ยอดหนี้ต่างประเทศปี 2566 ลาวพุ่งเกือบ 2 เท่าเป็น 950 ล้านดอลลาร์ รัฐบาลจำใจขอเลื่อนชำระหนี้อีกครั้ง หวังรอดพ้นดีฟอลต์ ด้านมูดี้ส์เตือน ความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้สูงขึ้นจากค่าเงินกีบที่เสื่อมค่า
สำนักข่าวบลูมเบิร์ก (Bloomberg) รายงานช่วงต้นเดือนก.ค. ที่ผ่านมาว่า ยอดหนี้ในสกุลเงินต่างประเทศของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ตลอดปี 2566 เพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าไปอยู่ที่ 950 ล้านดอลลาร์ จนรัฐบาลต้องขอเลื่อนการชำระหนี้ออกไปอีกครั้งเพื่อหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ซึ่งมีมูลค่ามากกว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP)
รายงานของกระทรวงการคลัง สปป.ลาวซึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 28 มิ.ย.67 ที่ผ่านมา เปิดเผยว่า ยอดชำระหนี้ในสกุลเงินต่างประเทศเพิ่มขึ้นจากเดิมในปี 2565 อยู่ที่เพียง 507 ล้านดอลลาร์เท่านั้น
ทั้งหมดทำให้รัฐบาลของสปป.ลาว ต้องขอเลื่อนการชำระเงินต้น และดอกเบี้ยจำนวน 670 ล้านดอลลาร์ของปี 2565 ออกไป ซึ่งตามข้อมูลของรัฐบาลเปิดเผยว่า ตัวเลขดังกล่าวเป็นภาระหนี้เพิ่มเติมจากภาระผูกพันประมาณ 1.22 พันล้านดอลลาร์ ที่รัฐบาลเลื่อนออกไปครั้งหนึ่งแล้วในปี 2563
"ลาวจะเจรจากับเจ้าหนี้รายสำคัญต่อไปเพื่อขอเลื่อน (หรือต่ออายุ) หนี้ทั้งหมดซึ่งจะช่วยยกระดับสภาพคล่องและลดแรงกดดันในการชำระหนี้" รายงานจากกระทรวงการคลัง ระบุ ซึ่งเน้นย้ำถึงความตั้งใจของรัฐบาลในการจัดการภาระผูกพันของประเทศ
ที่ผ่านมา สถาบันการเงินระหว่างประเทศ และสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือเตือนว่า ภาระหนี้ข้างต้นจะส่งผลให้สปป.ลาวมีความเสี่ยงสูงที่จะผิดนัดชำระหนี้ท่ามกลางปัญหาด้านสภาพคล่อง
หนึ่งในนั้นคือ มูดี้ส์ เรทติ้งส์ (Moody's Ratings) เปิดเผยในช่วงเดือนก.พ.ว่า ความท้าทายของลาว “ถูกซ้ำเติมจากธรรมาภิบาลที่อ่อนแอ ซึ่งบ่งชี้ว่าการบริหารจัดการหนี้ไม่เข้มแข็งพอที่มูดี้ส์จะสามารถคาดการณ์ทิศทางทางสถานะการเงินในอนาคตได้"
ทั้งนี้ ณ สิ้นปี 2566 สปป.ลาวมีหนี้สาธารณะ และหนี้ที่รัฐบาลค้ำประกันรวมทั้งสิ้น 1.38 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งลดลงเพียง 1% จากปีก่อนหน้า และคิดเป็น 108% ของจีดีพี ซึ่งข้อมูลเบื้องต้นแสดงให้เห็นว่าหนี้ต่างประเทศของรัฐบาลสปป.ลาว กว่าครึ่งหนึ่งซึ่งมีมูลค่า 1.05 พันล้านดอลลาร์ เป็นหนี้ของรัฐบาลจีน
ย้อนกลับไปเมื่อปีที่แล้ว รัฐบาลของสปป.ลาวตั้งเป้าหมายในการลดอัตราส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีลงประมาณ 5% ภายในปี 2568 คือ ให้ลดลงเหลือ 89% จาก 94% ผ่านความพยายามเพิ่มรายได้ ลดการกู้ยืมและการใช้จ่าย ซึ่งรัฐบาลคาดว่าภาระผูกพันจะยังคงอยู่ในระดับสูงในช่วงห้าปีข้างหน้า
โดยประมาณการว่าระหว่างปี 2567 ถึง 2571 ยอดหนี้ที่ต้องชำระในสกุลเงินต่างประเทศรายปีจะอยู่ที่ประมาณ 1.3 พันล้านดอลลาร์
บทวิเคราะห์ของบลูมเบิร์ก เผยว่า จากสถานการณ์ดังกล่าวทำให้หลายประเทศกังวลว่า สกุลเงินกีบของลาวจะเสื่อมค่าลงอย่างต่อเนื่อง โดยสปป.ลาวมีหนี้ในสกุลเงินดอลลาร์สูงถึง 59% ของปริมาณหนี้ต่างประเทศทั้งหมด และตลอดปี 2566 ค่าเงินกีบอ่อนค่าลงไปแล้ว 31% เมื่อเทียบกับสกุลเงินดอลลาร์
โดยธนาคารโลกเปิดเผยว่า การเสื่อมค่าลงของค่าเงินกีบจะยิ่งทำให้การชำระหนี้ยากลำบากมากขึ้น
สำหรับการเลื่อนการชำระหนี้ที่ติดค้างกับรัฐบาลจีน ซึ่งคิดเป็นประมาณ 2 พันล้านดอลลาร์ หรือมากกว่า 15% ของจีดีพี ในปีที่แล้วนั้น
ธนาคารโลกออกบทวิเคราะห์ช่วงก่อนหน้านี้ว่า การขอเลื่อนการชำระหนี้ดังกล่าว "ช่วยทำให้สถานการณ์บรรเทาลงแค่ในปี 2563 ถึง 2566 เท่านั้น"
อย่างไรก็ตาม ดอกเบี้ย และเงินต้นที่เหลือยังคงมีมูลค่าเท่ากับ 5% ของจีดีพี ในปี 2566และ "ผลลัพธ์ของการเจรจาหนี้ทวิภาคีที่กำลังดำเนินอยู่จะมีนัยสำคัญอย่างมากต่อทั้งความยั่งยืนของหนี้ และเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของสปป.ลาว"
อ้างอิง: Bloombreg
Cr.
https://www.bangkokbiznews.com/world/1135109
หนี้ต่างประเทศลาวพุ่งทะลุ GDP รัฐบาลสิ้นหนทาง ขอเลื่อนจ่ายหนี้หนีตาย
สำนักข่าวบลูมเบิร์ก (Bloomberg) รายงานช่วงต้นเดือนก.ค. ที่ผ่านมาว่า ยอดหนี้ในสกุลเงินต่างประเทศของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ตลอดปี 2566 เพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าไปอยู่ที่ 950 ล้านดอลลาร์ จนรัฐบาลต้องขอเลื่อนการชำระหนี้ออกไปอีกครั้งเพื่อหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ซึ่งมีมูลค่ามากกว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP)
รายงานของกระทรวงการคลัง สปป.ลาวซึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 28 มิ.ย.67 ที่ผ่านมา เปิดเผยว่า ยอดชำระหนี้ในสกุลเงินต่างประเทศเพิ่มขึ้นจากเดิมในปี 2565 อยู่ที่เพียง 507 ล้านดอลลาร์เท่านั้น
ทั้งหมดทำให้รัฐบาลของสปป.ลาว ต้องขอเลื่อนการชำระเงินต้น และดอกเบี้ยจำนวน 670 ล้านดอลลาร์ของปี 2565 ออกไป ซึ่งตามข้อมูลของรัฐบาลเปิดเผยว่า ตัวเลขดังกล่าวเป็นภาระหนี้เพิ่มเติมจากภาระผูกพันประมาณ 1.22 พันล้านดอลลาร์ ที่รัฐบาลเลื่อนออกไปครั้งหนึ่งแล้วในปี 2563
"ลาวจะเจรจากับเจ้าหนี้รายสำคัญต่อไปเพื่อขอเลื่อน (หรือต่ออายุ) หนี้ทั้งหมดซึ่งจะช่วยยกระดับสภาพคล่องและลดแรงกดดันในการชำระหนี้" รายงานจากกระทรวงการคลัง ระบุ ซึ่งเน้นย้ำถึงความตั้งใจของรัฐบาลในการจัดการภาระผูกพันของประเทศ
ที่ผ่านมา สถาบันการเงินระหว่างประเทศ และสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือเตือนว่า ภาระหนี้ข้างต้นจะส่งผลให้สปป.ลาวมีความเสี่ยงสูงที่จะผิดนัดชำระหนี้ท่ามกลางปัญหาด้านสภาพคล่อง
หนึ่งในนั้นคือ มูดี้ส์ เรทติ้งส์ (Moody's Ratings) เปิดเผยในช่วงเดือนก.พ.ว่า ความท้าทายของลาว “ถูกซ้ำเติมจากธรรมาภิบาลที่อ่อนแอ ซึ่งบ่งชี้ว่าการบริหารจัดการหนี้ไม่เข้มแข็งพอที่มูดี้ส์จะสามารถคาดการณ์ทิศทางทางสถานะการเงินในอนาคตได้"
ทั้งนี้ ณ สิ้นปี 2566 สปป.ลาวมีหนี้สาธารณะ และหนี้ที่รัฐบาลค้ำประกันรวมทั้งสิ้น 1.38 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งลดลงเพียง 1% จากปีก่อนหน้า และคิดเป็น 108% ของจีดีพี ซึ่งข้อมูลเบื้องต้นแสดงให้เห็นว่าหนี้ต่างประเทศของรัฐบาลสปป.ลาว กว่าครึ่งหนึ่งซึ่งมีมูลค่า 1.05 พันล้านดอลลาร์ เป็นหนี้ของรัฐบาลจีน
ย้อนกลับไปเมื่อปีที่แล้ว รัฐบาลของสปป.ลาวตั้งเป้าหมายในการลดอัตราส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีลงประมาณ 5% ภายในปี 2568 คือ ให้ลดลงเหลือ 89% จาก 94% ผ่านความพยายามเพิ่มรายได้ ลดการกู้ยืมและการใช้จ่าย ซึ่งรัฐบาลคาดว่าภาระผูกพันจะยังคงอยู่ในระดับสูงในช่วงห้าปีข้างหน้า
โดยประมาณการว่าระหว่างปี 2567 ถึง 2571 ยอดหนี้ที่ต้องชำระในสกุลเงินต่างประเทศรายปีจะอยู่ที่ประมาณ 1.3 พันล้านดอลลาร์
บทวิเคราะห์ของบลูมเบิร์ก เผยว่า จากสถานการณ์ดังกล่าวทำให้หลายประเทศกังวลว่า สกุลเงินกีบของลาวจะเสื่อมค่าลงอย่างต่อเนื่อง โดยสปป.ลาวมีหนี้ในสกุลเงินดอลลาร์สูงถึง 59% ของปริมาณหนี้ต่างประเทศทั้งหมด และตลอดปี 2566 ค่าเงินกีบอ่อนค่าลงไปแล้ว 31% เมื่อเทียบกับสกุลเงินดอลลาร์
โดยธนาคารโลกเปิดเผยว่า การเสื่อมค่าลงของค่าเงินกีบจะยิ่งทำให้การชำระหนี้ยากลำบากมากขึ้น
สำหรับการเลื่อนการชำระหนี้ที่ติดค้างกับรัฐบาลจีน ซึ่งคิดเป็นประมาณ 2 พันล้านดอลลาร์ หรือมากกว่า 15% ของจีดีพี ในปีที่แล้วนั้น
ธนาคารโลกออกบทวิเคราะห์ช่วงก่อนหน้านี้ว่า การขอเลื่อนการชำระหนี้ดังกล่าว "ช่วยทำให้สถานการณ์บรรเทาลงแค่ในปี 2563 ถึง 2566 เท่านั้น"
อย่างไรก็ตาม ดอกเบี้ย และเงินต้นที่เหลือยังคงมีมูลค่าเท่ากับ 5% ของจีดีพี ในปี 2566และ "ผลลัพธ์ของการเจรจาหนี้ทวิภาคีที่กำลังดำเนินอยู่จะมีนัยสำคัญอย่างมากต่อทั้งความยั่งยืนของหนี้ และเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของสปป.ลาว"
อ้างอิง: Bloombreg
Cr. https://www.bangkokbiznews.com/world/1135109