ทำไมเราถึงต้องใช้คลื่นไมโครเวฟทำอาหาร

กระทู้คำถาม
ทำไมเราเปลี่ยนจากคลื่นไมโครเวฟเป็นคลื่นที่มีความถี่สูงกว่าไมโครเวฟไม่ได้ครับ ทั้งๆที่มันน่าจะชนอนุภาคได้เยอะกว่า??
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 4
ในยุคแรกของการพัฒนาเตาไมโครเวฟ
ได้มีการวิจัย และ ทดลองหาค่าเฉลี่ย
ของ natural frequency น้ำ / น้ำมัน
และได้พบว่า natural frequency
ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดคือ 915 และ 2450 MHz  
และได้มีการกำหนดมาตรฐาน
ของการใช้ความถี่ 2 ค่านี้ด้วยครับ

แต่ต่อมาพบว่าความถี่ 915 MHz นั้น
มีผลกับโมเลกุลน้ำมันน้อยกว่าความถี่ 2450 MHz
เตาไมโครเวฟจึงใช้ความถี่ 2450 MHz เท่านั้นครับ

แต่ .... ความถี่ 2450 MHz นี้  
ยังไม่พอดีแบบเป๊ะ ๆ กับ resonance
หรือ natural frequency ของน้ำ นะครับ
หากออกแบบเตาไมโครเวฟให้ปล่อยความถี่
ในย่าน 2450 MHz ให้พอดีกับ natural frequency ของน้ำ
อาหารทุกประเภทจะ "ไหม้" ที่ผิวหน้าอย่างรวดเร็ว
เพราะความถี่มัน resosnance พอดีกับโมเลกุลน้ำ
ทำให้ส่งถ่ายพลังงานไปที่โมเลกุลน้ำชั้นบนสุด
ที่คลื่น RF ของเตาไปกระทบ

ดังนั้น  เตาไมโครเวฟจึงออกแบบให้ปล่อยความถี่
ที่ "Off resonance" ไปนิดหน่อย
คลื่น RF จะได้ผ่านลงไปส่งพลังงาน
ให้กับชั้นที่ลึกลงไปในอาหารประมาณ 1.3 เซนติเมตร
ทำให้อาหารร้อนจากโมเลกุลน้ำ ณ layer นั้น
และค่อย ๆ ร้อนมาที่ผิว และ ร้อนลงลึกสู่กลางชิ้นอาหารครับ
ความคิดเห็นที่ 3
เพราะความถี่ 2.45Ghz ตรงกับ resonance frequency ของน้ำ

ทำให้โมเลุกลน้ำ เสียดสีกัน เกิดเป็นความร้อนอุ่นอาหารได้

แต่ ในเครื่องบิน ต้องอุ่นอาหารด้วย ลวดทำความร้อน

จะได้ไม่มีฮาโมนิก สัญญาณกวน ระบบนำร่องเครื่องบิน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่