ปัญหา ๕ มาสก เป็นเท่าไหร่ตามพุทธวจนะ?
สถานการณ์ ณ วันที่ xx กุมภาพันธ์ ๒๕xx กำลังรอมติ มส. พิจารณากรณีพระธัมมชโยถือเอาทรัพย์ที่เขาไม่ได้ให้ตั้งแต่ ๕ มาสก ขึ้นไป
ทำให้ข้าพเจ้านึกขึ้นได้ว่า ๕ มาสกนี่ถ้าถามชาวพุทธวจน วัดนาป่าพง เขาจะตอบว่าอย่างไรหนอ เพราะเขาพูดไว้หนักแน่นว่า เขาถือเอาเฉพาะพุทธวจนะที่มีคำขึ้นต้นว่า “ดูกร..” เท่านั้น
ในเรื่องค่าเงินหน่วยนับเป็นมาสกนี้ เป็นหน่วยนับเงินของอินเดียในสมัยพุทธกาล ซึ่งในพุทธกาลยังไม่มีเงินบาทให้เทียบกันเลยด้วยซ้ำ
ดังนั้น จึงไม่มีดอกว่าพระผู้มีพระภาคจะอธิบายไว้ว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตบัญญัติ ๕ มาสก เท่ากับ.....บาทไทย” แล้วเขาจะเอาอะไรมาตอบ
การวินิจฉัยเทียบราคาทรัพย์ ๕ มาสกนี้ (พระบาลีใช้ศัพท์ว่า ปญฺจมาสกํ) เราถือเอาตามอรรถกถาหรือตามที่ปรากฏในพระไตรปิฎกในส่วนที่พระคึกฤทธิ์และพวกเรียกว่า “คำสาวก” โดยในพระวินัยปิฎก มหาวังค์ ภาค ๑ เล่ม ๑ หน้า ๒๔๑ ข้อ ๘๓ (ฉบับหลวง) บันทึกไว้ว่า
“ภิกษุรูปนั้นกราบทูลว่า เพราะทรัพย์บาทหนึ่งบ้าง เพราะของควรค่าบาทหนึ่งบ้าง เกิน บาทหนึ่งบ้าง พระพุทธเจ้าข้า
แท้จริงสมัยนั้น ทรัพย์ ๕ มาสกในกรุงราชคฤห์ เป็นหนึ่งบาท” ซึ่งการอธิบาย ๕ มาสกเท่ากับ ๑ บาท นี้เป็นการอธิบายโดย “คำสาวก” ซึ่งในสมัยที่มีการแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทย อาจจะเป็นไปได้ว่า ผู้แปลได้ดูการเทียบค่าเงินจากอรรถกถาและฎีกา โดยอรรถกถาและฎีกาเทียบมูลค่ามาสกจากราคาทอง วิธีการคือ นำข้าวสาร ๒๐ เมล็ดมาชั่งน้ำหนักกับทอง ข้าวสาร ๒๐ เมล็ดมีน้ำหนักเท่ากับทองกี่กรัมก็เอาน้ำหนักนั้นไปคำนวนด้วยราคาเงินบาท ในสมัยที่มีการแปลพระไตรปิฎกข้อนี้ ราคาทองอาจจะแค่บาทละ ๑๐๐ หรือ ๒๐๐ บาท ดังนั้น ๕ มาสกจึงมีค่าเท่ากับทองราคา ๑ บาท ก็เป็นไปได้
วัดนาป่าพงจึงไม่ควรยกสาวกภาษิตนี้มาตอบเรื่อง ๕ มาสก แต่พึงนำพุทธวจนะที่ทรงอธิบายเรื่อง ๕ มาสกมาแสดงเถิด ให้สมกับที่พวกท่านชูประเด็น จุดเด่นว่า ตนเอาแต่พุทธวจนะเท่านั้น ไม่เอาอรรถกถา คำครูบาอาจารย์ หรือคำแต่งใหม่ใดๆ ทั้งสิ้น
ถ้าไม่ใช้หลักการเทียบตามนัยอรรถกถา จะเกิดปัญหาอีกว่า ๕ มาสกสำหรับค่าเงินพม่า ค่าเงินลาว ค่าเงินศรีลังกา ฯลฯ จะเป็นเท่าไหร่ แต่ถ้าเทียบกันตามที่พระอรรถกถาจารย์ท่านวางหลักไว้ให้ ไม่ว่ายุคสมัยใด ค่าเงินประเทศไหน ก็จะไม่มีปัญหาในการวินิจฉัยเลย
แหล่งข้อมูล :
http://watnaprapong.blogspot.com/2015/02/blog-post_20.html?m=1
ประเด็น "ปัญหา 5 มาสด เป็นเท่าไหร่ตามพุทธวจนะ?
สถานการณ์ ณ วันที่ xx กุมภาพันธ์ ๒๕xx กำลังรอมติ มส. พิจารณากรณีพระธัมมชโยถือเอาทรัพย์ที่เขาไม่ได้ให้ตั้งแต่ ๕ มาสก ขึ้นไป
ทำให้ข้าพเจ้านึกขึ้นได้ว่า ๕ มาสกนี่ถ้าถามชาวพุทธวจน วัดนาป่าพง เขาจะตอบว่าอย่างไรหนอ เพราะเขาพูดไว้หนักแน่นว่า เขาถือเอาเฉพาะพุทธวจนะที่มีคำขึ้นต้นว่า “ดูกร..” เท่านั้น
ในเรื่องค่าเงินหน่วยนับเป็นมาสกนี้ เป็นหน่วยนับเงินของอินเดียในสมัยพุทธกาล ซึ่งในพุทธกาลยังไม่มีเงินบาทให้เทียบกันเลยด้วยซ้ำ
ดังนั้น จึงไม่มีดอกว่าพระผู้มีพระภาคจะอธิบายไว้ว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตบัญญัติ ๕ มาสก เท่ากับ.....บาทไทย” แล้วเขาจะเอาอะไรมาตอบ
การวินิจฉัยเทียบราคาทรัพย์ ๕ มาสกนี้ (พระบาลีใช้ศัพท์ว่า ปญฺจมาสกํ) เราถือเอาตามอรรถกถาหรือตามที่ปรากฏในพระไตรปิฎกในส่วนที่พระคึกฤทธิ์และพวกเรียกว่า “คำสาวก” โดยในพระวินัยปิฎก มหาวังค์ ภาค ๑ เล่ม ๑ หน้า ๒๔๑ ข้อ ๘๓ (ฉบับหลวง) บันทึกไว้ว่า
“ภิกษุรูปนั้นกราบทูลว่า เพราะทรัพย์บาทหนึ่งบ้าง เพราะของควรค่าบาทหนึ่งบ้าง เกิน บาทหนึ่งบ้าง พระพุทธเจ้าข้า
แท้จริงสมัยนั้น ทรัพย์ ๕ มาสกในกรุงราชคฤห์ เป็นหนึ่งบาท” ซึ่งการอธิบาย ๕ มาสกเท่ากับ ๑ บาท นี้เป็นการอธิบายโดย “คำสาวก” ซึ่งในสมัยที่มีการแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทย อาจจะเป็นไปได้ว่า ผู้แปลได้ดูการเทียบค่าเงินจากอรรถกถาและฎีกา โดยอรรถกถาและฎีกาเทียบมูลค่ามาสกจากราคาทอง วิธีการคือ นำข้าวสาร ๒๐ เมล็ดมาชั่งน้ำหนักกับทอง ข้าวสาร ๒๐ เมล็ดมีน้ำหนักเท่ากับทองกี่กรัมก็เอาน้ำหนักนั้นไปคำนวนด้วยราคาเงินบาท ในสมัยที่มีการแปลพระไตรปิฎกข้อนี้ ราคาทองอาจจะแค่บาทละ ๑๐๐ หรือ ๒๐๐ บาท ดังนั้น ๕ มาสกจึงมีค่าเท่ากับทองราคา ๑ บาท ก็เป็นไปได้
วัดนาป่าพงจึงไม่ควรยกสาวกภาษิตนี้มาตอบเรื่อง ๕ มาสก แต่พึงนำพุทธวจนะที่ทรงอธิบายเรื่อง ๕ มาสกมาแสดงเถิด ให้สมกับที่พวกท่านชูประเด็น จุดเด่นว่า ตนเอาแต่พุทธวจนะเท่านั้น ไม่เอาอรรถกถา คำครูบาอาจารย์ หรือคำแต่งใหม่ใดๆ ทั้งสิ้น
ถ้าไม่ใช้หลักการเทียบตามนัยอรรถกถา จะเกิดปัญหาอีกว่า ๕ มาสกสำหรับค่าเงินพม่า ค่าเงินลาว ค่าเงินศรีลังกา ฯลฯ จะเป็นเท่าไหร่ แต่ถ้าเทียบกันตามที่พระอรรถกถาจารย์ท่านวางหลักไว้ให้ ไม่ว่ายุคสมัยใด ค่าเงินประเทศไหน ก็จะไม่มีปัญหาในการวินิจฉัยเลย
แหล่งข้อมูล : http://watnaprapong.blogspot.com/2015/02/blog-post_20.html?m=1