JJNY : #ชำแหละแบรนด์พรรคการเมือง│‘ฟูอาดี้’ ถาม ‘ทักษิณ’│สภาพัฒน์หั่นจีดีพีโตลดลง│“เบอร์เกอร์คิง”งดใส่มะเขือเทศที่อินเดีย

รายการมีเรื่องมาเคลียร์ by ศิโรตม์ EP14 #ชำแหละแบรนด์พรรคการเมือง2566 กลางวิกฤต
https://www.matichon.co.th/clips/news_4138532
 
รายการ มีเรื่องมาเคลียร์ by ศิโรตม์ อาทิตย์ 20 สิงหาคม 2566 #ชำแหละแบรนด์พรรคการเมือง2566 ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ คุยกับ ประกิต กอบกิจวัฒนา ครีเอทีฟโฆษณา ผู้อยู่เบื้องหลังการสร้างสรรค์แบรนด์การเมือง ชมคลิป

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

‘ฟูอาดี้ พิศสุวรรณ’ ถามทำไม ‘ทักษิณ’ ยอมเอาชื่อเสียงมาเสี่ยง แลกกลับไทย จนเสียความน่าเชื่อถือ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4138743

‘ฟูอาดี้ พิศสุวรรณ’ ถามทำไม ‘ทักษิณ’ ยอมเอาชื่อเสียงมาเสี่ยง แลกกลับไทย จนเสียความน่าเชื่อถือ
 
เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ฟูอาดี้ พิศสุวรรณ ทีมงานฝ่ายต่างประเทศ พรรคก้าวไกล ลูกชายนายสุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และอดีตเลขาธิการอาเซียน โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก “Fuadi Pitsuwan” ระบุว่า

สิ่งที่ไม่เคยเข้าใจอย่างหนึ่งคือ ทำไมคุณทักษิณ ต้องประกาศวันกลับก่อนทุกครั้ง แล้วก็ยกเลิกหรือเลื่อนมาตลอด ซึ่งในมุมมองนักรัฐศาสตร์ที่เชื่อใน rational choice (ทฤษฎีการเลือกอย่างเป็นเหตุเป็นผล) ทางเลือกที่กระทำแบบนี้อยู่เรื่อยๆ มีต้นทุนด้านชื่อเสียง และความน่าเชื่อถือที่สูงมาก และทุกครั้งที่ยกเลิกหรือเลื่อนความน่าเชื่อถือตรงนี้ก็บั่นทอนลงเรื่อยๆ จนแทบไม่เหลืออะไร
 
หากมองในมุมมองคนที่ไม่มีข้อมูลเชิงลึกอะไร… คิดว่าผลประโยชน์ที่ได้รับจากการประกาศแล้วเลื่อน มันไม่คุ้มค่ากับต้นทุนที่เสียไปเลย คุณทักษิณมีทางเลือกอีกหลายทาง เช่น… เตรียมการแบบเงียบๆ บอกให้คนที่ต้องรู้ได้ทราบ แล้วก็กลับมาเลยโดยไม่ต้องป่าวประกาศ จะมีข่าวลือหรือข้อมูลรั่วไหลก็ปล่อยไป หรือว่าจะไม่ต้องเตรียม ไม่บอกใคร แล้วโผล่มาเลยก็ได้ (มีต้นทุนอื่นๆ) แต่ก็ไม่เลือกทางนั้น หรือว่าการประกาศสาธารณะแบบดังๆ เป็นการโยนหินถามทาง ส่ง signal ไปให้คน หรือกลุ่มที่มี veto power มีโอกาสได้ veto โดยไม่ต้องสื่อสารโดยตรง หรือเป็นเหตุผลด้านการดึงความสนใจ ส่องสปอตไลต์มาที่ตัวเอง เพื่อความปลอดภัย หรือเพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองระยะสั้น?
 
คิดว่ามันต้องมีแนวคิด หรือข้อมูลอะไรมากกว่าที่เห็นได้ในที่สาธารณะที่ทำให้คุณทักษิณยอมเอาต้นทุนด้านชื่อเสียง และความน่าเชื่อถือ (reputation & credibility costs) มาเสี่ยง และแลกทุกครั้งไป…จนตอนนี้เหลือต้นทุนให้ใช้น้อยเต็มที ฉะนั้นมันมีผลประโยชน์ (gain) อะไรแน่ๆ ถึงใช้วิธีนี้อยู่เรื่อยๆ คำถามคือสิ่งนั้นคืออะไร คิดว่าหลายคนก็มีคำถามนี้ในใจอยู่เหมือนกัน

https://www.facebook.com/fuadi.pitsuwan/posts/10104340867513515


 
สภาพัฒน์หั่นจีดีพีปี’66 โตลดลง หลังไตรมาส 2 ออกมาต่ำกว่าคาด
https://www.prachachat.net/finance/news-1374700

สภาพัฒน์หั่นจีดีพีปี 2566 โตลดลง เหลือ 2.5-3% หลังไตรมาส 2 ออกมาต่ำกว่าคาด เหลือโตแค่ 1.8% ปรับเป้ารายรับนักท่องเที่ยวเหลือ 1.03 ล้านล้านบาท
 
วันที่ 21 สิงหาคม 2566 นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยช่วงไตรมาส 2/2566 มีอัตราการเติบโต 1.8% ค่อนข้างต่ำกว่าคาดการณ์ จากสาเหตุภาคส่งออกติดลบ 5.7% ซึ่งเป็นการหดตัว 3 ไตรมาสติดต่อกัน และการผลิตภาคอุตสาหกรรม ติดลบ 3.3% รวมถึงการอุปโภคบริโภคของภาครัฐ ติดลบ 4.3% โดยครึ่งปีแรกจีดีพีไทยเติบโต 2.2% หลัก ๆ มาจากรายได้ภาคท่องเที่ยว

ทั้งนี้ได้ปรับลดดคาดการณ์การเติบโต GDP ปีนี้ จากเดิมเติบโตระหว่าง 2.7-3.7% เหลือแค่ 2.5-3% โดยคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยว 28 ล้านราย ยังมีลุ้นช่วงไตรมาส 4 ที่เป็นช่วงพีกซีซั่น คาดมีรายรับอยู่ที่ 1.03 ล้านล้านบาท ซึ่งปรับลดลงจากเป้าหมายเดิมที่ 1.27 ล้านล้านบาท สืบเนื่องจากค่าหัวต่อทริปของนักท่องเที่ยวยังไม่สูงมาก หรือแค่ระดับ 37,000 บาท
 
ขณะที่คาดการณ์เศรษฐกิจโลกปีนี้เติบโต 2.8% เป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยเศรษฐกิจสหรัฐ เติบโต 1.2% เศรษฐกิจยุโรป เติบโต 0.8% และเศรษฐกิจจีน เติบโต 4.9%
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่