นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ตอบคำถามปมควบรวม กิจการระหว่าง True กับ DTAC
บอกว่า เขารวมกันเพื่อจะแข่งกับเอไอเอสต่อไป แต่ไม่วายฉวยโอกาสบิดเบือนประเด็นเกี่ยวกับการกระทำผิดของตนเอง (ตอนนี้ยังหนีโทษจำคุก หนีหมายจับคดีทุจริตประพฤติมิชอบหลายคดี)
โดยอ้างว่า “ถ้ามีชื่อทักษิณนะ เขาเอาตายเลย” ลากโยงไปถึงสมัยที่ตนเองขายหุ้นชินคอร์ปฯ แล้วถูกวิพากษ์วิจารณ์ ถูกตรวจสอบ ถูกดำเนินคดี พยายามจะให้คนเข้าใจสับสนว่า สิ่งที่ทักษิณทำนั้น ไม่ต่างกับดีลระหว่างทรูกับดีแทค แต่ถูกเลือกปฏิบัติ ถูกกลั่นแกล้งเล่นงาน เพียงเพราะมีชื่อทักษิณเข้าไปเอี่ยว!?!
ความจริงคืออะไร?
1. ดีลระหว่าง True กับ DTAC คงต้องรายงานข้อเท็จจริงและถูกตรวจสอบกำกับดูแลโดย กสทช.
ต่อไป มิให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค และกำกับให้มีการแข่งขัน ซึ่งคู่แข่งสำคัญก็คือเอไอเอส เจ้าใหญ่ แต่ดีลนี้ จะเอาไปเทียบกับการหุ้นชินฯ ของอดีตนายกฯ ทักษิณ แล้วถูกดำเนินคดีไม่ได้เลย เพราะเหตุที่ทักษิณถูกดำเนินคดี ไม่ใช่เพราะขายหุ้นชินฯ แต่เป็นเพราะทักษิณเป็นนายกฯ ที่มีผลประโยชน์ทับซ้อน อาศัยอำนาจรัฐเอื้อประโยชน์แก่ตนเองโดยมิชอบ และซุกหุ้นของตนไว้ในชื่อคนอื่น อำพรางความเป็นเจ้าของแท้จริง เมื่อราคาหุ้นสูงขึ้นแล้ว ก่อนจะขายหุ้น ยังอาศัยอำนาจรัฐแก้กฎหมายโทรคมนาคม เพื่อเปิดทางให้ตนเองขายหุ้นลอตใหญ่ได้ทั้งหมด โดยขายเพียง 2 วัน หลังกฎหมายผ่านสภามีผลใช้บังคับ แถมยังซิกแซกโอนหุ้นจากแอมเพิลริชมาอยู่ในชื่อลูกๆ ก่อนจะขายต่อเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี
2. ในปี 2544 ทักษิณ ชินวัตร เข้ามาเป็นนายกฯ โดยยังเป็นเจ้าของหุ้นชินฯ ซึ่งเป็นเจ้าของเอไอเอส ชินแซท ไอทีวี แต่อำพรางการถือครองไว้ในชื่อคนอื่น
3. เข้ามามีอำนาจรัฐไม่กี่เดือน ปรากฏว่า รัฐวิสาหกิจ ทศท. ทำการแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาสัมปทานมือถือโดยมิชอบลดค่าส่วนแบ่งรายได้ให้บริษัทเอไอเอส มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2544 จนสิ้นสุดอายุสัญญาวันที่ 30 กันยายน 2558
อ่านต่อ.
https://www.naewna.com/politic/columnist/49817
ปัญหาไม่ใช่ชื่อ ‘ทักษิณ’ แต่ที่ผิด คือ ‘การกระทำ’
บอกว่า เขารวมกันเพื่อจะแข่งกับเอไอเอสต่อไป แต่ไม่วายฉวยโอกาสบิดเบือนประเด็นเกี่ยวกับการกระทำผิดของตนเอง (ตอนนี้ยังหนีโทษจำคุก หนีหมายจับคดีทุจริตประพฤติมิชอบหลายคดี)
โดยอ้างว่า “ถ้ามีชื่อทักษิณนะ เขาเอาตายเลย” ลากโยงไปถึงสมัยที่ตนเองขายหุ้นชินคอร์ปฯ แล้วถูกวิพากษ์วิจารณ์ ถูกตรวจสอบ ถูกดำเนินคดี พยายามจะให้คนเข้าใจสับสนว่า สิ่งที่ทักษิณทำนั้น ไม่ต่างกับดีลระหว่างทรูกับดีแทค แต่ถูกเลือกปฏิบัติ ถูกกลั่นแกล้งเล่นงาน เพียงเพราะมีชื่อทักษิณเข้าไปเอี่ยว!?!
ความจริงคืออะไร?
1. ดีลระหว่าง True กับ DTAC คงต้องรายงานข้อเท็จจริงและถูกตรวจสอบกำกับดูแลโดย กสทช.
ต่อไป มิให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค และกำกับให้มีการแข่งขัน ซึ่งคู่แข่งสำคัญก็คือเอไอเอส เจ้าใหญ่ แต่ดีลนี้ จะเอาไปเทียบกับการหุ้นชินฯ ของอดีตนายกฯ ทักษิณ แล้วถูกดำเนินคดีไม่ได้เลย เพราะเหตุที่ทักษิณถูกดำเนินคดี ไม่ใช่เพราะขายหุ้นชินฯ แต่เป็นเพราะทักษิณเป็นนายกฯ ที่มีผลประโยชน์ทับซ้อน อาศัยอำนาจรัฐเอื้อประโยชน์แก่ตนเองโดยมิชอบ และซุกหุ้นของตนไว้ในชื่อคนอื่น อำพรางความเป็นเจ้าของแท้จริง เมื่อราคาหุ้นสูงขึ้นแล้ว ก่อนจะขายหุ้น ยังอาศัยอำนาจรัฐแก้กฎหมายโทรคมนาคม เพื่อเปิดทางให้ตนเองขายหุ้นลอตใหญ่ได้ทั้งหมด โดยขายเพียง 2 วัน หลังกฎหมายผ่านสภามีผลใช้บังคับ แถมยังซิกแซกโอนหุ้นจากแอมเพิลริชมาอยู่ในชื่อลูกๆ ก่อนจะขายต่อเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี
2. ในปี 2544 ทักษิณ ชินวัตร เข้ามาเป็นนายกฯ โดยยังเป็นเจ้าของหุ้นชินฯ ซึ่งเป็นเจ้าของเอไอเอส ชินแซท ไอทีวี แต่อำพรางการถือครองไว้ในชื่อคนอื่น
3. เข้ามามีอำนาจรัฐไม่กี่เดือน ปรากฏว่า รัฐวิสาหกิจ ทศท. ทำการแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาสัมปทานมือถือโดยมิชอบลดค่าส่วนแบ่งรายได้ให้บริษัทเอไอเอส มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2544 จนสิ้นสุดอายุสัญญาวันที่ 30 กันยายน 2558
อ่านต่อ. https://www.naewna.com/politic/columnist/49817