พระศิวะ คือผู้เป็นเจ้า มีอำนาจในการทำลายทุกสรรพสิ่ง หยั่งรู้ถึงจิตใต้สำนึกของมนุษย์ทุกคน เป็นผู้ประสานพลังแห่งจักรวาล เป็นที่เกรงกลัวแก่อสูรและสิ่งชั่วร้าย เป็นผู้อยู่เหนือเหล่าโยคี เทพเทวา และภูติ พระองค์คือเทพแห่งการถือพรต และเป็นเป้าหมายอันสูงสุดแห่งการปฏิบัติธรรมของไศวะนิกาย
พระศิวะ ทรงให้การคุ้มครองแก่ผู้ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ผู้อุทิศตนเพื่อสังคม ผู้ที่หมั่นทำบุญทำทาน ผู้ที่ปฏิบัติโยคะเพื่อความหลุดพ้น ทรงพอพระทัยผู้บำเพ็ญตบะด้วยความพากเพียร พระองค์ทรงพาเหล่าสรรพสัตว์ข้ามไปสู่ภพที่ปราศจากซึ่งกิเลสตัณหา
การปฏิบัติการบูชาและตั้งจิตระลึกถึงพระศิวะ จะช่วยให้พ้นจากกิเลส พ้นจากการยึดติดในอบายมุข สิ่งมัวเมาทั้งหมด ทรงประทานสติปัญญาในการดำรงชีวิตร่วมกับสัตว์โลก ประทานอำนาจเหนือศัตรู ทรงบันดาลพรให้ประสบความสำเร็จในกิจกรรมต่างๆ ตลอดจนประทานการหยั่งรู้ในพลังลึกลับ พระองค์มีอำนาจสูงสุดในการควบคุมเหล่าภูติให้กระทำสิ่งต่างๆ เพื่อช่วยเหลือผู้บูชาพระองค์อย่างเคร่งครัด
การบูชาพระศิวะ
โต๊ะ หรือแท่นบูชา สามารถประดิษฐานร่วมกับเทพองค์อื่นๆได้ เช่น พระพรหม พระวิษณุ ศิวลึงค์ หรือครอบครัวของพระองค์ คือ พระแม่อุมา พระแม่กาลี พระแม่ทุรคา พระพิฆเนศ พระขันทกุมาร
ควรปูโต๊ะหรือแท่นบูชาด้วย ผ้าสีขาว สีแดง สีเงิน โดยเฉพาะ ผ้าพิมพ์ลายหนังเสือ (หนังเสือเทียม) ท่านจะโปรดมาก แท่นหรือโต๊ะควรเป็นลายไม้ธรรมชาติ หรือทาสีด้วย สีดำสนิท สีแดง สีเงิน โดยไม่มีลายสีทอง (พระองค์ไม่โปรดสัญลักษณ์ที่สื่อถึงทองคำ เนื่องจากพระองค์ปฏิบัติโยคะอย่างสูงสุด มีความสมถะ เรียบง่าย)
เครื่องสังเวย ของถวาย
น้ำดื่ม นมสด (จืดหรือหวาน ไม่ปรุงแต่งกลิ่นหรือสี)
ดอกไม้ สามารถใช้ดอกดาวเรือง ดอกบัว ดอกกุหลาบ ดอกไม้ป่าต่างๆ ทุกสี ทุกพันธุ์
กำยาน กลิ่นจันทน์ กลิ่นดอกบัว กลิ่นสมุนไพรและพรรณไม้ต่างๆ
ผลไม้ ควรถวายผลไม้ที่มีกลิ่นหอมโชยอ่อนๆ รสชาติอ่อนๆ ไม่เปรี้ยวจัด ไม่หวานจัด หรือขมจัดเกินไป ผลไม้ไม่ควรปอกเป็นคำๆ ควรถวายทั้งเปลือก หรือเป็นลูกๆ เช่น กล้วยทั้งหวี (แต่มะพร้าวจะต้องผ่าหรือเทใส่แก้ว)
ขนม เช่นเดียวกับเทพทุกองค์ คือ ถวายขนมรสหวาน มีกลิ่นหอม ห้ามถวายอาหารคาวและเนื้อสัตว์
ธัญพืช เช่น งา ลูกเดือย ข้าวตอก ใบมะตูม หญ้าคา เผือก มัน ถั่วฝัก เมล็ดถั่ว เมล็ดข้าว เมล็ดบัว พริกไทย เครื่องเทศต่างๆ
คาถา บทสวดมนต์บูชาพระศิวะ
โอม นะมัส ศิวายะ (สามจบ)
- บทสรรเสริญ
โอม กระปูระเคารัม กรุณาวะตารัม
สัมสาระสารัม ภุชะเคน ทระหารัม
สะทาวะสันตัม หะริทะยาระวินเท
ภะวัมภะวาณิ สะหิตัม นะมา
ขอขอบคุณ : หนังสือปาฏิหาริย์ เครื่องรางต่างแดน
เขียนโดย : จตุรวิทย์ / สำนักพิมพ์ B Plus Publishing / www.bplusbook.com
และขอบคุณเว็บไซต์
http://www.geocities.com/thaiganesh
การบูชา บทสวดมนต์ คาถาบูชาพระศิวะ
พระศิวะ ทรงให้การคุ้มครองแก่ผู้ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ผู้อุทิศตนเพื่อสังคม ผู้ที่หมั่นทำบุญทำทาน ผู้ที่ปฏิบัติโยคะเพื่อความหลุดพ้น ทรงพอพระทัยผู้บำเพ็ญตบะด้วยความพากเพียร พระองค์ทรงพาเหล่าสรรพสัตว์ข้ามไปสู่ภพที่ปราศจากซึ่งกิเลสตัณหา
การปฏิบัติการบูชาและตั้งจิตระลึกถึงพระศิวะ จะช่วยให้พ้นจากกิเลส พ้นจากการยึดติดในอบายมุข สิ่งมัวเมาทั้งหมด ทรงประทานสติปัญญาในการดำรงชีวิตร่วมกับสัตว์โลก ประทานอำนาจเหนือศัตรู ทรงบันดาลพรให้ประสบความสำเร็จในกิจกรรมต่างๆ ตลอดจนประทานการหยั่งรู้ในพลังลึกลับ พระองค์มีอำนาจสูงสุดในการควบคุมเหล่าภูติให้กระทำสิ่งต่างๆ เพื่อช่วยเหลือผู้บูชาพระองค์อย่างเคร่งครัด
การบูชาพระศิวะ
โต๊ะ หรือแท่นบูชา สามารถประดิษฐานร่วมกับเทพองค์อื่นๆได้ เช่น พระพรหม พระวิษณุ ศิวลึงค์ หรือครอบครัวของพระองค์ คือ พระแม่อุมา พระแม่กาลี พระแม่ทุรคา พระพิฆเนศ พระขันทกุมาร
ควรปูโต๊ะหรือแท่นบูชาด้วย ผ้าสีขาว สีแดง สีเงิน โดยเฉพาะ ผ้าพิมพ์ลายหนังเสือ (หนังเสือเทียม) ท่านจะโปรดมาก แท่นหรือโต๊ะควรเป็นลายไม้ธรรมชาติ หรือทาสีด้วย สีดำสนิท สีแดง สีเงิน โดยไม่มีลายสีทอง (พระองค์ไม่โปรดสัญลักษณ์ที่สื่อถึงทองคำ เนื่องจากพระองค์ปฏิบัติโยคะอย่างสูงสุด มีความสมถะ เรียบง่าย)
เครื่องสังเวย ของถวาย
น้ำดื่ม นมสด (จืดหรือหวาน ไม่ปรุงแต่งกลิ่นหรือสี)
ดอกไม้ สามารถใช้ดอกดาวเรือง ดอกบัว ดอกกุหลาบ ดอกไม้ป่าต่างๆ ทุกสี ทุกพันธุ์
กำยาน กลิ่นจันทน์ กลิ่นดอกบัว กลิ่นสมุนไพรและพรรณไม้ต่างๆ
ผลไม้ ควรถวายผลไม้ที่มีกลิ่นหอมโชยอ่อนๆ รสชาติอ่อนๆ ไม่เปรี้ยวจัด ไม่หวานจัด หรือขมจัดเกินไป ผลไม้ไม่ควรปอกเป็นคำๆ ควรถวายทั้งเปลือก หรือเป็นลูกๆ เช่น กล้วยทั้งหวี (แต่มะพร้าวจะต้องผ่าหรือเทใส่แก้ว)
ขนม เช่นเดียวกับเทพทุกองค์ คือ ถวายขนมรสหวาน มีกลิ่นหอม ห้ามถวายอาหารคาวและเนื้อสัตว์
ธัญพืช เช่น งา ลูกเดือย ข้าวตอก ใบมะตูม หญ้าคา เผือก มัน ถั่วฝัก เมล็ดถั่ว เมล็ดข้าว เมล็ดบัว พริกไทย เครื่องเทศต่างๆ
คาถา บทสวดมนต์บูชาพระศิวะ
โอม นะมัส ศิวายะ (สามจบ)
- บทสรรเสริญ
โอม กระปูระเคารัม กรุณาวะตารัม
สัมสาระสารัม ภุชะเคน ทระหารัม
สะทาวะสันตัม หะริทะยาระวินเท
ภะวัมภะวาณิ สะหิตัม นะมา
ขอขอบคุณ : หนังสือปาฏิหาริย์ เครื่องรางต่างแดน
เขียนโดย : จตุรวิทย์ / สำนักพิมพ์ B Plus Publishing / www.bplusbook.com
และขอบคุณเว็บไซต์ http://www.geocities.com/thaiganesh