่า การสู้รบในสิงคโปร์ระหว่างทหารญี่ปุ่นกับทหารอังกฤษในสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้น ทหารอังกฤษส่วนใหญ่มีการศึกษาสูงกว่าทหารญี่ปุ่น แต่การศึกษาไม่ได้ทําให้อังกฤษ ชนะสงคราม ในทางตรงกันข้ามทหารญี่ปุ่นที่มีแนวความคิดและการศึกษาขั้นพื้นฐานธรรมดาต่างหาก ที่เป็นฝ่ายชนะ อีกทั้งทหารญี่ปุ่นยังเป็นทหารที่ยอดเยี่ยมในการปฏิบัติตามคําสั่งอย่างเคร่งครัดและปราศจากข้อขัดแย้ง
ที่ปรึกษาทางทหารของอิสราเอลโต้แย้งนายลีกวนยูว่า ชัยชนะที่เกิดขึ้นในการรบที่สิงคโปร์นั้นเพราะทหารญี่ปุ่นแรงจูงใจที่พร้อมจะสละชีวิตเพื่อองค์จักรพรรดิและเพื่อความยิ่งใหญ่ของประเทศส่วนทหารอังกฤษนั้นมีแรงจูงใจน้อยกว่าเพราะพวกเขาต่อสู้ห่างจากบ้านเกิดเมืองนอนนับ พันกิโล คําว่าแรงจูงใจนี้เอง ที่ทําให้นายลีกกวนอยู่คล้อยตามและเริ่มการสร้างแรงจูงใจให้กับชาวสิงคโปร์ในการพัฒนาประเทศและพัฒนากองทัพอย่างจริงจัง
เมื่อที่ปรึกษาทางทหารของอิสราเอลวางแผนสร้างทหารอาชีพและทหารกองประจําการแล้ว ขั้นต่อไปก็คือการสร้างกองกําลังสํารองตามแบบของอิสราเอล คือประชากรสิงคโปร์ทุกคนต้องเป็นทหารและเมื่อเข้ารับราชการครบตามกําหนด 2 ปี จะต้องรับใช้ชาติต่อไปอีก 13 ปีหรือจนถึงอายุ 33 ปี รวมทั้งมีการวางระบบการเรียกกําลังสํารองเข้าทําการฝึกแบบไม่มีการแจ้งเตือนล่วงหน้า
โดยกําลังสํารอง สิงคโปร์ได้ใช้พื้นที่ของประเทศพันธมิตรที่ตั้งอยู่ใกล้เคียงเป็นสถานที่ฝึก เนื่องจากข้อจํากัดด้านพื้นที่ ทําให้สิงคโปร์ไม่เหมาะสมกับการฝึกด้วยกระสุนจริง หลังจากที่กองทัพสิงคโปร์เริ่มเป็นรูปเป็นร่างแล้ว นาย ลีกวน ยู จึงขอให้ที่ปรึกษาทางทหารของอิสราเอลวางแผนการฝึกให้กับทหารสิงคโปร์ โดยทหารอิสราเอลทําการศึกษายุทธวิธีการรบของทหารญี่ปุ่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เพราะเหตุใด ทหารญี่ปุ่นจึงประสบความสําเร็จในการยึดมาเลเซียและสิงคโปร์ การศึกษานี้ทําให้มีการจัดตั้งกองกําลังทางเรือขึ้น โดยอิสราเอลได้ส่งนายทหารฝ่ายเสนาธิการสังกัดกรมยุทธการกองทัพเรืออิสราเอลมาวางแผนสร้างกองเรือยุคใหม่ให้กับกองทัพเรือสิงคโปร์ มีการจัดตั้งโรงเรียนทหารเรือสิงคโปร์ที่เกาะ centrosa
มีนักเรียนในเรือรุ่นแรกจํานวน 160 นาย เข้ารับการฝึก และได้รับการสนับสนุนครูฝึกจากกองทัพเรือนิวซีแลนด์ หลังจากนั้นเรือตรวจการความเร็วสูงลําแรกของกองทัพเรือสิงคโปร์ที่ผลิตในอังกฤษก็ได้รับการปล่อยลงน้ํา นั่นคือเรือ rss independendent ซึ่งเรือชุดนี้มีทั้งหมด 6 ลํา 2 ลําแรกผลิตในอังกฤษ ส่วนเรือลําที่อีก 4 ลํา สิงคโปร์ทําการผลิตเองในประเทศ
ในส่วนของกองทัพบกสิงคโปร์ มีการจัดระบบกองทัพแบบอิสราเอลด้วยการใช้กําลังทหารประจําการจํานวนไม่มาก และใช้เท่าที่จําเป็น ตลอดจนใช้แนวคิด การทวีกําลังรบ แม้มีกําลังพลน้อย แต่ก็ยกระดับให้มีอํานาจกําลังรบสูง โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย และการประสานงานการรบของทั้งสามเหล่าทัพโดยกําลังพลส่วนใหญ่ คือทหารกองประจําการและกองกําลังสํารอง กําลังทหาร กองประจําการ ทหารเกณฑ์ และกองกําลังสํารอง จะได้รับการฝึกอย่างต่อเนื่องปีละครั้ง ส่วนใหญ่การฝึกจะฝึกในต่างประเทศ เช่นออสเตเลีย บูไน ไต้หวัน ไทย และสหรัฐอเมริกา การฝึกนี้ส่งผลให้ทหารสิงคโปร์ ได้เรียนรู้ประสบการณ์ที่หลากหลายจากกองทัพนานาประเทศ
แนวคิดที่นาย ลีกวน ยู มุ่งเน้นในการสร้างกองทัพสิงคโปร์คือ พยายามให้อิสราเอล ถ่ายทอด เทคโนโลยีในการป้องกันประเทศ แนวคิดนี้ทําให้สิงคโปร์กลายเป็นประเทศที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีสูงที่สุดประเทศหนึ่งในภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แนวคิดของอิสราเอล ในการใช้เครื่องบินรบที่มีเทคโนโลยีทันสมัย ในการครองความเป็นเจ้าอากาศเหนือน่านฟ้า ซึ่งกองทัพอิสราเอลเคยใช้ และประสบความสําเร็จในการรบมาโดยตลอด ได้ส่งผลให้สิงคโปร์ มีกองทัพอากาศที่ทรงประสิทธิภาพ และแข็งแกร่งที่สุดกองทัพหนึ่งในอาเซียน
การทุ่มเทอย่างมาก ของอดีตนายกรัฐมนตรี ลีกวนยู และที่ปรึกษาทางทหารของ อิสราเอล ในการพัฒนากองทัพสิงคโปร์ ส่งผลให้กองทัพสิงคโปร์ มีแนวคิดและหลักนิยมที่ทันสมัย และมีประสิทธิภาพมากที่สุดประเทศหนึ่งในภูมิภาคอาเซียน ไม่ต่างจากกองทัพอิสราเอล ที่เป็นต้นแบบของการพัฒนา
การพัฒนา กองทัพสิงคโปร์ โดยมีต้นแบบมาจาก กองทัพอิสราเอล
ความแตกต่างของกองทัพสิงคโปร์และกองทัพคูเวตที่เห็นได้อย่างชัดเจนก็คือ การมีมาตรฐานการจัดกําลังรบ ซึ่งตั้งอยู่บนฐานของความเป็นจริงที่ประกอบไปด้วยกําลังทหารที่พร้อมจะรับมือกับการรุกรานจากภายนอกประเทศ สิ่งเหล่านี้ทําให้ต้องมองย้อนกลับไปในอดีตตั้งแต่การก่อตั้งรากฐานของกองทัพสิงคโปร์ว่า มีที่มาจากที่ใด ในหนังสือเรื่องจากประเทศโลกที่สามสู่ความเป็นประเทศโลกที่หนึ่ง เรื่องราวของสิงคโปร์1965 ถึง 2000 เขียนโดยอดีตนายกรัฐมนตรี ลีกวนยู ได้เปิดเผยเรื่องราวที่ปกปิดมาเป็นเวลานานกว่าสี่สิบปีว่ากองทัพสิงคโปร์นั้นแท้จริงแล้ว ได้รับการจัดตั้งขึ้นโดยกองทัพอิสราเอล ตั้งแต่สิงคโปร์ประกาศเอกราชจากมาเลเซียเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ปีพุทธศักราช 2508 ในช่วงระยะเวลานั้น อินเดียและอียิปต์ ได้เสนอความช่วยเหลือในการจัดตั้งกองทัพสิงคโปร์ แต่ก็ได้รับการปฏิเสธจาก นายลี กวนยู
ในช่วงต้นของการประกาศเอกราชกองทัพสิงคโปร์มีกําลังทหารป้องกันประเทศเพียงสองกรมทหารราบเท่านั้นซึ่งอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของนายทหารอังกฤษอีกทั้งทหารจํานวนสองในสามก็ไม่ได้เป็นประชากรสิงคโปร์ดังนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมคนแรกของสิงคโปร์ คือนายโก๊ะ เคนสุวี จึงได้ติดต่อไปยังทูตอิสราเอลประจําประเทศไทยเพื่อขอให้สนับสนุนในการจัดตั้งกองทัพเนื่องจากในขณะนั้นสิงคโปร์และอิสราเอลยังไม่ได้มีความสัมพันธ์ทางการทูตจนถึงระดับที่มีการตั้งสถานเอกอัครราชทูตอิสราเอลในสิงคโปร์อิสราเอลเปิดสถานทูตของตนในสิงคโปร์เมื่อปี 2512
ก่อนหน้านั้นใช้การติดต่อผ่านสถานทูตอิสราเอลในประเทศไทย และในเวลาไม่กี่วันเจ้าหน้าที่สถารทูตของอิสลาเอลก็เดินทางจากกรุงเทพมาถึงสิงคโปร์พร้อมกับเจ้าหน้าที่จากหน่วยมอสซาร์ซึ่งเป็นหน่วยสืบราชการลับของอิสราเอลรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสิงคโปร์ ได้พาเจ้าหน้าที่ของอิสราเอลทั้งสองคน พร้อมกับภารกิจลับที่สุดเดินทางเข้าพบนายลีกวนยูเพื่อร่วมหารือกันในการจัดตั้งกองทัพสิงคโปร์ การหารือดังกล่าวส่งผลให้ นาย ยิปซัค ราบิน เสนาธิการของกองทัพอิสราเอลซึ่งต่อมาดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 5 ของอิสราเอล ได้อนุมัติให้ส่งพลตรี เลฮาวาม เซอีวี ซึ่งดํารงตําแหน่งรองเจ้ากรม ยุธการของกองทัพอิสราเอลเดินทางมายังสิงคโปร์ เพื่อเตรียมการทั้งหมด โดยพลตรี เรฮาวาม เซอีวี ได้กล่าวกับนาย ลีกกวนยู และฝ่ายสิงคโปร์ว่าแทนที่จะสร้างกระทรวงกลาโหมและฝ่ายเสนาธิการ เราต้องการจะสร้างกองทัพสิงคโปร์ที่มีศักยภาพที่ยอดเยี่ยม
การเดินทางเข้ามาของที่ปรึกษาทางทหารของอิสราเอลในภารกิจนี้เป็นความลับ สิงคโปร์ต้องมั่นใจว่าการส่งความช่วยเหลือของอิสราเอลเข้ามาในสิงคโปร์ จะต้องไม่ถูกแพร่งพลายออกไปเพราะในเวลานั้น อิสราเอลกําลังมีปัญหากับชาติอาหรับ ในขณะเดียวกัน สิงคโปร์ ก็เป็นเกาะเล็กเล็ก ที่มีประชากรส่วนใหญ่มีเชื้อสายจีน และมีที่ตั้งอยู่ท่ามกลางประเทศที่เป็นมุสลิม คือประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย 24 ธันวาคม 2508 ที่ปรึกษาทางทหารของอิสราเอลจํานวน 6 นาย เดินทางมายังสิงคโปร์เพื่อปฏิบัติภารกิจ ในการจัดตั้งหน่วยทหารราบของกองทัพสิงคโปร์ ตลอดจนกําหนดหลักนิยมในการรบบนพื้นฐานของการสร้างกองทัพสิงคโปร์ ให้ก้าวไปสู่ความเป็นกองทัพมืออาชีพ
ภารกิจแรกของอิสราเอลคือ การสร้างนักเรียนนายร้อยชาวสิงคโปร์ เพื่อให้เป็นผู้บังคับบัญชาและครูฝึกของกองทัพ
ภารกิจที่สอง คือการมอบหมายให้นักเรียนนายร้อย ที่กําลังได้รับการฝึกเป็นนายทหาร เขียนคู่มือการปฏิบัติการรบขึ้นเอง ในพื้นที่เขตร้อนซึ่งแตกต่างจากการรบในพื้นที่ทะเลทรายของอิสราเอล โดยมีที่ปรึกษาทางทหารชาวอิสราเอลทั้งหมดคอยปรับแต่งเนื้อหาให้มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
ภารกิจที่สาม คือการฝึกภาคปฏิบัติ ที่มีครูฝึกของกองทัพสิงคโปร์ ทําหน้าที่เป็นผู้ควบคุมการฝึกด้วยตนเอง
นับแต่นั้นมา ที่ปรึกษาทางทหารของอิสราเอลก็เริ่มทําการฝึกทหารสิงคโปร์จํานวน 300 ที่คัดเลือกมาจากผู้สมัครจํานวนกว่า 2,000 นาย พร้อมกับจัดหลักสูตรผู้บังคับหมวด และหลักสูตรนายทหาร ตามแผนการฝึกขั้นพื้นฐามีนายทหารสิงคโปร์จํานวน 117 นาย จากจํานวนทั้งหมด 300 ที่สามารถผ่านการฝึกเป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตร ส่วนที่เหลือได้รับการพิจารณาว่าไม่มีขีดความสามารถเพียงพอที่จะเป็นนายทหาร แต่ก็ยังคงอยู่ในกองทัพต่อไปโดยมี ยศนายสิบ เมื่อมีนายทหารและกําลังพลที่มีความเป็นทหารมืออาชีพมากเพียงพอ ที่จะเปิดหลักสูตรนายทหารฝ่ายเสนาธิการ ต่อมาที่ปรึกษาทางทหารของอิสราเอลก็เริ่มขยายขนาดของกองทัพ มีการจัดตั้งศูนย์ฝึกของกองทัพสิงคโปร์ขึ้น ที่เมืองปาเซอร์ลาบา และเริ่มเกณฑ์ชายชาวสิงคโปร์ที่มีอายุระหว่าง 18 ถึง 24 ปีเข้าเป็นทหาร เพื่อจัดตั้งกรมทหารราบเพิ่มจากเดิมที่มีอยู่สองกรม เป็น4 กรม แต่ละกรมมีผังการจัดตามแบบของกองทัพอิสราเอล
ในแต่ละกรม จะมีกองร้อยปืน ยาวจํานวนสามกองร้อย และกองร้อยสนับสนุนหนึ่งกองร้อย พร้อมกองร้อยกองบังคับการกรม มีกําลังพลรวม 600 นาย นายทหารอิสราเอลพบว่าการเกณฑ์ทหารในสิงคโปร์มีปัญหาอย่างมากเนื่องจากสิงคโปร์มีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวจีน มีการศึกษาดี และมีงานทํา เหลือเพียงคนว่างงานเท่านั้นที่ต้องการหรือสมัครใจเป็นทหารเพียงเพื่อหาเลี้ยงชีพ การเกณฑ์ทหารในสิงคโปร์ในระยะแรก
จึงกลายเป็นแหล่งสําหรับคนว่างงานและไร้การศึกษาที่ปรึกษาทางทหาร ของอิสราเอลพยายามอธิบายให้นายลีกวนยูเข้าใจว่าคุณภาพทางการศึกษาของทหารมีความสําคัญมากเพียงใดและหากได้ทหารเกณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพการสร้างกองทัพจะมีอุปสรรค แต่นายลีกวนยู และนายโก๊ะ เคนสุวีรัฐมนตรีกลาโหมของสิงคโปร์ในขณะนั้นชี้แจงว่า การสู้รบในสิงคโปร์ระหว่างทหารญี่ปุ่นกับทหารอังกฤษในสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้น ทหารอังกฤษส่วนใหญ่มีการศึกษาสูงกว่าทหารญี่ปุ่น แต่การศึกษาไม่ได้ทําให้อังกฤษ ชนะสงคราม ในทางตรงกันข้ามทหารญี่ปุ่นที่มีแนวความคิดและการศึกษาขั้นพื้นฐานธรรมดาต่างหาก ที่เป็นฝ่ายชนะ อีกทั้งทหารญี่ปุ่นยังเป็นทหารที่ยอดเยี่ยมในการปฏิบัติตามคําสั่งอย่างเคร่งครัดและปราศจากข้อขัดแย้ง
ที่ปรึกษาทางทหารของอิสราเอลโต้แย้งนายลีกวนยูว่า ชัยชนะที่เกิดขึ้นในการรบที่สิงคโปร์นั้นเพราะทหารญี่ปุ่นแรงจูงใจที่พร้อมจะสละชีวิตเพื่อองค์จักรพรรดิและเพื่อความยิ่งใหญ่ของประเทศส่วนทหารอังกฤษนั้นมีแรงจูงใจน้อยกว่าเพราะพวกเขาต่อสู้ห่างจากบ้านเกิดเมืองนอนนับ พันกิโล คําว่าแรงจูงใจนี้เอง ที่ทําให้นายลีกกวนอยู่คล้อยตามและเริ่มการสร้างแรงจูงใจให้กับชาวสิงคโปร์ในการพัฒนาประเทศและพัฒนากองทัพอย่างจริงจัง
เมื่อที่ปรึกษาทางทหารของอิสราเอลวางแผนสร้างทหารอาชีพและทหารกองประจําการแล้ว ขั้นต่อไปก็คือการสร้างกองกําลังสํารองตามแบบของอิสราเอล คือประชากรสิงคโปร์ทุกคนต้องเป็นทหารและเมื่อเข้ารับราชการครบตามกําหนด 2 ปี จะต้องรับใช้ชาติต่อไปอีก 13 ปีหรือจนถึงอายุ 33 ปี รวมทั้งมีการวางระบบการเรียกกําลังสํารองเข้าทําการฝึกแบบไม่มีการแจ้งเตือนล่วงหน้า
โดยกําลังสํารอง สิงคโปร์ได้ใช้พื้นที่ของประเทศพันธมิตรที่ตั้งอยู่ใกล้เคียงเป็นสถานที่ฝึก เนื่องจากข้อจํากัดด้านพื้นที่ ทําให้สิงคโปร์ไม่เหมาะสมกับการฝึกด้วยกระสุนจริง หลังจากที่กองทัพสิงคโปร์เริ่มเป็นรูปเป็นร่างแล้ว นาย ลีกวน ยู จึงขอให้ที่ปรึกษาทางทหารของอิสราเอลวางแผนการฝึกให้กับทหารสิงคโปร์ โดยทหารอิสราเอลทําการศึกษายุทธวิธีการรบของทหารญี่ปุ่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เพราะเหตุใด ทหารญี่ปุ่นจึงประสบความสําเร็จในการยึดมาเลเซียและสิงคโปร์ การศึกษานี้ทําให้มีการจัดตั้งกองกําลังทางเรือขึ้น โดยอิสราเอลได้ส่งนายทหารฝ่ายเสนาธิการสังกัดกรมยุทธการกองทัพเรืออิสราเอลมาวางแผนสร้างกองเรือยุคใหม่ให้กับกองทัพเรือสิงคโปร์ มีการจัดตั้งโรงเรียนทหารเรือสิงคโปร์ที่เกาะ centrosa
มีนักเรียนในเรือรุ่นแรกจํานวน 160 นาย เข้ารับการฝึก และได้รับการสนับสนุนครูฝึกจากกองทัพเรือนิวซีแลนด์ หลังจากนั้นเรือตรวจการความเร็วสูงลําแรกของกองทัพเรือสิงคโปร์ที่ผลิตในอังกฤษก็ได้รับการปล่อยลงน้ํา นั่นคือเรือ rss independendent ซึ่งเรือชุดนี้มีทั้งหมด 6 ลํา 2 ลําแรกผลิตในอังกฤษ ส่วนเรือลําที่อีก 4 ลํา สิงคโปร์ทําการผลิตเองในประเทศ
ในส่วนของกองทัพบกสิงคโปร์ มีการจัดระบบกองทัพแบบอิสราเอลด้วยการใช้กําลังทหารประจําการจํานวนไม่มาก และใช้เท่าที่จําเป็น ตลอดจนใช้แนวคิด การทวีกําลังรบ แม้มีกําลังพลน้อย แต่ก็ยกระดับให้มีอํานาจกําลังรบสูง โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย และการประสานงานการรบของทั้งสามเหล่าทัพโดยกําลังพลส่วนใหญ่ คือทหารกองประจําการและกองกําลังสํารอง กําลังทหาร กองประจําการ ทหารเกณฑ์ และกองกําลังสํารอง จะได้รับการฝึกอย่างต่อเนื่องปีละครั้ง ส่วนใหญ่การฝึกจะฝึกในต่างประเทศ เช่นออสเตเลีย บูไน ไต้หวัน ไทย และสหรัฐอเมริกา การฝึกนี้ส่งผลให้ทหารสิงคโปร์ ได้เรียนรู้ประสบการณ์ที่หลากหลายจากกองทัพนานาประเทศ
แนวคิดที่นาย ลีกวน ยู มุ่งเน้นในการสร้างกองทัพสิงคโปร์คือ พยายามให้อิสราเอล ถ่ายทอด เทคโนโลยีในการป้องกันประเทศ แนวคิดนี้ทําให้สิงคโปร์กลายเป็นประเทศที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีสูงที่สุดประเทศหนึ่งในภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แนวคิดของอิสราเอล ในการใช้เครื่องบินรบที่มีเทคโนโลยีทันสมัย ในการครองความเป็นเจ้าอากาศเหนือน่านฟ้า ซึ่งกองทัพอิสราเอลเคยใช้ และประสบความสําเร็จในการรบมาโดยตลอด ได้ส่งผลให้สิงคโปร์ มีกองทัพอากาศที่ทรงประสิทธิภาพ และแข็งแกร่งที่สุดกองทัพหนึ่งในอาเซียน
การทุ่มเทอย่างมาก ของอดีตนายกรัฐมนตรี ลีกวนยู และที่ปรึกษาทางทหารของ อิสราเอล ในการพัฒนากองทัพสิงคโปร์ ส่งผลให้กองทัพสิงคโปร์ มีแนวคิดและหลักนิยมที่ทันสมัย และมีประสิทธิภาพมากที่สุดประเทศหนึ่งในภูมิภาคอาเซียน ไม่ต่างจากกองทัพอิสราเอล ที่เป็นต้นแบบของการพัฒนา