ปัญหา 5 มาสก เป็นเท่าไหร่ตามพุทธวจนะ

กระทู้สนทนา
มาสก
ภาษาไทยอ่านว่า มา-สก
บาลีอ่านว่า มา-สะ-กะ

“มาสก” รากศัพท์มาจาก มสฺ (ธาตุ = จับต้อง) + ณฺวุ ปัจจัย, ยืดเสียง อะ ที่ ม- เป็น อา, แปลง ณฺวุ เป็น อก (อะ-กะ)
: มสฺ + ณฺวุ > อก = มสก > มาสก แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันคนจับต้องด้วยคิดว่าสิ่งนี้เป็นของเรา” หมายถึง เงินตรา, มาตรานับเงิน

หลักพระวินัยของสงฆ์ที่รู้กันมีว่า
ภิกษุถือเอาของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ได้ราคา 5 มาสก ต้องปาราชิก

เหตุที่กำหนดราคาไว้เท่านี้มาจากการเทียบอัตราโทษของแคว้นมคธสมัยพุทธกาล
กล่าวคือในแคว้นมคธสมัยนั้น โจรลักทรัพย์มีราคาตั้งแต่ 5 มาสกขึ้นไปต้องระวางโทษประหารชีวิต
เมื่อจะทรงบัญญัติสิกขาบทข้อนี้จึงกำหนดราคาทรัพย์ไว้เท่านั้น

ปัญหาก็คือ 5 มาสก เป็นเงินเท่าไร ?

1 พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า -
“มาสก : (คำนาม) ชื่อมาตราเงินในครั้งโบราณ ๕ มาสก เป็น ๑ บาท. (ป.; ส. มาษก).”

2 หนังสือ ศัพท์วิเคราะห์ ของ พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.9, ราชบัณฑิต) ที่คำว่า “มาสก” บอกไว้ว่า “1 มาสก = 4 บาทไทย”

3 พระลิขิตสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ที่นำมาอ้างอิงกันในขณะนี้มีความตอนหนึ่งว่า –
“การโกงสมบัติผู้อื่นตั้งแต่ 5 มาสกขึ้นไป คือประมาณไม่ถึง 300 บาทในปัจจุบัน”

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ บอกว่า “มาสก” รากศัพท์มาจาก “มาส” แปลว่า “a small bean” (ถั่วเม็ดเล็กๆ)
และแปล “มาสก” ว่า a small coin (เหรียญเล็กๆ)

4 ในหนังสือวินัยมุข เล่ม 1 หน้า 40 พระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส บอกว่า -
“5 มาสกเป็นบาทหนึ่ง 4 บาทเป็นกหาปณะหนึ่ง กหาปณะเป็นหลักมาตราเช่นเงินบาทในกรุงสยาม ณ บัดนี้ รูปิยะที่ใช้อยู่ในต่างแคว้นมีอัตราไม่เหมือนกัน ต้องมีมาตราสำหรับแลกเปลี่ยนอีกส่วนหนึ่ง. มาตรารูปิยะในแคว้นมคธ ณ ครั้งนั้น จะสันนิษฐานเทียบกับมาตรารูปิยะในบัดนี้ ย่อมรู้ได้ยาก จะเทียบบาทในแคว้นมคธ ณ ครั้งนั้นกับบาทของเราในครั้งนี้ด้วยสักว่าชื่อเหมือนกันก็ไม่ได้..”

https://touch.facebook.com/story.php?story_fbid=774792712614468&id=100002512387360

-------------------------


ในเรื่องค่าเงินหน่วยนับเป็นมาสกนี้  เป็นหน่วยนับเงินของอินเดียในสมัยพุทธกาล  ซึ่งในพุทธกาลยังไม่มีเงินบาทให้เทียบกันเลยด้วยซ้ำ  
ดังนั้น  จึงไม่มีดอกว่าพระผู้มีพระภาคจะอธิบายไว้ว่า  “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตบัญญัติ ๕ มาสก เท่ากับ.....บาทไทย”  
แล้วเขา (ชาววัดนาป่าพง) จะเอาอะไรมาตอบ


การวินิจฉัยเทียบราคาทรัพย์ 5 มาสกนี้ เราถือเอาตามอรรถกถาหรือตามที่ปรากฏในพระไตรปิฎก
ในส่วนที่พระคึกฤทธิ์และพวกเรียกว่า  “คำสาวก”


โดยในพระวินัยปิฎก  มหาวังค์  ภาค ๑ เล่ม ๑  หน้า ๒๔๑ ข้อ ๘๓ (ฉบับหลวง)  บันทึกไว้ว่า  

            ก็สมัยนั้นแล มหาอำมาตย์ผู้พิพากษาเก่าคนหนึ่งบวชในหมู่ภิกษุ นั่งอยู่ไม่ห่างพระผู้มี
พระภาค จึงพระองค์ได้ตรัสพระวาจานี้ต่อภิกษุรูปนั้นว่า ดูกรภิกษุ พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนา
มาคธราชจับโจรได้แล้ว ประหารชีวิตเสียบ้าง จองจำไว้บ้าง เนรเทศเสียบ้าง เพราะทรัพย์
ประมาณเท่าไรหนอ?
             ภิกษุรูปนั้นกราบทูลว่า เพราะทรัพย์บาทหนึ่งบ้าง เพราะของควรค่าบาทหนึ่งบ้าง เกิน
บาทหนึ่งบ้าง พระพุทธเจ้าข้า
             แท้จริงสมัยนั้น ทรัพย์ ๕ มาสกในกรุงราชคฤห์ เป็นหนึ่งบาท
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=1&A=6087&Z=6234


ซึ่งการอธิบาย  5  มาสกเท่ากับ  1 บาท  นี้เป็นการอธิบายโดย  “คำสาวก”
ซึ่งในสมัยที่มีการแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทย อาจจะเป็นไปได้ว่า  ผู้แปลได้ดูการเทียบค่าเงินจากอรรถกถาและฎีกา  
โดยอรรถกถาและฎีกาเทียบมูลค่ามาสกจากราคาทอง  

วิธีการคือ
นำข้าวสาร 20 เมล็ดมาชั่งน้ำหนักกับทอง ข้าวสาร 20 เมล็ดมีน้ำหนักเท่ากับทองกี่กรัมก็เอาน้ำหนักนั้นไปคำนวนด้วยราคาเงินบาท  
ในสมัยที่มีการแปลพระไตรปิฎกข้อนี้  ราคาทองอาจจะแค่บาทละ 100  หรือ 200 บาท  
ดังนั้น  5 มาสกจึงมีค่าเท่ากับทองราคา 1 บาท  ก็เป็นไปได้  

วัดนาป่าพงจึงไม่ควรยกสาวกภาษิตนี้มาตอบเรื่อง  5 มาสก  แต่พึงนำพุทธวจนะที่ทรงอธิบายเรื่อง  5 มาสกมาแสดงเถิด  
ให้สมกับที่พวกท่านชูประเด็น  จุดเด่นว่า  ตนเอาแต่พุทธวจนะเท่านั้น   ไม่เอาอรรถกถา คำครูบาอาจารย์  หรือคำแต่งใหม่ใดๆ ทั้งสิ้น


ถ้าไม่ใช้หลักการเทียบตามนัยอรรถกถา จะเกิดปัญหาอีกว่า 5 มาสกสำหรับค่าเงินพม่า ค่าเงินลาว ค่าเงินศรีลังกา ฯลฯ จะเป็นเท่าไหร่  
แต่ถ้าเทียบกันตามที่พระอรรถกถาจารย์ท่านวางหลักไว้ให้  ไม่ว่ายุคสมัยใด  ค่าเงินประเทศไหน  ก็จะไม่มีปัญหาในการวินิจฉัยเลย




http://watnaprapong.blogspot.com/2015/02/blog-post_20.html?spref=fb
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่