รองศาสตราจารย์ ดร.มุนินทร์ พงศาปาน อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า ศาลอังกฤษมีขอบเขตอำนาจพิจารณาคดีนี้ เพราะจำเลยที่ 2 คือ นางเอมม่า ลูอิส คอลลินส์ อดีตซีอีโอของ WEH มีสัญชาติอังกฤษ และศาลสามารถปรับใช้กฎหมายไทยได้ในการพิจารณาคดี
สำหรับการพิจารณาคดีนี้ ศาลพาณิชย์ ซึ่งเป็นหนึ่งในศาลชำนัญพิเศษ แผนกศาลธุรกิจและอสังหาริมทรัพย์ของศาลสูงอังกฤษ หรือ High Court of Justice ได้นำกฎหมายไทย สิงคโปร์ ฮ่องกง เบลิทซ์ และหมู่เกาะบริติชเวอร์จิน (BVI) และกฎหมายล้มละลายของอังกฤษ (Insolvency Act 1986) มาประกอบการพิจารณาคดีที่นายนพพร กล่าวหาจำเลยว่า สมคบกันชักจูงใจด้วยข้อมูลลวงให้ขายหุ้น WEH ในราคาต่ำกว่ามูลค่า
รศ.ดร.มุนินทร์ ชี้ถึงวิธีการพิจารณาคดีของศาลอังกฤษ ด้วยกฎหมายไทยว่า มีการระบุชัดเจนในย่อหน้าที่ 908 ของคำพิพากษา ที่เผยแพร่ต่อสาธารณชน เพื่อความโปร่งใส ในชื่อคำพิพากษาว่า “Suppipat & Ors v Narongdej & Ors” โดยมีใจความสำคัญ ดังนี้
ศาลไม่ได้ตีความกฎหมายต่างประเทศด้วยตนเอง แต่เป็นหน้าที่ของพยานผู้เชี่ยวชาญ [กฎหมายต่างประเทศ] ในการตีความผลทางกฎหมาย
ศาลอังกฤษมีหน้าที่ประเมินพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายต่างประเทศ และทำนายผลทางกฎหมายที่ศาลสูงสุดของระบบกฎหมายต่างประเทศนั้น ๆ จะตัดสินออกมา มากกว่ายึดถือความเห็นส่วนตนของศาลอังกฤษว่า หลักกฎหมายต่างประเทศนั้น ๆ ควรจะเป็นอย่างไร
ศาลจะไม่ตัดสินเกินไปกว่าสถานะปัจจุบัน ของหลักกฎหมายต่างประเทศ และจะไม่คาดการณ์แนวทางการพัฒนาที่เหมาะสมสำหรับกฎหมายต่างประเทศนั้น ๆ
ถ้ามีคำพิพากษาที่ชัดเจนของศาลสูงสุดของต่างประเทศในประเด็นเรื่องใดเรื่องหนึ่ง [ศาลอังกฤษก็จะรับฟังคำพิพากษาของศาลสูงสุดนั้นเป็นพยานหลักฐาน] พยานหลักฐานอื่นก็จะมีน้ำหนักน้อยกว่า
ศาลอังกฤษจะปรับใช้กฎหมายต่างประเทศนั้น ๆ แม้จะปรากฏว่ากฎหมายต่างประเทศนั้นจะมีข้อบกพร่อง หรือถูกกำหนดโดยรัฐนโยบายใด ๆ ของประเทศนั้น ๆ หรือไม่ว่าจะไม่สมเหตุสมผลในทางปฏิบัติ
ด้าน กนกนัย ถาวรพานิช จากศูนย์กฎหมายพาณิชย์ และศูนย์กฎหมายระหว่างประเทศ มธ. อธิบายกับบีบีซีไทย ลงลึกไปอีกว่า การตีความขอบเขตอำนาจของศาลพาณิชย์อังกฤษ ยึดตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งของอังกฤษ แต่น่าสนใจที่ ใช้กฎหมายสารบัญญัติของไทยเป็นหลักเพื่อพิจารณาคดี
“ศาลของแต่ละประเทศ อาจใช้กฎหมายของต่างประเทศในศาลได้” อาจารย์นิติศาสตร์ มธ. กล่าว โดยศาลจะยึดหลักกฎหมายของประเทศที่มีความใกล้ชิดกับข้อเท็จจริง-ข้อพิพาทมากกว่า ซึ่งในกรณีนี้ “อาจไม่เหมาะเอากฎหมายอังกฤษมาตัดสินคดี เพราะโจทก์-จำเลยส่วนใหญ่ก็เป็นคนไทย เกิดในไทย แต่มาฟ้องในอังกฤษ”
แน่นอนว่า ผู้พิพากษาศาลพาณิชย์อังกฤษ ไม่มีความเชี่ยวชาญในกฎหมายไทยอย่างลึกซึ้ง วิธีการที่ใช้พิจารณาคดี คือการให้ฝั่งโจทก์และจำเลย ตั้ง “พยานผู้เชี่ยวชาญ” ขึ้นให้การในชั้นศาล
แต่กระบวนการเช่นนี้ มีความเสี่ยงเชิงการตีความ หากต้องนำคำพิพากษากลับมาบังคับคดีที่ “ศาลปลายทาง” คือศาลไทย เพราะผู้พิพากษาอาจวินิจฉัยว่า “ศาลอังกฤษเข้าใจกฎหมายผิดไป” และปฏิเสธการบังคับคดีได้
แนวทางบังคับคดีคำพิพากษา “Suppipat & Ors v Narongdej & Ors”
ศาลพาณิชย์อังกฤษ ภายใต้ศาลสูง High Court of Justice ถือเป็นศาลชั้นต้น หมายความว่า คำพิพากษายังไม่ถึงที่สุด โดยฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลย ยังสามารถยื่นอุทธรณ์ต่อศาลที่สูงขึ้นไปในอังกฤษได้อีก นั่นคือ ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา
ฝ่ายโจทก์จะยื่นอุทธรณ์ ทำไม ? เหตุผลเพราะศาลสั่งให้ชดเชยเงิน 900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งไม่เต็มจำนวนจากที่ฟ้องร้อง ดังนั้น โจทก์อาจอุทธรณ์เรียกเงินชดเชยเต็มจำนวน 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (51,000 ล้านบาท) ก็ได้ ขณะที่ฝ่ายจำเลย อาจพยายามขอเปลี่ยนคำพิพากษาเป็นอื่น
หากคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว คือกรณีโจทก์-จำเลย ไม่ยื่นอุทธรณ์ หรือศาลฎีกาตัดสินยืนคำพิพากษาศาลชั้นต้น ก็จะมาถึงขั้นตอนการบังคับคดี ซึ่งหากจำเลยมีทรัพย์สินในอังกฤษ ก็จะสามารถบังคับคดีได้ทันที ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายระหว่างประเทศ ม.ธรรมศาสตร์ เชื่อว่า อังกฤษมีกลไกป้องกันจำเลยไม่ให้โยกย้ายทรัพย์สินออกนอกประเทศ จนกว่าคดีจะถึงที่สิ้นสุด
แต่หากไม่มีทรัพย์สินในอังกฤษให้บังคับคดี หรือยึดทรัพย์ได้ไม่เพียงพอ โจทก์ต้องนำคำพิพากษาของศาลอังกฤษ มาบังคับคดีในระบบยุติธรรมไทยต่อไป ซึ่ง กนกนัย ชี้ว่า จะนำมาสู่ฉากทัศน์ที่ไม่แน่นอน เพราะไทยไม่มีกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร ถึงขั้นตอนและองค์ประกอบ ว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลในต่างประเทศ
ในกรณีไม่มีกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรระบุไว้เช่นนี้ หมายความว่าศาลไทยต้องอ้างอิงคำพิพากษาศาลฎีกา ซึ่งถือเป็นศาลที่ได้รับความเคารพสูงสุด เพื่อวางแนวทางการตีความ แต่ “ปรากฏว่า คำพิพากษาศาลฎีกาฉบับล่าสุดที่พูดถึงการบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาลต่างประเทศ คือ เมื่อ พ.ศ. 2461 (สมัยรัชกาลที่ 6) มันตั้งแต่ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองเลย” อาจารย์จากคณะนิติศาสตร์ มธ. กล่าว
คำพิพากษานั้น คือ คำพิพากษาศาลฎีกา เลขที่ 585/2461 เพื่อบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาลเมืองไซ่ง่อนของเวียดนาม กรณี นางฟาม ทีเลียน ชาวเวียดนาม ยื่นฟ้องนายตัน วันเนียว ชาวเวียดนามเหมือนกัน เนื่องจากนายวันเนียว ผิดสัญญาซื้อขาย และศาลเมืองไซ่ง่อนพิพากษาให้ชำระค่าเสียหายพร้อมทั้งดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม
ต่อมา นายวันเนียว หลบหนีเข้ามาพำนักในไทย นางฟาม ทีเลียน จึงยื่นคำร้องขอให้ศาลไทยบังคับตามคำพิพากษาศาลเมืองไซ่ง่อน
สำหรับองค์ประกอบของศาลไทย ที่เป็นเงื่อนไขเพื่อรับพิจารณาบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลเมืองไซ่ง่อน อาจารย์กนกนัย อธิบายและตีความ อ้างอิงคำพิพากษาศาลฎีกา เมื่อปี 2461 ได้ 5 ข้อ ดังนี้
ศาลต่างประเทศที่พิจารณาพิพากษาคดี มีอำนาจพิจารณาคดี หรือไม่
คำพิพากษาถึงที่สุดและเสร็จเด็ดขาดแล้ว หรือไม่
การพิจารณาในศาลต้นทางมีความเหมาะสมเป็นธรรม หรือไม่
คู่ความต้องนำคดีมาฟ้องและดำเนินคดีใหม่ในประเทศไทย
ผลลัพธ์ของคำวินิจฉัยของศาลต้นทาง หากบังคับใช้แล้ว จะขัดกับความสงบเรียบร้อยของกฎหมายไทย หรือไม่
“สามข้อแรก ค่อนข้างสอดคล้องกับกฎหมายในหลายประเทศ”
อาจารย์กนกนัย ระบุ แต่ “องค์ประกอบข้อ 4
จะเป็นภาระกับทางโจทก์ที่ต้องมาฟ้องใหม่
” และถือว่ามีแนวโน้มสูงที่ศาลไทยจะให้คู่ความมาฟ้องและดำเนินคดีใหม่
หากยึดตามคำพิพากษาศาลฎีกา พ.ศ. 2461
https://www.bbc.com/thai/articles/c25gz2dpqp3o
นี่คือวรยุทธ์ระดับสูงที่เม่าไม่มีทางไปถึง คนไทยทะเลาะกันเรื่องหุ้น... ให้ศาลอังกฤษตัดสิน”
สำหรับการพิจารณาคดีนี้ ศาลพาณิชย์ ซึ่งเป็นหนึ่งในศาลชำนัญพิเศษ แผนกศาลธุรกิจและอสังหาริมทรัพย์ของศาลสูงอังกฤษ หรือ High Court of Justice ได้นำกฎหมายไทย สิงคโปร์ ฮ่องกง เบลิทซ์ และหมู่เกาะบริติชเวอร์จิน (BVI) และกฎหมายล้มละลายของอังกฤษ (Insolvency Act 1986) มาประกอบการพิจารณาคดีที่นายนพพร กล่าวหาจำเลยว่า สมคบกันชักจูงใจด้วยข้อมูลลวงให้ขายหุ้น WEH ในราคาต่ำกว่ามูลค่า
รศ.ดร.มุนินทร์ ชี้ถึงวิธีการพิจารณาคดีของศาลอังกฤษ ด้วยกฎหมายไทยว่า มีการระบุชัดเจนในย่อหน้าที่ 908 ของคำพิพากษา ที่เผยแพร่ต่อสาธารณชน เพื่อความโปร่งใส ในชื่อคำพิพากษาว่า “Suppipat & Ors v Narongdej & Ors” โดยมีใจความสำคัญ ดังนี้
ศาลไม่ได้ตีความกฎหมายต่างประเทศด้วยตนเอง แต่เป็นหน้าที่ของพยานผู้เชี่ยวชาญ [กฎหมายต่างประเทศ] ในการตีความผลทางกฎหมาย
ศาลอังกฤษมีหน้าที่ประเมินพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายต่างประเทศ และทำนายผลทางกฎหมายที่ศาลสูงสุดของระบบกฎหมายต่างประเทศนั้น ๆ จะตัดสินออกมา มากกว่ายึดถือความเห็นส่วนตนของศาลอังกฤษว่า หลักกฎหมายต่างประเทศนั้น ๆ ควรจะเป็นอย่างไร
ศาลจะไม่ตัดสินเกินไปกว่าสถานะปัจจุบัน ของหลักกฎหมายต่างประเทศ และจะไม่คาดการณ์แนวทางการพัฒนาที่เหมาะสมสำหรับกฎหมายต่างประเทศนั้น ๆ
ถ้ามีคำพิพากษาที่ชัดเจนของศาลสูงสุดของต่างประเทศในประเด็นเรื่องใดเรื่องหนึ่ง [ศาลอังกฤษก็จะรับฟังคำพิพากษาของศาลสูงสุดนั้นเป็นพยานหลักฐาน] พยานหลักฐานอื่นก็จะมีน้ำหนักน้อยกว่า
ศาลอังกฤษจะปรับใช้กฎหมายต่างประเทศนั้น ๆ แม้จะปรากฏว่ากฎหมายต่างประเทศนั้นจะมีข้อบกพร่อง หรือถูกกำหนดโดยรัฐนโยบายใด ๆ ของประเทศนั้น ๆ หรือไม่ว่าจะไม่สมเหตุสมผลในทางปฏิบัติ
ด้าน กนกนัย ถาวรพานิช จากศูนย์กฎหมายพาณิชย์ และศูนย์กฎหมายระหว่างประเทศ มธ. อธิบายกับบีบีซีไทย ลงลึกไปอีกว่า การตีความขอบเขตอำนาจของศาลพาณิชย์อังกฤษ ยึดตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งของอังกฤษ แต่น่าสนใจที่ ใช้กฎหมายสารบัญญัติของไทยเป็นหลักเพื่อพิจารณาคดี
“ศาลของแต่ละประเทศ อาจใช้กฎหมายของต่างประเทศในศาลได้” อาจารย์นิติศาสตร์ มธ. กล่าว โดยศาลจะยึดหลักกฎหมายของประเทศที่มีความใกล้ชิดกับข้อเท็จจริง-ข้อพิพาทมากกว่า ซึ่งในกรณีนี้ “อาจไม่เหมาะเอากฎหมายอังกฤษมาตัดสินคดี เพราะโจทก์-จำเลยส่วนใหญ่ก็เป็นคนไทย เกิดในไทย แต่มาฟ้องในอังกฤษ”
แน่นอนว่า ผู้พิพากษาศาลพาณิชย์อังกฤษ ไม่มีความเชี่ยวชาญในกฎหมายไทยอย่างลึกซึ้ง วิธีการที่ใช้พิจารณาคดี คือการให้ฝั่งโจทก์และจำเลย ตั้ง “พยานผู้เชี่ยวชาญ” ขึ้นให้การในชั้นศาล
แต่กระบวนการเช่นนี้ มีความเสี่ยงเชิงการตีความ หากต้องนำคำพิพากษากลับมาบังคับคดีที่ “ศาลปลายทาง” คือศาลไทย เพราะผู้พิพากษาอาจวินิจฉัยว่า “ศาลอังกฤษเข้าใจกฎหมายผิดไป” และปฏิเสธการบังคับคดีได้
แนวทางบังคับคดีคำพิพากษา “Suppipat & Ors v Narongdej & Ors”
ศาลพาณิชย์อังกฤษ ภายใต้ศาลสูง High Court of Justice ถือเป็นศาลชั้นต้น หมายความว่า คำพิพากษายังไม่ถึงที่สุด โดยฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลย ยังสามารถยื่นอุทธรณ์ต่อศาลที่สูงขึ้นไปในอังกฤษได้อีก นั่นคือ ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา
ฝ่ายโจทก์จะยื่นอุทธรณ์ ทำไม ? เหตุผลเพราะศาลสั่งให้ชดเชยเงิน 900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งไม่เต็มจำนวนจากที่ฟ้องร้อง ดังนั้น โจทก์อาจอุทธรณ์เรียกเงินชดเชยเต็มจำนวน 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (51,000 ล้านบาท) ก็ได้ ขณะที่ฝ่ายจำเลย อาจพยายามขอเปลี่ยนคำพิพากษาเป็นอื่น
หากคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว คือกรณีโจทก์-จำเลย ไม่ยื่นอุทธรณ์ หรือศาลฎีกาตัดสินยืนคำพิพากษาศาลชั้นต้น ก็จะมาถึงขั้นตอนการบังคับคดี ซึ่งหากจำเลยมีทรัพย์สินในอังกฤษ ก็จะสามารถบังคับคดีได้ทันที ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายระหว่างประเทศ ม.ธรรมศาสตร์ เชื่อว่า อังกฤษมีกลไกป้องกันจำเลยไม่ให้โยกย้ายทรัพย์สินออกนอกประเทศ จนกว่าคดีจะถึงที่สิ้นสุด
แต่หากไม่มีทรัพย์สินในอังกฤษให้บังคับคดี หรือยึดทรัพย์ได้ไม่เพียงพอ โจทก์ต้องนำคำพิพากษาของศาลอังกฤษ มาบังคับคดีในระบบยุติธรรมไทยต่อไป ซึ่ง กนกนัย ชี้ว่า จะนำมาสู่ฉากทัศน์ที่ไม่แน่นอน เพราะไทยไม่มีกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร ถึงขั้นตอนและองค์ประกอบ ว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลในต่างประเทศ
ในกรณีไม่มีกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรระบุไว้เช่นนี้ หมายความว่าศาลไทยต้องอ้างอิงคำพิพากษาศาลฎีกา ซึ่งถือเป็นศาลที่ได้รับความเคารพสูงสุด เพื่อวางแนวทางการตีความ แต่ “ปรากฏว่า คำพิพากษาศาลฎีกาฉบับล่าสุดที่พูดถึงการบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาลต่างประเทศ คือ เมื่อ พ.ศ. 2461 (สมัยรัชกาลที่ 6) มันตั้งแต่ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองเลย” อาจารย์จากคณะนิติศาสตร์ มธ. กล่าว
คำพิพากษานั้น คือ คำพิพากษาศาลฎีกา เลขที่ 585/2461 เพื่อบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาลเมืองไซ่ง่อนของเวียดนาม กรณี นางฟาม ทีเลียน ชาวเวียดนาม ยื่นฟ้องนายตัน วันเนียว ชาวเวียดนามเหมือนกัน เนื่องจากนายวันเนียว ผิดสัญญาซื้อขาย และศาลเมืองไซ่ง่อนพิพากษาให้ชำระค่าเสียหายพร้อมทั้งดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม
ต่อมา นายวันเนียว หลบหนีเข้ามาพำนักในไทย นางฟาม ทีเลียน จึงยื่นคำร้องขอให้ศาลไทยบังคับตามคำพิพากษาศาลเมืองไซ่ง่อน
สำหรับองค์ประกอบของศาลไทย ที่เป็นเงื่อนไขเพื่อรับพิจารณาบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลเมืองไซ่ง่อน อาจารย์กนกนัย อธิบายและตีความ อ้างอิงคำพิพากษาศาลฎีกา เมื่อปี 2461 ได้ 5 ข้อ ดังนี้
ศาลต่างประเทศที่พิจารณาพิพากษาคดี มีอำนาจพิจารณาคดี หรือไม่
คำพิพากษาถึงที่สุดและเสร็จเด็ดขาดแล้ว หรือไม่
การพิจารณาในศาลต้นทางมีความเหมาะสมเป็นธรรม หรือไม่
คู่ความต้องนำคดีมาฟ้องและดำเนินคดีใหม่ในประเทศไทย
ผลลัพธ์ของคำวินิจฉัยของศาลต้นทาง หากบังคับใช้แล้ว จะขัดกับความสงบเรียบร้อยของกฎหมายไทย หรือไม่
“สามข้อแรก ค่อนข้างสอดคล้องกับกฎหมายในหลายประเทศ”
อาจารย์กนกนัย ระบุ แต่ “องค์ประกอบข้อ 4
จะเป็นภาระกับทางโจทก์ที่ต้องมาฟ้องใหม่
” และถือว่ามีแนวโน้มสูงที่ศาลไทยจะให้คู่ความมาฟ้องและดำเนินคดีใหม่
หากยึดตามคำพิพากษาศาลฎีกา พ.ศ. 2461
https://www.bbc.com/thai/articles/c25gz2dpqp3o