JJNY : 5in1 สัมภาษณ์“คีย์แมน”│ร้องรบ.‘ชำระปวศ.6ตุลาฯ’│ชี้เฟคนิวส์ทำสังคมวุ่น│ค้านแจกเงินดิจิทัล│อินเดีย คนไข้ตายปริศนา

เปิดเบื้องหลัง “ใบตองแห้ง” สัมภาษณ์ “คีย์แมน” ในเหตุการณ์14 ต.ค.16 ที่จะครบรอบ 50 ปี
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_4218368
 

 
“ใบตองแห้ง” เปิดเผยในรายการ The politics ถึงเบื้องหลังในการสัมภาษณ์บุคคลสำคัญที่มีส่วนเกี่ยวข้องในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ที่จะครบรอบ 50 ปีในปีนี้ ซึ่งเป็นซีรีย์ที่ “มติชน ทีวี” จัดทำเป็นพิเศษ  ติดตามชมรายละเอียดทั้งหมดจากคลิปด้านล่างนี้

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

 
ญาติวีรชน ร้องรัฐบาล ‘ชำระปวศ. 6 ตุลาฯ’ ทวงคืบหน้า พฤษภาทมิฬ-สลายเสื้อแดงปี 53
https://www.matichon.co.th/politics/news_4218928
 
 
ญาติวีรชน ร้องรัฐบาล ‘ชำระปวศ. 6 ตุลาฯ’ ทวงคืบหน้า พฤษภาทมิฬ – สลายเสื้อแดงปี 53
 
เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพฯ สภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเครือข่าย ร่วมจัดงาน “47 ปี 6 ตุลาฯ : กว่าจะเป็นประชาธิปไตย”

เวลา 13.30 น. ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศ ที่หอประชุมศรีบูรพา มีการถอดบทเรียนการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ในคอนเซ็ปต์ “กว่าจะเป็นประชาธิปไตย” โดยมีอดีตคนเดือนตุลา ญาติผู้ถูกบังคับสูญหาย และตัวแทนนักการเมืองร่วมแลกเปลี่ยนความเห็น ได้แก่ นายประเวศ เอมอมร ผู้ประสานงานวีรชนและญาติวีรชน 14 ตุลาคม 2516 กล่าวในหัวข้อ “การเยียวยาแบบสงเคราะห์นิยมจากรัฐไทย” , นายชัยธวัช ตุลาธน หัวหน้าพรรคก้าวไกล (ก.ก.) กล่าวในหัวข้อ “อีกกี่ตุลา(คม) สังคมไทยจึงจะพร้อมสำหรับเรื่องแหลมคม และการปูทางสู่ประชาธิปไตยในมุมมองของ ชัยธวัช ตุลาธน
 
ในตอนหนึ่ง นายประเวศ กล่าวในฐานะญาติวีรชนว่า เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และ 6 ตุลาคม 2519 เป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องกัน ถ้าไม่มี 14 ตุลาคม ก็ไม่มี 6 ตุลาคม
 
14 ตุลาคม 2516 นักเรียน นักศึกษา ประชาชนรวมตัวกันขับไล่เผด็จการ และเรียกร้องประชาธิปไตยได้สำเร็จ แต่ก็ต้องบาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก แต่ 6 ตุลาคม 2519 เป็นวันเอาคืนของอำนาจเผด็จการทหาร ที่สูญเสียอำนาจไปในวันที่ 14 ตุลาคม
 
นายประเวศกล่าวต่อว่า 6 ตุลาคม 2519 ต้องสูญเสีย ถูกจับ และหลบหนีเข้าป่าไปเป็นจำนวนมาก 47 ปี 6 ตุลาคม 2519 เป็นเวลายาวนาน แต่ก็ยังไม่สามารถชำระประวัติศาสตร์บาดแผล ที่เจ็บปวดที่สุด โศกนาฏกรรมล้อมปราบ ที่โหดเหี้ยมสยดสยอง
 
อนุสรณ์สถาน 14 ตุลาคมกว่าจะได้มาใช้เวลา 28 ปี ต้องต่อสู้กับสิ่งต่างๆ เช่นว่าไม่ควรรื้อฟื้นเหตุการณ์ที่มีการฆ่าฟันกัน ไม่ควรสร้างสิ่งที่ทำให้เกิดความบาดหมางกับทหาร แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าการเสียชีวิตของนักเรียน นิสิต นักศึกษา ประชาชน เกิดจากอำนาจเผด็จการทหาร
 
วีรชนและญาติวีรชน ขอให้รัฐบาลที่มาจากประชาธิปไตย ช่วยดำเนินการชำระประวัติศาสตร์ 6 ตุลาคม 2519 เพื่อให้ผู้เสียชีวิตมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เพราะถึงแม้จะเคยทำเรื่องชำระประวัติศาสตร์ของเดือนตุลาฯ มาหลายครั้ง แต่ก็ต้องทำอีก
 
“อีก 3 ปีจะครบ 50 ปี 6 ตุลาคม 2519 ญาติวีรชนที่ยังมีชีวิตอยู่ อยากให้ผู้ที่เสียชีวิตมีเกียรติ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เหมือนวีรชน 14 ตุลาคม 2516 เพราะเป็นเหตุการณ์เกี่ยวเนื่องกัน
 
สุดท้ายนี้ฝากไปถึงรัฐบาลที่มาจากประชาธิปไตย ช่วยทวงถามความยุติธรรมให้กับเหตุการณ์พฤษภาคม 2535 และการล้อมปราบคนเสื้อแดงในปี 2553 ซึ่งผู้กระทำผิดและผู้สั่งการยังคงลอยนวลอยู่ อย่าลืมอุดมการณ์ของคนเดือนตุลาคม” นายประเวศกล่าว



ปริญญา ชี้เฟคนิวส์ทำสังคมวุ่น ‘ความจริง’ 6 ตุลายังไม่เคลียร์ ฝากบทเรียน ‘เห็นต่างได้ ไม่เกลียดชัง’
https://www.matichon.co.th/politics/news_4218605

ปริญญา ชี้เฟคนิวส์ทำสังคมวุ่น ‘ความจริง’ 6 ตุลายังไม่เคลียร์ ฝากบทเรียน ‘เห็นต่างได้ ไม่เกลียดชัง’
 
เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ที่สวนประติมากรรมประวัติศาสตร์ ‘ธรรมศาสตร์ กับการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย’ บริเวณหน้าหอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพฯ สภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเครือข่าย ร่วมจัดงาน “47 ปี 6 ตุลาฯ : กว่าจะเป็นประชาธิปไตย
ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศ เมื่อเวลาประมาณ 07.00 น. เริ่มมีประชาชนนำพวงหรีดทยอยเข้ามาในพื้นที่บริเวณลานประติมากรรมฯ ขณะที่ผู้จัดทยอยนำรูปภาพประวัติศาสตร์ เหตุการณ์ 6 ตุลาติดตั้งบนป้ายหน้าหอประชุม
 
โดยในตอนหนึ่งของงาน ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนว่า ตอนที่ตนเรียนมหาวิทยาลัยปี 1 ปี 2529 ซึ่งผ่านมาแล้ว 10 ปี หลังเหตุการณ์ 6 ตุลา ตอนนั้นดูเป็นเรื่องห่างไกลกันมาก
 
ตอนนั้นจัดกิจกรรมอยู่ใต้ตึกกิจกรรม เพราะยังไม่มีอนุสาวรีย์ 6 ตุลาคม 2519 แล้วคนก็มาร่วมกิจกรรมไม่มาก นักศึกษาที่มาก็มีแต่เด็กกิจกรรม แต่เวลา 47 ปีผ่านไป คนที่มางานเป็นคนรุ่นใหม่ มีสัดส่วนมากกว่าคนรุ่นที่เคยผ่านเหตุการณ์ 6 ตุลา หรือคนสูงอายุ แปลว่าคนรุ่นใหม่ให้ความสนใจกับเหตุการณ์นี้มากขึ้น” ผศ.ดร.ปริญญาเผย
 
ผศ.ดร.ปริญญา กล่าวว่า ตนคิดว่าเป็นเรื่องที่มีประโยชน์ ที่จะมารำลึกในแง่ของการตระหนักร่วมกัน เป็นบทเรียนว่าครั้งหนึ่งมันเคยเกิดเหตุการณ์ที่เราเข่นฆ่ากัน ในที่แห่งนี้คือธรรมศาสตร์
 
จำนวนศพที่พบ คือ 41 ศพ จำนวน 1 ใน 3 เสียชีวิตโดยการถูกตีด้วยของแข็ง แปลว่าถูกประชาชนที่เห็นต่างระดมความเกลียดชังเข้ามาฆ่านักศึกษา
อย่างเรื่องของการมีอุโมงค์ลับ ซึ่งเป็นเรื่องเหลวไหล ไม่มี อาวุธสงคราม ไม่มี คือ เป็นเรื่องของการปลุกระดมทั้งสิ้น เรื่องที่เป็นสิ่งจุดระดมของเหตุการณ์นี้ คือ เฟคนิวส์ “ ผศ.ดร.ปริญญาชี้
 
ผศ.ดร.ปริญญา กล่าวว่า ขณะนั้นมีการคัดค้านการกลับมาของ จอมพลถนอม กิตติขจร ก็เลยเกิดการประท้วงการกลับมา เลยมีช่างไฟที่นครปฐมคืนนั้นไม่ได้กลับบ้าน และถูกพบว่า เสียชีวิตถูกแขวนที่ประตูแดง
 
นักศึกษาเลยมาเล่นละครวันที่ 4 ตุลาคม ที่ลานโพธิ์ เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับช่างไฟ ปรากฏว่าสื่อมวลชน ฉบับหนึ่งก็ไปบิดเบือน แล้วเกิดการปลุกระดม มันเป็นเฟคนิวส์ล้วนๆเลย” ผศ.ดร.ปริญญากล่าว
 
ผศ.ดร.ปริญญา กล่าวอีกว่า จึงเป็นบทเรียน ว่าเราจะทำอย่างไรไม่ให้ถูกปลุกปั่น หรือ ใช้เฟคนิวส์ เราต้องมาคุยกันเรื่องความเห็นต่าง มันเกิดขึ้นได้ในสังคม แต่จะทำอย่างไรให้ไม่กลายเป็นความเกลียดชัง และความรุนแรงแบบนี้อีก
 
ประการสำคัญอีกข้อหนึ่ง คือ วันที่ 6 ตุลาคม พอปราบปรามเสร็จ จับนักศึกษาไป 3,000 คนไปตอนสาย 6 โมงเย็น ทหารก็ปฏิวัติ ฉีกรัฐธรรมนูญ ปี 2517 ทิ้งไป แล้วก็ออกประกาศ คณะปฏิวัติมามากมาย และมีการเพิ่มโทษของ ม.112 จากเดิมจำคุกไม่เกิน 7 ปี ขั้นต่ำไม่มี
นั่นหมายความว่าถ้ามีความผิดเล็กน้อย ศาลจะให้จำคุกเพียง 1-2 เดือน แต่กลับมาการเพิ่มโทษสูงสุดเป็น 15 ปี แล้วขี้นต่ำจากที่ไม่มี กลายมาเป็นขึ้นต่ำ 3 ปี โดยการแก้ของคณะปฏิวัติ ปี 2519” ผศ.ดร.ปริญญาชี้
 
ผศ.ดร.ปริญญา กล่าวว่า จากเหตุการณ์ที่เป็นเฟคนิวส์ ควรเป็นบทเรียนให้กับทุกฝ่าย ว่าจะทำอย่างไรให้ความขัดแย้งและคใามเห็นต่าง ไม่นำไปสู่การเกลียดชังแบบนั้นขึ้นมาอีก
 
ควรจะเป็นบทเรียนว่า เราอาจจะมีความเห็นต่างกัน เอาข้อเท็จจริงมาพูดคุยกัน โดยที่ไม่ใช้ความรุนแรง และสุดท้ายบทเรียนที่คนรุ่นใหม่ให้สนใจมากขึ้น ทำอย่างไรให้การรำลึก 6 ตุลาคม ไม่ใช่เรื่องความโกรธแค้น
แน่นอนว่า บาดแผลยังไม่หายดีความจริงหลายอย่างยังไม่ปรากฏ แต่ว่าเราต้องรำลึกถึงเหตุการณ์นี้พร้อมกับทุกคน การอยู่ด้วยกันในสังคมอย่างไร ให้ความเห็นต่างไม่นำไปสู่การเข่นฆ่า” ผศ.ดร.ปริญญาเผย
 


อดีตผู้ว่าแบงก์ชาติ ค้านแจกเงินดิจิทัล ชี้ได้ไม่คุ้มเสีย
https://ch3plus.com/news/economy/ruangden/369208

นโยบายดิจิทัล วอลเล็ต เริ่มมีเสียงคัดค้านมากขึ้น ล่าสุด อดีตผู้ว่าแบงก์ชาติ ก็ออกมาคัดค้านนโยบายนี้

นายวิรไท สันติประภพ อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ได้โพสต์เฟสบุค แสดงความกังวลถึงนโยบายรัฐบาลแบบประชานิยมที่อาจบิดเบือนกลไกตลาด ซึ่งมีตัวอย่างนโยบายทั้ง โครงการรับจำนำข้าวทุกเม็ด หรือ โครงการรถคันแรก ที่เน้นกระตุ้นเศรษฐกิจช่วงสั้นๆ แต่สร้างความบิดเบือนให้กับกลไกตลาด และโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศ สร้างภาระทางการคลังแบบได้ไม่คุ้มเสีย และส่งผลกระทบต่อผลิตภาพยาวนานไปอีกหลายปี โครงการภาครัฐดีๆ นับสิบนับรน้อยโครงการที่จะสร้างประโยชน์ให้แก่ประชาชนในวันนี้ และวันหน้าอาจโดนถูกตัดงบประมาณลง และกระทบความน่าเชื่อถือ ทั้งจากในและต่างประเทศ

เช่นเดียวกับนักวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ที่เสนอให้รัฐบาลทบทวนนโยบายดิจิทัล วอลเลต โดยแจกเงิน 10,000 บาท โฟกัสเฉพาะกลุ่มคนจน และคนชั้นกลางที่มีปัญหาหนี้สินเท่านั้น เพื่อเหลือเงินส่วนหนึ่งไปลงทุนในระบบบริหารจัดการน้ำ รับมือกับเอลนีโญ่ ที่มีแนวโน้มว่าจะรุนแรงในปีหน้า
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่