ทูตสหรัฐฯ โพสต์หารือ “พิธา-ก้าวไกล” ความคิดเห็นการเมืองไทย
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_617274/
ทูตสหรัฐฯ โพสต์ภาพหารือ “พิธา-ก้าวไกล” แลกเปลี่ยนความคิดเห็นการเมืองไทย
นาย
โรเบิร์ต โกเดค เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย โพสต์ภาพ พร้อมข้อความลงทวิตเตอร์ (X) ในโอกาสพบหารือกับนาย
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ รักษาการหัวหน้าพรรคก้าวไกล โดยมีนาย
สุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล เดินทางไปด้วย
“
ยอดเยี่ยมจริง ๆ ครับที่ได้หารือกับคุณพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ @Pita_MFP และสมาชิกพรรคก้าวไกลในวันนี้ ผมยินดีที่เราได้แลกเปลี่ยนความเห็นกัน โดยเป็นส่วนหนึ่งของการที่สหรัฐฯ เดินหน้าพบปะบุคคลหลากหลายกลุ่มในแวดวงการเมืองไทย”
นอกจากนี้ นส.
ภัสริน รามวงศ์ ส.ส.กรุงเทพฯ พรรคก้าวไกล ได้โพสต์ข้อความ ผ่านเฟซบุ๊คส่วนตัว “กานต์ ภัสริน รามวงศ์ – Patsarin Ramwong” ว่า
รู้สึกเป็นเกีรยติอย่างยิ่งที่ได้พบท่านทูตโรเบิร์ต เอฟ. โกเดค เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ พร้อมคณะทำงาน
กานต์ในฐานะผู้แทนราษฎรที่ขับเคลื่อนประเด็นสิทธิมนุษยชนในด้านความเท่าเทียมทางเพศ ได้แลกเปลี่ยนกับคณะท่านทูตเรื่องสถานการณ์ความยากจนประจำเดือน (period poverty)ที่กานต์และพรรคก้าวไกลมีนโยบายผลักดันแก้ไขเรื่องนี้ อเมริกาเองก็เป็นตัวอย่างที่ดีของประเทศที่สนใจเรื่องสุขอนามัยของผู้หญิง ในบางรัฐเริ่มมีการแจกผ้าอนามัยฟรีในโรงเรียนและสถานศึกษา และที่ขาดไปไม่ได้คือการมีสวัสดิการด้านสุขอนามัยให้กับนักโทษหญิง สำหรับประเด็นด้านสุขอนามัย กานต์แน่ใจว่าประเทศไทยเราจะเรียนรู้จากอเมริกาได้ไม่มากก็น้อยค่ะ
https://www.facebook.com/PatsarinOfficial/posts/pfbid0VyRUsanrzTnKznoh7Cr2eSHWJEQp2TUpWJoXoShKwY5L83TJq94eah5UwepNf7uGl
บก.ลายจุดชี้ตัดสิทธิ "ช่อ" คลุมเครือ ก้าวไกลโชคที่ดีที่เป็นฝ่ายค้าน แนะให้เล่นบทรัฐบาลเงา
https://www.matichon.co.th/matichon-tv/news_4194368
สมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุด ชี้ตัดสิทธิ
ช่อ-พรรณิการ์ วานิช คลุมเครือ หวังเป็นแรงสั่นสะเทือนให้ไปปิดช่องทางเสีย หนุนนิรโทษกรรมคนตัวเล็กตัวน้อย เห็นด้วยที่
ทักษิณ ชินวัตรจะใช้ความรู้ความสามารถช่วยรัฐบาล มองก้าวไกลโชคดีที่ไม่ได้เป็นรัฐบาล เพราะนโยบายที่หาเสียงไว้ทำได้ยาก ใช้เงินมาก แนะให้เล่นบทรัฐบาลเงาพร้อมเป็นรัฐบาลในรอบหน้า ชมคลิป
หนี้ทั่วโลกพุ่งนิวไฮ 307 ล้านล้านเหรียญ “หนี้ครัวเรือนไทย” อยู่ในกลุ่มน่ากังวล
https://www.prachachat.net/world-news/news-1399851
รายงานของสถาบันการเงินระหว่างประเทศ (IIF) เผยว่า หนี้ทั่วโลกเพิ่มขึ้น 10 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 360 ล้านล้านบาท) ในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมา ส่งผลให้ยอดหนี้สะสมท่ัวโลกขึ้นไปอยู่ที่ 307 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 11,067 ล้านล้านบาท) ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ “ไทย” เป็นหนึ่งในประเทศที่ถูกพูดถึงว่าหนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้นสูง
สถาบันการเงินระหว่างประเทศ (Institute of International Finance: IIF) เผยแพร่รายงาน “Global Debt Monitor In Search of Sustainability” เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2023 ซึ่งเป็นรายงานการติดตามสถานการณ์หนี้ทั่วโลก ครอบคลุมหนี้ภาครัฐ หนี้ภาคธุรกิจเอกชน และหนี้ครัวเรือน
รายงานนี้ระบุว่า หนี้ทั่วโลกเพิ่มขึ้น 10 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 360 ล้านล้านบาท) ส่งผลให้ยอดหนี้สะสมอยู่ที่ 307 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 11,067 ล้านล้านบาท) ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ แซงหน้ายอดหนี้สูงสุดก่อนหน้านี้ในช่วงครึ่งแรกของปี 2022
เมื่อพิจารณาการเพิ่มขึ้นของหนี้ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา หนี้ทั่วโลกเพิ่มขึ้น 100 ล้านล้านดอลลาร์ (ประมาณ 3,600 ล้านล้านบาท)
ประเทศที่ก่อหนี้เพิ่มมากที่สุดในครึ่งแรกของปีนี้เป็นกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วซึ่งเป็นประเทศเศรษฐกิจหัวแถวของโลก คือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และฝรั่งเศส ซึ่งก่อหนี้รวมกันคิดเป็น 80% ของหนี้ที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก กล่าวคือ หนี้ที่เพิ่มขึ้น 10 ล้านล้านดอลลาร์ในครึ่งแรกของปีนี้ มาจากสี่ประเทศนี้รวมกันเป็นประมาณ 8 ล้านล้านดอลลาร์ ส่วนประเทศตลาดเกิดใหม่ที่ก่อหนี้เพิ่มมากที่สุดเป็นประเทศใหญ่ ๆ อย่างจีน อินเดีย และบราซิล
เมื่อเทียบอัตราส่วนหนี้ทั่วโลกต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) รวมทั้งโลก อัตราส่วนหนี้ทั่วโลกต่อจีดีพีในครึ่งแรกของปีนี้เพิ่มขึ้นเป็น 336% ของจีดีพี จากสิ้นปี 2022 อยู่ที่ 334% และ IIF คาดว่าอัตราส่วนนี้จะเพิ่มเป็น 337% ภายในส้ินปี 2023 นี้ โดยตัวขับเคลื่อนหลักที่ทำให้ยอดหนี้ต่อจีดีพีเพิ่มขึ้นคือการขาดดุลงบประมาณจำนวนมากของรัฐบาลหลายประเทศทั่วโลก
อย่างไรก็ตาม อัตราสวนหนี้ต่อจีดีพีในปีนี้ยังต่ำกว่าในช่วงครึ่งแรกของปี 2021 ที่ทั่วโลกยังเผชิญภาวะโรคระบาดใหญ่โควิด-19 ซึ่งอัตราส่วนหนี้สูงถึง 362% ของจีดีพี
เอ็มเร ทิกติฟ (Emre Tiftik) ผู้อำนวยการ IIF และคณะนักวิจัยอธิบายไว้ในรายงานว่า อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วซึ่งทำให้จีดีพีสูงขึ้น เป็นปัจจัยหลักที่อยู่เบื้องหลังการลดลงอย่างรวดเร็วของอัตราส่วนหนี้ต่อจีดีพีในช่วงสองปีที่ผ่านมา
จุดสว่างเล็ก ๆ ในรายงานนี้ คือ ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ อัตราส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีของประเทศพัฒนาแล้วลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบสองทศวรรษ
ประเด็นสำคัญอย่างหนึ่งที่รายงานกล่าวถึงคือ การจัดสรรเงินทุนเพื่อแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศจะสร้างแรงกดดันต่อรัฐบาลที่จำเป็นต้องเพิ่มงบประมาณการใช้จ่าย
“
ความกังวลของเราคือ ประเทศต่าง ๆ ต้องจัดสรรค่าใช้จ่ายมากขึ้นในขณะที่อัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น … มันจะมีผลกระทบระยะยาวต่อต้นทุนการระดมทุนและพลวัตหนี้ของประเทศต่าง ๆ”
รายงานระบุอีกว่า ต้นทุนดอกเบี้ยหนี้จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีการรีไฟแนนซ์หนี้มากขึ้นในขณะที่อัตราดอกเบี้ยใหม่ยังคงอยู่ในระดับสูงตามการใช้นโยบายการเงินเข้มงวดเพื่อต่อสู้เงินเฟ้อ
IIF กล่าวว่า มีความกังวลอย่างยิ่งเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของดอกเบี้ยสำหรับหนี้สกุลเงินท้องถิ่นในประเทศตลาดเกิดใหม่ ซึ่งปัจจุบันคิดเป็นมากกว่าร้อยละ 80 ของต้นทุนดอกเบี้ยทั้งหมดของประเทศตลาดเกิดใหม่ เนื่องจากว่า กลไกแก้ปัญหาหลัก ๆ ที่มีอยู่ในปัจุบันคือ โครงการปรับโครงสร้างหนี้ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) นั้นถูกออกแบบมาโดยมุ่งเน้นไปที่เจ้าหนี้ต่างประเทศและหนี้ในสกุลเงินต่างประเทศ
“
ที่น่ากังวลที่สุดคือ สถาปัตยกรรมทางการเงินระดับโลกยังไม่ได้รับการเตรียมการอย่างเพียงพอสำหรับจัดการความเสี่ยงเกี่ยวกับความเครียดในตลาดตราสารหนี้ในประเทศ”
เอ็ดเวิร์ด ปาร์กเกอร์ (Edward Parker) กรรมการผู้จัดการของฟิตช์ เรทติ้งส์ (Fitch Ratings) บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือระดับโลกที่ปรับลดอันดับเครดิตสหรัฐไปเมื่อไม่นานมานี้ก็แสดงความกังวลต่อประเด็นนี้เช่นกัน โดยเขากล่าวว่า “
การจ่ายดอกเบี้ยที่สูงขึ้นเป็นความเสี่ยงสำคัญต่อภาคการเงินสาธารณะและอันดับเครดิตของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดที่พัฒนาแล้ว”
รายงานนี้ของ IIF กล่าวถึงประเทศไทยด้วยในส่วนที่พูดถึงหนี้ครัวเรือนโดยบอกว่า ภาระหนี้ในการอุปโภคบริโภคโดยส่วนใหญ่ยังอยู่ในระดับที่จัดการได้ แต่หนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีในประเทศตลาดเกิดใหม่ยังคงอยู่สูงกว่าระดับก่อนเกิดโควิด-19 โดยมีสาเหตุหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของหนี้ครัวเรือนในประเทศจีน เกาหลี และไทย
JJNY : ทูตสหรัฐฯโพสต์หารือ“พิธา-ก้าวไกล”│ชี้ตัดสิทธิ"ช่อ"คลุมเครือ│หนี้ครัวเรือนไทยน่ากังวล│อังกฤษตั้งข้อหาชาวบัลแกเรีย
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_617274/
ทูตสหรัฐฯ โพสต์ภาพหารือ “พิธา-ก้าวไกล” แลกเปลี่ยนความคิดเห็นการเมืองไทย
นายโรเบิร์ต โกเดค เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย โพสต์ภาพ พร้อมข้อความลงทวิตเตอร์ (X) ในโอกาสพบหารือกับนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ รักษาการหัวหน้าพรรคก้าวไกล โดยมีนายสุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล เดินทางไปด้วย
“ยอดเยี่ยมจริง ๆ ครับที่ได้หารือกับคุณพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ @Pita_MFP และสมาชิกพรรคก้าวไกลในวันนี้ ผมยินดีที่เราได้แลกเปลี่ยนความเห็นกัน โดยเป็นส่วนหนึ่งของการที่สหรัฐฯ เดินหน้าพบปะบุคคลหลากหลายกลุ่มในแวดวงการเมืองไทย”
นอกจากนี้ นส.ภัสริน รามวงศ์ ส.ส.กรุงเทพฯ พรรคก้าวไกล ได้โพสต์ข้อความ ผ่านเฟซบุ๊คส่วนตัว “กานต์ ภัสริน รามวงศ์ – Patsarin Ramwong” ว่า
รู้สึกเป็นเกีรยติอย่างยิ่งที่ได้พบท่านทูตโรเบิร์ต เอฟ. โกเดค เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ พร้อมคณะทำงาน
กานต์ในฐานะผู้แทนราษฎรที่ขับเคลื่อนประเด็นสิทธิมนุษยชนในด้านความเท่าเทียมทางเพศ ได้แลกเปลี่ยนกับคณะท่านทูตเรื่องสถานการณ์ความยากจนประจำเดือน (period poverty)ที่กานต์และพรรคก้าวไกลมีนโยบายผลักดันแก้ไขเรื่องนี้ อเมริกาเองก็เป็นตัวอย่างที่ดีของประเทศที่สนใจเรื่องสุขอนามัยของผู้หญิง ในบางรัฐเริ่มมีการแจกผ้าอนามัยฟรีในโรงเรียนและสถานศึกษา และที่ขาดไปไม่ได้คือการมีสวัสดิการด้านสุขอนามัยให้กับนักโทษหญิง สำหรับประเด็นด้านสุขอนามัย กานต์แน่ใจว่าประเทศไทยเราจะเรียนรู้จากอเมริกาได้ไม่มากก็น้อยค่ะ
https://www.facebook.com/PatsarinOfficial/posts/pfbid0VyRUsanrzTnKznoh7Cr2eSHWJEQp2TUpWJoXoShKwY5L83TJq94eah5UwepNf7uGl
บก.ลายจุดชี้ตัดสิทธิ "ช่อ" คลุมเครือ ก้าวไกลโชคที่ดีที่เป็นฝ่ายค้าน แนะให้เล่นบทรัฐบาลเงา
https://www.matichon.co.th/matichon-tv/news_4194368
สมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุด ชี้ตัดสิทธิ ช่อ-พรรณิการ์ วานิช คลุมเครือ หวังเป็นแรงสั่นสะเทือนให้ไปปิดช่องทางเสีย หนุนนิรโทษกรรมคนตัวเล็กตัวน้อย เห็นด้วยที่ทักษิณ ชินวัตรจะใช้ความรู้ความสามารถช่วยรัฐบาล มองก้าวไกลโชคดีที่ไม่ได้เป็นรัฐบาล เพราะนโยบายที่หาเสียงไว้ทำได้ยาก ใช้เงินมาก แนะให้เล่นบทรัฐบาลเงาพร้อมเป็นรัฐบาลในรอบหน้า ชมคลิป
หนี้ทั่วโลกพุ่งนิวไฮ 307 ล้านล้านเหรียญ “หนี้ครัวเรือนไทย” อยู่ในกลุ่มน่ากังวล
https://www.prachachat.net/world-news/news-1399851
รายงานของสถาบันการเงินระหว่างประเทศ (IIF) เผยว่า หนี้ทั่วโลกเพิ่มขึ้น 10 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 360 ล้านล้านบาท) ในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมา ส่งผลให้ยอดหนี้สะสมท่ัวโลกขึ้นไปอยู่ที่ 307 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 11,067 ล้านล้านบาท) ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ “ไทย” เป็นหนึ่งในประเทศที่ถูกพูดถึงว่าหนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้นสูง
สถาบันการเงินระหว่างประเทศ (Institute of International Finance: IIF) เผยแพร่รายงาน “Global Debt Monitor In Search of Sustainability” เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2023 ซึ่งเป็นรายงานการติดตามสถานการณ์หนี้ทั่วโลก ครอบคลุมหนี้ภาครัฐ หนี้ภาคธุรกิจเอกชน และหนี้ครัวเรือน
รายงานนี้ระบุว่า หนี้ทั่วโลกเพิ่มขึ้น 10 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 360 ล้านล้านบาท) ส่งผลให้ยอดหนี้สะสมอยู่ที่ 307 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 11,067 ล้านล้านบาท) ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ แซงหน้ายอดหนี้สูงสุดก่อนหน้านี้ในช่วงครึ่งแรกของปี 2022
เมื่อพิจารณาการเพิ่มขึ้นของหนี้ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา หนี้ทั่วโลกเพิ่มขึ้น 100 ล้านล้านดอลลาร์ (ประมาณ 3,600 ล้านล้านบาท)
ประเทศที่ก่อหนี้เพิ่มมากที่สุดในครึ่งแรกของปีนี้เป็นกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วซึ่งเป็นประเทศเศรษฐกิจหัวแถวของโลก คือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และฝรั่งเศส ซึ่งก่อหนี้รวมกันคิดเป็น 80% ของหนี้ที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก กล่าวคือ หนี้ที่เพิ่มขึ้น 10 ล้านล้านดอลลาร์ในครึ่งแรกของปีนี้ มาจากสี่ประเทศนี้รวมกันเป็นประมาณ 8 ล้านล้านดอลลาร์ ส่วนประเทศตลาดเกิดใหม่ที่ก่อหนี้เพิ่มมากที่สุดเป็นประเทศใหญ่ ๆ อย่างจีน อินเดีย และบราซิล
เมื่อเทียบอัตราส่วนหนี้ทั่วโลกต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) รวมทั้งโลก อัตราส่วนหนี้ทั่วโลกต่อจีดีพีในครึ่งแรกของปีนี้เพิ่มขึ้นเป็น 336% ของจีดีพี จากสิ้นปี 2022 อยู่ที่ 334% และ IIF คาดว่าอัตราส่วนนี้จะเพิ่มเป็น 337% ภายในส้ินปี 2023 นี้ โดยตัวขับเคลื่อนหลักที่ทำให้ยอดหนี้ต่อจีดีพีเพิ่มขึ้นคือการขาดดุลงบประมาณจำนวนมากของรัฐบาลหลายประเทศทั่วโลก
อย่างไรก็ตาม อัตราสวนหนี้ต่อจีดีพีในปีนี้ยังต่ำกว่าในช่วงครึ่งแรกของปี 2021 ที่ทั่วโลกยังเผชิญภาวะโรคระบาดใหญ่โควิด-19 ซึ่งอัตราส่วนหนี้สูงถึง 362% ของจีดีพี
เอ็มเร ทิกติฟ (Emre Tiftik) ผู้อำนวยการ IIF และคณะนักวิจัยอธิบายไว้ในรายงานว่า อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วซึ่งทำให้จีดีพีสูงขึ้น เป็นปัจจัยหลักที่อยู่เบื้องหลังการลดลงอย่างรวดเร็วของอัตราส่วนหนี้ต่อจีดีพีในช่วงสองปีที่ผ่านมา
จุดสว่างเล็ก ๆ ในรายงานนี้ คือ ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ อัตราส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีของประเทศพัฒนาแล้วลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบสองทศวรรษ
ประเด็นสำคัญอย่างหนึ่งที่รายงานกล่าวถึงคือ การจัดสรรเงินทุนเพื่อแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศจะสร้างแรงกดดันต่อรัฐบาลที่จำเป็นต้องเพิ่มงบประมาณการใช้จ่าย
“ความกังวลของเราคือ ประเทศต่าง ๆ ต้องจัดสรรค่าใช้จ่ายมากขึ้นในขณะที่อัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น … มันจะมีผลกระทบระยะยาวต่อต้นทุนการระดมทุนและพลวัตหนี้ของประเทศต่าง ๆ”
รายงานระบุอีกว่า ต้นทุนดอกเบี้ยหนี้จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีการรีไฟแนนซ์หนี้มากขึ้นในขณะที่อัตราดอกเบี้ยใหม่ยังคงอยู่ในระดับสูงตามการใช้นโยบายการเงินเข้มงวดเพื่อต่อสู้เงินเฟ้อ
IIF กล่าวว่า มีความกังวลอย่างยิ่งเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของดอกเบี้ยสำหรับหนี้สกุลเงินท้องถิ่นในประเทศตลาดเกิดใหม่ ซึ่งปัจจุบันคิดเป็นมากกว่าร้อยละ 80 ของต้นทุนดอกเบี้ยทั้งหมดของประเทศตลาดเกิดใหม่ เนื่องจากว่า กลไกแก้ปัญหาหลัก ๆ ที่มีอยู่ในปัจุบันคือ โครงการปรับโครงสร้างหนี้ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) นั้นถูกออกแบบมาโดยมุ่งเน้นไปที่เจ้าหนี้ต่างประเทศและหนี้ในสกุลเงินต่างประเทศ
“ที่น่ากังวลที่สุดคือ สถาปัตยกรรมทางการเงินระดับโลกยังไม่ได้รับการเตรียมการอย่างเพียงพอสำหรับจัดการความเสี่ยงเกี่ยวกับความเครียดในตลาดตราสารหนี้ในประเทศ”
เอ็ดเวิร์ด ปาร์กเกอร์ (Edward Parker) กรรมการผู้จัดการของฟิตช์ เรทติ้งส์ (Fitch Ratings) บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือระดับโลกที่ปรับลดอันดับเครดิตสหรัฐไปเมื่อไม่นานมานี้ก็แสดงความกังวลต่อประเด็นนี้เช่นกัน โดยเขากล่าวว่า “การจ่ายดอกเบี้ยที่สูงขึ้นเป็นความเสี่ยงสำคัญต่อภาคการเงินสาธารณะและอันดับเครดิตของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดที่พัฒนาแล้ว”
รายงานนี้ของ IIF กล่าวถึงประเทศไทยด้วยในส่วนที่พูดถึงหนี้ครัวเรือนโดยบอกว่า ภาระหนี้ในการอุปโภคบริโภคโดยส่วนใหญ่ยังอยู่ในระดับที่จัดการได้ แต่หนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีในประเทศตลาดเกิดใหม่ยังคงอยู่สูงกว่าระดับก่อนเกิดโควิด-19 โดยมีสาเหตุหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของหนี้ครัวเรือนในประเทศจีน เกาหลี และไทย