ญาติวีรชน นัดรวมตัวรำลึก 50 ปี 14 ตุลา ร้อง ‘เศรษฐา’ ทวงสิทธิเงินเยียวยา หลังถูก รบ.ประยุทธ์ตัดทิ้ง
https://www.matichon.co.th/politics/news_4210176
ญาติวีรชน 14 ตุลา นัดรวมตัวเดินงานรำลึกเหตุการณ์ล้อมปราบ 6 ตุลา ที่ธรรมศาสตร์ ก่อนร่วมไว้อาลัยครบ 50 ปี 14 ตุลา ที่อนุสรณ์สี่แยกคอกวัว เรียกร้อง “เศรษฐา” ทวงสิทธิเงินเยียวยาช่วยเหลือและค่าทำศพที่เคยได้สมัยรัฐบาล “ยิ่งลักษณ์” แต่ถูกรัฐบาลประยุทธ์ตัดทิ้ง
นาย
ประเวศ เอมอมร ผู้ประสานงานวีรชนและญาติวีรชน 14 ตุลาคม 2516 เปิดเผยว่า การจัดงานรำลึกเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ซึ่งจะจัดที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตั้งแต่เช้าวันที่ 6 ตุลาคมนี้ ในตอนบ่าย วีรชนและญาติวีรชน 14 ตุลา จะขึ้นเวที ณ หอประชุมเล็กธรรมศาสตร์แสดงความรู้สึกต่อเหตุการณ์ล้อมปราบอันเหี้ยมโหดเมื่อ 47 ปีก่อนและจะเปิดเผยถึงข้อเรียกร้องให้รัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน ได้พิจารณาให้ความช่วยเหลือเรื่องเงินเยียวยาช่วยเหลือในการดำรงชีพเดือนละ 7,000 บาท เงินค่าทำศพคนละ 20,000 บาท ซึ่งเคยได้รับตามมติคณะรัฐมนตรีสมัยรัฐบาล
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อปี 2556 แต่ต่อมาได้เกิดการรัฐประหารปี 2557 ในปีต่อมา 2558 มติคณะรัฐมนตรีรัฐบาล พล.อ.ป
ระยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ลดเงินช่วยเหลือเยียวยาจาก 7,000 บาทเหลือ 3,000 บาทและตัดเงินค่าทำศพทั้งหมด จากนั้นมาถึงปัจจุบันเป็นเวลาเกือบ 10 ปี วีรชนและญาติวีรชนที่เหลือชีวิตกว่า 50 คนได้รับความลำบากและเดือดร้อน ต้องการทวงสิทธิอันชอบธรรมที่เคยได้รับกลับคืนมา
นาย
ประเวศกล่าวว่า รายละเอียดต่างๆ จะไปเปิดเผยในงานรำลึกครบรอบ 50 ปี 14 ตุลา ซึ่งจัดในวันที่ 14 ตุลา ณ อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา สี่แยกคอกวัว การจัดงานครั้งนี้ ญาติวีรชนจะวางหรีดและป้ายข้อความไว้อาลัย จัดนิทรรศการ อ่านแถลงการณ์ ขายเสื้อและของที่ระลึกเพื่อหาทุนมาใช้ในการจัดงานและใช้เป็นค่าเดินทาง ค่าอาหารของวีรชนและญาติวีรชนที่เดินทางมาร่วมงาน
“
ในวาระครบ 50 ปี 14 ตุลา 16 วีรชนและญาติวีรชนต้องการจะสื่อสารกับสังคมและบอกไปยังรัฐบาลนายเศรษฐา ขอได้ให้ความสงเคราะห์พวกเราด้วย เงินเยียวยาเดือนละ 7,000 บาทและค่าทำศพคนละ 20,000 บาท ขอให้พิจารณาคืนสิทธิที่เคยได้รับนี้ พวกเราไม่ได้เรียกร้องเงินเพิ่ม ถ้าเป็นไปได้ ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงอันเกิดจากการเรียกร้องประชาธิปไตยและการต่อสู้ทางการเมืองในเหตุการณ์ต่างๆ ก็ควรได้รับสิทธิเสมอภาคเหมือนๆ กัน พวกเราหวังว่ารัฐบาลนายเศรษฐาที่มาจากประชาชน เป็นรัฐบาลประชาธิปไตยจะเข้าใจและเห็นใจความเดือดร้อนของพวกเรา”
นาย
ประเวศกล่าวทิ้งท้ายว่า ตนถูกยิงที่สะโพกในเหตุการณ์ 14 ตุลา เดินเหินไม่สะดวก บางคนต้องตัดขา กลายเป็นคนขาด้วนตลอดชีวิต บางคนสติฟั่นเฟือน ญาติต้องสูญเสียสามีและลูก จึงขอวิงวอนขอให้รัฐบาลได้ให้ความช่วยเหลือ เคยเรียกร้องมาตลอดแต่ไม่ได้รับการเหลียวแล
อึ้ง ‘ไข่ไก่’ ราคาพุ่ง เดือนเดียวปรับขึ้น 2 รอบ บวกแผง 12 บาท ผู้บริโภคหันไปซื้อเบอร์เล็กลง
https://www.matichon.co.th/region/news_4210435
ผู้บริโภคอึ้ง ไข่ไก่ชัยนาทราคาพุ่งเดือนเดียวปรับขึ้น 2 รอบ
เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในพื้นที่ จ.ชัยนาท ราคาไข่ไก่ ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเดือนกันยายนที่ผ่านมา มีการปรับราคาขึ้นถึง 2 รอบ ทำให้ผู้บริโภคจำนวนมากต้องปรับเปลี่ยนการซื้อไข่ไก่ โดยการลดขนาดเบอร์ของไข่ไก่ลง เพื่อประหยัดเงินต้นทุนด้านวัตถุดิบ
โดยที่ ตลาดภาษีซุง ในตัวเทศบาลเมืองชัยนาท ราคาขายไข่ไก่ปัจจุบัน เบอร์ 0 หรือขนาดใหญ่สุดอยู่ที่ แผงละ 145 บาท เบอร์รองลงมาคือเบอร์ 1 ราคาขายแผงละ 135 บาท ส่วนเบอร์ 2 ราคาแผงละ 130 บาท และเบอร์ 3 ขายราคาแผงละ 125 บาท ขณะที่ไข่เป็ด ขายราคา 145 บาทต่อแผง
นาย
สมบัติ ป้านพรหม พ่อค้าไข่ เปิดเผยว่า ในเดือนกันยายนที่ผ่านมา ราคาขายส่งไข่ไก่จากหน้าฟาร์ม มีการปรับขึ้นถึง 2 รอบ รอบละ 6 บาท ทำให้ราคาขายไข่หน้าแผงต้องปรับขึ้นตามไปด้วย ซึ่งจากราคาที่ปรับขึ้นถึง 12 บาทต่อแผง ส่งผลให้เห็นชัดเจนเลยว่า ลูกค้ามีพฤติกรรมการซื้อเปลี่ยนไป โดยกลุ่มที่เคยซื้อไข่เบอร์ใหญ่สุดคือเบอร์ 0 ต่างก็หันมาซื้อไข่ไก่เบอร์ 1 ไปบริโภคแทน เพราะราคาขายต่อแผงต่างกันถึง 10 บาท หรือถ้าซื้อเปลี่ยนราคาก็ต่างกันถึงฟองละ 1 บาท ทำให้หลายๆ ครอบครัวลดรายจ่ายด้วยการลดขนาดเบอร์ไข่ที่ซื้อไปประกอบอาหาร
พริษฐ์ ยัน 3 ต.ค.เคลียร์ชัด ปธ.กมธ. เผยแบ่ง 15 ทีมลุยฝ่ายค้านเชิงรุก หวังช่วยเสนอแนะ รบ.
https://www.matichon.co.th/politics/news_4210397
ก้าวไกล แบ่ง 15 ทีมลุยฝ่ายค้านเชิงรุก หวังช่วยเสนอแนะ รบ.ครอบคลุมทุกประเด็น ชี้แม้ไม่ได้เป็นฝ่ายบริหารแต่ปัญหาประชาชนรอไม่ได้ แจงไม่ได้เป็น ครม.เงา แต่เป็นแสงนำทางช่วยให้เห็นปัญหา ยัน 3 ต.ค.นี้เคลียร์ชัดปธ.กมธ.
เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม ที่พรรคก้าวไกล (ก.ก.) นาย
พริษฐ์ วัชรสินธุ์ โฆษกพรรค ก.ก. ให้สัมภาษณ์ถึงแนวทางการทำงานฝ่ายค้านเชิงรุกของพรรค ก.ก. ว่าจะเป็นการผลักดันการเปลี่ยนแปลงที่เราอยากจะเห็น หนึ่งในวิธีการแบ่งคือการแบ่งทีม ส.ส. และทีมงานพรรค ออกเป็น 15 ทีมเชิงประเด็น อาทิ การพัฒนาเศรษฐกิจ การศึกษา การพัฒนาการเมือง เป็นต้น โดยอีกกลไกหนึ่งที่ทีมเชิงประเด็นใช้ในการขับเคลื่อน คือกลไก policy watch ในการพยายามจับตานโยบายการทำงานของรัฐบาล เพื่อวิเคราะห์ว่ามีนโยบายใดบ้างที่ตอบโจทย์ หรือยังขาดบางส่วนเพื่อทำเป็นข้อเสนอแนะแก่รัฐบาล ซึ่งการแถลงของนาย
ณัฐพงษ์ เรื่องปัญญาวุฒิ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรค ก.ก. ช่วงเช้านี้ ก็ถือเป็น 1 ในรูปธรรมที่เสนอนโยบายด้านดิจิทัล ในสัปดาห์ถัดไปจะมีการแถลงในประเด็นอื่นอย่างต่อเนื่อง หรือหากมีเหตุการณ์ใดที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงใดเฉพาะ ก็จะมีการแถลงเป็นประจักษ์อย่างต่อเนื่องตลอด 4 ปีนี้
เมื่อถามว่า มีประเด็นใดบ้างที่ตั้งใจจะทำหน้าที่ฝ่ายค้านเชิงรุก นาย
พริษฐ์กล่าวว่า เราตั้งใจจะทำทุกประเด็นซึ่งก็คาบเกี่ยวกับปัญหาที่ประชาชนประสบ โดยครอบคลุมวาระทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ซึ่งเราแบ่งตามประเด็น ไม่ใช่กระทรวง เพราะวาระบางครั้งต้องอาศัยการขับเคลื่อนหลายกระทรวงร่วมกัน
เมื่อถามว่า ทีมทำงานของ ก.ก.ทั้ง 15 ทีมที่กล่าวมา มีลักษณะการทำงานคล้ายกับ ครม.เงาหรือไม่ นาย
พริษฐ์กล่าวว่า อาจจะไม่เรียกว่า ครม.เงา เพราะเรามองว่าไม่ได้ทำหน้าที่เป็นแค่เงาตามไล่บี้ว่ารัฐบาลทำอะไรแล้วบ้าง ตอบโจทย์แค่ไหน แต่เราต้องการจะเป็นเสมือนกับแสงด้วยเช่นกัน เพื่อพยายามนำทางให้รัฐบาลเห็นในประเด็นที่ยังไม่ขยับหรือยังไม่มีการวางแผน จึงอยากให้ฝ่ายค้านเชิงรุกของ ก.ก. พยายามนำหน้าทุกปัญหาเพื่อชี้แนะให้รัฐบาล
กลไก policy watch เป็นเพียงแค่ 1 ในกลไกในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง อีกกลไกที่สำคัญคือกลไกของสภา 2 ส่วน หนึ่ง การผลักดันกฎหมายที่เราได้เสนอเข้าสู่การพิจารณาในสภา ในเวลานี้เรายื่นร่างกฎหมายทั้งหมด 27 ร่าง ซึ่งมี 20 ร่างที่อยู่ในขั้นตอนรับฟังความเห็น เมื่อรับฟังความเห็นเสร็จแล้วจะมีบางร่างเข้าสู่การพิจารณาสภาทันที อย่างสมรสเท่าเทียม สุราก้าวหน้า ในขณะบางร่างที่ถูกตีความว่าเกี่ยวกับการเงิน เช่น ร่าง พ.ร.บ.รับราชการทหาร ร่างการแก้ไขแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ ก็จะมีขั้นตอนเพิ่มอีก คือการขอคำรับรองจากนายกรัฐมนตรี เพื่อให้ร่างเหล่านั้นเข้ามาสู่วาระหนึ่งของสภา
สอง อีกกลไกคือกรรมาธิการ เราตั้งใจใช้กรรมาธิการทั้งในคณะที่เราอาจจะมี ส.ส.พรรค ก.ก. เป็นประธานกรรมาธิการ หรือคณะที่ ส.ส.พรรค ก.ก. ไม่ได้เป็นประธานกรรมาธิการ ซึ่งการทำงานจะมีลักษณะเชิงรุกมากขึ้น อย่างกรรมาธิการติดตามงบประมาณ ไม่ได้ทำเพียงแค่การตรวจสอบการใช้งบประมาณที่เกิดขึ้นไปแล้ว ที่อาจมีบางอย่างชอบมาพากล แต่เราตั้งใจทำงานเชิงรุกเพื่อสร้างความโปร่งใสในการจัดทำงบประมาณตั้งแต่ต้นน้ำ
เมื่อถามว่า หากท้ายที่สุดรัฐบาลไม่ได้นำข้อเสนอของเราไปปฏิบัติจะถือว่าเสียของหรือไม่ นาย
พริษฐ์กล่าวว่า ไม่คิดว่าเสียของ แม้เราไม่ได้เป็นฝ่ายรัฐบาล แต่เราก็คิดว่าปัญหาของประชาชนรอไม่ได้ หากมีข้อเสนออะไรที่คิดว่าอยากให้รัฐบาลรับไปพิจารณา เราก็ยินดีที่จะยื่นทั้งหมดที่มีอยู่ โดยพยายามเชิญชวนและโน้มน้าวให้รัฐบาลเห็นตามข้อเสนอแนะ ท้ายสุดแล้วหากเราเผยแพร่ชุดข้อเสนอของเราทั้งหมดและรัฐบาลรับไปพิจารณา ประโยชน์สูงสุดจะตกอยู่กับประชาชน
ผู้สื่อข่าวถามว่า ประธานกรรมาธิการทั้ง 11 คณะในสัดส่วนของ ก.ก. ได้รายชื่อแล้วหรือยัง นาย
พริษฐ์กล่าวว่า สำหรับกระบวนการภายในอยู่ในช่วงการคัดเลือก เพราะได้มีการเปิดให้ ส.ส.พรรค ก.ก. ที่มีความประสงค์ส่งรายชื่อพร้อมแผนงานเข้ามา พร้อมกับมีกระบวนการสัมภาษณ์ คาดว่าจะได้ข้อสรุปในที่ประชุม ส.ส. ในวันอังคารที่ 3 ตุลาคมนี้ ซึ่งที่นาย
พิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภา คนที่สอง ระบุว่าแต่ละพรรคส่งรายชื่อประธานกรรมาธิการครบแล้วทั้ง 35 คณะนั้น ตนไม่ทราบ แต่สำหรับพรรค ก.ก. ยังอยู่ในขั้นตอนการคัดเลือก
ก้าวไกล ชำแหละ ‘ดีอีเอส’ แนะทบทวนศูนย์ต้านเฟคนิวส์ รื้อซุปเปอร์แอพพ์ ‘ทางรัฐ’
https://www.matichon.co.th/politics/news_4210533
‘ก้าวไกล’ ประเดิมชำแหละนโยบายดีอีเอส ‘ณัฐพงษ์’ ย้ำบทบาทฝ่ายค้านเชิงรุกวิจารณ์พร้อมข้อเสนอ แนะ รบ.ทบทวนศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม-เร่งให้เกิดดิจิทัลไอดี รื้อโปรเจ็กต์ซุปเปอร์แอพพ์ทางรัฐ-ยืนยันตัวตนแบบ 2FA ป้องกันเพจรัฐถูกแฮก
เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม ที่พรรคก้าวไกล (ก.ก.) นาย
ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรค ก.ก. แถลงข่าว Policy Watch จับตานโยบายด้านดิจิทัล โดยมีนาย
พริษฐ์ วัชรสินธุ โฆษกพรรค ก.ก. ร่วมแถลงข่าวด้วย
นาย
พริษฐ์กล่าวว่า พรรค ก.ก.ต้องการทำหน้าที่ฝ่ายค้านเชิงรุกและฝ่ายค้านสร้างสรรค์ พยายามผลักดันวาระที่ได้สื่อสารกับประชาชน รวมทั้งเตรียมความพร้อมในการเป็นรัฐบาลครั้งถัดไป โดยใช้กลไก Policy Watch แบ่งกลุ่ม ส.ส.และทีมงานเป็นรายประเด็นในการติดตามนโยบายและการทำงานของรัฐบาล เพื่อวิเคราะห์ รวมถึงให้ข้อเสนอแนะแก่รัฐบาล สำหรับประเด็นแรกเป็นนโยบายดิจิทัล ซึ่งรับผิดชอบโดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นหลัก
นาย
ณัฐพงษ์กล่าวว่า สืบเนื่องจากช่วงเวลา 21 วันของการเข้ารับตำแหน่งของ ครม. นายเศรษฐา ทวีสิน มีความเคลื่อนไหวจากฟากกระทรวงดิจิทัลฯมาเป็นระยะ ซึ่งการออกมาให้ข่าว เฉลี่ย 5 วันต่อครั้งของกระทรวงดิจิทัลฯ ถือเป็นการตอบสนองที่รวดเร็วและค่อนข้างทันต่อสถานการณ์ โดยเฉพาะเรื่องการสั่งตั้งทีมเฉพาะกิจ เพื่อจัดการแก๊งคอลเซ็นเตอร์และเว็บพนันออนไลน์ และเป็น 21 วันที่เร็วเกินไปมาก ที่ตนจะออกมาวิพากษ์วิจารณ์ถึงความล้มเหลว หรือความสำเร็จ ของการทำหน้าที่ในช่วงเวลาที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกหลายอย่าง ที่คิดว่ารัฐบาลควรทำให้เกิดความชัดเจนได้มากกว่านี้ และสามารถสั่งการได้ทันที ในช่วงเวลา 21 วันที่ผ่านมา
อย่างแรก พรรค ก.ก.ไม่เห็นด้วยกับการให้มีศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ที่ได้รับการสนับสนุนโดยตรงจากรัฐบาล ไม่ใช่ไม่เห็นด้วยเพราะวันนี้พรรค ก.ก.ไม่ได้เป็นรัฐบาล แต่ไม่เห็นด้วยเพราะการทำศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมที่มีรัฐบาลเป็นเจ้าของ ขัดกับแนวปฏิบัติของ IFCN และขัดกับแนวทางที่องค์กรสื่อสากลให้การยอมรับ รัฐบาลควรพิจารณาทบทวนบทบาทของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมว่าจะทำอย่างไรให้ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งนี้ดำรงความเป็นกลาง เพื่อสร้างการยอมรับจากสากล
JJNY : 5in1 ทวงสิทธิหลังถูกรบ.ประยุทธ์ตัด│อึ้ง‘ไข่ไก่’พุ่ง│พริษฐ์ยัน 3 ต.ค.│ก้าวไกลชำแหละ‘ดีอีเอส’│รัสเซียถล่มเคอร์ซอน
https://www.matichon.co.th/politics/news_4210176
ญาติวีรชน 14 ตุลา นัดรวมตัวเดินงานรำลึกเหตุการณ์ล้อมปราบ 6 ตุลา ที่ธรรมศาสตร์ ก่อนร่วมไว้อาลัยครบ 50 ปี 14 ตุลา ที่อนุสรณ์สี่แยกคอกวัว เรียกร้อง “เศรษฐา” ทวงสิทธิเงินเยียวยาช่วยเหลือและค่าทำศพที่เคยได้สมัยรัฐบาล “ยิ่งลักษณ์” แต่ถูกรัฐบาลประยุทธ์ตัดทิ้ง
นายประเวศ เอมอมร ผู้ประสานงานวีรชนและญาติวีรชน 14 ตุลาคม 2516 เปิดเผยว่า การจัดงานรำลึกเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ซึ่งจะจัดที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตั้งแต่เช้าวันที่ 6 ตุลาคมนี้ ในตอนบ่าย วีรชนและญาติวีรชน 14 ตุลา จะขึ้นเวที ณ หอประชุมเล็กธรรมศาสตร์แสดงความรู้สึกต่อเหตุการณ์ล้อมปราบอันเหี้ยมโหดเมื่อ 47 ปีก่อนและจะเปิดเผยถึงข้อเรียกร้องให้รัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน ได้พิจารณาให้ความช่วยเหลือเรื่องเงินเยียวยาช่วยเหลือในการดำรงชีพเดือนละ 7,000 บาท เงินค่าทำศพคนละ 20,000 บาท ซึ่งเคยได้รับตามมติคณะรัฐมนตรีสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อปี 2556 แต่ต่อมาได้เกิดการรัฐประหารปี 2557 ในปีต่อมา 2558 มติคณะรัฐมนตรีรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ลดเงินช่วยเหลือเยียวยาจาก 7,000 บาทเหลือ 3,000 บาทและตัดเงินค่าทำศพทั้งหมด จากนั้นมาถึงปัจจุบันเป็นเวลาเกือบ 10 ปี วีรชนและญาติวีรชนที่เหลือชีวิตกว่า 50 คนได้รับความลำบากและเดือดร้อน ต้องการทวงสิทธิอันชอบธรรมที่เคยได้รับกลับคืนมา
นายประเวศกล่าวว่า รายละเอียดต่างๆ จะไปเปิดเผยในงานรำลึกครบรอบ 50 ปี 14 ตุลา ซึ่งจัดในวันที่ 14 ตุลา ณ อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา สี่แยกคอกวัว การจัดงานครั้งนี้ ญาติวีรชนจะวางหรีดและป้ายข้อความไว้อาลัย จัดนิทรรศการ อ่านแถลงการณ์ ขายเสื้อและของที่ระลึกเพื่อหาทุนมาใช้ในการจัดงานและใช้เป็นค่าเดินทาง ค่าอาหารของวีรชนและญาติวีรชนที่เดินทางมาร่วมงาน
“ในวาระครบ 50 ปี 14 ตุลา 16 วีรชนและญาติวีรชนต้องการจะสื่อสารกับสังคมและบอกไปยังรัฐบาลนายเศรษฐา ขอได้ให้ความสงเคราะห์พวกเราด้วย เงินเยียวยาเดือนละ 7,000 บาทและค่าทำศพคนละ 20,000 บาท ขอให้พิจารณาคืนสิทธิที่เคยได้รับนี้ พวกเราไม่ได้เรียกร้องเงินเพิ่ม ถ้าเป็นไปได้ ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงอันเกิดจากการเรียกร้องประชาธิปไตยและการต่อสู้ทางการเมืองในเหตุการณ์ต่างๆ ก็ควรได้รับสิทธิเสมอภาคเหมือนๆ กัน พวกเราหวังว่ารัฐบาลนายเศรษฐาที่มาจากประชาชน เป็นรัฐบาลประชาธิปไตยจะเข้าใจและเห็นใจความเดือดร้อนของพวกเรา”
นายประเวศกล่าวทิ้งท้ายว่า ตนถูกยิงที่สะโพกในเหตุการณ์ 14 ตุลา เดินเหินไม่สะดวก บางคนต้องตัดขา กลายเป็นคนขาด้วนตลอดชีวิต บางคนสติฟั่นเฟือน ญาติต้องสูญเสียสามีและลูก จึงขอวิงวอนขอให้รัฐบาลได้ให้ความช่วยเหลือ เคยเรียกร้องมาตลอดแต่ไม่ได้รับการเหลียวแล
อึ้ง ‘ไข่ไก่’ ราคาพุ่ง เดือนเดียวปรับขึ้น 2 รอบ บวกแผง 12 บาท ผู้บริโภคหันไปซื้อเบอร์เล็กลง
https://www.matichon.co.th/region/news_4210435
ผู้บริโภคอึ้ง ไข่ไก่ชัยนาทราคาพุ่งเดือนเดียวปรับขึ้น 2 รอบ
เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในพื้นที่ จ.ชัยนาท ราคาไข่ไก่ ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเดือนกันยายนที่ผ่านมา มีการปรับราคาขึ้นถึง 2 รอบ ทำให้ผู้บริโภคจำนวนมากต้องปรับเปลี่ยนการซื้อไข่ไก่ โดยการลดขนาดเบอร์ของไข่ไก่ลง เพื่อประหยัดเงินต้นทุนด้านวัตถุดิบ
โดยที่ ตลาดภาษีซุง ในตัวเทศบาลเมืองชัยนาท ราคาขายไข่ไก่ปัจจุบัน เบอร์ 0 หรือขนาดใหญ่สุดอยู่ที่ แผงละ 145 บาท เบอร์รองลงมาคือเบอร์ 1 ราคาขายแผงละ 135 บาท ส่วนเบอร์ 2 ราคาแผงละ 130 บาท และเบอร์ 3 ขายราคาแผงละ 125 บาท ขณะที่ไข่เป็ด ขายราคา 145 บาทต่อแผง
นายสมบัติ ป้านพรหม พ่อค้าไข่ เปิดเผยว่า ในเดือนกันยายนที่ผ่านมา ราคาขายส่งไข่ไก่จากหน้าฟาร์ม มีการปรับขึ้นถึง 2 รอบ รอบละ 6 บาท ทำให้ราคาขายไข่หน้าแผงต้องปรับขึ้นตามไปด้วย ซึ่งจากราคาที่ปรับขึ้นถึง 12 บาทต่อแผง ส่งผลให้เห็นชัดเจนเลยว่า ลูกค้ามีพฤติกรรมการซื้อเปลี่ยนไป โดยกลุ่มที่เคยซื้อไข่เบอร์ใหญ่สุดคือเบอร์ 0 ต่างก็หันมาซื้อไข่ไก่เบอร์ 1 ไปบริโภคแทน เพราะราคาขายต่อแผงต่างกันถึง 10 บาท หรือถ้าซื้อเปลี่ยนราคาก็ต่างกันถึงฟองละ 1 บาท ทำให้หลายๆ ครอบครัวลดรายจ่ายด้วยการลดขนาดเบอร์ไข่ที่ซื้อไปประกอบอาหาร
พริษฐ์ ยัน 3 ต.ค.เคลียร์ชัด ปธ.กมธ. เผยแบ่ง 15 ทีมลุยฝ่ายค้านเชิงรุก หวังช่วยเสนอแนะ รบ.
https://www.matichon.co.th/politics/news_4210397
ก้าวไกล แบ่ง 15 ทีมลุยฝ่ายค้านเชิงรุก หวังช่วยเสนอแนะ รบ.ครอบคลุมทุกประเด็น ชี้แม้ไม่ได้เป็นฝ่ายบริหารแต่ปัญหาประชาชนรอไม่ได้ แจงไม่ได้เป็น ครม.เงา แต่เป็นแสงนำทางช่วยให้เห็นปัญหา ยัน 3 ต.ค.นี้เคลียร์ชัดปธ.กมธ.
เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม ที่พรรคก้าวไกล (ก.ก.) นายพริษฐ์ วัชรสินธุ์ โฆษกพรรค ก.ก. ให้สัมภาษณ์ถึงแนวทางการทำงานฝ่ายค้านเชิงรุกของพรรค ก.ก. ว่าจะเป็นการผลักดันการเปลี่ยนแปลงที่เราอยากจะเห็น หนึ่งในวิธีการแบ่งคือการแบ่งทีม ส.ส. และทีมงานพรรค ออกเป็น 15 ทีมเชิงประเด็น อาทิ การพัฒนาเศรษฐกิจ การศึกษา การพัฒนาการเมือง เป็นต้น โดยอีกกลไกหนึ่งที่ทีมเชิงประเด็นใช้ในการขับเคลื่อน คือกลไก policy watch ในการพยายามจับตานโยบายการทำงานของรัฐบาล เพื่อวิเคราะห์ว่ามีนโยบายใดบ้างที่ตอบโจทย์ หรือยังขาดบางส่วนเพื่อทำเป็นข้อเสนอแนะแก่รัฐบาล ซึ่งการแถลงของนายณัฐพงษ์ เรื่องปัญญาวุฒิ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรค ก.ก. ช่วงเช้านี้ ก็ถือเป็น 1 ในรูปธรรมที่เสนอนโยบายด้านดิจิทัล ในสัปดาห์ถัดไปจะมีการแถลงในประเด็นอื่นอย่างต่อเนื่อง หรือหากมีเหตุการณ์ใดที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงใดเฉพาะ ก็จะมีการแถลงเป็นประจักษ์อย่างต่อเนื่องตลอด 4 ปีนี้
เมื่อถามว่า มีประเด็นใดบ้างที่ตั้งใจจะทำหน้าที่ฝ่ายค้านเชิงรุก นายพริษฐ์กล่าวว่า เราตั้งใจจะทำทุกประเด็นซึ่งก็คาบเกี่ยวกับปัญหาที่ประชาชนประสบ โดยครอบคลุมวาระทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ซึ่งเราแบ่งตามประเด็น ไม่ใช่กระทรวง เพราะวาระบางครั้งต้องอาศัยการขับเคลื่อนหลายกระทรวงร่วมกัน
เมื่อถามว่า ทีมทำงานของ ก.ก.ทั้ง 15 ทีมที่กล่าวมา มีลักษณะการทำงานคล้ายกับ ครม.เงาหรือไม่ นายพริษฐ์กล่าวว่า อาจจะไม่เรียกว่า ครม.เงา เพราะเรามองว่าไม่ได้ทำหน้าที่เป็นแค่เงาตามไล่บี้ว่ารัฐบาลทำอะไรแล้วบ้าง ตอบโจทย์แค่ไหน แต่เราต้องการจะเป็นเสมือนกับแสงด้วยเช่นกัน เพื่อพยายามนำทางให้รัฐบาลเห็นในประเด็นที่ยังไม่ขยับหรือยังไม่มีการวางแผน จึงอยากให้ฝ่ายค้านเชิงรุกของ ก.ก. พยายามนำหน้าทุกปัญหาเพื่อชี้แนะให้รัฐบาล
กลไก policy watch เป็นเพียงแค่ 1 ในกลไกในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง อีกกลไกที่สำคัญคือกลไกของสภา 2 ส่วน หนึ่ง การผลักดันกฎหมายที่เราได้เสนอเข้าสู่การพิจารณาในสภา ในเวลานี้เรายื่นร่างกฎหมายทั้งหมด 27 ร่าง ซึ่งมี 20 ร่างที่อยู่ในขั้นตอนรับฟังความเห็น เมื่อรับฟังความเห็นเสร็จแล้วจะมีบางร่างเข้าสู่การพิจารณาสภาทันที อย่างสมรสเท่าเทียม สุราก้าวหน้า ในขณะบางร่างที่ถูกตีความว่าเกี่ยวกับการเงิน เช่น ร่าง พ.ร.บ.รับราชการทหาร ร่างการแก้ไขแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ ก็จะมีขั้นตอนเพิ่มอีก คือการขอคำรับรองจากนายกรัฐมนตรี เพื่อให้ร่างเหล่านั้นเข้ามาสู่วาระหนึ่งของสภา
สอง อีกกลไกคือกรรมาธิการ เราตั้งใจใช้กรรมาธิการทั้งในคณะที่เราอาจจะมี ส.ส.พรรค ก.ก. เป็นประธานกรรมาธิการ หรือคณะที่ ส.ส.พรรค ก.ก. ไม่ได้เป็นประธานกรรมาธิการ ซึ่งการทำงานจะมีลักษณะเชิงรุกมากขึ้น อย่างกรรมาธิการติดตามงบประมาณ ไม่ได้ทำเพียงแค่การตรวจสอบการใช้งบประมาณที่เกิดขึ้นไปแล้ว ที่อาจมีบางอย่างชอบมาพากล แต่เราตั้งใจทำงานเชิงรุกเพื่อสร้างความโปร่งใสในการจัดทำงบประมาณตั้งแต่ต้นน้ำ
เมื่อถามว่า หากท้ายที่สุดรัฐบาลไม่ได้นำข้อเสนอของเราไปปฏิบัติจะถือว่าเสียของหรือไม่ นายพริษฐ์กล่าวว่า ไม่คิดว่าเสียของ แม้เราไม่ได้เป็นฝ่ายรัฐบาล แต่เราก็คิดว่าปัญหาของประชาชนรอไม่ได้ หากมีข้อเสนออะไรที่คิดว่าอยากให้รัฐบาลรับไปพิจารณา เราก็ยินดีที่จะยื่นทั้งหมดที่มีอยู่ โดยพยายามเชิญชวนและโน้มน้าวให้รัฐบาลเห็นตามข้อเสนอแนะ ท้ายสุดแล้วหากเราเผยแพร่ชุดข้อเสนอของเราทั้งหมดและรัฐบาลรับไปพิจารณา ประโยชน์สูงสุดจะตกอยู่กับประชาชน
ผู้สื่อข่าวถามว่า ประธานกรรมาธิการทั้ง 11 คณะในสัดส่วนของ ก.ก. ได้รายชื่อแล้วหรือยัง นายพริษฐ์กล่าวว่า สำหรับกระบวนการภายในอยู่ในช่วงการคัดเลือก เพราะได้มีการเปิดให้ ส.ส.พรรค ก.ก. ที่มีความประสงค์ส่งรายชื่อพร้อมแผนงานเข้ามา พร้อมกับมีกระบวนการสัมภาษณ์ คาดว่าจะได้ข้อสรุปในที่ประชุม ส.ส. ในวันอังคารที่ 3 ตุลาคมนี้ ซึ่งที่นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภา คนที่สอง ระบุว่าแต่ละพรรคส่งรายชื่อประธานกรรมาธิการครบแล้วทั้ง 35 คณะนั้น ตนไม่ทราบ แต่สำหรับพรรค ก.ก. ยังอยู่ในขั้นตอนการคัดเลือก
ก้าวไกล ชำแหละ ‘ดีอีเอส’ แนะทบทวนศูนย์ต้านเฟคนิวส์ รื้อซุปเปอร์แอพพ์ ‘ทางรัฐ’
https://www.matichon.co.th/politics/news_4210533
‘ก้าวไกล’ ประเดิมชำแหละนโยบายดีอีเอส ‘ณัฐพงษ์’ ย้ำบทบาทฝ่ายค้านเชิงรุกวิจารณ์พร้อมข้อเสนอ แนะ รบ.ทบทวนศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม-เร่งให้เกิดดิจิทัลไอดี รื้อโปรเจ็กต์ซุปเปอร์แอพพ์ทางรัฐ-ยืนยันตัวตนแบบ 2FA ป้องกันเพจรัฐถูกแฮก
เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม ที่พรรคก้าวไกล (ก.ก.) นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรค ก.ก. แถลงข่าว Policy Watch จับตานโยบายด้านดิจิทัล โดยมีนายพริษฐ์ วัชรสินธุ โฆษกพรรค ก.ก. ร่วมแถลงข่าวด้วย
นายพริษฐ์กล่าวว่า พรรค ก.ก.ต้องการทำหน้าที่ฝ่ายค้านเชิงรุกและฝ่ายค้านสร้างสรรค์ พยายามผลักดันวาระที่ได้สื่อสารกับประชาชน รวมทั้งเตรียมความพร้อมในการเป็นรัฐบาลครั้งถัดไป โดยใช้กลไก Policy Watch แบ่งกลุ่ม ส.ส.และทีมงานเป็นรายประเด็นในการติดตามนโยบายและการทำงานของรัฐบาล เพื่อวิเคราะห์ รวมถึงให้ข้อเสนอแนะแก่รัฐบาล สำหรับประเด็นแรกเป็นนโยบายดิจิทัล ซึ่งรับผิดชอบโดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นหลัก
นายณัฐพงษ์กล่าวว่า สืบเนื่องจากช่วงเวลา 21 วันของการเข้ารับตำแหน่งของ ครม. นายเศรษฐา ทวีสิน มีความเคลื่อนไหวจากฟากกระทรวงดิจิทัลฯมาเป็นระยะ ซึ่งการออกมาให้ข่าว เฉลี่ย 5 วันต่อครั้งของกระทรวงดิจิทัลฯ ถือเป็นการตอบสนองที่รวดเร็วและค่อนข้างทันต่อสถานการณ์ โดยเฉพาะเรื่องการสั่งตั้งทีมเฉพาะกิจ เพื่อจัดการแก๊งคอลเซ็นเตอร์และเว็บพนันออนไลน์ และเป็น 21 วันที่เร็วเกินไปมาก ที่ตนจะออกมาวิพากษ์วิจารณ์ถึงความล้มเหลว หรือความสำเร็จ ของการทำหน้าที่ในช่วงเวลาที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกหลายอย่าง ที่คิดว่ารัฐบาลควรทำให้เกิดความชัดเจนได้มากกว่านี้ และสามารถสั่งการได้ทันที ในช่วงเวลา 21 วันที่ผ่านมา
อย่างแรก พรรค ก.ก.ไม่เห็นด้วยกับการให้มีศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ที่ได้รับการสนับสนุนโดยตรงจากรัฐบาล ไม่ใช่ไม่เห็นด้วยเพราะวันนี้พรรค ก.ก.ไม่ได้เป็นรัฐบาล แต่ไม่เห็นด้วยเพราะการทำศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมที่มีรัฐบาลเป็นเจ้าของ ขัดกับแนวปฏิบัติของ IFCN และขัดกับแนวทางที่องค์กรสื่อสากลให้การยอมรับ รัฐบาลควรพิจารณาทบทวนบทบาทของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมว่าจะทำอย่างไรให้ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมแห่งนี้ดำรงความเป็นกลาง เพื่อสร้างการยอมรับจากสากล