ภาระจำยอม/ทางสาธารณะ
ที่เกิดจากการจงใจหรือเจตนาที่เคยเจอ
1. ทึ่ดินทางเท้า/ถนนถูกใช้ผ่านเข้าออก
เกินกว่าครบ 10 ปี จะกลายเป็นภาระจำยอม
ถ้าบวกวิชามารขั้นเทพอสูรปีศาจอสูรกาย
จ้างวาน/ให้ผู้ใหญ่บ้านกับชาวบ้านแถวนั้น
มายืนยันว่า มีคนเดินเข้าออกเกิน 10 ปีแล้ว
แม้จะใช้แค่ไม่กี่ปี ถ้าไม่มีพยานหลักฐานอื่น ๆ
มาสู้คดี แพ้คดีแน่นอนเวลาขึ้นศาลพิจารณา
เหมือนราชสีห์ ฤาจะสู้ฝูงหมาป่าไฮยีน่า
แสบที่สุดที่เคยเจอ มีการปักป้ายชื่อถนน
ชื่อเจ้าของทึ่ดิน คนมีอิทธิพลในท้องถิ่น
นักการเมืองท้องถิ่น ฯลฯ (หัวถนน/ท้ายถนน)
คราวนี้งานเข้า เพราะถือว่ายกให้สาธารณะ
ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียน จะสู้ก็ศึกใหญ่
ศึกครั้งนี้ใหญ่หลวงนัก เหนือความคาดหมาย
เพราะการไปศาลไม่ใช่ไปสวนสนุก
เสียเงิน เสียเวลา เสียสุขภาพจิต
ซอยนานา เจ้าของทึ่ดินเก่าตัดถนนเสร็จ
เชิญคนมาร่วมงานเปิดถนนพอเป็นพิธี
ตอนนี้ถนนสายนี้ใครจะไปสู้คดีจนเหลนบวช
เพื่อยกเลิกแนวเขตถนนจากสาธารณะ
ก็ไม่กลายเป็นถนนส่วนบุคคลอีกต่อไป
แม้ว่าจะมีหลายคนแถวท้ายซอย
จะพยายามสู้คดีว่าไม่ใช่ถนนสาธารณะ
แต่ไม่มีผลคืบหน้าแต่อย่างใด
2. วิชามารอีกแบบ คือ แอบทำถนนลาดยาง
แบบ รพช (สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท)
ผู้รับเหมากรมทางหลวงบางราย
แอบทำตอนเจ้าของทึ่ดินไม่อยู่
หรือทำตอนกลางคืน ตอนเช้าก็เสร็จแล้ว
เจ้าของที่ดินมักจะคอตกจำยอมในที่สุด
เพราะการไปศาลไม่ใช่ไปสวนสนุก
เสียเงิน เสียเวลา เสียสุขภาพจิต
อีกพวกก็กลุ่มคนทำทางข้ามทางรถไฟ ที่รถไฟ
ขอการรถไฟแห่งประเทศไทยมักไม่ยอม
มักจะแอบทำกันตอนกลางคืน/เร่งรัดทำกัน
ถนนเสร็จแล้วปิดกั้นยาก
3. วิชาหัวหมอ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
จะปิดถนนบางสาย 1 วัน หรือ ครึ่งวัน
ยิ่งซอยข้างมาบุญครองเป็นข่าวเกือบทุกปี
เพื่อยืนยันว่า สงวนสิทธิ์ เป็นทางส่วนบุคคล
ที่ดินของจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
จะยกเลิกเมื่อไรก็ได้ อย่ามาอ้างอายุความ
ภาระจำยอม ถนนสาธารณะ
ที่รู้จุฬาฯ ปิดมาแบบนี้นานร่วม 100 ปีแล้ว
ทำจนเป็นประเพณี (ตั้งแต่จขกท. ยังวัยละอ่อน)
ศ.ประพนธ์ ศาตะมาน (บรรยายไว้นานแล้ว)
เลียนแบบมหาวิทยาลัย Oxford
ที่มีถนนส่วนตัวในมหาวิทยาลัย
แต่ให้ชาวบ้านใช้เข้าออกได้ร่วมหลายร้อยปี
ก็ไม่เกิดสิทธิ์ใด ๆ ตามหลักกฎหมาย
นึกถึงกลอนสุนทรภู่
แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์
มันแสดสุดลึกล้ำเหลือกำหนด
ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด
ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน
เขียนขึ้นจากความทรงจำเก่า ๆ
ก่อนที่จะเลือนหายไปเหมือนฝุ่นละลองบนถนน
.
.
การจงใจสร้างภาระจำยอม/ทางสาธารณะ
ที่เกิดจากการจงใจหรือเจตนาที่เคยเจอ
1. ทึ่ดินทางเท้า/ถนนถูกใช้ผ่านเข้าออก
เกินกว่าครบ 10 ปี จะกลายเป็นภาระจำยอม
ถ้าบวกวิชามารขั้นเทพอสูรปีศาจอสูรกาย
จ้างวาน/ให้ผู้ใหญ่บ้านกับชาวบ้านแถวนั้น
มายืนยันว่า มีคนเดินเข้าออกเกิน 10 ปีแล้ว
แม้จะใช้แค่ไม่กี่ปี ถ้าไม่มีพยานหลักฐานอื่น ๆ
มาสู้คดี แพ้คดีแน่นอนเวลาขึ้นศาลพิจารณา
เหมือนราชสีห์ ฤาจะสู้ฝูงหมาป่าไฮยีน่า
แสบที่สุดที่เคยเจอ มีการปักป้ายชื่อถนน
ชื่อเจ้าของทึ่ดิน คนมีอิทธิพลในท้องถิ่น
นักการเมืองท้องถิ่น ฯลฯ (หัวถนน/ท้ายถนน)
คราวนี้งานเข้า เพราะถือว่ายกให้สาธารณะ
ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียน จะสู้ก็ศึกใหญ่
ศึกครั้งนี้ใหญ่หลวงนัก เหนือความคาดหมาย
เพราะการไปศาลไม่ใช่ไปสวนสนุก
เสียเงิน เสียเวลา เสียสุขภาพจิต
ซอยนานา เจ้าของทึ่ดินเก่าตัดถนนเสร็จ
เชิญคนมาร่วมงานเปิดถนนพอเป็นพิธี
ตอนนี้ถนนสายนี้ใครจะไปสู้คดีจนเหลนบวช
เพื่อยกเลิกแนวเขตถนนจากสาธารณะ
ก็ไม่กลายเป็นถนนส่วนบุคคลอีกต่อไป
แม้ว่าจะมีหลายคนแถวท้ายซอย
จะพยายามสู้คดีว่าไม่ใช่ถนนสาธารณะ
แต่ไม่มีผลคืบหน้าแต่อย่างใด
2. วิชามารอีกแบบ คือ แอบทำถนนลาดยาง
แบบ รพช (สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท)
ผู้รับเหมากรมทางหลวงบางราย
แอบทำตอนเจ้าของทึ่ดินไม่อยู่
หรือทำตอนกลางคืน ตอนเช้าก็เสร็จแล้ว
เจ้าของที่ดินมักจะคอตกจำยอมในที่สุด
เพราะการไปศาลไม่ใช่ไปสวนสนุก
เสียเงิน เสียเวลา เสียสุขภาพจิต
อีกพวกก็กลุ่มคนทำทางข้ามทางรถไฟ ที่รถไฟ
ขอการรถไฟแห่งประเทศไทยมักไม่ยอม
มักจะแอบทำกันตอนกลางคืน/เร่งรัดทำกัน
ถนนเสร็จแล้วปิดกั้นยาก
3. วิชาหัวหมอ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
จะปิดถนนบางสาย 1 วัน หรือ ครึ่งวัน
ยิ่งซอยข้างมาบุญครองเป็นข่าวเกือบทุกปี
เพื่อยืนยันว่า สงวนสิทธิ์ เป็นทางส่วนบุคคล
ที่ดินของจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
จะยกเลิกเมื่อไรก็ได้ อย่ามาอ้างอายุความ
ภาระจำยอม ถนนสาธารณะ
ที่รู้จุฬาฯ ปิดมาแบบนี้นานร่วม 100 ปีแล้ว
ทำจนเป็นประเพณี (ตั้งแต่จขกท. ยังวัยละอ่อน)
ศ.ประพนธ์ ศาตะมาน (บรรยายไว้นานแล้ว)
เลียนแบบมหาวิทยาลัย Oxford
ที่มีถนนส่วนตัวในมหาวิทยาลัย
แต่ให้ชาวบ้านใช้เข้าออกได้ร่วมหลายร้อยปี
ก็ไม่เกิดสิทธิ์ใด ๆ ตามหลักกฎหมาย
นึกถึงกลอนสุนทรภู่
แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์
มันแสดสุดลึกล้ำเหลือกำหนด
ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด
ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน
เขียนขึ้นจากความทรงจำเก่า ๆ
ก่อนที่จะเลือนหายไปเหมือนฝุ่นละลองบนถนน
.
.
เรื่องเดิม
.
การซื้อขายที่ดิน (พึงระมัดระวัง)
.