#บาลีวันละคำ
โดยอาจารย์ทองย้อย แสงสินชัย
อนามาส
สิ่งที่ภิกษุไม่สมควรสัมผัส
คำว่า “อนามาส” บาลีอ่านว่า อะ-นา-มา-สะ รากศัพท์มาจาก น + อามาส
(๑) “น” (นะ)
เป็นศัพท์จำพวกนิบาต แปลว่า ไม่, ไม่ใช่ (no, not)
(๒) “อามาส”
อ่านว่า อา-มา-สะ รากศัพท์มาจาก อา (คำอุปสรรค = ทั่วไป, ยิ่ง) + มสฺ (ธาตุ = จับต้อง) + ณ ปัจจัย,
ลบ ณ, ทีฆะต้นธาตุ “ด้วยอำนาจปัจจัยเนื่องด้วย ณ” คือ อะ ที่ ม-(สฺ) เป็น อา (มสฺ > มาส)
: อา + มสฺ = อามสฺ + ณ = อามสณ > อามส > อามาส แปลตามศัพท์ว่า “การจับต้อง”
หมายถึง การแตะต้อง, การถือเอา; การสัมผัส, การถูกต้อง (touching, handling; touch)
น + อามาส แปลง น เป็น อน ตามกฎการประสมของ น + กล่าวคือ :
(1) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ แปลง น เป็น อ-
(2) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยสระ (อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ) แปลง น เป็น อน-
ในที่นี้ “อามาส” ขึ้นต้นด้วยสระ คือ อา- จึงต้องแปลง น เป็น อน
น + อามาส = อนามาส หมายถึง ไม่ควรแตะต้อง (not to be touched)
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต บอกไว้ว่า -
“อนามาส : วัตถุอันภิกษุไม่ควรจับต้อง เช่น ร่างกายและเครื่องแต่งกายสตรี เงินทอง อาวุธ เป็นต้น.”
คำว่า “อนามาส” ชาววัดนิยมเรียกกันว่า “วัตถุอนามาส”
คำว่า “อนามาส” และ “วัตถุอนามาส” ยังไม่ได้เก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554
ดูเพิ่มเติม: “วัตถุอนามาส” บาลีวันละคำ (1,847) 30-6-60
ขยายความ :
หนังสือ "วินัยมุข" เล่ม 2 พระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
แสดงรายการ “วัตถุเป็นอนามาส” ไว้ดังนี้ -
(1) หญิง ทั้งเครื่องแต่งกาย ทั้งรูปที่ทำมีสัณฐานเช่นนั้น [ดิรัจฉานตัวเมียก็จัดเข้าในหมวดนี้]
(2) ทอง เงิน และรัตนะ [ในอรรถกถา รัตนะมี 8 คือ มุกดา มณี ไพฑูรย์ ประพาฬ ทับทิม บุษราคัม สังข์ ศิลา]
(3) ศัสตราวุธต่างชนิด เป็นเครื่องทำร้ายชีวิตร่างกาย [เว้นเครื่องมือทำงาน เช่นขวานเป็นต้น]
(4) เครื่องดักสัตว์ทั้งบนบกทั้งในน้ำ
(5) เครื่องประโคมทุกชนิด
(6) ข้าวเปลือกและผลไม้อันเกิดอยู่ในที่
ตอนท้ายของเรื่องได้สรุปความไว้ว่า -
“การห้ามจับต้องวัตถุเป็นอนามาสนี้ไม่ได้มาโดยตรงในบาลี
พระอรรถกถาจารย์เทียบเคียงนัยในวินีตวัตถุ คือเรื่องเทียบสำหรับตัดสินอาบัติบ้าง ในที่อื่นบ้าง วางธรรมเนียมไว้
แต่ก็เป็นการสมควรอยู่ เช่น ภิกษุผู้เว้นจากฆ่าสัตว์ จะจับศัสตราวุธหรือเครื่องดักสัตว์ดูน่าเกลียด
เป็นผู้เว้นจากประโคม จะจับเครื่องประโคมก็น่าเกลียดเช่นเดียวกัน.
ตกว่าพัสดุที่ท่านว่าเป็นอนามาส คงเป็นของไม่ควรแก่ภิกษุมาแต่เดิมด้วย.”
..............
อภิปราย :
ในอาบัติสังฆาทิเสส 13 สิกขาบท มีสิกขาบทหนึ่ง (สิกขาบทที่ 2) บัญญัติว่า -
โย ปน ภิกฺขุ โอติณฺโณ วิปริณเตน จิตฺเตน มาตุคาเมน สทฺธึ กายสํสคฺคํ สมาปชฺเชยฺย หตฺถคาหํ วา เวณิคาหํ วา อญฺญตรสฺส วา อญฺญตรสฺส วา องฺคสฺส ปรามสนํ สงฺฆาทิเสโส.
ที่มา: วินัยปิฎก มหาวิภังค์ ภาค 1 พระไตรปิฎกเล่ม 1 ข้อ 377 หน้า 253
แปลว่า -
อนึ่ง ภิกษุใดกำหนัดแล้ว มีจิตแปรปรวนแล้ว ถึงความเคล้าคลึงด้วยกายกับมาตุคาม
คือจับมือก็ตาม จับช้องผมก็ตาม ลูบคลำอวัยวะอันใดอันหนึ่งก็ตาม เป็นสังฆาทิเสส.
หนังสือ “นวโกวาท” พระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส หน้า 3 แปลไว้ว่า -
“ภิกษุมีความกำหนัดอยู่ จับต้องกายหญิง ต้องสังฆาทิเสส.”
..............
มีประเด็นปัญหาว่า ถ้าภิกษุจับมือกับสตรี และอ้างว่าเป็นการจับมือตามวัฒนธรรมชาวตะวันตกเท่านั้น
ตนไม่ได้มีความกำหนัดใดๆ ดังนั้นจึงไม่ผิด คือไม่เป็นอาบัติสังฆาทิเสสตามพระวินัย
เราท่านจะมีหลักในการวินิจฉัยอย่างไร?
หลักในการวินิจฉัยมีดังนี้ :
๑ พระวินัยบัญญัติไว้ว่า “ภิกษุมีความกำหนัดอยู่ จับต้องกายหญิง
ต้องสังฆาทิเสส” หมายความว่า ต้องมีความกำหนัด (คือมีอารมณ์ทางเพศ)
แล้วจับต้อง จึงจะเป็นอาบัติสังฆาทิเสส ถ้าไม่มีความกำหนัด ก็ไม่เป็นอาบัติสังฆาทิเสส
๒ มีพระวินัยกำหนดไว้ว่า ร่างกายสตรีเป็นวัตถุอนามาส
คือ เป็นสิ่งที่ภิกษุไม่ควรจับต้อง ภิกษุใดจับต้องเข้า ภิกษุนั้นต้องอาบัติทุกกฏ
เป็นอันว่า ไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส (เพราะอ้างว่าไม่มีความกำหนัด)
ก็จริง แต่ก็ยังต้องอาบัติทุกกฏ
กล่าวได้ว่า มีความกำหนัดก็ผิด ไม่มีความกำหนัดก็ผิด ต่างเพียงว่ามีความกำหนัดก็ผิดหนัก
ไม่มีความกำหนัดก็ผิดเบา แต่ไม่ว่าจะผิดหนักหรือผิดเบาก็คือผิดนั่นเอง
๓ เวลานี้มักนิยมอ้างกันว่า อาบัติทุกกฎเป็นเพียงอาบัติเล็กน้อย บางทีอ้างเลยไปอีกว่า
อาบัติเล็กน้อยนั้นมีพุทธานุญาตให้ถอน (คือไม่ต้องปฏิบัติตาม) เสียบ้างก็ได้
เพราะฉะนั้นจึงไม่ใช่เรื่องเสียหายร้ายแรงอะไร ไม่ควรเอามาพูดกันให้เป็นเรื่องใหญ่โต
ผู้อ้างเช่นนี้ ควรคำนึงถึงลักษณะของภิกษุผู้หนักในธรรมวินัยที่ท่านแสดงไว้ว่า
“อนุมตฺเตสุ วชฺเชสุ ภยทสฺสาวี” มีความหมายว่า ภิกษุผู้หนักในธรรมวินัยย่อมเห็นว่า
ความผิดแม้จะเล็กน้อยเพียงไรก็เป็นสิ่งที่น่ากลัว
มีความเคารพเสมอกับเป็นความผิดหนัก ไม่กล้าล่วงละเมิด
ถ้ายึดวิธียกเหตุผลมาอ้างเพื่อที่จะไม่ต้องปฏิบัติตามมาเป็นแนวดำเนินเช่นนี้ไปเรื่อยๆ
ในที่สุดก็จะมีผู้ยกเหตุผลมาอ้างเพื่อที่จะไม่ต้องปฏิบัติตามสิกขาบทต่างๆ ได้หมดทุกข้อ
ผู้รักพระศาสนาจึงควรพยายามหาเหตุผลมาอ้างเพื่อที่จะปฏิบัติตามพระธรรมวินัย
จึงจะถูกต้อง มิใช่พยายามหาเหตุผลมาอ้างเพื่อที่จะไม่ต้องปฏิบัติตาม
..............
ผู้ประสงค์จะตรวจสอบเพิ่มเติม โปรดศึกษาได้จากอรรถกถาพระวินัยปิฎก
คือคัมภีร์สมันตปาสาทิกา ภาค 2 หน้า 37-44 เป็นตอนที่ว่าด้วยอาบัติสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 2 (จับต้องกายหญิง)
..............
ดูก่อนภราดา!
: อย่าอ้างว่าไม่รู้จึงทำผิด
: อสรพิษกัดทุกคนที่จับมัน
เปิดธรรมที่ถูกปิดโดยพุทธวจนะ #บาลีวันละคำ โดยอาจารย์ทองย้อย แสงสินชัย
โดยอาจารย์ทองย้อย แสงสินชัย
อนามาส
สิ่งที่ภิกษุไม่สมควรสัมผัส
คำว่า “อนามาส” บาลีอ่านว่า อะ-นา-มา-สะ รากศัพท์มาจาก น + อามาส
(๑) “น” (นะ)
เป็นศัพท์จำพวกนิบาต แปลว่า ไม่, ไม่ใช่ (no, not)
(๒) “อามาส”
อ่านว่า อา-มา-สะ รากศัพท์มาจาก อา (คำอุปสรรค = ทั่วไป, ยิ่ง) + มสฺ (ธาตุ = จับต้อง) + ณ ปัจจัย,
ลบ ณ, ทีฆะต้นธาตุ “ด้วยอำนาจปัจจัยเนื่องด้วย ณ” คือ อะ ที่ ม-(สฺ) เป็น อา (มสฺ > มาส)
: อา + มสฺ = อามสฺ + ณ = อามสณ > อามส > อามาส แปลตามศัพท์ว่า “การจับต้อง”
หมายถึง การแตะต้อง, การถือเอา; การสัมผัส, การถูกต้อง (touching, handling; touch)
น + อามาส แปลง น เป็น อน ตามกฎการประสมของ น + กล่าวคือ :
(1) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ แปลง น เป็น อ-
(2) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยสระ (อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ) แปลง น เป็น อน-
ในที่นี้ “อามาส” ขึ้นต้นด้วยสระ คือ อา- จึงต้องแปลง น เป็น อน
น + อามาส = อนามาส หมายถึง ไม่ควรแตะต้อง (not to be touched)
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต บอกไว้ว่า -
“อนามาส : วัตถุอันภิกษุไม่ควรจับต้อง เช่น ร่างกายและเครื่องแต่งกายสตรี เงินทอง อาวุธ เป็นต้น.”
คำว่า “อนามาส” ชาววัดนิยมเรียกกันว่า “วัตถุอนามาส”
คำว่า “อนามาส” และ “วัตถุอนามาส” ยังไม่ได้เก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554
ดูเพิ่มเติม: “วัตถุอนามาส” บาลีวันละคำ (1,847) 30-6-60
ขยายความ :
หนังสือ "วินัยมุข" เล่ม 2 พระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
แสดงรายการ “วัตถุเป็นอนามาส” ไว้ดังนี้ -
(1) หญิง ทั้งเครื่องแต่งกาย ทั้งรูปที่ทำมีสัณฐานเช่นนั้น [ดิรัจฉานตัวเมียก็จัดเข้าในหมวดนี้]
(2) ทอง เงิน และรัตนะ [ในอรรถกถา รัตนะมี 8 คือ มุกดา มณี ไพฑูรย์ ประพาฬ ทับทิม บุษราคัม สังข์ ศิลา]
(3) ศัสตราวุธต่างชนิด เป็นเครื่องทำร้ายชีวิตร่างกาย [เว้นเครื่องมือทำงาน เช่นขวานเป็นต้น]
(4) เครื่องดักสัตว์ทั้งบนบกทั้งในน้ำ
(5) เครื่องประโคมทุกชนิด
(6) ข้าวเปลือกและผลไม้อันเกิดอยู่ในที่
ตอนท้ายของเรื่องได้สรุปความไว้ว่า -
“การห้ามจับต้องวัตถุเป็นอนามาสนี้ไม่ได้มาโดยตรงในบาลี
พระอรรถกถาจารย์เทียบเคียงนัยในวินีตวัตถุ คือเรื่องเทียบสำหรับตัดสินอาบัติบ้าง ในที่อื่นบ้าง วางธรรมเนียมไว้
แต่ก็เป็นการสมควรอยู่ เช่น ภิกษุผู้เว้นจากฆ่าสัตว์ จะจับศัสตราวุธหรือเครื่องดักสัตว์ดูน่าเกลียด
เป็นผู้เว้นจากประโคม จะจับเครื่องประโคมก็น่าเกลียดเช่นเดียวกัน.
ตกว่าพัสดุที่ท่านว่าเป็นอนามาส คงเป็นของไม่ควรแก่ภิกษุมาแต่เดิมด้วย.”
..............
อภิปราย :
ในอาบัติสังฆาทิเสส 13 สิกขาบท มีสิกขาบทหนึ่ง (สิกขาบทที่ 2) บัญญัติว่า -
โย ปน ภิกฺขุ โอติณฺโณ วิปริณเตน จิตฺเตน มาตุคาเมน สทฺธึ กายสํสคฺคํ สมาปชฺเชยฺย หตฺถคาหํ วา เวณิคาหํ วา อญฺญตรสฺส วา อญฺญตรสฺส วา องฺคสฺส ปรามสนํ สงฺฆาทิเสโส.
ที่มา: วินัยปิฎก มหาวิภังค์ ภาค 1 พระไตรปิฎกเล่ม 1 ข้อ 377 หน้า 253
แปลว่า -
อนึ่ง ภิกษุใดกำหนัดแล้ว มีจิตแปรปรวนแล้ว ถึงความเคล้าคลึงด้วยกายกับมาตุคาม
คือจับมือก็ตาม จับช้องผมก็ตาม ลูบคลำอวัยวะอันใดอันหนึ่งก็ตาม เป็นสังฆาทิเสส.
หนังสือ “นวโกวาท” พระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส หน้า 3 แปลไว้ว่า -
“ภิกษุมีความกำหนัดอยู่ จับต้องกายหญิง ต้องสังฆาทิเสส.”
..............
มีประเด็นปัญหาว่า ถ้าภิกษุจับมือกับสตรี และอ้างว่าเป็นการจับมือตามวัฒนธรรมชาวตะวันตกเท่านั้น
ตนไม่ได้มีความกำหนัดใดๆ ดังนั้นจึงไม่ผิด คือไม่เป็นอาบัติสังฆาทิเสสตามพระวินัย
เราท่านจะมีหลักในการวินิจฉัยอย่างไร?
หลักในการวินิจฉัยมีดังนี้ :
๑ พระวินัยบัญญัติไว้ว่า “ภิกษุมีความกำหนัดอยู่ จับต้องกายหญิง
ต้องสังฆาทิเสส” หมายความว่า ต้องมีความกำหนัด (คือมีอารมณ์ทางเพศ)
แล้วจับต้อง จึงจะเป็นอาบัติสังฆาทิเสส ถ้าไม่มีความกำหนัด ก็ไม่เป็นอาบัติสังฆาทิเสส
๒ มีพระวินัยกำหนดไว้ว่า ร่างกายสตรีเป็นวัตถุอนามาส
คือ เป็นสิ่งที่ภิกษุไม่ควรจับต้อง ภิกษุใดจับต้องเข้า ภิกษุนั้นต้องอาบัติทุกกฏ
เป็นอันว่า ไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส (เพราะอ้างว่าไม่มีความกำหนัด)
ก็จริง แต่ก็ยังต้องอาบัติทุกกฏ
กล่าวได้ว่า มีความกำหนัดก็ผิด ไม่มีความกำหนัดก็ผิด ต่างเพียงว่ามีความกำหนัดก็ผิดหนัก
ไม่มีความกำหนัดก็ผิดเบา แต่ไม่ว่าจะผิดหนักหรือผิดเบาก็คือผิดนั่นเอง
๓ เวลานี้มักนิยมอ้างกันว่า อาบัติทุกกฎเป็นเพียงอาบัติเล็กน้อย บางทีอ้างเลยไปอีกว่า
อาบัติเล็กน้อยนั้นมีพุทธานุญาตให้ถอน (คือไม่ต้องปฏิบัติตาม) เสียบ้างก็ได้
เพราะฉะนั้นจึงไม่ใช่เรื่องเสียหายร้ายแรงอะไร ไม่ควรเอามาพูดกันให้เป็นเรื่องใหญ่โต
ผู้อ้างเช่นนี้ ควรคำนึงถึงลักษณะของภิกษุผู้หนักในธรรมวินัยที่ท่านแสดงไว้ว่า
“อนุมตฺเตสุ วชฺเชสุ ภยทสฺสาวี” มีความหมายว่า ภิกษุผู้หนักในธรรมวินัยย่อมเห็นว่า
ความผิดแม้จะเล็กน้อยเพียงไรก็เป็นสิ่งที่น่ากลัว
มีความเคารพเสมอกับเป็นความผิดหนัก ไม่กล้าล่วงละเมิด
ถ้ายึดวิธียกเหตุผลมาอ้างเพื่อที่จะไม่ต้องปฏิบัติตามมาเป็นแนวดำเนินเช่นนี้ไปเรื่อยๆ
ในที่สุดก็จะมีผู้ยกเหตุผลมาอ้างเพื่อที่จะไม่ต้องปฏิบัติตามสิกขาบทต่างๆ ได้หมดทุกข้อ
ผู้รักพระศาสนาจึงควรพยายามหาเหตุผลมาอ้างเพื่อที่จะปฏิบัติตามพระธรรมวินัย
จึงจะถูกต้อง มิใช่พยายามหาเหตุผลมาอ้างเพื่อที่จะไม่ต้องปฏิบัติตาม
..............
ผู้ประสงค์จะตรวจสอบเพิ่มเติม โปรดศึกษาได้จากอรรถกถาพระวินัยปิฎก
คือคัมภีร์สมันตปาสาทิกา ภาค 2 หน้า 37-44 เป็นตอนที่ว่าด้วยอาบัติสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 2 (จับต้องกายหญิง)
..............
ดูก่อนภราดา!
: อย่าอ้างว่าไม่รู้จึงทำผิด
: อสรพิษกัดทุกคนที่จับมัน