เล่าสู่กันฟัง
บ้านทุ่งหาดใหญ่
ซอยลัดเส้นทางจากสาย 1
(ธนาคารกรุงศรีฯ-โรงแรม) ไปออกสาย 2
ข้ามไปสาย 2 (ร้านข้าว 2 ร้าน) ไปออกสาย 3
(มีร้านคั่วเกาลัด/ขายสินค้าเบ็ดเตล็ด)
มีการฟ้องร้องกันเมื่อ 20 ปีก่อน
ขอที่ดินบนซอยคืน จะได้ขยายพื้นที่
เพราะเนื้อที่ดินในโฉนดที่ดิน
หลังจากเปลี่ยนมือเจ้าของคนใหม่
ที่ดินขยายออกไปด้านข้าง 2 เมตรคร่อมซอย
แต่สภาพซอยในตอนนั้น
มีร้านขายสินค้าชายแดนหลายร้าน
หมาป่า/เสือรุกรานหมู่บ้าน
ชาวบ้านต้องร่วมมือกัน
เพราะแพ้จะเสียที่ดินทำมาหากิน
ส่วนเจ้าของที่ดินรายใหม่ก็ร่วมมือกัน
เพราะแต่ละบ้านจะได้ที่ดินเพิ่มข้างละ 2 เมตร
ทุกรายแม้ว่าในอดีต จะเป็นอริกัน/ไม่ถูกกัน
แต่ร่วมมือกันเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน
บทสรุป น้าเคร่ง สุวรรณวงศ์
อดีตนายกเทศมนตรีเมิองหาดใหญ่ ร่วม 20 ปี
ท่านมาเป็นพยานหมายเรียก ท่านยืนยันว่า
ท่านเดินผ่านไปมาตั้งแต่เยาวชนกว่า 20 ปีแล้ว
ศาลสงขลาตัดสินให้เป็นภาระจำยอม
สภาพในวันนี้ยังไม่มีการพัฒนาเหมือนเดิม
.
.
ซัง(ตรัง)
ที่ดินสวนปาล์มน้ำมัน 2 รายอยู่ติดกัน
เจ้าของที่ดินแปลงด้านหลังเป็นที่ดินตาบอด
มีคนอยู่กันเพียงครอบครัวเดียว
ขอเดินเข้าออกมานานกว่าสิบปีแล้ว
ไม่ใช่ญาติ แค่คนรู้จักกัน ขอผ่านทาง
ปีที่แล้ว เจ้าของที่ดินตาบอดแปลงข้างหลัง
ฟ้องเจ้าของที่ทางเข้าออก /ผ่านทาง
อ้างว่า เพราะไม่ยอมไปจดทะเบียน
ภาระจำยอมที่สำนักงานที่ดิน
(การจดทะเบียนตัองยินยอมทั้งสองฝ่าย
หรือเกิดขึ้นตามคำพิพากษาของศาล)
ทำให้เจ้าของที่ดินตาบอดขายที่ดินไม่ได้
ขอเรียกค่าเสียหายจากการนี้
จะขึ้นศาลรอคำพิพากษากลางเดือนนี้
ถ้าเป็นญาติพี่นัอง คนรู้จักกัน
ถือวิสาสะขอเดินผ่านไปมา ให้นานถึง 100 ปี
ก็ไม่ได้สิทธิ์ภาระจำยอม
มีคำพิพากษาศาลฎีกา รับรองเรื่องนี้
แต่ที่ดินข้างต้นนี้ น่าจะเป็นทางจำเป็น
แต่ถ้าจดทะเบียนทางจำเป็น
คนผ่านทางจะต้องจ่ายค่าผ่านทาง
ทึ่ดินสวนยางมักจะมีระยะห่าง 4x2 4x4
สวนปาล์มน้ำมัน 7x7 9x9
ทำให้ที่ว่างตรงกลางรถยนต์วิ่งเข้าออกได้
คนมักจะคิดว่า เป็นถนนถ้ามีรถวิ่งผ่านประจำ
และเจ้าของที่ดินมักไม่แสดงสิทธิ์หวงห้าม
เพราะเป็นธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น
ในการเอื้อเฟื้อช่วยเหลือกัน แบบคันนา
แต่ให้ระวังคนพาลจะเรียกร้อง/ฟ้องร้องว่า
เป็นภาระจำยอม/ทางสาธารณะ ในภายหน้า
.
.
สมุทรปราการ
แต่เดิมพระภิกษุในวัดจะไปบิณบาตร
ต้องเดินอ้อมไปไกล จากถนนใหญ่มาก
จึงขอเดินลัดผ่านที่ดินแม่เพื่อน
ไปถนนใกล้กับสายบางนา-ตราด
ช่วงนั้น อยู่ระหว่างกำลังสร้าง
พระภิกษุกับชาวบ้านเดินผ่านไปมาหลายปี
วัดเลยขอสร้างถนนเข้าออก 4 เมตร
แม่เจ้าของที่ดินก็ไม่ว่าอะไร
เห็นแก่พระภิกษุในวัด/ส่วนรวม
ไม่เก็บเงินค่าผ่านทางสักบาทเดียว
แต่ระบุว่า ไม่ยกให้เป็นสาธารณะ
เพราะเนื้อที่ดินจะหายไปเป็นไร่ ๆ
เผื่อวันหลังมีทางเข้าออกเส้นอื่น
จะได้ใช้เนื้อที่ดังกล่าวได้อีก
หลายปีต่อมา
คนที่ใช้เส้นทางนี้คิดว่าเป็นถนนสาธารณะ
จึงกดดันอบต. ให้ขยายถนนเป็น 8 เมตร
เพื่อสะดวกในการสัญจรไปมายิ่งขึ้น
อบต. จึงมาขอที่ดินเพิ่มอีก 4 เมตร
อ้างภาระจำยอม/สาธารณะประโยชน์
มวลชนเรียกร้อง ให้ขยายถนนอีก 4 เมตร
มีการเตรียมการก่อสร้างถนน 8 เมตร
ทายาทเจ้าของที่ดินไม่ยอม
เรื่องจึงขึ้นสู่ศาลจังหวัดสมุทรปราการ
มีการนำสืบย้อนหลัง ถึงที่มาที่ไปเส้นทางนี้
คือ ทางจำเป็นสำหรับพระภิกษุเท่านั้น
ชาวบ้านแค่พลอยอาศัยใช้สิทธิ์
และแม่เพื่อนก็ไม่เคยเก็บเงินสักราย/สักบาท
ศาลจึงตัดสินให้เป็นทางจำเป็นแค่ 4 เมตร
เพราะผ่านทางนี้สะดวกสุด/ใกล้สุด
ไปออกถนนบางนา-ตราด ได้สะดวกมาก
ส่วนอีก 4 เมตร ถ้าอบต.จะขยายเส้นทาง
ให้เจรจาขอซื้อจากทายาทเจ้าของที่ดิน
ทายาทได้สอบถามไปยัง อบต.
จะซื้ออีก 4 เมตรหรือไม่ ก็ยึกยักไปมา
เลยล้อมรั้ว ปิดเส้นทางเหลือแค่ 4 เมตร
ตามศาลสั่งให้เป็นทางจำเป็น 4 เมตร
(ไม่ใช่ภาระจำยอม)
รถยนต์เลยวิ่งสวนทางลำบาก
ต่อมา อบต.ตั้งงบประมาณ
ขอซื้อทางจำเป็นกับขยายเขตอีก 4 เมตร
ในวงเงิน 5 ล้านบาท คนวงในขอ 1 ล้านบาท
เป็นค่าวิ่งเต้น/ค่าดำเนินการ
ครอบครัวเพื่อนจึงยอมขายที่ดินให้
เพราะยังไงก็เสียที่ดินหน้ากว้างไป 4 เมตรแล้ว
ถ้ามีการตัดขยายถนนสาธารณะ
ที่ดินก็มีการพัฒนา ราคาจะเพิ่มขึ้น
.
.
จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
ถนนข้างมาบุญครอง/สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ
จะปิดป้าย ถนนส่วนบุคคล
ทุกปีจะปิดทางเข้าออกครึ่งวันเช้า
แสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินจุฬาฯ
ทำมานานร่วม 100 ปี แล้ว
เลียนแบบทางลัดภายใน
มหาวิทยาลัย Oxford อังกฤษ
ที่นั่นจะทำทุกปีมานานกว่า 400 ปีแล้ว
ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง
ต้องเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ทุกปี
Siam Square
พื้นที่ถ่ายหนังเรื่อง รักแห่งสยาม
จะมีมหกรรมดนตรี ขายสินค้าต่าง ๆ
บนท้องถนนภายในเดือนละครั้งสองครั้ง
คือ การแสดงกรรมสิทธิ์เจ้าของที่ดิน
ว่าถนนในบริเวณนี้ไม่ใช่ที่สาธารณะ
ส่วนป้ายซอย มีไว้เพื่อความสะดวก
ในการส่งเอกสาร/จดหมาย/พัสดุ
.
.
.
.
ชาวนากับงูเห่า
.
.
ทางแก้ปัญหา
การเป็นคนดี ทำดีมีเมตตา
กับคนบางคน เหมือนชาวนากับงูเห่า
งูเห่าช่วงแรกดี ช่วงแรกเชื่อง/สงบ
ต่อมา งูเห่า มีลูกหลานงูเห่า
มีงูเห่าต่างถิ่นอื่นเข้ามาอยู่/เข้ามาผสมพันธุ์
เกิดลูกหลานงูเห่าอีกหลายตัว
มักจะก่อหวอดเห่าหอนรวมฝูงกัน
ฝูงงูเห่าจะเริ่มตั้งต้นแว้งกัดชาวนา
ให้ปิดป้ายถนนทางส่วนบุคคล
มีการกั้นทางเข้าออกปีละครั้ง
หรือทำก่อนจะครบ 10 ปี เผื่อเหนียว
จดแจ้ง อบต. เทศบาล ขอยกเว้นภาษี
จะได้มีเอกสารราชการรับรองสิทธิ์นี้
ระบุว่าเป็นทางจำเป็น ไม่คิดตังค์
แต่ขอสงวนสิทธิ์ยกเลิกเมื่อใดก็ได้
ถ้ามีเส้นทางอื่นที่สะดวกและติดถนน
ปิดกั้นทางเข้าออก
ด้วยลูกรัง/ขยะก่อสร้าง/บานเลื่อนเข้าออก
ให้รถยนต์/คนที่เดินผ่านไปมาเดือดร้อน
ต้องไปเจรจาไกล่เกลี่ยที่โรงพัก
จะได้รู้ว่า ใครหมู่ ใครจ่า
และจะได้รู้ว่า ที่ดินนี้ใครจอง
.
เขียนขึ้นจากความทรงจำเก่า ๆ
ก่อนจะเลือนหายไปเหมือนใบไม้ปลิดผลิว
.
ภาระจำยอมบนที่ดิน
บ้านทุ่งหาดใหญ่
ซอยลัดเส้นทางจากสาย 1
(ธนาคารกรุงศรีฯ-โรงแรม) ไปออกสาย 2
ข้ามไปสาย 2 (ร้านข้าว 2 ร้าน) ไปออกสาย 3
(มีร้านคั่วเกาลัด/ขายสินค้าเบ็ดเตล็ด)
มีการฟ้องร้องกันเมื่อ 20 ปีก่อน
ขอที่ดินบนซอยคืน จะได้ขยายพื้นที่
เพราะเนื้อที่ดินในโฉนดที่ดิน
หลังจากเปลี่ยนมือเจ้าของคนใหม่
ที่ดินขยายออกไปด้านข้าง 2 เมตรคร่อมซอย
แต่สภาพซอยในตอนนั้น
มีร้านขายสินค้าชายแดนหลายร้าน
หมาป่า/เสือรุกรานหมู่บ้าน
ชาวบ้านต้องร่วมมือกัน
เพราะแพ้จะเสียที่ดินทำมาหากิน
ส่วนเจ้าของที่ดินรายใหม่ก็ร่วมมือกัน
เพราะแต่ละบ้านจะได้ที่ดินเพิ่มข้างละ 2 เมตร
ทุกรายแม้ว่าในอดีต จะเป็นอริกัน/ไม่ถูกกัน
แต่ร่วมมือกันเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน
บทสรุป น้าเคร่ง สุวรรณวงศ์
อดีตนายกเทศมนตรีเมิองหาดใหญ่ ร่วม 20 ปี
ท่านมาเป็นพยานหมายเรียก ท่านยืนยันว่า
ท่านเดินผ่านไปมาตั้งแต่เยาวชนกว่า 20 ปีแล้ว
ศาลสงขลาตัดสินให้เป็นภาระจำยอม
สภาพในวันนี้ยังไม่มีการพัฒนาเหมือนเดิม
.
.
ซัง(ตรัง)
ที่ดินสวนปาล์มน้ำมัน 2 รายอยู่ติดกัน
เจ้าของที่ดินแปลงด้านหลังเป็นที่ดินตาบอด
มีคนอยู่กันเพียงครอบครัวเดียว
ขอเดินเข้าออกมานานกว่าสิบปีแล้ว
ไม่ใช่ญาติ แค่คนรู้จักกัน ขอผ่านทาง
ปีที่แล้ว เจ้าของที่ดินตาบอดแปลงข้างหลัง
ฟ้องเจ้าของที่ทางเข้าออก /ผ่านทาง
อ้างว่า เพราะไม่ยอมไปจดทะเบียน
ภาระจำยอมที่สำนักงานที่ดิน
(การจดทะเบียนตัองยินยอมทั้งสองฝ่าย
หรือเกิดขึ้นตามคำพิพากษาของศาล)
ทำให้เจ้าของที่ดินตาบอดขายที่ดินไม่ได้
ขอเรียกค่าเสียหายจากการนี้
จะขึ้นศาลรอคำพิพากษากลางเดือนนี้
ถ้าเป็นญาติพี่นัอง คนรู้จักกัน
ถือวิสาสะขอเดินผ่านไปมา ให้นานถึง 100 ปี
ก็ไม่ได้สิทธิ์ภาระจำยอม
มีคำพิพากษาศาลฎีกา รับรองเรื่องนี้
แต่ที่ดินข้างต้นนี้ น่าจะเป็นทางจำเป็น
แต่ถ้าจดทะเบียนทางจำเป็น
คนผ่านทางจะต้องจ่ายค่าผ่านทาง
ทึ่ดินสวนยางมักจะมีระยะห่าง 4x2 4x4
สวนปาล์มน้ำมัน 7x7 9x9
ทำให้ที่ว่างตรงกลางรถยนต์วิ่งเข้าออกได้
คนมักจะคิดว่า เป็นถนนถ้ามีรถวิ่งผ่านประจำ
และเจ้าของที่ดินมักไม่แสดงสิทธิ์หวงห้าม
เพราะเป็นธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น
ในการเอื้อเฟื้อช่วยเหลือกัน แบบคันนา
แต่ให้ระวังคนพาลจะเรียกร้อง/ฟ้องร้องว่า
เป็นภาระจำยอม/ทางสาธารณะ ในภายหน้า
.
.
สมุทรปราการ
แต่เดิมพระภิกษุในวัดจะไปบิณบาตร
ต้องเดินอ้อมไปไกล จากถนนใหญ่มาก
จึงขอเดินลัดผ่านที่ดินแม่เพื่อน
ไปถนนใกล้กับสายบางนา-ตราด
ช่วงนั้น อยู่ระหว่างกำลังสร้าง
พระภิกษุกับชาวบ้านเดินผ่านไปมาหลายปี
วัดเลยขอสร้างถนนเข้าออก 4 เมตร
แม่เจ้าของที่ดินก็ไม่ว่าอะไร
เห็นแก่พระภิกษุในวัด/ส่วนรวม
ไม่เก็บเงินค่าผ่านทางสักบาทเดียว
แต่ระบุว่า ไม่ยกให้เป็นสาธารณะ
เพราะเนื้อที่ดินจะหายไปเป็นไร่ ๆ
เผื่อวันหลังมีทางเข้าออกเส้นอื่น
จะได้ใช้เนื้อที่ดังกล่าวได้อีก
หลายปีต่อมา
คนที่ใช้เส้นทางนี้คิดว่าเป็นถนนสาธารณะ
จึงกดดันอบต. ให้ขยายถนนเป็น 8 เมตร
เพื่อสะดวกในการสัญจรไปมายิ่งขึ้น
อบต. จึงมาขอที่ดินเพิ่มอีก 4 เมตร
อ้างภาระจำยอม/สาธารณะประโยชน์
มวลชนเรียกร้อง ให้ขยายถนนอีก 4 เมตร
มีการเตรียมการก่อสร้างถนน 8 เมตร
ทายาทเจ้าของที่ดินไม่ยอม
เรื่องจึงขึ้นสู่ศาลจังหวัดสมุทรปราการ
มีการนำสืบย้อนหลัง ถึงที่มาที่ไปเส้นทางนี้
คือ ทางจำเป็นสำหรับพระภิกษุเท่านั้น
ชาวบ้านแค่พลอยอาศัยใช้สิทธิ์
และแม่เพื่อนก็ไม่เคยเก็บเงินสักราย/สักบาท
ศาลจึงตัดสินให้เป็นทางจำเป็นแค่ 4 เมตร
เพราะผ่านทางนี้สะดวกสุด/ใกล้สุด
ไปออกถนนบางนา-ตราด ได้สะดวกมาก
ส่วนอีก 4 เมตร ถ้าอบต.จะขยายเส้นทาง
ให้เจรจาขอซื้อจากทายาทเจ้าของที่ดิน
ทายาทได้สอบถามไปยัง อบต.
จะซื้ออีก 4 เมตรหรือไม่ ก็ยึกยักไปมา
เลยล้อมรั้ว ปิดเส้นทางเหลือแค่ 4 เมตร
ตามศาลสั่งให้เป็นทางจำเป็น 4 เมตร
(ไม่ใช่ภาระจำยอม)
รถยนต์เลยวิ่งสวนทางลำบาก
ต่อมา อบต.ตั้งงบประมาณ
ขอซื้อทางจำเป็นกับขยายเขตอีก 4 เมตร
ในวงเงิน 5 ล้านบาท คนวงในขอ 1 ล้านบาท
เป็นค่าวิ่งเต้น/ค่าดำเนินการ
ครอบครัวเพื่อนจึงยอมขายที่ดินให้
เพราะยังไงก็เสียที่ดินหน้ากว้างไป 4 เมตรแล้ว
ถ้ามีการตัดขยายถนนสาธารณะ
ที่ดินก็มีการพัฒนา ราคาจะเพิ่มขึ้น
.
.
จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
ถนนข้างมาบุญครอง/สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ
จะปิดป้าย ถนนส่วนบุคคล
ทุกปีจะปิดทางเข้าออกครึ่งวันเช้า
แสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินจุฬาฯ
ทำมานานร่วม 100 ปี แล้ว
เลียนแบบทางลัดภายใน
มหาวิทยาลัย Oxford อังกฤษ
ที่นั่นจะทำทุกปีมานานกว่า 400 ปีแล้ว
ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง
ต้องเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ทุกปี
Siam Square
พื้นที่ถ่ายหนังเรื่อง รักแห่งสยาม
จะมีมหกรรมดนตรี ขายสินค้าต่าง ๆ
บนท้องถนนภายในเดือนละครั้งสองครั้ง
คือ การแสดงกรรมสิทธิ์เจ้าของที่ดิน
ว่าถนนในบริเวณนี้ไม่ใช่ที่สาธารณะ
ส่วนป้ายซอย มีไว้เพื่อความสะดวก
ในการส่งเอกสาร/จดหมาย/พัสดุ
.
.
.
ชาวนากับงูเห่า
.
ทางแก้ปัญหา
การเป็นคนดี ทำดีมีเมตตา
กับคนบางคน เหมือนชาวนากับงูเห่า
งูเห่าช่วงแรกดี ช่วงแรกเชื่อง/สงบ
ต่อมา งูเห่า มีลูกหลานงูเห่า
มีงูเห่าต่างถิ่นอื่นเข้ามาอยู่/เข้ามาผสมพันธุ์
เกิดลูกหลานงูเห่าอีกหลายตัว
มักจะก่อหวอดเห่าหอนรวมฝูงกัน
ฝูงงูเห่าจะเริ่มตั้งต้นแว้งกัดชาวนา
ให้ปิดป้ายถนนทางส่วนบุคคล
มีการกั้นทางเข้าออกปีละครั้ง
หรือทำก่อนจะครบ 10 ปี เผื่อเหนียว
จดแจ้ง อบต. เทศบาล ขอยกเว้นภาษี
จะได้มีเอกสารราชการรับรองสิทธิ์นี้
ระบุว่าเป็นทางจำเป็น ไม่คิดตังค์
แต่ขอสงวนสิทธิ์ยกเลิกเมื่อใดก็ได้
ถ้ามีเส้นทางอื่นที่สะดวกและติดถนน
ปิดกั้นทางเข้าออก
ด้วยลูกรัง/ขยะก่อสร้าง/บานเลื่อนเข้าออก
ให้รถยนต์/คนที่เดินผ่านไปมาเดือดร้อน
ต้องไปเจรจาไกล่เกลี่ยที่โรงพัก
จะได้รู้ว่า ใครหมู่ ใครจ่า
และจะได้รู้ว่า ที่ดินนี้ใครจอง
.
เขียนขึ้นจากความทรงจำเก่า ๆ
ก่อนจะเลือนหายไปเหมือนใบไม้ปลิดผลิว
.
.
การจงใจสร้างภาระจำยอม/ทางสธารณะ
.
.
การซื้อขายที่ดิน (พึงระมัดระวัง)
.