JJNY : เผยปชช.อยากให้รบ.ใหม่เร่งแก้ไขปัญหาศก.|ลั่น‘ผมเลือกเห็นด้วยกับหยก’|จี้รบ.ตอบคำถามให้ได้|ยูเครนยึดคืนแท่นขุดน้ำมัน

บ้านสมเด็จโพล เผย ปชช. อยากให้รัฐบาลใหม่เร่งแก้ไขปัญหาศก.- ปรับเงินเดือนป.ตรี 2.5 หมื่นบาท
https://www.matichon.co.th/politics/news_4175980

 
บ้านสมเด็จโพล เผย ปชช. อยากให้รัฐบาลใหม่เร่งแก้ไขปัญหาศก.- ปรับเงินเดือนป.ตรี 2.5 หมื่นบาท
 
เมื่อวันที่ 12 กันยายน ศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้ดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับความคาดหวังต่อรัฐบาลใหม่ โดยเก็บจากกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,116 กลุ่มตัวอย่าง เก็บข้อมูลในวันที่ 4 – 10 กันยายน 2566
 
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สิงห์ สิงห์ขจร ประธานคณะกรรมการศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ กล่าวว่า ผลการสำรวจในครั้งนี้เรื่องความคาดหวังต่อรัฐบาลใหม่ เนื่องจากวันที่ 11 ก.ย. 2566 มีการแถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภา คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี ที่นายกรัฐมนตรีเตรียมแถลงต่อรัฐสภาใน นโยบายเร่งด่วนทั้งสิ้น 5 นโยบาย ได้แก่ เงินดิจิทัลวอลเล็ท 10,000 บาท, การแก้ปัญหาหนี้สิน, การลดค่าค่าไฟ ก๊าซหุงต้ม น้ำมันเชื้อเพลิง, การสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว และการแก้ไขปัญหาความเห็นต่างในรัฐธรรมนูญ ส่วนนโยบายกรอบระยะกลางและระยะยาว ระบุประเด็นนโยบาย 3 เรื่องหลัก ได้แก่ การสร้างรายได้ให้กับประชาชน การสร้างโอกาส และการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี การยกระดับนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค นโยบายพัฒนากองทัพ โดยรัฐบาลมีความจำเป็นต้องกระตุ้นการใช้จ่าย ให้เครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจกลับมาเติบโตอีกครั้ง และเร่งแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าของประชาชนอย่างเร่งด่วนและรวดเร็ว นโยบายต่างๆ นั้นประชาชนให้ความสนใจในนโยบายด้านใด อยากให้มีการเร่งดำเนินการในเรื่องใดมากที่สุด อยากให้รัฐบาลใหม่ควรจะมีการเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะใด ความคาดหวังต่อผลงานของรัฐบาลใหม่ ความคาดหวังระยะเวลาในการดำเนินการของรัฐบาลชุดใหม่จะเห็นผลงาน โดยผลการสำรวจในครั้งนี้ต่อเรื่องความคาดหวังต่อรัฐบาลใหม่มีข้อมูลที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ อยากให้รัฐบาลใหม่ ดำเนินการในนโยบาย อันดับแรกคือ ด้านเศรษฐกิจและการส่งเสริมอาชีพ ร้อยละ 23.8 อันดับสองคือ ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ร้อยละ 17 อันดับสามคือ ด้านการศึกษาและคุณภาพชีวิต ร้อยละ 11.4 อันดับสี่คือ ด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ร้อยละ 11.4 อันดับห้าคือ ด้านสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 8.4
 
อยากให้รัฐบาลใหม่ดำเนินการอย่างเร่งด่วนในนโยบายที่ได้หาเสียงไว้ อันดับแรกคือ เงินเดือนปริญญาตรี 25,000 บาท ร้อยละ 15.2 อันดับสองคือ ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาทต่อวัน ร้อยละ 14.7 อันดับสามคือ ดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ร้อยละ 11.6 อันดับสี่คือ แก้ปัญหาความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ร้อยละ 11.5 อันดับห้าคือ แก้รัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย ร้อยละ 10.5
 
ควรจะมีการเปลี่ยนแปลงของรัฐบาลใหม่ อันดับแรกคือ ไม่มีการหวังผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง ร้อยละ 19.5 อันดับสองคือ มีการทำงานแบบจริงจังเพื่อประชาชน ร้อยละ 17.9 อันดับสามคือ มีการแต่งตั้งบุคคลที่เหมาะสมกับงาน ร้อยละ 17.5 อันดับสี่คือ มีนโยบายที่สามารถทำได้จริง ร้อยละ 17.4 อันดับห้าคือ มีการแสดงความรับผิดชอบที่ชัดเจน ร้อยละ 10.8
 
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความคาดหวังต่อผลงานของรัฐบาลใหม่ อันดับแรก ระดับปานกลาง ร้อยละ 58 รองลงมาคือ คาดหวังมาก ร้อยละ 32.2 และคาดหวังน้อย ร้อยละ 9.8 โดยคาดหวังระยะเวลาในการดำเนินการของรัฐบาลชุดใหม่จะเห็นผลงาน อันดับแรกคือ 1 ปี ร้อยละ 32.4 อันดับสองคือ 2 ปี ร้อยละ 28.2อันดับสามคือ 6 เดือน ร้อยละ 18.4 อันดับสี่คือ 3 เดือน ร้อยละ 10.3 อันดับห้าคือ 3 ปี ร้อยละ 6.5

ส่วนที่ 1 ความคาดหวังต่อรัฐบาลใหม่
 
1. ท่านอยากให้รัฐบาลใหม่ ดำเนินการในนโยบายเรื่องใดมากที่สุด
ด้านเศรษฐกิจและการส่งเสริมอาชีพ ร้อยละ 23.8
ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ร้อยละ 17
ด้านการศึกษาและคุณภาพชีวิต ร้อยละ 11.4
ด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ร้อยละ 9.9
ด้านสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 8.4
ด้านการพัฒนาสังคม ร้อยละ 8.2
ด้านศิลปวัฒนธรรม ร้อยละ 7.6
ด้านสาธารณสุข ร้อยละ 7.5
ด้านการท่องเที่ยว ร้อยละ 3.2
ด้านการปกครองท้องถิ่น ร้อยละ 2.5
ด้านพลังงาน ร้อยละ 0.5
 
2. ท่านอยากให้รัฐบาลใหม่ดำเนินการอย่างเร่งด่วนในนโยบายที่ได้หาเสียงไว้ในเรื่องใดมากที่สุด
เงินเดือนปริญญาตรี 25,000 บาท ร้อยละ 15.2
ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาทต่อวัน ร้อยละ 14.7
ดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ร้อยละ 11.6
แก้ปัญหาความขัดแย้งจังหวัดชายแดนภาคใต้ ร้อยละ 11.5
แก้รัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย ร้อยละ 10.5
เกณฑ์ทหารโดยสมัครใจ ร้อยละ 10.1
การยกระดับรักษาพยาบาล 30 บาทรักษาทุกโรค ร้อยละ 8.4
เพิ่มราคาพืชผลทางการเกษตร ร้อยละ 8.2
แก้ปัญหายาเสพติด ร้อยละ 4.1
กัญชาทางการแพทย์และสุขภาพ ร้อยละ 3.5
แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 2.2
 
3. ท่านอยากให้รัฐบาลใหม่ควรจะมีการเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะใดมากที่สุด
ไม่มีการหวังผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง ร้อยละ 19.5
มีการทำงานแบบจริงจังเพื่อประชาชน ร้อยละ 17.9
มีการแต่งตั้งบุคคลที่เหมาะสมกับงาน ร้อยละ 17.5
มีนโยบายที่สามารถทำได้จริง ร้อยละ 17.4
มีการแสดงความรับผิดชอบที่ชัดเจน ร้อยละ 10.8
ไม่มีการคอรัปชั่น ร้อยละ 8.7
ไม่มีการใส่ร้ายป้ายสี ร้อยละ 6.7
ไม่มีการสร้างความขัดแย้ง ร้อยละ 1.5
 
4. ท่านมีความคาดหวังต่อผลงานของรัฐบาลใหม่ อยู่ในระดับใด
คาดหวังมาก ร้อยละ 32.2
คาดหวังปานกลาง ร้อยละ 58
คาดหวังน้อย ร้อยละ 9.8
 
5. ท่านคาดหวังเวลาในการดำเนินการของรัฐบาลชุดใหม่จะเห็นผลงาน ในระยะเวลาเท่าใด
3 เดือน ร้อยละ 10.3
6 เดือน ร้อยละ 18.4
1 ปี ร้อยละ 32.4
2 ปี ร้อยละ 28.2
3 ปี ร้อยละ 6.5
4 ปี ร้อยละ 4.2
 
ข้อมูลด้านประชากรศาสตร์
1. เพศ ชาย ร้อยละ 50.4 หญิง ร้อยละ 49.6
2. อายุ ต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 9.1 20 – 25 ปี ร้อยละ 25.2
26 – 30 ปี ร้อยละ 17.5 31 – 35 ปี ร้อยละ 19.9
36 – 40 ปี ร้อยละ 13.8 41 – 45 ปี ร้อยละ 6.5
46 – 50 ปี ร้อยละ 4.5 มากกว่า 50 ปี ร้อยละ 3.5
3. อาชีพ นักเรียน / นิสิต / นักศึกษา ร้อยละ 27.8
ข้าราชการ/พนักงานของรัฐ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 12.9
พนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 23.2
นักธุรกิจ/เจ้าของกิจการส่วนตัว ร้อยละ 22.8
แม่บ้าน/พ่อบ้าน ร้อยละ 6.4
รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 6.9



ที่ปรึกษาสมัชชาคนจน ลั่น ‘ผมเลือกเห็นด้วยกับหยก’ ชี้ สู้เพื่อสิทธิอันพึงมี เมินคำครหา
https://www.matichon.co.th/politics/news_4176026

ที่ปรึกษาสมัชชาคนจน ลั่น ‘ผมเลือกเห็นด้วยกับหยก’ ชี้ สู้เพื่อสิทธิอันพึงมี เมินคำครหา
 
เมื่อวันที่ 11 กันยายนที่ผ่านมา นายบารมี ชัยรัตน์ ที่ปรึกษาสมัชชาคนจน เผยแพร่ความคิดเห็นประเด็น ‘หยก’ เยาวชน
 
นายบารมีเผยว่า ตนฟังข่าวหยกอย่างผิวเผิน เพราะคิดว่าเป็นการต่อสู้ตามปกติของคนที่ไม่ยอมจำนนต่อระบบเท่านั้น จึงให้กำลังใจไปตามสภาพเพราะยังให้ความสนใจกับเรื่องอื่นมากกว่า กระทั่งเกิดประเด็นดราม่า
 
เมื่อมีข่าวดราม่ากันก็มาตามข่าวสักทีนึง ฟังความข้างนั้นที ฟังความข้างนี้ทีไม่ได้คิดอะไรมากมาย ไม่ได้เอาใจใส่ตรวจสอบความคิดของตัวเอง และปล่อยปละละเลยมาเรื่อยๆ จนกระทั่งมีข่าวเรื่องคนออกมาด่าบุ้ง ผมก็เข้าไปฟังและก็คล้อยตามไปกับเขาด้วย แต่ก็ยังไม่ได้เอาใจใส่อะไรมากเหมือนเดิม นานๆ ก็เขียนไปถามคนนั้นคนนี้ทีว่ามันเป็นอย่างไร ก็ได้ความมาว่าเขามีเรื่องกันมานานแล้ว ก็ไม่ได้ใส่ใจอะไรอีก
 
ผมไม่แน่ใจว่ามาเริ่มสนใจเรื่องหยกจริงๆ จังๆ เมื่อไร วันหรือสองวันหรือสามวันอะไรนี่แหละ สนใจว่ามันเกิดอะไรขึ้น ทำไมหยกต้องทำแบบนั้น ทำไมหยกไม่แคร์คนอื่น ทำไมมีคนเข้าข้างและเห็นต่างจากหยก มันเกิดอะไรขึ้นหรือ ผมเริ่มตั้งคำถามและผมเริ่มถามตัวเองว่าจะมองเรื่องหยกในมุมมองไหน ใส่แว่นอะไร แต่ผมไม่ใช่นักทฤษฎีก็เลยไม่รู้ว่าจะใช้มุมมองไหน ใช้ทฤษฎีอะไร” นายบารมีระบุ
 
นายบารมี เผยต่อไปว่า ตนจึงลองคิดว่า แล้วเราให้ความสำคัญกับเรื่องอะไร เมื่อคิดแล้วคิดอีกและก็คิดได้เพียงว่าตนเป็นคนที่พยายามให้ความสำคัญกับเรื่องสิทธิมนุษยชน เชื่อว่าคนเราต้องเท่าเทียมกัน แต่เติบโตและถูกปลูกฝังมาให้คิดและเชื่ออีกแบบ

ผมถูกสอนให้เชื่อว่าคนเราไม่เท่าเทียมกัน เพราะทำบุญมาต่างกัน เพราะมีชาติกำเนิดต่างกัน เพราะมีวาสนาบารมีต่างกัน อาจจะเหมารวมว่าคนรุ่นๆผมก็เติบโตและถูกปลูกฝังมาแบบนี้เช่นกัน
 
ดังนั้นคนรุ่นผมหรือคนที่เติบโตมาแบบผมก็ต้องแสวงหาบางสิ่งบางอย่าง เช่น หาเครื่องรางของขลัง หาเจ้าหานาย ทำตัวให้เป็นผู้ดีแต่ถ้าทำตัวแบบผู้ดีไม่ได้ก็พยายามทำตัวแบบชาติที่เจริญกว่า เพื่อยกระดับยกฐานะของตัวเองให้สูงขึ้น ใช้สายตามองคนที่สูงกว่าด้วยความชื่นชม อิจฉาและสยบยอม หรือแม้กระทั่งเป็นไอดอล ใช้สายตามองคนที่ต่ำกว่าด้วยความเกลียดชัง ทุเรศ เวทนา ใช้สายตามองคนที่เท่ากันว่าเป็นคู่แข่งขัน เป็นคนที่เราต้องการเอาชนะ หรือสักวัน-ูจะเหนือกว่า-ึง
 
แต่เมื่อผมเห็นว่าความคิดดังกล่าวไม่ถูกต้องผมก็พยายามแก้ไขดัดแปลงตัวเอง ผมจะไม่มองคนที่สูงกว่าด้วยความชื่นชม ผมจะไม่มองคนที่เท่ากันเป็นคู่แข่ง ผมจะไม่มองคนด้อยกว่าอย่างเวทนาสงสาร และผมต่อสู้กับความคิดความเชื่อที่ว่าคนเราต้องไม่เท่าเทียมกัน
 
แต่ในความเป็นจริงมันมีอะไรหลายสิ่งหลายอย่างที่ทำให้คนเราไม่เท่าเทียมกัน และหลายสิ่งหลายอย่างที่ว่านั้น เป็นสิ่งที่คนเราสร้างขึ้นมาเพื่อเอารัดเอาเปรียบกันเอง เพื่อแบ่งชนชั้นกันเอง เพื่อกดขี่ขูดรีดกันเอง ผ่านสิ่งที่เรียกว่า มารยาท กาละเทศะ จารีต คุณธรรม ค่านิยม ประเพณี วัฒนธรรม อำนาจ กฎหมาย อาวุธ เป็นต้น” นายบารมีระบุ
 
นายบารมีเผยต่อไปว่า คนที่จะฝ่าด่านเหล่านั้นไปได้ ก็ต้องออกมาต่อสู้กับสิ่งต่างๆ ที่กล่าวไปนั้น หรือไม่ก็หนีออกไปจากสิ่งเหล่านั้น แน่นอนว่ามีคนที่ผ่านด่านเหล่านั้นไปได้เหมือนกัน แต่ยังไม่มีคนที่ผ่านด่านแล้วเปลี่ยนระบบ หรือทำลายระบบที่สร้างขึ้นมาเพื่อกดขี่คนเพื่อให้คนเราไม่เท่ากันขึ้นมาได้
 
คนอย่างหยกเกิดขึ้นมาเพื่อสู้กับระบบแบบนี้ สู้แบบไม่มียุทธศาสตร์ สู้แบบมวยวัด สู้แบบหมาบ้า สู้โดยไม่สนใจขบวน สู้โดยไม่สนใจข้อครหานินทา สู้เพื่อปกป้องสิทธิอันพึงมีพึงได้ของเขา
 
การต่อสู้เพื่อปกป้องสิทธิอันพึงมีพึงได้ของเขาไม่ใช่เรื่องผิด ไม่ว่าเขาจะใช้วิธีการใดๆ แม้กระทั่งบางครั้งการกระทำของเขาจะไปละเมิดสิทธิของคนอื่นบ้าง การต่อสู้ของผู้ถูกกดขี่ย่อมละเมิดสิทธิของบุคคลอื่นอยู่เสมอโดยเฉพาะสิทธิของผู้กดขี่และผู้ที่เชื่อมั่นในความไม่เท่าเทียม ในเมื่อ มารยาท กาละเทศะ จารีต คุณธรรม ค่านิยม ประเพณี วัฒนธรรม อำนาจ กฎหมาย อาวุธ มันเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เป็นสิ่งที่ไม่ชอบธรรม มันก็ควรจะถูกท้าทาย มันก็ควรจะถูกทำลายทิ้งไปไม่ใช่หรือ
 
แม้จะมีคนออกมาแฉออกมาฉาวให้เชื่อว่า สิ่งที่หยกทำไปนั้นไม่ได้ทำเพราะหยกเชื่อ แต่ทำเพราะถูกบังคับ เพราะต้องพึ่งพา หยกเป็นเหยื่อของบางคนที่เอาไปหาผลประโยชน์ โดยคนที่มาแฉนั้นอยู่หรือเคยอยู่ในกลุ่มในวงการเดียวกันกับหยก ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องจริงก็ได้ อาจจะมีสาระก็ได้ แต่ผมก็ไม่ได้สนใจขนาดที่จะอยากรู้เจาะลึกไปขนาดนั้น ในชีวิตผมเห็นคนที่ได้ชื่อว่าทำคุณงามความดีมามากมาย แต่ละคนล้วนแต่มีข้ออ่อนข้อด้อยให้เห็นด้วยเหมือนกัน ก็ยังยกย่องก็ยังยกยอกันได้ว่าเป็นคนดี เป็นนักต่อสู้ เป็นนักประชาธิปไตย
 
ดังนั้น ผมจึงเลือกที่จะเห็นด้วยกับหยก ตราบใดที่ผมยังเห็นว่าการกระทำของหยกเป็นการต่อสู้เพื่อสิทธิอันพึงมีพึงได้ของเขา” นายบารมีทิ้งท้าย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่