โคราชส่อแล้งครั้งใหญ่27อ่างเหลือน้ำร้อยละ38
https://www.innnews.co.th/news/local/news_618050/
โคราชส่อวิกฤตแล้งครั้งใหญ่ อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลาง รวม 27 แห่ง เหลือน้ำใช้แค่ 38 เปอร์เซ็นต์
วันนี้ ( 25 กันยายน 2566 ) สำนักงานชลประทานจังหวัดนครราชสีมา รายงานสถานการณ์กักเก็บในอ่างเก็บน้ำ 27 แห่งของงหวัดนครราชสีมา ว่า ปริมาตรน้ำเก็บกักในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 4 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำลำตะคอง ,อ่างเก็บน้ำลำพระเพลิง ,อ่างเก็บน้ำมูลบน และอ่างเก็บน้ำลำแชะ รวมเหลือปริมาตรน้ำเก็บกักอยู่ที่ 377 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็น 42.60 % แต่เป็นน้ำใช้การได้เพียง 339 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 40.06 % เท่านั้น ขณะที่ปริมาตรน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 23 แห่ง เหลือปริมาตรน้ำเก็บกักอยู่ที่ 127 ล้านลูกบาศก์เมตร
หรือคิดเป็น 38.40 % และเป็นน้ำใช้การได้ 102 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 33.36 % ทำให้ปริมาตรน้ำเก็บกักในอ่างเก็บน้ำทั้งหมด รวมเหลืออยู่ที่ 504 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็น 41.45% และเป็นน้ำใช้การได้ 441ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 38.29 % เท่านั้น ประชาชนในจังหวัดต่างกังวลว่า จะเกิดวิกฤติขาดแคลนน้ำอย่างรุนแรง
เนื่องจากสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้คาดการณ์ว่า สภาวะเอลนีโญสำหรับประเทศไทยขณะนี้ยังมีกำลังอ่อน แต่ก็ส่งผลให้มีปริมาณฝนสะสมทั้งประเทศ ต่ำกว่าค่าปกติร้อยละ 14 ซึ่งในช่วงปลายปีนี้ เอลนีโญมีแนวโน้มจะรุนแรงขึ้น และเป็นช่วงที่ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูหนาวหรือเป็นช่วงหน้าแล้ง จากนั้น เอลนีโญจึงจะมีกำลังอ่อนลงและต่อเนื่องไปจนถึงต้นปี 2567 ดังนั้น สทนช. จึงเร่งวางแผนและเตรียมพร้อมบริหารจัดการน้ำก่อนเข้าหน้าแล้งอย่างเข้มข้น ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและทุกภาคส่วน เพื่อรับมือเอลนีโญได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ในการนี้ สำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 5 นครราชสีมา โดยนายกิตติภณ สีมะเดื่อ วิศวกรโยธาปฏิบัติการ จึงร่วมกับ สำนักชลประทานที่ 8 นครราชสีมา ลงพื้นที่สำรวจแหล่งน้ำที่บ้านนานิคม ตำบลด่านช้าง อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งสระน้ำขนาดใหญ่ พื้นที่กว่า 127 ไร่ แต่ไม่ได้ขุดลอกมานานกว่า 50 ปี เพื่อเตรียมพื้นที่ให้เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง กักเก็บน้ำไว้ใช้แก้ปัญหาภัยแล้งให้กับประชาชนในพื้นที่ เนื่องจากน้ำประปาหลายแห่งในอำเภอบัวใหญ่ขณะนี้เริ่มแห้งขอด ส่งผลกระทบทำให้ประชาชนเริ่มขาดแคลนน้ำใช้อุปโภค-บริโภคแล้ว
ดังนั้น หากดำเนินการขุดลอกและพัฒนาสระน้ำบ้านนานิคม จนแล้วเสร็จ ก็จะได้อ่างเก็บน้ำขนาดกลางเพิ่มอีกแห่ง ซึ่งสามารถเก็บกักน้ำได้ถึง 500,000 ลูกบาศก์เมตร สามารถส่งจ่ายน้ำจากอ่างเก็บน้ำแห่งนี้ไปยังเรือนจำอำเภอบัวใหญ่ และส่งน้ำไปให้กองการประปาเทศบาลเมืองบัวใหญ่ ได้ผลิตเป็นน้ำประปาแจกจ่ายให้กับประชาชนในพื้นที่ได้ใช้ประโยชน์ ซึ่งจะเป็นการช่วยแก้ไขปัญหาภัยแล้งในระยะยาวให้กับพื้นที่ได้
เสียงเกษตรกร-พักหนี้ แนะปลดภาระยั่งยืน
https://www.matichon.co.th/economy/news_4197285
เสียงเกษตรกร-พักหนี้ แนะปลดภาระยั่งยืน
ข้อมูลล่าสุดของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจ
ป๋วย อึ๊งภากรณ์ โดย “
โสมรัศมิ์ จันทรัตน์” ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยฯ เผยผลศึกษาถอดบทเรียนการพักหนี้เกษตรกรไทยไว้ว่า ปัญหาหนี้สินเกษตรกรไทยต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน จากการสำรวจครัวเรือนเกษตรกรของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ และข้อมูลสินเชื่อรายสัญญาจากเครดิตบูโร (NCB) ชี้ว่ากว่า 90% ของเกษตรกรไทย 4 ล้านครัวเรือน มีหนี้เฉลี่ยมากกว่า 450,000 บาทต่อครัวเรือน
หนี้เกษตรกรแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแรก 13.2% ลูกหนี้ที่มีหนี้เสีย กลุ่มสอง 37.1% ลูกหนี้ปกติ กลุ่มสาม 49.7% ลูกหนี้เรื้อรัง โดยรอบ 9 ปีที่ผ่านมา หรือช่วง 2560-2566 หนี้เกษตรกรโตถึง 75% ซึ่งเกษตรกรกว่า 50% มีแนวโน้มเป็นหนี้เรื้อรัง เพราะปริมาณหนี้สูงเกินศักยภาพ ส่วนใหญ่จึงชำระหนี้จ่ายคืนได้เพียงดอกเบี้ยเท่านั้น
ขณะที่ศึกษาผลกระทบของมาตรการพักหนี้เกษตรกร จากข้อมูลสินเชื่อรายสัญญาของลูกหนี้ตัวอย่าง 1 ล้านคน สุ่มจากลูกหนี้รายย่อยของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ช่วงปี 2557-2566 พบว่าตลอด 9 ปี มีการพักหนี้เกษตรกรถึง 13 มาตรการใหญ่ มีเกษตรกรเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก และกว่า 42% อยู่ในมาตรการพักหนี้นานเกิน 4 ปี
ผลการศึกษายังพบว่า มาตรการพักหนี้เกษตรกรในอดีตไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาหนี้ได้อย่างยั่งยืน เห็นได้จากเกษตรกรที่เข้ามาตรการพักหนี้ มียอดหนี้สูงขึ้นกว่ากลุ่มที่ไม่ได้เข้ามาตรการอย่างมีนัยสำคัญ เกิดจาก 77% ของลูกหนี้ที่เข้าร่วมมาตรการได้รับสินเชื่อใหม่ระหว่างการพักหนี้ และ 50% ของลูกหนี้ที่เข้าร่วมมาตรการขาดการจ่ายภาระดอกเบี้ยที่ยังเดินอยู่
นอกจากนี้ เกษตรกรที่เข้ามาตรการพักหนี้มีแนวโน้มเป็นหนี้เสียสูงขึ้น อาจเกิดจากวินัยทางการเงินลดลง หรือเสียกำลังใจเมื่อเห็นยอดหนี้คงค้างปรับสูงขึ้น อีกทั้งมีแนวโน้มกลับเข้าไปพักหนี้ซ้ำกลายเป็นติดกับดักหนี้ในที่สุด สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาแรงจูงใจของลูกหนี้ที่บิดเบี้ยว (moral hazard) ผลกระทบจะรุนแรงขึ้นหากเกษตรกรเข้าร่วมมาตรการเป็นเวลานาน อีกทั้งเกษตรกรเข้ามาตรการพักหนี้ไม่ได้มีการออมเงิน หรือลงทุนทำการเกษตรเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
จากผลการศึกษาชี้ว่ามาตรการพักหนี้ที่ทำในวงกว้างต่อเนื่องยาวนาน และไม่มีเงื่อนไขการรักษาวินัยทางการเงินที่ดี จะไม่สามารถแก้ปัญหาให้ลูกหนี้เกษตรกรในกลุ่มต่างๆ ได้อย่างยั่งยืน
จากผลการศึกษาข้างต้นสามารถถอดบทเรียนการออกแบบมาตรการพักหนี้ที่เหมาะสมได้ 3 ประเด็นคือ
1.ควรเป็นมาตรการระยะสั้น และใช้เฉพาะสถานการณ์รุนแรง เช่น เกิดภัยธรรมชาติรุนแรง เกิดโรคระบาดอย่างไวรัสโควิด รวมทั้งทำในวงจำกัด (opt in) สำหรับลูกหนี้ที่ยังมีศักยภาพแต่ประสบปัญหาชำระหนี้ชั่วคราว
2.สร้างแรงจูงใจให้ลูกหนี้ทุกกลุ่มยังรักษาวินัยในการชำระหนี้ สำหรับกลุ่มลูกหนี้ดีที่สามารถชำระหนี้ได้ตามปกติต้องมีกลไกที่ทำให้ลูกหนี้ยังเลือกชำระหนี้อย่างมีวินัย ป้องกันไม่ให้เข้าร่วมมาตรการพักหนี้ เช่น การลดดอกเบี้ยสินเชื่อใหม่สำหรับลูกหนี้ที่ชำระได้ตามปกติ เพื่อสร้างแรงกระตุ้นให้ชำระหนี้ต่อเนื่อง
ส่วนลูกหนี้ที่ประสบปัญหาและจำเป็นต้องเข้ามาตรการพักหนี้ ควรมีกลไกที่ยังทำให้ลูกหนี้มีแรงจูงใจและความพยายามที่จะชำระหนี้ตามความสามารถได้อย่างต่อเนื่อง เช่น การพักชำระหนี้เพียงบางส่วนทำให้ลูกหนี้ยังสามารถชำระหนี้ได้ นอกจากนี้ อาจมีแนวทางเสริมให้เกษตรกรที่เข้ามาตรการพักหนี้มีการปรับตัวเพื่อเพิ่มศักยภาพในการหารายได้ และลดความเสี่ยง ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสามารถในการชำระหนี้ในระยะยาวด้วย
“3.
ไม่ควรใช้มาตรการพักหนี้เป็นเครื่องมือหลักในการช่วยบริหารจัดการความเสี่ยงให้เกษตรกร เพื่อลดการพึ่งพิงมาตรการพักหนี้และป้องกันปัญหาแรงจูงใจของลูกหนี้ที่บิดเบี้ยว ซึ่งในอนาคตหากมีความเสี่ยงของการทำการเกษตรมากขึ้น ระบบประกันสินเชื่ออาจเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อการผิดนัดชำระหนี้ของเกษตรกรได้อย่างยั่งยืนกว่า” ผอ.สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ เสนอผลงานวิจัยและคำแนะนำ
แล้วสถานการณ์ของเกษตรกรวันนี้เป็นอย่างไร!!
“
ปราโมทย์ เจริญศิลป์” นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย ระบุว่า ตามนโยบายของรัฐบาลจะให้มีการพักหนี้เกษตรกร ถ้าครั้งนี้มีการพักดอกเบี้ยด้วย เป็นเรื่องที่เกษตรกรต้องการให้รัฐบาลดำเนินนโยบายภายใน 3-5 ปี เพราะที่ผ่านมามีการทำนโยบายพักหนี้แต่ไม่มีการพักดอกเบี้ย ทำให้อัตราชำระค่าดอกเบี้ยยังเพิ่มขึ้นตามช่วงเวลาที่เข้าโครงการพักหนี้ ส่งผลให้หนี้เกษตรกรไม่ลดลง แม้ลูกหนี้ที่เข้าร่วมโครงการจะจ่ายดอกเบี้ยต่อเนื่องก็ไม่สามารถปิดจบหนี้หมดได้ เพราะจ่ายแต่ดอกเบี้ยและเงินต้นยังไม่ถูกชำระ
เหตุผลหลักๆ มาจากเกษตรกรมีรายรับไม่เพียงพอนำเงินก้อนมาจ่ายเงินต้น เมื่อหมดมาตรการจึงมีหนี้ค้างเดิมและอาจจะมีหนี้ก้อนใหม่ที่กู้สินเชื่อเพิ่มช่วงพักหนี้ด้วย เพราะระหว่างพักหนี้เกษตรกรต้องนำเงินมาลงทุนทำการเกษตร ทั้งการซื้อเมล็ดพันธุ์ ซื้อปุ๋ย และค่าไฟฟ้าที่แพงขึ้น อีกทั้งยังเผชิญภาวะน้ำแล้งทำให้ผลผลิตออกมาน้อยกว่าที่ลงทุน รายรับจึงไม่เพียงพอต่อรายจ่าย
อีกทางหนึ่งรัฐอาจต้องเพิ่มการควบคุมราคาต้นทุนการผลิตให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม หรือต้องเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตด้วยการพัฒนาพันธุ์ข้าวใหม่ๆ หรือพัฒนาพันธุ์ข้าวเดิมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงการเปิดตลาดการค้ากับประเทศคู่ค้าใหม่ๆ ก็เป็นแนวทางที่คาดว่ารัฐพยายามดำเนินการอยู่
ขณะเดียวกัน หากมีการพักหนี้ที่ทำไปพร้อมกับการพักดอกเบี้ยคาดว่าจะทำให้เกษตรกรตั้งตัวได้ เนื่องจากขณะนี้ข้าวไทยส่งออกได้ต่อเนื่องและราคาดี ซึ่งได้รับอานิสงส์จากประเทศอินเดียที่งดส่งออกข้าว ทำให้ตลาดส่งออกข้าวไทยกระเตื้องขึ้น
“
ดังนั้น รัฐต้องใช้โอกาสนี้ช่วยเกษตรกรไทยผลิตข้าวเพื่อส่งออกตลาดให้มากขึ้น ซึ่งประโยชน์จากการดำเนินการจะสะท้อนกลับมาในรูปแบบของรายได้” นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทยเสนอแนะรัฐบาล
ขณะที่ “
มนัส พุทธรัตน์” ประธานสมาพันธ์ชาวสวนปาล์มน้ำมันแห่งประเทศไทย เสริมว่า การทำนโยบายพักหนี้ใช้ได้ดีในระดับหนึ่ง เพราะรัฐบาลอยากพักทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย แต่สิ่งสำคัญคือเมื่อรัฐบาลให้เข้าร่วมโครงการแล้ว แต่ไส้ในการส่งเสริมเกษตรกรจะทำอย่างไรให้มีรายได้กลับมาชำระหนี้ได้ ถ้าพักหนี้แล้วรัฐอาจมีนโยบายการกู้สินเชื่อเพิ่มมาสนับสนุนในการทำการเกษตรหรือไม่ เมื่อมีการลงทุนแล้วรัฐจะเข้าไปบริหารจัดการให้ผลผลิตถูกส่งออกและมีรายได้ต่อผลผลิตอย่างไร
เรื่องนี้รัฐบาลต้องทำการตลาดให้ดี เพราะถ้าทำการตลาดไม่ดีอาจส่งผลให้การค้าขายชะงักลงได้ รวมถึงการลงทุนจะสูญเปล่า เพราะที่ผ่านมาปัญหาเกิดขึ้นจากที่ช่วงระหว่างพักหนี้คือปัญหาด้านรายได้เป็นหลัก รัฐต้องแก้ไขโจทย์นี้ให้ได้
“
ขณะเดียวกัน การพักหนี้อาจไม่ใช่ปัจจัยหลักช่วยเหลือเกษตรกร เรื่องที่ควรจะช่วยเหลือมากกว่าคือการคุมดอกเบี้ยของเกษตรกร เพราะถ้ามีการกู้สินเชื่อแล้วหากเกษตรกรผิดนัดชำระดอกเบี้ยหนึ่งครั้ง อัตราดอกเบี้ยจะปรับเพิ่มขึ้น เช่น กู้เงิน ดอกเบี้ยที่ร้อยละ 6 ต่อปี เป็นอัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) หากผิดนัดชำระหนี้อัตราดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 9 ต่อปี หรืออาจจะมากกว่านี้ อยากให้รัฐมองถึงปัจจัยนี้ หรืออาจต้องเจรจากับสถาบันการเงินให้มีเงื่อนไขเรื่องดอกเบี้ยเข้ามาทบทวนใหม่ด้วย” เป็นอีกข้อเสนอหนึ่งจากประธานสมาพันธ์ชาวสวนปาล์มน้ำมันแห่งประเทศไทย
จากความเห็นเกษตรกรสะท้อนได้ว่า นโยบายการพักหนี้ให้เกษตรกรทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย จะต้องมีมาตรการคู่ขนานให้เกษตรกรมีรายได้ที่เพียงพอไม่เพียงแค่นำไปใช้หนี้ได้ แต่ยังต้องมีใช้เพื่อการดำรงชีวิตให้ดีขึ้น ซึ่งจะช่วยปลดหนี้ได้อย่างยั่งยืน
นึกว่าอยู่ม็อบ! สามัญชนขึ้นเวที ก.ก. ฉายภาพลวดหนาม ‘พิธา-หมอเก่ง-หมิว’ คว้าไมค์โชว์พลังเสียง
https://www.matichon.co.th/politics/news_4197116
‘พิธา’ จับไมค์ร้องเพลง ‘ทุ่งฝันวันใหม่’ กับวงสามัญชน ปิดท้ายงานก้าวต่อไป ก้าวไกลทั้งแผ่นดิน
เมื่อวันที่ 24 กันยายน ที่สนามกีฬาเวสน์ 1 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพฯ (ไทย-ญี่ปุ่น) ดินแดง พรรคก้าวไกล (ก.ก.) จัดกิจกรรม “ก้าวต่อไป ก้าวไกลทั้งแผ่นดิน” ภายหลังกิจกรรมเปิดวิสัยทัศน์ นาย
ชัยธวัช ตุลาธน หัวหน้าพรรค ก.ก.คนใหม่ และการบรรยายของ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรค เป็นการแสดงมินิคอนเสิร์ต วงสามัญชน
JJNY : โคราชส่อแล้งครั้งใหญ่│เสียงเกษตรกร-พักหนี้│นึกว่าอยู่ม็อบ! สามัญชนขึ้นเวที ก.ก.│ไฟไหม้เหมืองถ่านหินจีน!
https://www.innnews.co.th/news/local/news_618050/
โคราชส่อวิกฤตแล้งครั้งใหญ่ อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลาง รวม 27 แห่ง เหลือน้ำใช้แค่ 38 เปอร์เซ็นต์
วันนี้ ( 25 กันยายน 2566 ) สำนักงานชลประทานจังหวัดนครราชสีมา รายงานสถานการณ์กักเก็บในอ่างเก็บน้ำ 27 แห่งของงหวัดนครราชสีมา ว่า ปริมาตรน้ำเก็บกักในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 4 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำลำตะคอง ,อ่างเก็บน้ำลำพระเพลิง ,อ่างเก็บน้ำมูลบน และอ่างเก็บน้ำลำแชะ รวมเหลือปริมาตรน้ำเก็บกักอยู่ที่ 377 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็น 42.60 % แต่เป็นน้ำใช้การได้เพียง 339 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 40.06 % เท่านั้น ขณะที่ปริมาตรน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 23 แห่ง เหลือปริมาตรน้ำเก็บกักอยู่ที่ 127 ล้านลูกบาศก์เมตร
หรือคิดเป็น 38.40 % และเป็นน้ำใช้การได้ 102 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 33.36 % ทำให้ปริมาตรน้ำเก็บกักในอ่างเก็บน้ำทั้งหมด รวมเหลืออยู่ที่ 504 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็น 41.45% และเป็นน้ำใช้การได้ 441ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 38.29 % เท่านั้น ประชาชนในจังหวัดต่างกังวลว่า จะเกิดวิกฤติขาดแคลนน้ำอย่างรุนแรง
เนื่องจากสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้คาดการณ์ว่า สภาวะเอลนีโญสำหรับประเทศไทยขณะนี้ยังมีกำลังอ่อน แต่ก็ส่งผลให้มีปริมาณฝนสะสมทั้งประเทศ ต่ำกว่าค่าปกติร้อยละ 14 ซึ่งในช่วงปลายปีนี้ เอลนีโญมีแนวโน้มจะรุนแรงขึ้น และเป็นช่วงที่ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูหนาวหรือเป็นช่วงหน้าแล้ง จากนั้น เอลนีโญจึงจะมีกำลังอ่อนลงและต่อเนื่องไปจนถึงต้นปี 2567 ดังนั้น สทนช. จึงเร่งวางแผนและเตรียมพร้อมบริหารจัดการน้ำก่อนเข้าหน้าแล้งอย่างเข้มข้น ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและทุกภาคส่วน เพื่อรับมือเอลนีโญได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ในการนี้ สำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 5 นครราชสีมา โดยนายกิตติภณ สีมะเดื่อ วิศวกรโยธาปฏิบัติการ จึงร่วมกับ สำนักชลประทานที่ 8 นครราชสีมา ลงพื้นที่สำรวจแหล่งน้ำที่บ้านนานิคม ตำบลด่านช้าง อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งสระน้ำขนาดใหญ่ พื้นที่กว่า 127 ไร่ แต่ไม่ได้ขุดลอกมานานกว่า 50 ปี เพื่อเตรียมพื้นที่ให้เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง กักเก็บน้ำไว้ใช้แก้ปัญหาภัยแล้งให้กับประชาชนในพื้นที่ เนื่องจากน้ำประปาหลายแห่งในอำเภอบัวใหญ่ขณะนี้เริ่มแห้งขอด ส่งผลกระทบทำให้ประชาชนเริ่มขาดแคลนน้ำใช้อุปโภค-บริโภคแล้ว
ดังนั้น หากดำเนินการขุดลอกและพัฒนาสระน้ำบ้านนานิคม จนแล้วเสร็จ ก็จะได้อ่างเก็บน้ำขนาดกลางเพิ่มอีกแห่ง ซึ่งสามารถเก็บกักน้ำได้ถึง 500,000 ลูกบาศก์เมตร สามารถส่งจ่ายน้ำจากอ่างเก็บน้ำแห่งนี้ไปยังเรือนจำอำเภอบัวใหญ่ และส่งน้ำไปให้กองการประปาเทศบาลเมืองบัวใหญ่ ได้ผลิตเป็นน้ำประปาแจกจ่ายให้กับประชาชนในพื้นที่ได้ใช้ประโยชน์ ซึ่งจะเป็นการช่วยแก้ไขปัญหาภัยแล้งในระยะยาวให้กับพื้นที่ได้
เสียงเกษตรกร-พักหนี้ แนะปลดภาระยั่งยืน
https://www.matichon.co.th/economy/news_4197285
เสียงเกษตรกร-พักหนี้ แนะปลดภาระยั่งยืน
ข้อมูลล่าสุดของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ โดย “โสมรัศมิ์ จันทรัตน์” ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยฯ เผยผลศึกษาถอดบทเรียนการพักหนี้เกษตรกรไทยไว้ว่า ปัญหาหนี้สินเกษตรกรไทยต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน จากการสำรวจครัวเรือนเกษตรกรของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ และข้อมูลสินเชื่อรายสัญญาจากเครดิตบูโร (NCB) ชี้ว่ากว่า 90% ของเกษตรกรไทย 4 ล้านครัวเรือน มีหนี้เฉลี่ยมากกว่า 450,000 บาทต่อครัวเรือน
หนี้เกษตรกรแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแรก 13.2% ลูกหนี้ที่มีหนี้เสีย กลุ่มสอง 37.1% ลูกหนี้ปกติ กลุ่มสาม 49.7% ลูกหนี้เรื้อรัง โดยรอบ 9 ปีที่ผ่านมา หรือช่วง 2560-2566 หนี้เกษตรกรโตถึง 75% ซึ่งเกษตรกรกว่า 50% มีแนวโน้มเป็นหนี้เรื้อรัง เพราะปริมาณหนี้สูงเกินศักยภาพ ส่วนใหญ่จึงชำระหนี้จ่ายคืนได้เพียงดอกเบี้ยเท่านั้น
ขณะที่ศึกษาผลกระทบของมาตรการพักหนี้เกษตรกร จากข้อมูลสินเชื่อรายสัญญาของลูกหนี้ตัวอย่าง 1 ล้านคน สุ่มจากลูกหนี้รายย่อยของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ช่วงปี 2557-2566 พบว่าตลอด 9 ปี มีการพักหนี้เกษตรกรถึง 13 มาตรการใหญ่ มีเกษตรกรเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก และกว่า 42% อยู่ในมาตรการพักหนี้นานเกิน 4 ปี
ผลการศึกษายังพบว่า มาตรการพักหนี้เกษตรกรในอดีตไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาหนี้ได้อย่างยั่งยืน เห็นได้จากเกษตรกรที่เข้ามาตรการพักหนี้ มียอดหนี้สูงขึ้นกว่ากลุ่มที่ไม่ได้เข้ามาตรการอย่างมีนัยสำคัญ เกิดจาก 77% ของลูกหนี้ที่เข้าร่วมมาตรการได้รับสินเชื่อใหม่ระหว่างการพักหนี้ และ 50% ของลูกหนี้ที่เข้าร่วมมาตรการขาดการจ่ายภาระดอกเบี้ยที่ยังเดินอยู่
นอกจากนี้ เกษตรกรที่เข้ามาตรการพักหนี้มีแนวโน้มเป็นหนี้เสียสูงขึ้น อาจเกิดจากวินัยทางการเงินลดลง หรือเสียกำลังใจเมื่อเห็นยอดหนี้คงค้างปรับสูงขึ้น อีกทั้งมีแนวโน้มกลับเข้าไปพักหนี้ซ้ำกลายเป็นติดกับดักหนี้ในที่สุด สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาแรงจูงใจของลูกหนี้ที่บิดเบี้ยว (moral hazard) ผลกระทบจะรุนแรงขึ้นหากเกษตรกรเข้าร่วมมาตรการเป็นเวลานาน อีกทั้งเกษตรกรเข้ามาตรการพักหนี้ไม่ได้มีการออมเงิน หรือลงทุนทำการเกษตรเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
จากผลการศึกษาชี้ว่ามาตรการพักหนี้ที่ทำในวงกว้างต่อเนื่องยาวนาน และไม่มีเงื่อนไขการรักษาวินัยทางการเงินที่ดี จะไม่สามารถแก้ปัญหาให้ลูกหนี้เกษตรกรในกลุ่มต่างๆ ได้อย่างยั่งยืน
จากผลการศึกษาข้างต้นสามารถถอดบทเรียนการออกแบบมาตรการพักหนี้ที่เหมาะสมได้ 3 ประเด็นคือ
1.ควรเป็นมาตรการระยะสั้น และใช้เฉพาะสถานการณ์รุนแรง เช่น เกิดภัยธรรมชาติรุนแรง เกิดโรคระบาดอย่างไวรัสโควิด รวมทั้งทำในวงจำกัด (opt in) สำหรับลูกหนี้ที่ยังมีศักยภาพแต่ประสบปัญหาชำระหนี้ชั่วคราว
2.สร้างแรงจูงใจให้ลูกหนี้ทุกกลุ่มยังรักษาวินัยในการชำระหนี้ สำหรับกลุ่มลูกหนี้ดีที่สามารถชำระหนี้ได้ตามปกติต้องมีกลไกที่ทำให้ลูกหนี้ยังเลือกชำระหนี้อย่างมีวินัย ป้องกันไม่ให้เข้าร่วมมาตรการพักหนี้ เช่น การลดดอกเบี้ยสินเชื่อใหม่สำหรับลูกหนี้ที่ชำระได้ตามปกติ เพื่อสร้างแรงกระตุ้นให้ชำระหนี้ต่อเนื่อง
ส่วนลูกหนี้ที่ประสบปัญหาและจำเป็นต้องเข้ามาตรการพักหนี้ ควรมีกลไกที่ยังทำให้ลูกหนี้มีแรงจูงใจและความพยายามที่จะชำระหนี้ตามความสามารถได้อย่างต่อเนื่อง เช่น การพักชำระหนี้เพียงบางส่วนทำให้ลูกหนี้ยังสามารถชำระหนี้ได้ นอกจากนี้ อาจมีแนวทางเสริมให้เกษตรกรที่เข้ามาตรการพักหนี้มีการปรับตัวเพื่อเพิ่มศักยภาพในการหารายได้ และลดความเสี่ยง ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสามารถในการชำระหนี้ในระยะยาวด้วย
“3.ไม่ควรใช้มาตรการพักหนี้เป็นเครื่องมือหลักในการช่วยบริหารจัดการความเสี่ยงให้เกษตรกร เพื่อลดการพึ่งพิงมาตรการพักหนี้และป้องกันปัญหาแรงจูงใจของลูกหนี้ที่บิดเบี้ยว ซึ่งในอนาคตหากมีความเสี่ยงของการทำการเกษตรมากขึ้น ระบบประกันสินเชื่ออาจเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อการผิดนัดชำระหนี้ของเกษตรกรได้อย่างยั่งยืนกว่า” ผอ.สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ เสนอผลงานวิจัยและคำแนะนำ
แล้วสถานการณ์ของเกษตรกรวันนี้เป็นอย่างไร!!
“ปราโมทย์ เจริญศิลป์” นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย ระบุว่า ตามนโยบายของรัฐบาลจะให้มีการพักหนี้เกษตรกร ถ้าครั้งนี้มีการพักดอกเบี้ยด้วย เป็นเรื่องที่เกษตรกรต้องการให้รัฐบาลดำเนินนโยบายภายใน 3-5 ปี เพราะที่ผ่านมามีการทำนโยบายพักหนี้แต่ไม่มีการพักดอกเบี้ย ทำให้อัตราชำระค่าดอกเบี้ยยังเพิ่มขึ้นตามช่วงเวลาที่เข้าโครงการพักหนี้ ส่งผลให้หนี้เกษตรกรไม่ลดลง แม้ลูกหนี้ที่เข้าร่วมโครงการจะจ่ายดอกเบี้ยต่อเนื่องก็ไม่สามารถปิดจบหนี้หมดได้ เพราะจ่ายแต่ดอกเบี้ยและเงินต้นยังไม่ถูกชำระ
เหตุผลหลักๆ มาจากเกษตรกรมีรายรับไม่เพียงพอนำเงินก้อนมาจ่ายเงินต้น เมื่อหมดมาตรการจึงมีหนี้ค้างเดิมและอาจจะมีหนี้ก้อนใหม่ที่กู้สินเชื่อเพิ่มช่วงพักหนี้ด้วย เพราะระหว่างพักหนี้เกษตรกรต้องนำเงินมาลงทุนทำการเกษตร ทั้งการซื้อเมล็ดพันธุ์ ซื้อปุ๋ย และค่าไฟฟ้าที่แพงขึ้น อีกทั้งยังเผชิญภาวะน้ำแล้งทำให้ผลผลิตออกมาน้อยกว่าที่ลงทุน รายรับจึงไม่เพียงพอต่อรายจ่าย
อีกทางหนึ่งรัฐอาจต้องเพิ่มการควบคุมราคาต้นทุนการผลิตให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม หรือต้องเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตด้วยการพัฒนาพันธุ์ข้าวใหม่ๆ หรือพัฒนาพันธุ์ข้าวเดิมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงการเปิดตลาดการค้ากับประเทศคู่ค้าใหม่ๆ ก็เป็นแนวทางที่คาดว่ารัฐพยายามดำเนินการอยู่
ขณะเดียวกัน หากมีการพักหนี้ที่ทำไปพร้อมกับการพักดอกเบี้ยคาดว่าจะทำให้เกษตรกรตั้งตัวได้ เนื่องจากขณะนี้ข้าวไทยส่งออกได้ต่อเนื่องและราคาดี ซึ่งได้รับอานิสงส์จากประเทศอินเดียที่งดส่งออกข้าว ทำให้ตลาดส่งออกข้าวไทยกระเตื้องขึ้น
“ดังนั้น รัฐต้องใช้โอกาสนี้ช่วยเกษตรกรไทยผลิตข้าวเพื่อส่งออกตลาดให้มากขึ้น ซึ่งประโยชน์จากการดำเนินการจะสะท้อนกลับมาในรูปแบบของรายได้” นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทยเสนอแนะรัฐบาล
ขณะที่ “มนัส พุทธรัตน์” ประธานสมาพันธ์ชาวสวนปาล์มน้ำมันแห่งประเทศไทย เสริมว่า การทำนโยบายพักหนี้ใช้ได้ดีในระดับหนึ่ง เพราะรัฐบาลอยากพักทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย แต่สิ่งสำคัญคือเมื่อรัฐบาลให้เข้าร่วมโครงการแล้ว แต่ไส้ในการส่งเสริมเกษตรกรจะทำอย่างไรให้มีรายได้กลับมาชำระหนี้ได้ ถ้าพักหนี้แล้วรัฐอาจมีนโยบายการกู้สินเชื่อเพิ่มมาสนับสนุนในการทำการเกษตรหรือไม่ เมื่อมีการลงทุนแล้วรัฐจะเข้าไปบริหารจัดการให้ผลผลิตถูกส่งออกและมีรายได้ต่อผลผลิตอย่างไร
เรื่องนี้รัฐบาลต้องทำการตลาดให้ดี เพราะถ้าทำการตลาดไม่ดีอาจส่งผลให้การค้าขายชะงักลงได้ รวมถึงการลงทุนจะสูญเปล่า เพราะที่ผ่านมาปัญหาเกิดขึ้นจากที่ช่วงระหว่างพักหนี้คือปัญหาด้านรายได้เป็นหลัก รัฐต้องแก้ไขโจทย์นี้ให้ได้
“ขณะเดียวกัน การพักหนี้อาจไม่ใช่ปัจจัยหลักช่วยเหลือเกษตรกร เรื่องที่ควรจะช่วยเหลือมากกว่าคือการคุมดอกเบี้ยของเกษตรกร เพราะถ้ามีการกู้สินเชื่อแล้วหากเกษตรกรผิดนัดชำระดอกเบี้ยหนึ่งครั้ง อัตราดอกเบี้ยจะปรับเพิ่มขึ้น เช่น กู้เงิน ดอกเบี้ยที่ร้อยละ 6 ต่อปี เป็นอัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) หากผิดนัดชำระหนี้อัตราดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 9 ต่อปี หรืออาจจะมากกว่านี้ อยากให้รัฐมองถึงปัจจัยนี้ หรืออาจต้องเจรจากับสถาบันการเงินให้มีเงื่อนไขเรื่องดอกเบี้ยเข้ามาทบทวนใหม่ด้วย” เป็นอีกข้อเสนอหนึ่งจากประธานสมาพันธ์ชาวสวนปาล์มน้ำมันแห่งประเทศไทย
จากความเห็นเกษตรกรสะท้อนได้ว่า นโยบายการพักหนี้ให้เกษตรกรทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย จะต้องมีมาตรการคู่ขนานให้เกษตรกรมีรายได้ที่เพียงพอไม่เพียงแค่นำไปใช้หนี้ได้ แต่ยังต้องมีใช้เพื่อการดำรงชีวิตให้ดีขึ้น ซึ่งจะช่วยปลดหนี้ได้อย่างยั่งยืน
นึกว่าอยู่ม็อบ! สามัญชนขึ้นเวที ก.ก. ฉายภาพลวดหนาม ‘พิธา-หมอเก่ง-หมิว’ คว้าไมค์โชว์พลังเสียง
https://www.matichon.co.th/politics/news_4197116
‘พิธา’ จับไมค์ร้องเพลง ‘ทุ่งฝันวันใหม่’ กับวงสามัญชน ปิดท้ายงานก้าวต่อไป ก้าวไกลทั้งแผ่นดิน
เมื่อวันที่ 24 กันยายน ที่สนามกีฬาเวสน์ 1 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพฯ (ไทย-ญี่ปุ่น) ดินแดง พรรคก้าวไกล (ก.ก.) จัดกิจกรรม “ก้าวต่อไป ก้าวไกลทั้งแผ่นดิน” ภายหลังกิจกรรมเปิดวิสัยทัศน์ นายชัยธวัช ตุลาธน หัวหน้าพรรค ก.ก.คนใหม่ และการบรรยายของ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรค เป็นการแสดงมินิคอนเสิร์ต วงสามัญชน