บทความโดย จีรวุฒิ (อุไรรัตน์) บุญรัศมี
ช่วงเวลาที่ผ่านมาผู้เขียนเคยเขียนบทความเอาไว้หลายชิ้นเกี่ยวกับเรื่องอำเภอของจังหวัดสงขลา อันได้แก่ จะนะ เทพา สะบ้าย้อย และนาทวี โดยได้กล่าวเอาว่าทั้ง 4 อำเภอนี้ไม่เคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรปัตตานี (ปตานี) ตามที่งานวิชาการต่างๆ พยายามเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จเกี่ยวกับเรื่องนี้มาโดยตลอด
ไม่ว่าจะเป็นงานเขียนของฝ่ายขบวนการแบ่งแยกดินแดน ที่มักจะ ‘เคลม’ หรือ ‘แอบอ้าง’ มาโดยตลอดว่าพื้นที่ 4 อำเภอของสงขลานี้เคยเป็นของปัตตานีในอดีต แต่จากประสบการณ์ของผู้เขียนที่ได้เฝ้าติดตามอ่านงานเขียนของฝ่ายขบวนการฯเหล่านี้มาตลอด ไม่เคยเห็นฝ่ายนั้นนำเอาหลักฐานทางวิชาการมาอ้างอิงประกอบได้ว่า 4 อำเภอของสงขลา เคยเป็นของปัตตานีแต่อย่างใด
งานเขียนพวกนี้เป็นการโฆษณาชวนเชื่อที่ผลิตขึ้นมาตามหลักปฏิบัติการข่าวสาร (Information Operation – IO) อย่างเร่งรีบและฉาบฉวย เพื่อนำมาสร้างความชอบธรรมในการแบ่งแยกดินแดนด้วยการเอา 4 อำเภอของสงขลาไปรวมกับ 3 จังหวัดชายแดนใต้ (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส) แต่กระนั้น ผู้เขียนเองก็รู้สึกว่าเป็นที่น่าเสียใจอยู่มากที่บางครั้งฝ่ายรัฐของไทยกลับไม่เคยเฉลียวใจเรื่องนี้มาก่อน แม้แต่งานวิชาการบางชิ้นของฝ่ายรัฐเอง (หรือที่รับเงินอุดหนุนงบประมาณอันมีที่มาจากภาษีประชาชนคนไทย) ในยุคหลัง ๆ กลับยอมรับว่า 4 อำเภอของสงขลาเคยเป็นของปัตตานี ด้วยการ ‘อ้าง’ ต่อ ๆ กันมาอย่างไม่ลืมหูลืมตา และกว่าที่ฝ่ายรัฐกว่าจะรู้ตัวว่าโดน ‘ต้ม’ จาก IO ของฝ่ายขบวนการฯ ก็กินเวลานานเป็นปี ๆ จนเกือบสายเกินแก้ไปแล้ว
แต่เดิมนั้น ผู้เขียนได้วางทฤษฎีเอาไว้ว่า เนื่องจากคนดั้งเดิมในพื้นที่แถบจะนะ-เทพาเป็นคนมุสลิม และมักมีนามสกุลที่คล้ายคลึงกันกับทางสงขลา-พัทลุง-นครศรีธรรมราช และสตูล ซึ่งพื้นเพคนไทยมุสลิมเหล่านี้ในอดีตคือลูกหลานของชาวมลายูจากรัฐไทรบุรี หรือเคดาห์ (Kedah) ที่อพยพ หรือถูกเทครัวมาแต่ครั้งโบราณ ร่วมกับชาวมลายูซิงฆูราหรือสงขลา ซึ่งในอดีตก็จัดเป็นรัฐมลายูอีกรัฐหนึ่งที่กินอาณาเขตมาตั้งแต่สงขลาและพัทลุง ดังนั้น ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์และมุมมองด้านมานุษยวิทยา คนไทยมุสลิมเชื้อสายมลายูในบริเวณคาบสมุทรสงขลาล้วนแล้วแต่มีความใกล้ชิดกับไทรบุรีและสงขลา มากกว่าที่จะเป็นปัตตานีและกลันตัน (ตานิง-กลาแต) ที่อยู่ทางตอนใต้ถัดลงไปไกลกว่าเดิมเสียอีก
นอกจากนี้หากพิจารณาจากข้อมูลด้านภาษาศาสตร์ ยังเป็นที่ประจักษ์ชัดว่าสำเนียงของคนไทยมุสลิม ‘ดั้งเดิม’ (คำว่าดั้งเดิมนี้ หมายถึงคนเดิม ๆ ที่ไม่ได้เพิ่งอพยพมาในยุคหลัง ๆ ) โดยมากแล้วมีความใกล้เคียงกับสำเนียงของชาวไทรบุรีมาก โดยเฉพาะบริเวณที่อยู่ติดกับรัฐไทรบุรี เช่น อำเภอนาทวี ซึ่งยังคงมีหมู่บ้านมุสลิมที่พูดภาษามลายูสำเนียงไทรบุรีได้
ยิ่งไปกว่านั้น สำหรับคนมุสลิมที่พูดมลายูไม่ได้แล้ว ก็มักพูดภาษาไทยถิ่นปักษ์ใต้แทน เช่น สำเนียงสะกอม ที่มักใช้พูดกันแถบอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา รวมไปถึงสำเนียงย่อยแบบเทพาและนาทวี ที่มักจะมีศัพท์แสงมลายูดั้งเดิมผสมอยู่ อาทิ มาหยัง (ละหมาด) บัง (พี่ชาย) ปะ (พ่อ) มะ (แม่) คำเหล่านี้ใช้กันอย่างแพร่หลายในหมู่ชาวไทยมุสลิมบริเวณ 4 อำเภอ ซึ่งก็ไปตรงกันกับสำเนียงมลายูไทรบุรีเป็นอย่างมาก
ส่วนสำเนียงปัตตานีที่ใช้พูดกันในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้บางส่วน (พื้นที่ยกเว้น เช่น โคกโพธิ์และเบตง) กลับมีสำเนียงที่แตกต่างออกไป คือ มาแย (ละหมาด) แบ (พี่ชาย) เปาะ (พ่อ) เมาะ (แม่) ดังนั้นจะเห็นได้ว่าเพียงแค่ด้านภาษาศาสตร์ก็ประจักษ์ชัดอยู่ในตัวแล้วว่า คนมุสลิมใน 4 อำเภอของสงขลา ‘ดั้งเดิม’ ส่วนมากแล้วไม่ได้มีอะไรเกี่ยวข้องกับปัตตานีเลย และการกล่าวอ้างที่ผ่านมาจึงเป็น IO ของฝ่ายขบวนการฯแทบทั้งสิ้น
อย่างไรก็ดี ไม่นานมานี้ผู้เขียนได้พบหลักฐานชิ้นสำคัญของทางราชการไทยในสมัยคณะราษฎรชิ้นหนึ่งโดยบังเอิญ ซึ่งเป็นหลักฐานที่ช่วยยืนยันได้เป็นอย่างดีว่า วาทกรรมและคำโกหกของ IO ฝ่ายขบวนการแบ่งแยกดินแดนที่ทำออกมาตลอด 20 ปีที่ผ่านมานี้ ที่กล่าวอ้างว่าพื้นที่จะนะและเทพาของสงขลาเคยเป็นส่วนหนึ่งของปัตตานี ล้วนเป็น ‘ความเท็จ’ ที่เสกสรรปั้นแต่งขึ้นมาจากจิตนาการของขบวนการแบ่งแยกดินแดนทั้งสิ้น
หลักฐานชิ้นนั้น คือ วารสาร ‘ข่าวมหาดไทย’ ฉบับปีที่ 1 เล่มที่ 4 ตุลาคม 2486 จัดทำโดยกระทรวงมหาดไทยของประเทศไทย วารสารนี้เป็นแหล่งรวมข้อมูลวิชาการ ความรู้ ข้อกฎหมาย ตลอดจนความเห็นต่าง ๆ ในการบริหารราชการแผ่นดินที่เกี่ยวข้องกับกิจการความมั่นคงภายในของชาติ โดยจะมีทั้งผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนข้าราชการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเข้ามาให้ความรู้แก่ผู้อ่าน โดยมากแล้วน่าจะเป็นข้าราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทย วารสารนี้เขียนด้วยภาษาไทยยุคปฏิวัติภาษาตลอดทั้งฉบับ โดยในบทความนี้ผู้เขียนจะยกข้อความตัวสะกดดั้งเดิมจากวารสาร ก่อน แล้วจึงแปลเป็นภาษาไทยมาตรฐานอีกครั้งหนึ่ง
ในห้วงเวลาที่วารสารฉบับนี้ออกมา เป็นช่วงที่ประเทศไทยภายใต้การนำของจอมพล ป. พิบูลสงคราม กำลังดำเนินการบริหารจัดการ 4 รัฐมาลัย (มาเลย์) ที่แต่เดิมรัชกาลที่ 5 ได้ทรงมอบให้อังกฤษเมื่อ พ.ศ. 2452 ตามสนธิสัญญาแกงโกล-สยาม 1909 โดยไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และปะลิส ได้ถูกยกให้อังกฤษเข้าปกครองในฐานะรัฐมลายูในอารักขาของอังกฤษ แต่ภายหลังที่ญี่ปุ่นบุกมลายาและได้ขับไล่กองทัพอังกฤษออกไป ญี่ปุ่นได้มอบดินแดน 4 รัฐนี้คืนแก่ไทย รวมกับอีก 2 รัฐไทยเดิมทางเหนือ คือเชียงตุงและเมืองพาน ซึ่งไทยได้รับรัฐเหล่านี้เข้ามาโดยเปลี่ยนแปลงลดสถานะลงจาก ‘รัฐ’ เหลือเพียง ‘จังหวัด’ แทน
ทั้งนี้เพื่อให้ข้าราชการ (ข้าหลวง) ที่รัฐบาลกรุงเทพฯ ส่งไปยัง 4 จังหวัดใหม่นี้ได้ทราบถึงภูมิหลังของพื้นที่ที่ตนจะเข้าไปปกครอง กระทรวงมหาดไทยจึงได้เรียบเรียงข้อมูลของ 4 จังหวัดใหม่นี้ขึ้น โดยมีนายจรูญพันธ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา (อดีตข้าราชการมหาดไทยและกระทรวงการต่างประเทศ ภายหลังได้ดำรงตำแหน่งเป็นองคมนตรีในสมัยรัชกาลที่ 9) เป็นผู้จัดทำเนื้อหาดังกล่าวขึ้นในหัวข้อ ‘เรื่องดินแดน 4 จังหวัดไนมาลัยภาคเหนือที่รวมเข้าเปนอานาจักรไทย’ ซึ่งนายจรูญพันธ์ได้ให้เหตุผลในการเรียบเรียงข้อมูลขึ้นมาว่า เพื่อเป็นการกล่าวถึงความเป็นมา สภาพความเป็นอยู่ การบริหารการปกครองของพื้นที่เหล่านี้ในสมัยที่อังกฤษยังปกครอง และเขาได้กล่าวไว้ด้วยว่าหลังจากที่ต้องเสียดินแดนไปกว่า 34 ปี ตอนนี้ไทยได้ดินแดนเหล่านี้กลับคืนมาแล้ว
เนื้อหาส่วนใหญ่เกี่ยวกับเรื่องความเป็นอยู่และการบริหารทั่วไปในสมัยที่อังกฤษปกครอง โดยไล่มาตั้งแต่ ไซบุรี (ไทรบุรี) ปลิส (ปะลิส) กลันตัน และ ตรังกานู แต่กรณีที่ผู้เขียนสนใจเป็นพิเศษ คือ การอ้างอิงถึงในหน้าที่ 615 ว่า ตามประวัติศาสตร์ของไทรบุรีแล้ว
“…ถานะของไซบุรีนั้น ต้องสุดแต่บุคลิกลักสนะของสุลต่าน ซึ่งเปนผู้ปกครอง กล่าวคือ ไนสมัยไดการปกครองของสุลต่านเข้มแข็ง ก็ขยายอานาเขตได้กว้างขวางซึ่งนอกจากเคยมีปลิสและสตูลหยู่ไนอาณาเขตแล้ว ยังมีปีนัง ดินแดนไนเวลเวสเลย์ และบางส่วนของจังหวัดสงขลาตอนอำเพอเทพาและจะนะเปนเขตแดนด้วย…” แปลได้ว่า (ฐานะของไทรบุรีนั้น ต้องสุดแต่บุคลิกและลักษณะของสุลต่านซึ่งเป็นผู้ปกครอง กล่าวคือ ในสมัยใดการปกครองของสุลต่านเข้มแข็ง ก็ขยายอาณาเขตได้กว้างขวาง ซึ่งนอกจากเคยมีปะลิสและสตูลอยู่ในอาณาเขตแล้ว ยังมีปีนัง ดินแดนในเวลเวสเลย์ และบางส่วนของจังหวัดสงขลาตอนอำเภอเทพาและจะนะเป็นเขตแดนด้วย)
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า เอกสารที่จัดทำโดยทางราชการไทยในสมัยเก่า ได้ระบุชัดเจนว่าบางส่วนของสงขลา คือ จะนะ-เทพา (ก่อนที่จะมี 2 พื้นที่แยกออกมาเป็นสะบ้าย้อยและนาทวีในช่วง พ.ศ.2499) เคยเป็นส่วนหนึ่งของเมืองไทรบุรีในสมัยโบราณ ซึ่งก็ตรงกับทฤษฎีของผู้เขียนและรวมถึงหลักฐานทางมานุษวิทยา ส่วนคำกล่าวอ้างที่ว่าเป็นส่วนหนึ่งของปัตตานีนั้น จึงเป็นการกล่าวเท็จขึ้นลอย ๆ โดยไม่มีมูลหลักฐานความจริงแต่อย่างใด และสมควรที่จะต้องถูกตัดออกไปจากการรับรู้ทางวิชาการได้แล้วเสียที
อ้างอิง :
[1] ‘ข่าวมหาดไทย’ ฉบับปีที่ 1 เล่มที่ 4 ตุลาคม 2486
https://www.luehistory.com/
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ชี้ชัด “จะนะ-เทพา” ไม่เคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรปัตตานี (ปตานี)
ช่วงเวลาที่ผ่านมาผู้เขียนเคยเขียนบทความเอาไว้หลายชิ้นเกี่ยวกับเรื่องอำเภอของจังหวัดสงขลา อันได้แก่ จะนะ เทพา สะบ้าย้อย และนาทวี โดยได้กล่าวเอาว่าทั้ง 4 อำเภอนี้ไม่เคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรปัตตานี (ปตานี) ตามที่งานวิชาการต่างๆ พยายามเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จเกี่ยวกับเรื่องนี้มาโดยตลอด
ไม่ว่าจะเป็นงานเขียนของฝ่ายขบวนการแบ่งแยกดินแดน ที่มักจะ ‘เคลม’ หรือ ‘แอบอ้าง’ มาโดยตลอดว่าพื้นที่ 4 อำเภอของสงขลานี้เคยเป็นของปัตตานีในอดีต แต่จากประสบการณ์ของผู้เขียนที่ได้เฝ้าติดตามอ่านงานเขียนของฝ่ายขบวนการฯเหล่านี้มาตลอด ไม่เคยเห็นฝ่ายนั้นนำเอาหลักฐานทางวิชาการมาอ้างอิงประกอบได้ว่า 4 อำเภอของสงขลา เคยเป็นของปัตตานีแต่อย่างใด
งานเขียนพวกนี้เป็นการโฆษณาชวนเชื่อที่ผลิตขึ้นมาตามหลักปฏิบัติการข่าวสาร (Information Operation – IO) อย่างเร่งรีบและฉาบฉวย เพื่อนำมาสร้างความชอบธรรมในการแบ่งแยกดินแดนด้วยการเอา 4 อำเภอของสงขลาไปรวมกับ 3 จังหวัดชายแดนใต้ (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส) แต่กระนั้น ผู้เขียนเองก็รู้สึกว่าเป็นที่น่าเสียใจอยู่มากที่บางครั้งฝ่ายรัฐของไทยกลับไม่เคยเฉลียวใจเรื่องนี้มาก่อน แม้แต่งานวิชาการบางชิ้นของฝ่ายรัฐเอง (หรือที่รับเงินอุดหนุนงบประมาณอันมีที่มาจากภาษีประชาชนคนไทย) ในยุคหลัง ๆ กลับยอมรับว่า 4 อำเภอของสงขลาเคยเป็นของปัตตานี ด้วยการ ‘อ้าง’ ต่อ ๆ กันมาอย่างไม่ลืมหูลืมตา และกว่าที่ฝ่ายรัฐกว่าจะรู้ตัวว่าโดน ‘ต้ม’ จาก IO ของฝ่ายขบวนการฯ ก็กินเวลานานเป็นปี ๆ จนเกือบสายเกินแก้ไปแล้ว
แต่เดิมนั้น ผู้เขียนได้วางทฤษฎีเอาไว้ว่า เนื่องจากคนดั้งเดิมในพื้นที่แถบจะนะ-เทพาเป็นคนมุสลิม และมักมีนามสกุลที่คล้ายคลึงกันกับทางสงขลา-พัทลุง-นครศรีธรรมราช และสตูล ซึ่งพื้นเพคนไทยมุสลิมเหล่านี้ในอดีตคือลูกหลานของชาวมลายูจากรัฐไทรบุรี หรือเคดาห์ (Kedah) ที่อพยพ หรือถูกเทครัวมาแต่ครั้งโบราณ ร่วมกับชาวมลายูซิงฆูราหรือสงขลา ซึ่งในอดีตก็จัดเป็นรัฐมลายูอีกรัฐหนึ่งที่กินอาณาเขตมาตั้งแต่สงขลาและพัทลุง ดังนั้น ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์และมุมมองด้านมานุษยวิทยา คนไทยมุสลิมเชื้อสายมลายูในบริเวณคาบสมุทรสงขลาล้วนแล้วแต่มีความใกล้ชิดกับไทรบุรีและสงขลา มากกว่าที่จะเป็นปัตตานีและกลันตัน (ตานิง-กลาแต) ที่อยู่ทางตอนใต้ถัดลงไปไกลกว่าเดิมเสียอีก
นอกจากนี้หากพิจารณาจากข้อมูลด้านภาษาศาสตร์ ยังเป็นที่ประจักษ์ชัดว่าสำเนียงของคนไทยมุสลิม ‘ดั้งเดิม’ (คำว่าดั้งเดิมนี้ หมายถึงคนเดิม ๆ ที่ไม่ได้เพิ่งอพยพมาในยุคหลัง ๆ ) โดยมากแล้วมีความใกล้เคียงกับสำเนียงของชาวไทรบุรีมาก โดยเฉพาะบริเวณที่อยู่ติดกับรัฐไทรบุรี เช่น อำเภอนาทวี ซึ่งยังคงมีหมู่บ้านมุสลิมที่พูดภาษามลายูสำเนียงไทรบุรีได้
ยิ่งไปกว่านั้น สำหรับคนมุสลิมที่พูดมลายูไม่ได้แล้ว ก็มักพูดภาษาไทยถิ่นปักษ์ใต้แทน เช่น สำเนียงสะกอม ที่มักใช้พูดกันแถบอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา รวมไปถึงสำเนียงย่อยแบบเทพาและนาทวี ที่มักจะมีศัพท์แสงมลายูดั้งเดิมผสมอยู่ อาทิ มาหยัง (ละหมาด) บัง (พี่ชาย) ปะ (พ่อ) มะ (แม่) คำเหล่านี้ใช้กันอย่างแพร่หลายในหมู่ชาวไทยมุสลิมบริเวณ 4 อำเภอ ซึ่งก็ไปตรงกันกับสำเนียงมลายูไทรบุรีเป็นอย่างมาก
ส่วนสำเนียงปัตตานีที่ใช้พูดกันในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้บางส่วน (พื้นที่ยกเว้น เช่น โคกโพธิ์และเบตง) กลับมีสำเนียงที่แตกต่างออกไป คือ มาแย (ละหมาด) แบ (พี่ชาย) เปาะ (พ่อ) เมาะ (แม่) ดังนั้นจะเห็นได้ว่าเพียงแค่ด้านภาษาศาสตร์ก็ประจักษ์ชัดอยู่ในตัวแล้วว่า คนมุสลิมใน 4 อำเภอของสงขลา ‘ดั้งเดิม’ ส่วนมากแล้วไม่ได้มีอะไรเกี่ยวข้องกับปัตตานีเลย และการกล่าวอ้างที่ผ่านมาจึงเป็น IO ของฝ่ายขบวนการฯแทบทั้งสิ้น
อย่างไรก็ดี ไม่นานมานี้ผู้เขียนได้พบหลักฐานชิ้นสำคัญของทางราชการไทยในสมัยคณะราษฎรชิ้นหนึ่งโดยบังเอิญ ซึ่งเป็นหลักฐานที่ช่วยยืนยันได้เป็นอย่างดีว่า วาทกรรมและคำโกหกของ IO ฝ่ายขบวนการแบ่งแยกดินแดนที่ทำออกมาตลอด 20 ปีที่ผ่านมานี้ ที่กล่าวอ้างว่าพื้นที่จะนะและเทพาของสงขลาเคยเป็นส่วนหนึ่งของปัตตานี ล้วนเป็น ‘ความเท็จ’ ที่เสกสรรปั้นแต่งขึ้นมาจากจิตนาการของขบวนการแบ่งแยกดินแดนทั้งสิ้น
หลักฐานชิ้นนั้น คือ วารสาร ‘ข่าวมหาดไทย’ ฉบับปีที่ 1 เล่มที่ 4 ตุลาคม 2486 จัดทำโดยกระทรวงมหาดไทยของประเทศไทย วารสารนี้เป็นแหล่งรวมข้อมูลวิชาการ ความรู้ ข้อกฎหมาย ตลอดจนความเห็นต่าง ๆ ในการบริหารราชการแผ่นดินที่เกี่ยวข้องกับกิจการความมั่นคงภายในของชาติ โดยจะมีทั้งผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนข้าราชการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเข้ามาให้ความรู้แก่ผู้อ่าน โดยมากแล้วน่าจะเป็นข้าราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทย วารสารนี้เขียนด้วยภาษาไทยยุคปฏิวัติภาษาตลอดทั้งฉบับ โดยในบทความนี้ผู้เขียนจะยกข้อความตัวสะกดดั้งเดิมจากวารสาร ก่อน แล้วจึงแปลเป็นภาษาไทยมาตรฐานอีกครั้งหนึ่ง
ในห้วงเวลาที่วารสารฉบับนี้ออกมา เป็นช่วงที่ประเทศไทยภายใต้การนำของจอมพล ป. พิบูลสงคราม กำลังดำเนินการบริหารจัดการ 4 รัฐมาลัย (มาเลย์) ที่แต่เดิมรัชกาลที่ 5 ได้ทรงมอบให้อังกฤษเมื่อ พ.ศ. 2452 ตามสนธิสัญญาแกงโกล-สยาม 1909 โดยไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และปะลิส ได้ถูกยกให้อังกฤษเข้าปกครองในฐานะรัฐมลายูในอารักขาของอังกฤษ แต่ภายหลังที่ญี่ปุ่นบุกมลายาและได้ขับไล่กองทัพอังกฤษออกไป ญี่ปุ่นได้มอบดินแดน 4 รัฐนี้คืนแก่ไทย รวมกับอีก 2 รัฐไทยเดิมทางเหนือ คือเชียงตุงและเมืองพาน ซึ่งไทยได้รับรัฐเหล่านี้เข้ามาโดยเปลี่ยนแปลงลดสถานะลงจาก ‘รัฐ’ เหลือเพียง ‘จังหวัด’ แทน
ทั้งนี้เพื่อให้ข้าราชการ (ข้าหลวง) ที่รัฐบาลกรุงเทพฯ ส่งไปยัง 4 จังหวัดใหม่นี้ได้ทราบถึงภูมิหลังของพื้นที่ที่ตนจะเข้าไปปกครอง กระทรวงมหาดไทยจึงได้เรียบเรียงข้อมูลของ 4 จังหวัดใหม่นี้ขึ้น โดยมีนายจรูญพันธ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา (อดีตข้าราชการมหาดไทยและกระทรวงการต่างประเทศ ภายหลังได้ดำรงตำแหน่งเป็นองคมนตรีในสมัยรัชกาลที่ 9) เป็นผู้จัดทำเนื้อหาดังกล่าวขึ้นในหัวข้อ ‘เรื่องดินแดน 4 จังหวัดไนมาลัยภาคเหนือที่รวมเข้าเปนอานาจักรไทย’ ซึ่งนายจรูญพันธ์ได้ให้เหตุผลในการเรียบเรียงข้อมูลขึ้นมาว่า เพื่อเป็นการกล่าวถึงความเป็นมา สภาพความเป็นอยู่ การบริหารการปกครองของพื้นที่เหล่านี้ในสมัยที่อังกฤษยังปกครอง และเขาได้กล่าวไว้ด้วยว่าหลังจากที่ต้องเสียดินแดนไปกว่า 34 ปี ตอนนี้ไทยได้ดินแดนเหล่านี้กลับคืนมาแล้ว
เนื้อหาส่วนใหญ่เกี่ยวกับเรื่องความเป็นอยู่และการบริหารทั่วไปในสมัยที่อังกฤษปกครอง โดยไล่มาตั้งแต่ ไซบุรี (ไทรบุรี) ปลิส (ปะลิส) กลันตัน และ ตรังกานู แต่กรณีที่ผู้เขียนสนใจเป็นพิเศษ คือ การอ้างอิงถึงในหน้าที่ 615 ว่า ตามประวัติศาสตร์ของไทรบุรีแล้ว
“…ถานะของไซบุรีนั้น ต้องสุดแต่บุคลิกลักสนะของสุลต่าน ซึ่งเปนผู้ปกครอง กล่าวคือ ไนสมัยไดการปกครองของสุลต่านเข้มแข็ง ก็ขยายอานาเขตได้กว้างขวางซึ่งนอกจากเคยมีปลิสและสตูลหยู่ไนอาณาเขตแล้ว ยังมีปีนัง ดินแดนไนเวลเวสเลย์ และบางส่วนของจังหวัดสงขลาตอนอำเพอเทพาและจะนะเปนเขตแดนด้วย…” แปลได้ว่า (ฐานะของไทรบุรีนั้น ต้องสุดแต่บุคลิกและลักษณะของสุลต่านซึ่งเป็นผู้ปกครอง กล่าวคือ ในสมัยใดการปกครองของสุลต่านเข้มแข็ง ก็ขยายอาณาเขตได้กว้างขวาง ซึ่งนอกจากเคยมีปะลิสและสตูลอยู่ในอาณาเขตแล้ว ยังมีปีนัง ดินแดนในเวลเวสเลย์ และบางส่วนของจังหวัดสงขลาตอนอำเภอเทพาและจะนะเป็นเขตแดนด้วย)
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า เอกสารที่จัดทำโดยทางราชการไทยในสมัยเก่า ได้ระบุชัดเจนว่าบางส่วนของสงขลา คือ จะนะ-เทพา (ก่อนที่จะมี 2 พื้นที่แยกออกมาเป็นสะบ้าย้อยและนาทวีในช่วง พ.ศ.2499) เคยเป็นส่วนหนึ่งของเมืองไทรบุรีในสมัยโบราณ ซึ่งก็ตรงกับทฤษฎีของผู้เขียนและรวมถึงหลักฐานทางมานุษวิทยา ส่วนคำกล่าวอ้างที่ว่าเป็นส่วนหนึ่งของปัตตานีนั้น จึงเป็นการกล่าวเท็จขึ้นลอย ๆ โดยไม่มีมูลหลักฐานความจริงแต่อย่างใด และสมควรที่จะต้องถูกตัดออกไปจากการรับรู้ทางวิชาการได้แล้วเสียที
อ้างอิง :
[1] ‘ข่าวมหาดไทย’ ฉบับปีที่ 1 เล่มที่ 4 ตุลาคม 2486
https://www.luehistory.com/