JJNY : ปริญญาจี้สภา│โรมยันก้าวไกลไม่โหวต‘เศรษฐา’│โซเชียลทวงถาม#ชลน่านลาออกกี่โมง│‘เอเวอร์แกรนด์’ยื่นล้มละลายในสหรัฐ

ปริญญา จี้สภา ทบทวนมติห้ามเสนอชื่อนายกฯซ้ำ ระบุอาจกระทบแคนดิเดตเพื่อไทย
https://www.khaosod.co.th/election-2023/news_7820264
  
 
ปริญญา ชี้ศาลรัฐธรรมนูญ ไม่รับคำร้อง เสนอชื่อ พิธา ซ้ำ อาจผลกระทบแคนดิเดตนายกฯ เพื่อไทย หากโหวตไม่ผ่าน 22 ส.ค. ย้ำสภาต้องทบทวนมติ
 
วันที่ 18 ส.ค.2566 นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊กถึง ศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้อง กรณีเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีคนเดิมซ้ำไม่ได้ เป็นปัญหาอย่างไร
 
โดยระบุว่า 

เมื่อวันที่ 16 ส.ค. 2566 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง กรณีรัฐสภามีมติตีความว่าการเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญเป็น “ญัตติ” ตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา จึงเสนอชื่อเดิมซ้ำไม่ได้ โดยให้เหตุผลที่ไม่รับคำร้องว่า ผู้ร้องเรียนไม่ได้เป็นบุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพโดยตรง
ผมเห็นว่าการที่ศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้องเรื่องนี้ไว้พิจารณา มีปัญหาในทางกฎหมายดังต่อไปนี้

1.ผู้ยื่นคำร้อง หรือผู้ร้องในกรณีนี้คือ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตามพ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ มาตรา 46 แม้ศาลรัฐธรรมนูญจะมีอำนาจไม่รับคำร้องจากผู้ตรวจการแผ่นดินไว้พิจารณา แต่ต้องเป็นไปตามมาตรา 46 วรรคสาม คือ คำร้องนั้น “ไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัย”
แต่ศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้อ้างเหตุนี้ในการไม่รับคำร้อง เพราะคำร้องนี้ มีสาระอันควรได้รับการวินิจฉัย แต่ปัญหาคือ การที่ศาลรัฐธรรมนูญไม่อ้างเหตุนี้แต่ไปอ้างเหตุอื่นคือ ผู้ร้องเรียน (คือคนที่ร้องผู้ตรวจการแผ่นดิน) ไม่มีสิทธิร้อง จึงไม่ใช่เหตุผลที่ชอบด้วยมาตรา 46 วรรคสาม เพราะ การที่จะไม่รับคำร้องต้องเป็นเรื่องคำร้องไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัย เท่านั้น
 
2.แม้ว่ามาตรา 46 จะบัญญัติว่าบุคคลที่จะร้องศาลรัฐธรรมนูญได้ว่าถูกกระทำการที่ละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพ โดยต้องร้องผ่านผู้ตรวจการแผ่นดินนั้น จะต้องเป็นผู้ถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพ “โดยตรง” แต่เรื่องนี้เป็นเรื่องของผู้ตรวจการแผ่นดิน พิจารณา ไม่ใช่อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ
 
ที่สำคัญคือ รัฐธรรมนูญมาตรา 213 ที่เป็นต้นทางของ พ.ร.ป.วิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ มาตรา 46 นี้ ไม่มีคำว่า โดยตรง โดยบัญญัติไว้แต่เพียงว่า “บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญคุ้มครองไว้มีสิทธิยื่นคําร้อง ต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อมีคําวินิจฉัยว่าการกระทํานั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ” ไม่มีคำว่า “โดยตรง” ตรงไหนเลย
 
สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ศาลรัฐธรรมนูญ มีเพื่อปกป้องสิทธิและเสรีภาพประชาชน การตีความรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จึงต้องตีความในทางปกป้องสิทธิเสรีภาพของประชาชน ไม่ใช่ตรงกันข้าม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อกฎหมายอื่นใดเขียนไม่ตรงกับรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุด ก็ต้องเอารัฐธรรมนูญเป็นหลัก ซึ่งมาตรา 213 ผู้ถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพไม่ต้องโดยตรง คือไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ถูกเสนอชื่อให้เป็นนายกรัฐมนตรี ก็เป็นผู้เสียหายได้
 
3. ถ้าเอาตามที่ศาลรัฐธรรมนูญให้เหตุผลไว้เช่นนี้ ตอนนี้ก็มีแต่นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เท่านั้นที่จะไปร้องเรียนได้ แต่เท่าที่ติดตามข่าวทราบว่า นายพิธาและพรรคก้าวไกล จะไม่ร้องเรื่องนี้ไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เพราะเห็นว่าเป็นอำนาจของรัฐสภาที่จะทบทวนมตินี้ได้ด้วยตนเอง
 
เรื่องนี้ความจริงแล้วไม่ใช่แค่เรื่องเสนอชื่อนายพิธา ซ้ำไม่ได้ดังที่พาดหัวกันในสื่อหลายสำนัก แต่เป็นเรื่องการที่รัฐสภามีมติให้ข้อบังคับการประชุมของตนเองใหญ่กว่ารัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายสูงสุด ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่กว่า และรัฐสภาสามารถทบทวนมตินี้เองได้ แล้วก็ควรต้องทบทวนด้วย
 
ความจริงแล้วยังจะมี “ผู้เสียหายโดยตรง” อีกคือ ว่าที่นายกรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทย หากว่า(หรือสมมติว่า) นายเศรษฐา ทวีสิน ไม่ได้รับเลือกเป็นนายกฯ ในวันที่ 22 ส.ค.นี้ แล้วมตินี้ยังอยู่ (คือรัฐสภายังไม่เลิกมตินี้) นายเศรษฐา ก็จะถูกเสนอชื่อซ้ำอีกไม่ได้เช่นกัน
 
นายเศรษฐา (หรือคนต่อไปคือน.ส.แพรทองธาร ชินวัตร) ก็จะเป็นผู้เสียหายโดยตรง และสามารถไปร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยผ่านผู้ตรวจการแผ่นดินได้ โดยศาลรัฐธรรมนูญจะปฏิเสธไม่รับคำร้อง โดยเหตุผลว่าผู้ร้องเรียนไม่ได้เป็นผู้เสียหายโดยตรงไม่ได้แล้ว

https://www.facebook.com/prinya.thaewanarumitkul/posts/pfbid02yMryQYx4CECnB6dxZRxo5HSbS6ELF1onXpkfr7piqBHz74YVifFx215vDf3sbc6Rl



โรม ยันก้าวไกลไม่โหวต ‘เศรษฐา’ ชี้ ‘ชลน่าน’ จะลาออกปมจับมือลุงหรือไม่ เรื่องภายใน พท.
https://www.matichon.co.th/politics/news_4134651

‘โรม’ ยันไม่โหวตให้ ‘เศรษฐา’ ลั่นจากที่คุยกับ ปชช.รู้สึกผิดหวังที่ ‘พท.’ ร่วม รบ.ลุง-พ้อรัฐบาลประชาชน กลายเป็นรัฐบาลลุง ไม่รู้สถานการณ์ม็อบต้องดูหน้าตา รบ.ก่อน
 
เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม นายรังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล (ก.ก.) กล่าวถึงกรณีที่พรรคเพื่อไทย (พท.) ประกาศร่วมรัฐบาลกับพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ว่า ยังไม่มีการประชุมภายในพรรค ก.ก.หลังจากที่มีข่าวออกมาอย่างเป็นทางการ แต่คงมีการประชุมกัน อย่างไรก็ตาม จุดยืนของพรรค ก.ก.ยังเหมือนเดิมคือไม่โหวตให้กับนายกฯในชื่อของ นายเศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดตนายกฯจากพรรค พท. หรือใครก็ตามหากมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น

เรายืนยันไปหลายครั้งว่าถ้ามีลุงไม่มีเรา มันก็จบ อย่างที่เราเคยได้หาเสียงเอาไว้กับประชาชน เป็นคำสัญญาที่ไม่สามารถลืมเลือนได้” นายรังสิมันต์กล่าว
 
เมื่อถามว่า ที่พรรคก้าวไกลประกาศไม่ร่วมรัฐบาลข้ามขั้วจะถึงขั้น walk out ในการโหวตนายกฯหรือไม่ นายรังสิมันต์กล่าวว่า ยังไม่มีการตัดสินใจในลักษณะนั้น เบื้องต้นคงทำหน้าที่ในกลไกปกติในวันที่ 22 สิงหาคม แต่อย่างไรก็ตาม คงมีการพูดคุยกันในพรรคอีกครั้งหนึ่ง
 
เมื่อถามว่า ในการประชุมพรรคครั้งต่อไปจะมีการพูดคุยถึงตำแหน่งของ นายปดิพัทธ์ สันติภาดา ส.ส.พิษณุโลก พรรค ก.ก. ในฐานะรองประธานสภาหรือไม่ นายรังสิมันต์กล่าวว่า ยังไม่มีกำหนดวาระเรื่องดังกล่าวในการประชุมพรรค และตนไม่แน่ใจว่าเหตุใดถึงต้องคุยตำแหน่งรองประธานสภา
 
เมื่อถามว่า มีการชั่งน้ำหนักตำแหน่งระหว่างผู้นำฝ่ายค้านและตำแหน่งรองประธานสภาที่ช่วยให้พรรคก้าวไกลทำงานได้อย่างสะดวกหรือไม่ นายรังสิมันต์กล่าวว่า ถึงที่สุดต้องมีรัฐบาลก่อน และเรื่องดังกล่าวใช้เวลานิดเดียว ไม่ต้องใช้กระบวนการอะไรมาก ดังนั้น การตัดสินใจเวลานี้ยังไม่ใช่เวลาที่เหมาะสมที่สุด
 
เมื่อถามว่า ตอนนี้ความรู้สึกของ ส.ส.พรรค ก.ก.เป็นอย่างไรบ้างในประเด็นมีลุงไม่มีเรา นายรังสิมันต์กล่าวว่า ตนเป็น ส.ส.ที่สัมผัสกับประชาชน และพูดอย่างตรงไปตรงมาว่าเราได้รับความรู้สึกจากประชาชนว่าผิดหวังค่อนข้างเยอะ
 
สุดท้ายประเทศของเรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร เราอยู่แบบเดิม เพิ่มเติมคือพรรคการเมืองที่น่าจะเป็นพันธมิตรกับเรา ยอมรับว่าไม่อยากเห็นภาพแบบนี้ แต่สุดท้ายต้อง move on เดินต่อ และทำหน้าที่อย่างดีที่สุด ตรงไปตรงมาให้ได้” นายรังสิมันต์กล่าว
 
เมื่อถามว่า ในอนาคตจะมีการทำงานกับพรรค พท.ต่อได้หรือไม่ นายรังสิมันต์กล่าวว่า คิดว่าเป็นเรื่องกระบวนการในสภา หากพูดถึงกฎหมายของพรรคก้าวไกลที่เสนอไปหลายฉบับนั้น เราเองก็ต้องขอเสียงจากทุกฝ่ายเหมือนจาก 4 ปีที่แล้วที่เราเป็นฝ่ายค้าน ซึ่งมีกันอยู่กว่า 50 เสียง เราก็ต้องพยายามหาเสียงจากทุกฝ่าย ทุกพรรคการเมืองซึ่งเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว ดังนั้น ต้องว่ากันไปเป็นเรื่องๆ แต่เรื่องที่ว่าต้องเป็นประโยชน์กับประเทศชาติและประชาชนทุกคน
 
เมื่อถามว่า คิดอย่างไรกับหัวหน้าพรรค พท.ที่เคยประกาศว่า “หากมีลุงจะลาออก” นายรังสิมันต์กล่าวว่า พรรคก้าวไกลคงไม่ต้องทำบทบาทนั้น เป็นเรื่องภายในของพรรคเพื่อไทย สำหรับพรรค ก.ก.ตอนนี้ถ้ามีความชัดเจนว่าได้เป็นฝ่ายค้านจริง ก็ต้องทำหน้าที่ฝ่ายค้าน แต่สุดท้ายถ้านำไปสู่การจัดตั้งรัฐบาลไม่ได้จริงๆ คงต้องไปดูอีกว่าจะทำอย่างไร
 
เมื่อถามว่า เสียง ส.ว.ส่วนใหญ่ไม่อยากโหวตให้นายเศรษฐาที่มีตำหนิตอนนี้ และมีการมองว่าอาจจะได้ลุงเป็นนายกฯ พรรค ก.ก.มองถึงขั้นนั้นหรือไม่ นายรังสิมันต์กล่าวว่า หวังว่าจะไม่ไปถึงจุดนั้น ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าวันที่ 14 พฤษภาคม เราฝันตั้งรัฐบาลประชาชน กลายเป็นรัฐบาลลุง คงเป็นเรื่องยากที่สังคมจะรับไหว
 
เมื่อถามว่า ประเมินสถานการณ์หลังการจัดตั้งรัฐบาลว่าจะมีการชุมนุมหรือไม่ นายรังสิมันต์กล่าวว่า ยังตอบไม่ได้ เนื่องจากยังไม่รู้ว่าสุดท้ายรัฐบาลจะหน้าตาเป็นอย่างไร พรรคการเมืองไหนได้กระทรวงอะไรบ้างซึ่งต้องดูตรงนี้ด้วย


  
โลกโซเชียลทวงถาม #ชลน่านลาออกกี่โมง ติดเทรนต์
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_600176/

โลกโซเชียลทวงถาม ##ชลน่านลาออกกี่โมง ติดเทรนต์อันดับ 1 หลังเพื่อไทย ประกาศชัดจับมือรวมไทยสร้างชาติร่วมรัฐบาล
 
ภายหลังมีการยืนยันอย่างเป็นการ ว่า พรรคเพื่อไทย จะจับมือกับ พรรครวมไทยสร้างชาติ ในการจัดตั้งรัฐบาล อย่างเป็นทางการ เมื่อวานนี้ รวมถึง ก่อนหน้านี้ มีรายงานว่า พรรคพลังประชารัฐ ก็จะร่วมมือกับพรรคเพื่อไทยโดยจะโหวตให้ทั้ง 40 เสียงด้วย ล่าสุด โลกออนไลน์ มีการทวงถามถึง นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ที่เคยประกาศไว้ในหลายๆ เวทีดีเบต ช่วงก่อนเลือกตั้งว่า หากเพื่อไทยจับมือกับ 2 พรรคลุง จะลาออกจากตำแหน่ง จนมำให้ #ชลน่านลาออกกี่โมง ขึ้นเทรนต์ทวิตเป็นอันดับ 1 ทันที
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่