ก้าวไกล แนะรัฐบาล ถอดบทเรียนเหตุสลดพารากอน เร่งพัฒนาระบบเตือนภัยฉุกเฉิน
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7900575
“ก้าวไกล” แนะ รัฐบาล เร่งพัฒนาระบบเตือนภัยฉุกเฉินอัตโนมัติ แจ้งข่าวน่าเชื่อถือให้ประชาชน ป้องกันความสับสน ชี้ สถานการณ์ใหม่เกิดขึ้นได้ตลอด
เมื่อวันที่ 5 ต.ค. 2566 นาย
นิติพล ผิวเหมาะ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวถึงกรณีเยาวชนอายุ 14 ปี ก่อเหตุยิงที่ห้างสรรพสินค้าสยามพารากอนว่า ตนและพรรคก้าวไกลขอแสดงความเสียใจและเป็นกำลังใจให้ครอบครัวผู้สูญเสีย ซึ่งเรื่องหนึ่งที่ต้องถอดบทเรียนจากกรณีดังกล่าว คือ ระบบแจ้งเตือนภัย เนื่องจากในช่วงที่เกิดเหตุพบว่าหลายคนไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น แม้อยู่ในบริเวณที่เกิดเหตุ ซึ่งเป็นเรื่องที่เสี่ยงมาก หากในอนาคตเกิดเหตุลักษณะเดียวกันก็อาจสูญเสียมากกว่านี้ได้
นาย
นิติพล กล่าวต่อว่า สิ่งที่ภาครัฐควรทำโดยเร็ว คือ ระบบแจ้งเตือนภัยผ่านข้อความมือถือให้คนในที่เกิดเหตุทราบโดยอัตโนมัติ เพราะในช่วงเกิดเหตุข้อมูลข่าวสารจะออกมาอย่างสับสนหลายทิศทาง จึงจำเป็นต้องมีการแจ้งข่าวที่เชื่อถือได้จากภาครัฐไปยังมือถือทุกเครื่องในสถานที่เกิดเหตุ เพื่อให้เขาตัดสินใจได้ว่าควรทำอย่างไร
นาย
นิติพล กล่าวว่า นอกจากนี้ ด้วยปัจจัยมากมายในปัจจุบันทำให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉินต่างๆ เกิดขึ้นได้หลากรูปแบบ ไม่ว่าภัยพิบัติ การก่อการร้าย รวมถึงพฤติกรรมเลียนแบบจากต่างประเทศในยุคที่ใครก็เข้าถึงสื่อได้ง่าย สิ่งที่ภาครัฐควรทำเพิ่มเติม คือ การสร้างภูมิคุ้มกันทางความคิดและอารมณ์ และต้องใส่องค์ความรู้การเอาตัวรอดในสถานการณ์ฉุกเฉินเข้าไปในหลักสูตรการศึกษา และสถานที่ทำงานต่างๆ ให้พวกเขาได้ฝึกซ้อมแนวปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุ
“
อย่างกรณีพารากอนทราบมาว่า ทางห้างได้จัดอบรมให้ทางร้านต่างๆ เมื่อเกิดเหตุจึงแจ้งเตือนลูกค้าและให้เข้าหลบภัยในร้านได้อย่างรวดเร็ว จึงทำให้โอกาสของการสูญเสียลดลง ดังนั้น เมื่อสถานการณ์ใหม่ยังคงเกิดได้ตลอด ภาครัฐจึงต้องตื่นตัวในการวางมาตรการรับมือและซักซ้อมความเข้าใจกับประชาชนหลังจากนี้” นาย
นิติพล กล่าว
ปภ.เผย 10 วัน น้ำท่วม กระทบ 33,140 ครัวเรือน เหลือ 4 จว.ยังอ่วม
https://www.matichon.co.th/local/news_4215848
ปภ.รายงานยังคงมีสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ 4 จังหวัด เร่งคลี่คลายสถานการณ์
เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 5 ตุลาคม ปภ.รายงานยังคงมีสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ ตาก กาฬสินธุ์ อุบลราชธานี และตราด รวม 15 อำเภอ 66 ตำบล 379 หมู่บ้าน 13,209 ครัวเรือน ภาพรวมระดับน้ำลดลงทุกจังหวัด ทั้งนี้ ปภ. ได้ประสานจังหวัดเร่งระบายน้ำท่วมและช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างต่อเนื่อง ส่วนพื้นที่คลี่คลายแล้ว ให้เร่งฟื้นฟูเพื่อให้ประชาชนกลับมาดำเนินชีวิตได้ตามปกติ รวมถึงสำรวจจัดทำบัญชีความเสียหาย เพื่อให้การช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ต่อไป
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย ในฐานะกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก) รายงานสถานการณ์ฝนตกหนักในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ระหว่างวันที่ 26 กันยายน – 5 ตุลาคม 2566 เกิดสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ 28 จังหวัด
ได้แก่ เพชรบูรณ์ แม่ฮ่องสอน ลำพูน อุตรดิตถ์ เชียงใหม่ ลำปาง สุโขทัย น่าน ตาก กำแพงเพชร แพร่ เลย ชัยภูมิ นครราชสีมา อุดรธานี ยโสธร กาฬสินธุ์ ขอนแก่น อุบลราชธานี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี นครนายก ตราด กาญจนบุรี ลพบุรี สมุทรปราการ สตูล และยะลา รวมจำนวน 96 อำเภอ 347 ตำบล 1,600 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 33,140 ครัวเรือน
โดยปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์น้ำท่วมใน 4 จังหวัด ได้แก่ ตาก กาฬสินธุ์ อุบลราชธานี และตราด รวม 15 อำเภอ 66 ตำบล 379 หมู่บ้าน และประชาชนได้รับผลกระทบ 13,209 ครัวเรือน รายละเอียด ดังนี้
• ตาก เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ สามเงา และบ้านตาก มีพื้นที่ได้รับผลกระทบ 4 ตำบล 21 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,737 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
• กาฬสินธุ์ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 10 อำเภอ ได้แก่ เมืองกาฬสินธุ์ ร่องคำ ฆ้องชัย ยางตลาด กมลาไสย สามชัย ท่าคันโท หนองกุงศรี สหัสขันธ์ และห้วยเม็ก มีพื้นที่ได้รับผลกระทบ 55 ตำบล 322 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 9,065 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
• อุบลราชธานี เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ เมืองอุบลราชธานี และวารินชำราบ มีพื้นที่ได้รับผลกระทบ 6 ตำบล 35 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,407 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
• ตราด เกิดน้ำท่วมในพื้นที่อำเภอบ่อไร่ มีพื้นที่ได้รับผลกระทบ 1 ตำบล 1 หมู่บ้าน ระดับน้ำลดลง
ภาพรวมสถานการณ์ ระดับน้ำลดลงทุกจังหวัด สำหรับการแก้ไขปัญหาและให้การช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดได้ประสานจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ดูแลให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างเต็มกำลัง สำหรับพื้นที่ที่สถานการณ์คลี่คลายแล้วได้ระดมกำลังเจ้าหน้าที่ฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว เพื่อให้ประชาชนสามารถกลับมาดำเนินชีวิตได้ตามปกติโดยเร็วที่สุด รวมถึงจัดเจ้าหน้าที่เข้าสำรวจและจัดทำบัญชีความเสียหาย เพื่อดำเนินการช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ต่อไป
ทั้งนี้ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสาธารณภัย สามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ “ปภ.รับ แจ้งเหตุ 1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM และสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ ประชาชนยังสามารถติดตามประกาศการแจ้งเตือนภัยได้ที่แอปพลิเคชัน “THAI DISASTER ALERT”
เงินลงทุนต่างชาติ ไหลออกต่อเนื่อง-ราคาทองคำร่วง กดดันบาทอ่อน จับตาอัตราเงินเฟ้อ
https://www.matichon.co.th/economy/news_4215690
ฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติ ไหลออกอย่างต่อเนื่อง-ราคาทองคำร่วง กดดันบาทอ่อน
นาย
พูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 36.95 บาทต่อดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นจากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ 37.07 บาทต่อดอลลาร์ มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 36.80-37.10 บาทต่อดอลลาร์
โดยในช่วงคืนก่อนหน้า ค่าเงินบาททยอยแข็งค่าขึ้น (แกว่งตัวในช่วง 36.88-37.09 บาทต่อดอลลาร์) โดยมีจังหวะผันผวนในช่วงตลาดทยอยรับรู้รายงานยอดการจ้างงานภาคเอกชนโดย ADP ซึ่งออกมาแย่กว่าคาด รวมถึงช่วงตลาดทยอยรับรู้รายงานดัชนี ISM PMI ภาคการบริการ ที่แม้จะออกมาตามคาด แต่ก็ส่งสัญญาณว่าภาคการบริการของสหรัฐฯ ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงมากขึ้น โดยรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ไม่ได้ออกมาดีมากนัก ได้ส่งผลให้ ทั้งเงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ปรับตัวลดลง และหนุนให้ ราคาทองคำมีจังหวะสามารถรีบาวด์ขึ้นมาได้บ้าง
นาย
พูนกล่าวว่า สำหรับแนวโน้มของค่าเงินบาท โมเมนตัมการอ่อนค่าของเงินบาทนั้นเริ่มกลับมาชะลอลงชัดเจน หลังรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ล่าสุด ที่ไม่ได้ออกมาดีกว่าคาด ได้ส่งผลให้เงินดอลลาร์เริ่มย่อตัวลงบ้าง ขณะเดียวกัน ราคาทองคำก็เริ่มส่งสัญญาณพร้อมรีบาวด์สูงขึ้น ทว่าปัจจัยสำคัญที่ยังคงขัดขวางการแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องของเงินบาท คือ ฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติที่ยังคงมีทิศทางไหลออกอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ดี การย่อตัวลงชัดเจนของบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ในช่วงคืนที่ผ่านมา อาจหนุนให้บอนด์ยีลด์ระยะยาวของไทยย่อตัวลงได้บ้าง ซึ่งอาจทำให้นักลงทุนต่างชาติเริ่มกลับเข้ามาซื้อบอนด์ได้บ้าง หรือ อย่างน้อย ลดแรงขายบอนด์ในช่วงนี้ ตราบใดที่บอนด์ยีลด์ระยะยาวทั้งในฝั่งสหรัฐฯ และฝั่งไทย ไม่ได้เร่งตัวขึ้นอีกครั้ง นอกจากนี้ บรรยากาศในตลาดการเงินที่เริ่มกล้าเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น ก็อาจหนุนการรีบาวด์ของตลาดหุ้นไทยและมีโอกาสที่จะเห็นนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งมักจะเป็นสาย Buy on Dip เริ่มกลับเข้ามาซื้อหุ้นไทยได้บ้าง
ทั้งนี้ แม้ว่าโมเมนตัมการอ่อนค่าของเงินบาทจะชะลอลง แต่เงินบาทอาจยังไม่สามารถพลิกกลับมาแข็งค่าได้ชัดเจน จนกว่าจะเห็นปัจจัยหนุนฝั่งแข็งค่า อย่าง ฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติ หรือ เห็นการอ่อนค่าต่อเนื่องของเงินดอลลาร์ และการรีบาวด์ขึ้นของราคาทองคำ ซึ่งอาจต้องเห็นรายงานข้อมูลการจ้างงานสหรัฐฯ ในวันศุกร์นี้ ที่ชะลอลงชัดเจน
ดังนั้น ก่อนที่ตลาดจะรับรู้รายงานตลาดแรงงานสหรัฐฯ เราคาดว่า ผู้เล่นในตลาดอาจยังไม่ปรับสถานะการถือครองที่ชัดเจน ทำให้ เงินบาทก็อาจยังแกว่งตัว sideway โดยประเมินแนวรับแถว 36.80 บาทต่อดอลลาร์ (หากแข็งค่าหลุดโซนแนวรับ ก็มีโอกาสแข็งค่าทดสอบโซน 36.60 บาทต่อดอลลาร์ ได้ไม่ยาก) ขณะที่โซนแนวต้านของเงินบาทอาจยังอยู่ในช่วงโซน 37.10-37.15 บาทต่อดอลลาร์
“
สินทรัพย์ยังอยู่ในช่วงเผชิญความผันผวนสูง จากนโยบายการเงิน การฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน ผู้ประกอบการควรใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงที่หลากหลาย อาทิ Option เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน และการเลือกทำธุรกรรมในสกุลเงินท้องถิ่น (Local Currency) ซึ่งผู้ประกอบการควรเปรียบเทียบต้นทุนในการทำธุรกรรมและแผนการป้องกันความเสี่ยงก่อนตัดสินใจทุกครั้ง” นาย
พูนกล่าว
ขณะเดียวกัน ทางด้านตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์เคลื่อนไหว sideway โดยรวมดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY) ยังคงแกว่งตัวใกล้ระดับ 106.8 จุด (กรอบ 106.5-107 จุด) โดยเงินดอลลาร์มีจังหวะผันผวนในช่วงตลาดทยอยรับรู้รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งเงินดอลลาร์ได้แข็งค่าขึ้นบ้าง ก่อนรับรู้ข้อมูลเศรษฐกิจ และทยอยอ่อนค่าลง หลังรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ไม่ได้ออกมาดีกว่าคาด
นาย
พูนกล่าวว่า สำหรับวันนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นรายงานอัตราเงินเฟ้อทั่วไป CPI ของไทย ซึ่งเราประเมินว่า แม้ว่ารัฐบาลจะออกมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพด้วยการลดค่าไฟฟ้าลง แต่ทว่า ผลกระทบจากภาวะเอลนีโญอาจยังหนุนให้ราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ เพิ่มขึ้นราว +0.3%m/m (ส่วนใหญ่มาจากการปรับตัวขึ้นของราคาข้าว แป้ง ผักและผลไม้)
นอกจากนี้ ราคาพลังงานยังปรับตัวขึ้นไม่น้อยกว่า +2%m/m ทำให้โดยรวมอัตราเงินเฟ้อทั่วไป อาจเพิ่มขึ้น +0.2%m/m หรือ +0.86%y/y ทั้งนี้ หากโมเมนตัมอัตราเงินเฟ้อรายเดือนเพิ่มขึ้นไม่เกิน +0.2%m/m ก็อาจทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยไม่ได้กังวลต่อแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อมากนักและการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอาจถึงจุดยุติแล้วที่ระดับ 2.50%
ส่วนในฝั่งสหรัฐฯ ผู้เล่นในตลาดจะรอจับตารายงานยอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงาน (Jobless Claims) ซึ่งอาจส่งผลต่อมุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มตลาดแรงงานสหรัฐฯ และแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินของเฟดได้ และนอกเหนือจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจดังกล่าว ผู้เล่นในตลาดจะรอจับตาถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางหลัก ทั้ง เฟด และ ECB เพื่อประเมินแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินในระยะถัดไป
JJNY : ก้าวไกลแนะ ถอดบทเรียน│น้ำท่วม เหลือ 4 จว.ยังอ่วม│เงินลงทุนต่างชาติ ไหลออกต่อเนื่อง│ไต้หวันอ่วม “ไต้ฝุ่นโคอินุ”
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7900575
“ก้าวไกล” แนะ รัฐบาล เร่งพัฒนาระบบเตือนภัยฉุกเฉินอัตโนมัติ แจ้งข่าวน่าเชื่อถือให้ประชาชน ป้องกันความสับสน ชี้ สถานการณ์ใหม่เกิดขึ้นได้ตลอด
เมื่อวันที่ 5 ต.ค. 2566 นายนิติพล ผิวเหมาะ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวถึงกรณีเยาวชนอายุ 14 ปี ก่อเหตุยิงที่ห้างสรรพสินค้าสยามพารากอนว่า ตนและพรรคก้าวไกลขอแสดงความเสียใจและเป็นกำลังใจให้ครอบครัวผู้สูญเสีย ซึ่งเรื่องหนึ่งที่ต้องถอดบทเรียนจากกรณีดังกล่าว คือ ระบบแจ้งเตือนภัย เนื่องจากในช่วงที่เกิดเหตุพบว่าหลายคนไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น แม้อยู่ในบริเวณที่เกิดเหตุ ซึ่งเป็นเรื่องที่เสี่ยงมาก หากในอนาคตเกิดเหตุลักษณะเดียวกันก็อาจสูญเสียมากกว่านี้ได้
นายนิติพล กล่าวต่อว่า สิ่งที่ภาครัฐควรทำโดยเร็ว คือ ระบบแจ้งเตือนภัยผ่านข้อความมือถือให้คนในที่เกิดเหตุทราบโดยอัตโนมัติ เพราะในช่วงเกิดเหตุข้อมูลข่าวสารจะออกมาอย่างสับสนหลายทิศทาง จึงจำเป็นต้องมีการแจ้งข่าวที่เชื่อถือได้จากภาครัฐไปยังมือถือทุกเครื่องในสถานที่เกิดเหตุ เพื่อให้เขาตัดสินใจได้ว่าควรทำอย่างไร
นายนิติพล กล่าวว่า นอกจากนี้ ด้วยปัจจัยมากมายในปัจจุบันทำให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉินต่างๆ เกิดขึ้นได้หลากรูปแบบ ไม่ว่าภัยพิบัติ การก่อการร้าย รวมถึงพฤติกรรมเลียนแบบจากต่างประเทศในยุคที่ใครก็เข้าถึงสื่อได้ง่าย สิ่งที่ภาครัฐควรทำเพิ่มเติม คือ การสร้างภูมิคุ้มกันทางความคิดและอารมณ์ และต้องใส่องค์ความรู้การเอาตัวรอดในสถานการณ์ฉุกเฉินเข้าไปในหลักสูตรการศึกษา และสถานที่ทำงานต่างๆ ให้พวกเขาได้ฝึกซ้อมแนวปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุ
“อย่างกรณีพารากอนทราบมาว่า ทางห้างได้จัดอบรมให้ทางร้านต่างๆ เมื่อเกิดเหตุจึงแจ้งเตือนลูกค้าและให้เข้าหลบภัยในร้านได้อย่างรวดเร็ว จึงทำให้โอกาสของการสูญเสียลดลง ดังนั้น เมื่อสถานการณ์ใหม่ยังคงเกิดได้ตลอด ภาครัฐจึงต้องตื่นตัวในการวางมาตรการรับมือและซักซ้อมความเข้าใจกับประชาชนหลังจากนี้” นายนิติพล กล่าว
ปภ.เผย 10 วัน น้ำท่วม กระทบ 33,140 ครัวเรือน เหลือ 4 จว.ยังอ่วม
https://www.matichon.co.th/local/news_4215848
ปภ.รายงานยังคงมีสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ 4 จังหวัด เร่งคลี่คลายสถานการณ์
เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 5 ตุลาคม ปภ.รายงานยังคงมีสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ ตาก กาฬสินธุ์ อุบลราชธานี และตราด รวม 15 อำเภอ 66 ตำบล 379 หมู่บ้าน 13,209 ครัวเรือน ภาพรวมระดับน้ำลดลงทุกจังหวัด ทั้งนี้ ปภ. ได้ประสานจังหวัดเร่งระบายน้ำท่วมและช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างต่อเนื่อง ส่วนพื้นที่คลี่คลายแล้ว ให้เร่งฟื้นฟูเพื่อให้ประชาชนกลับมาดำเนินชีวิตได้ตามปกติ รวมถึงสำรวจจัดทำบัญชีความเสียหาย เพื่อให้การช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ต่อไป
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย ในฐานะกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก) รายงานสถานการณ์ฝนตกหนักในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ระหว่างวันที่ 26 กันยายน – 5 ตุลาคม 2566 เกิดสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ 28 จังหวัด
ได้แก่ เพชรบูรณ์ แม่ฮ่องสอน ลำพูน อุตรดิตถ์ เชียงใหม่ ลำปาง สุโขทัย น่าน ตาก กำแพงเพชร แพร่ เลย ชัยภูมิ นครราชสีมา อุดรธานี ยโสธร กาฬสินธุ์ ขอนแก่น อุบลราชธานี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี นครนายก ตราด กาญจนบุรี ลพบุรี สมุทรปราการ สตูล และยะลา รวมจำนวน 96 อำเภอ 347 ตำบล 1,600 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 33,140 ครัวเรือน
โดยปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์น้ำท่วมใน 4 จังหวัด ได้แก่ ตาก กาฬสินธุ์ อุบลราชธานี และตราด รวม 15 อำเภอ 66 ตำบล 379 หมู่บ้าน และประชาชนได้รับผลกระทบ 13,209 ครัวเรือน รายละเอียด ดังนี้
• ตาก เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ สามเงา และบ้านตาก มีพื้นที่ได้รับผลกระทบ 4 ตำบล 21 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,737 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
• กาฬสินธุ์ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 10 อำเภอ ได้แก่ เมืองกาฬสินธุ์ ร่องคำ ฆ้องชัย ยางตลาด กมลาไสย สามชัย ท่าคันโท หนองกุงศรี สหัสขันธ์ และห้วยเม็ก มีพื้นที่ได้รับผลกระทบ 55 ตำบล 322 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 9,065 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
• อุบลราชธานี เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ เมืองอุบลราชธานี และวารินชำราบ มีพื้นที่ได้รับผลกระทบ 6 ตำบล 35 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,407 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
• ตราด เกิดน้ำท่วมในพื้นที่อำเภอบ่อไร่ มีพื้นที่ได้รับผลกระทบ 1 ตำบล 1 หมู่บ้าน ระดับน้ำลดลง
ภาพรวมสถานการณ์ ระดับน้ำลดลงทุกจังหวัด สำหรับการแก้ไขปัญหาและให้การช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดได้ประสานจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ดูแลให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างเต็มกำลัง สำหรับพื้นที่ที่สถานการณ์คลี่คลายแล้วได้ระดมกำลังเจ้าหน้าที่ฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว เพื่อให้ประชาชนสามารถกลับมาดำเนินชีวิตได้ตามปกติโดยเร็วที่สุด รวมถึงจัดเจ้าหน้าที่เข้าสำรวจและจัดทำบัญชีความเสียหาย เพื่อดำเนินการช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ต่อไป
ทั้งนี้ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสาธารณภัย สามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ “ปภ.รับ แจ้งเหตุ 1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM และสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ ประชาชนยังสามารถติดตามประกาศการแจ้งเตือนภัยได้ที่แอปพลิเคชัน “THAI DISASTER ALERT”
เงินลงทุนต่างชาติ ไหลออกต่อเนื่อง-ราคาทองคำร่วง กดดันบาทอ่อน จับตาอัตราเงินเฟ้อ
https://www.matichon.co.th/economy/news_4215690
ฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติ ไหลออกอย่างต่อเนื่อง-ราคาทองคำร่วง กดดันบาทอ่อน
นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 36.95 บาทต่อดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นจากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ 37.07 บาทต่อดอลลาร์ มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 36.80-37.10 บาทต่อดอลลาร์
โดยในช่วงคืนก่อนหน้า ค่าเงินบาททยอยแข็งค่าขึ้น (แกว่งตัวในช่วง 36.88-37.09 บาทต่อดอลลาร์) โดยมีจังหวะผันผวนในช่วงตลาดทยอยรับรู้รายงานยอดการจ้างงานภาคเอกชนโดย ADP ซึ่งออกมาแย่กว่าคาด รวมถึงช่วงตลาดทยอยรับรู้รายงานดัชนี ISM PMI ภาคการบริการ ที่แม้จะออกมาตามคาด แต่ก็ส่งสัญญาณว่าภาคการบริการของสหรัฐฯ ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงมากขึ้น โดยรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ไม่ได้ออกมาดีมากนัก ได้ส่งผลให้ ทั้งเงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ปรับตัวลดลง และหนุนให้ ราคาทองคำมีจังหวะสามารถรีบาวด์ขึ้นมาได้บ้าง
นายพูนกล่าวว่า สำหรับแนวโน้มของค่าเงินบาท โมเมนตัมการอ่อนค่าของเงินบาทนั้นเริ่มกลับมาชะลอลงชัดเจน หลังรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ล่าสุด ที่ไม่ได้ออกมาดีกว่าคาด ได้ส่งผลให้เงินดอลลาร์เริ่มย่อตัวลงบ้าง ขณะเดียวกัน ราคาทองคำก็เริ่มส่งสัญญาณพร้อมรีบาวด์สูงขึ้น ทว่าปัจจัยสำคัญที่ยังคงขัดขวางการแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องของเงินบาท คือ ฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติที่ยังคงมีทิศทางไหลออกอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ดี การย่อตัวลงชัดเจนของบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ในช่วงคืนที่ผ่านมา อาจหนุนให้บอนด์ยีลด์ระยะยาวของไทยย่อตัวลงได้บ้าง ซึ่งอาจทำให้นักลงทุนต่างชาติเริ่มกลับเข้ามาซื้อบอนด์ได้บ้าง หรือ อย่างน้อย ลดแรงขายบอนด์ในช่วงนี้ ตราบใดที่บอนด์ยีลด์ระยะยาวทั้งในฝั่งสหรัฐฯ และฝั่งไทย ไม่ได้เร่งตัวขึ้นอีกครั้ง นอกจากนี้ บรรยากาศในตลาดการเงินที่เริ่มกล้าเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น ก็อาจหนุนการรีบาวด์ของตลาดหุ้นไทยและมีโอกาสที่จะเห็นนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งมักจะเป็นสาย Buy on Dip เริ่มกลับเข้ามาซื้อหุ้นไทยได้บ้าง
ทั้งนี้ แม้ว่าโมเมนตัมการอ่อนค่าของเงินบาทจะชะลอลง แต่เงินบาทอาจยังไม่สามารถพลิกกลับมาแข็งค่าได้ชัดเจน จนกว่าจะเห็นปัจจัยหนุนฝั่งแข็งค่า อย่าง ฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติ หรือ เห็นการอ่อนค่าต่อเนื่องของเงินดอลลาร์ และการรีบาวด์ขึ้นของราคาทองคำ ซึ่งอาจต้องเห็นรายงานข้อมูลการจ้างงานสหรัฐฯ ในวันศุกร์นี้ ที่ชะลอลงชัดเจน
ดังนั้น ก่อนที่ตลาดจะรับรู้รายงานตลาดแรงงานสหรัฐฯ เราคาดว่า ผู้เล่นในตลาดอาจยังไม่ปรับสถานะการถือครองที่ชัดเจน ทำให้ เงินบาทก็อาจยังแกว่งตัว sideway โดยประเมินแนวรับแถว 36.80 บาทต่อดอลลาร์ (หากแข็งค่าหลุดโซนแนวรับ ก็มีโอกาสแข็งค่าทดสอบโซน 36.60 บาทต่อดอลลาร์ ได้ไม่ยาก) ขณะที่โซนแนวต้านของเงินบาทอาจยังอยู่ในช่วงโซน 37.10-37.15 บาทต่อดอลลาร์
“สินทรัพย์ยังอยู่ในช่วงเผชิญความผันผวนสูง จากนโยบายการเงิน การฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน ผู้ประกอบการควรใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงที่หลากหลาย อาทิ Option เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน และการเลือกทำธุรกรรมในสกุลเงินท้องถิ่น (Local Currency) ซึ่งผู้ประกอบการควรเปรียบเทียบต้นทุนในการทำธุรกรรมและแผนการป้องกันความเสี่ยงก่อนตัดสินใจทุกครั้ง” นายพูนกล่าว
ขณะเดียวกัน ทางด้านตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์เคลื่อนไหว sideway โดยรวมดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY) ยังคงแกว่งตัวใกล้ระดับ 106.8 จุด (กรอบ 106.5-107 จุด) โดยเงินดอลลาร์มีจังหวะผันผวนในช่วงตลาดทยอยรับรู้รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งเงินดอลลาร์ได้แข็งค่าขึ้นบ้าง ก่อนรับรู้ข้อมูลเศรษฐกิจ และทยอยอ่อนค่าลง หลังรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ไม่ได้ออกมาดีกว่าคาด
นายพูนกล่าวว่า สำหรับวันนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นรายงานอัตราเงินเฟ้อทั่วไป CPI ของไทย ซึ่งเราประเมินว่า แม้ว่ารัฐบาลจะออกมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพด้วยการลดค่าไฟฟ้าลง แต่ทว่า ผลกระทบจากภาวะเอลนีโญอาจยังหนุนให้ราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ เพิ่มขึ้นราว +0.3%m/m (ส่วนใหญ่มาจากการปรับตัวขึ้นของราคาข้าว แป้ง ผักและผลไม้)
นอกจากนี้ ราคาพลังงานยังปรับตัวขึ้นไม่น้อยกว่า +2%m/m ทำให้โดยรวมอัตราเงินเฟ้อทั่วไป อาจเพิ่มขึ้น +0.2%m/m หรือ +0.86%y/y ทั้งนี้ หากโมเมนตัมอัตราเงินเฟ้อรายเดือนเพิ่มขึ้นไม่เกิน +0.2%m/m ก็อาจทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยไม่ได้กังวลต่อแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อมากนักและการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอาจถึงจุดยุติแล้วที่ระดับ 2.50%
ส่วนในฝั่งสหรัฐฯ ผู้เล่นในตลาดจะรอจับตารายงานยอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงาน (Jobless Claims) ซึ่งอาจส่งผลต่อมุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มตลาดแรงงานสหรัฐฯ และแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินของเฟดได้ และนอกเหนือจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจดังกล่าว ผู้เล่นในตลาดจะรอจับตาถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางหลัก ทั้ง เฟด และ ECB เพื่อประเมินแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินในระยะถัดไป