เศรษฐกิจนอกระบบไทยสูงมาก 40%+ ของ GDP เพื่อไทยจะสามารถดึงเศรษฐกิจเหล่านี้เข้าระบบได้ไหม?

อย่างที่ทุกท่านทราบกันดี ประเทศไทยมีเศรษฐกิจนอกระบบที่สูงมาก ข้อมูลจาก
https://www.worldeconomics.com/National-Statistics/Informal-Economy/Thailand.aspx

ระบุว่าไทยมี Informal Sector สูงถึง 46.2% ของ GDP ในขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วอย่างญี่ปุ่น สหรัฐ อังกฤษ สิงคโปร์ จะอยู่ที่ประมาณไม่เกิน 15% ของ GDP ส่วนประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆที่สามารถจัดเก็บเศรษฐกิจนอกระบบเข้าระบบได้ดีในภูมิภาคนี้ก็จะมี:

เวียดนาม : 20.5% ของ GDP
(ซึ่งน้อยกว่า อิสราเอล ไต้หวัน อิตาลี สโลวีเนีย และสเปน!!!)
อินโดนีเซีย : 22.7% ของ GDP
มาเลเซีย : 25.3% ของ  GDP

นี่ถ้าหากว่าเราสามารถเก็บเศรษฐกิจนอกระบบเข้าสู่ระบบได้ทั้งหมดแล้วละก็

"The size of Thailand's informal economy is estimated to be 46.2% which represents approximatly $848 billion at GDP PPP levels."

เราจะมี GDP (PPP) สูงถึง $848 Billion ซึ่งจะมากกว่าประเทศในยุโรปบางประเทศเสียอีก และถ้านำมาเฉลี่ยเป็น GDP ต่อหัวเราจะทะลุ $10k+ ได้สบายๆ

สิ่งที่สรรพากรและรัฐบาลอื่นเริ่มทำไปแล้วก็คือ:

-มีการจัดตั้งกองสำรวจและติดตามเศรษฐกิจนอกระบบ ซึ่งสามารถดึงนักธุรกิจออนไลน์เข้าสู่ระบบได้แล้วจำนวนหนึ่ง

-มีการนำระบบ digital payments มาใช้อย่างแพร่หลาย ซึ่งข้อมูลจาก https://www.insiderintelligence.com/charts/real-time-payment-transactions-by-country/
ในปี 2021 ระบุว่าไทยมีจำนวน digital transactions สูงเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากอินเดีย จีน ซึ่งเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรสูงที่สุดในโลก

-มีการนำโครงการต่างๆอย่างคนละครึ่ง เป๋าตัง promptpay เพื่อให้คนใช้จ่ายผ่านดิจิตัลมากขึ้น

-มีการติดตั้งเครือข่าย 5G ที่ครอบคลุมทั่วประเทศเป็นอย่างมาก

-ข้อมูลอื่นๆที่น่าสนใจ:

"ร้อยละของแรงงานในและนอกระบบ จำแนกตาม กิจกรรมทางเศรษฐกิจ พ.ศ. 2565 ในปี 2565 แรงงานนอกระบบมีจำนวนมากกว่า แรงงานในระบบประมาณ 8.0 แสนคน จากผู้มีงานทำ ทั้งสิ้น 39.6 ล้านคน เป็นแรงงานนอกระบบ 20.2 ล้านคน (ร้อยละ 51.0) และเป็นแรงงานในระบบ 19.4 ล้านคน (ร้อยละ 49.0) โดยแรงงานนอกระบบเพศชายมีจำนวน มากกว่าเพศหญิง"

แรงงานนอกระบบมีถึงครึ่งนึง!!!

ที่มา : nso.go.th


รัฐบาลใหม่ซึ่งนำโดยเพื่อไทย จะสามารถนำเศรษฐกิจนอกระบบและแรงงานนอกระบบนี้เข้าสู่ระบบได้หรือไม่ ผ่านนโยบาย Digital currency?
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่