ฟัง 2 อาจารย์กฎหมาย ชี้ปัญหา ทำไม “สว. – องค์กรอิสระ” จึงโดนตั้งคำถามเยอะ
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_4107807
ฟัง รศ.ดร.มุนินทร์ พงศาปาน และ ผศ.ดร. รณกรณ์ บุญมี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้สัมภาษณ์ในรายการเอ็กซ์-อ๊อก talk ทุกเรื่อง ว่าการที่ สว. และองค์อิสระ เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ โดนตั้งคำถามเยอะในการทำหน้าที่ ปัญหามาจากเหตุใด ติดตามชมรายละเอียดทั้งหมดจากคลิปด้านล่างนี้
"หาดใหญ่โพล" เผย ตั้งรบ.ล่าช้า ฉุดดัชนีเชื่อมั่น ปชช. 14 จังหวัดใต้ ลดวูบ ชี้หากข้ามขั้วหวั่นม็อบลงถนน
https://www.matichon.co.th/region/news_4108033
“หาดใหญ่โพล” เผย ตั้งรบ.ล่าช้า ฉุดดัชนีเชื่อมั่น ปชช.14 จังหวัดใต้ลดวูบ หวั่นม็อบลงถนน แถมค่าครองชีพพุ่ง ฝากรัฐบาลใหม่เร่งกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งระบบ
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ผศ.ดร.วิวัฒน์ จันทร์กิ่งทอง ผู้จัดการศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิดเผยรายงานผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชน 14 จังหวัดภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นโดยรวมเดือน ก.ค.ปรับตัวลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับเดือน มิ.ย. โดยดัชนีที่มีการปรับตัวลดลง ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม รายได้จากการทำงาน รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว ความสุขในการดำเนินชีวิต ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย) การออมเงิน การรักษามาตรฐานค่าครองชีพ การลดลงของหนี้สิน การแก้ปัญหายาเสพติด และการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ
“
ปัจจัยลบที่สำคัญคือปัญหาหนี้สินสะสมของภาคครัวเรือนและธุรกิจที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากการใช้จ่ายเงินที่เพิ่มขึ้นในการฟื้นฟูธุรกิจหลังจากโควิด-19 และสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบันอยู่ในช่วงชะลอตัว เนื่องจากเป็นช่วงรัฐบาลรักษาการจึงไม่สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่เป็นรูปธรรม และขาดการกระตุ้นเศรษฐกิจให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น ส่งผลให้เงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจมีน้อย ทำให้ประชาชนมีรายได้น้อยไม่เพียงพอกับภาระหนี้สินที่มีอยู่”
ผศ.ดร.
วิวัฒน์ กล่าวว่า ค่าครองชีพที่อยู่ในระดับสูงและมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นอีก ขณะที่ประชาชนส่วนหนึ่งรายได้เท่าเดิมหรือลดลง จึงเพิ่มความเสี่ยงให้ประชาชนกลุ่มนี้อาจจะต้องก่อหนี้สินเพิ่มขึ้น เพื่อความอยู่รอดในสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบัน
“
สถานการณ์การเมืองมีความไม่แน่นอนมาก นักการเมืองในปัจจุบันแบ่งออกเป็นหลายฝ่าย โดยแต่ละฝ่ายมีความต้องการผลประโยชน์ ซึ่งในขณะนี้ยังไม่สามารถแบ่งปันผลประโยชน์ได้อย่างลงตัว โดยมีนักการเมืองส่วนหนึ่งจ้องแต่จะกอบโกยผลประโยชน์ให้แก่ตนเองและพรรคพวก มากกว่าผลประโยชน์ของประชาชน และมักใช้ประชาชนเป็นข้ออ้าง”
ผศ.ดร.
วิวัฒน์ กล่าวว่า การที่ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ง่ายและรวดเร็ว ทำให้รู้ไส้รู้พุงของนักการเมืองเป็นอย่างดี ต้องการให้มีรัฐบาลใหม่เข้ามาบริหารประเทศอย่างรวดเร็ว เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และช่วยเหลือปัญหาปากท้องของประชาชน ซึ่งเป็นวิกฤตอยู่ในขณะนี้
ผศ.ดร.วิวัฒน์ กล่าวว่า แม้ว่าการจัดตั้งรัฐบาลจะมีความล่าช้ามาก แต่ประชาชนคาดหวังว่าประเทศไทยจะมีนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีชุดใหม่พร้อมปฏิบัติหน้าที่ได้ในช่วงเดือน ส.ค.-ก.ย.66 ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการจัดทำงบประมาณประจำปี 67 และทำให้ภาคธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศรู้ทิศทางนโยบายในการพัฒนาประเทศ เกิดความเชื่อมั่น และกล้าตัดสินใจในการลงทุน
“
รัฐบาลที่เข้ามาบริหารประเทศควรเร่งดำเนินนโยบายตามที่ได้หาเสียงไว้ เช่น การกระตุ้นเศรษฐกิจ การลดราคาพลังงาน การเพิ่มสวัสดิการแบบครบวงจร การลดความเหลื่อมล้ำ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่”
ผศ.ดร.
วิวัฒน์ กล่าวว่า ประชาชนภาคใต้ในหลายสาขาอาชีพ มีความกังวลต่อการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ที่ล่าช้า เพราะส่งผลให้ภาคธุรกิจและนักลงทุนขาดความเชื่อมั่น ทำให้ต้องชะลอการลงทุน ผู้บริโภคก็ชะลอการใช้จ่ายเช่นกัน ยังเฝ้ารอความชัดเจนของรัฐบาลชุดใหม่ คาดหวังให้รัฐบาลใหม่เป็นรัฐบาลที่มีเสถียรภาพ และขอให้จัดตั้งได้อย่างรวดเร็ว
“
มีความกังวลต่อการจัดตั้งรัฐบาลข้ามขั้วทางการเมือง ซึ่งหากไม่เป็นไปตามที่ประชาชนส่วนหนึ่งคาดหวังไว้ อาจทำให้เกิดมวลชนที่เป็นฝ่ายตรงกันข้ามกับรัฐบาลทำการประท้วง ลงถนน เพื่อแสดงออก และอาจมีมวลชนบางกลุ่มใช้ความรุนแรงจนเกิดเหตุการณ์ลุกลามบานปลาย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก”
ผศ.ดร.วิวัฒน์ กล่าวว่า าครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำถึงปานกลางจำนวนมากยังมีปัญหาหนี้สิน ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงสถานการณ์โควิด-19 และยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ยังเกิดหนี้ใหม่ในช่วงนี้ จนกลายเป็นภาระหนี้สินครัวเรือนสะสม ต้องการให้ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยเหลือและแก้ปัญหาอย่างจริงจัง โดยการกำหนดเป็นนโยบายช่วยเหลือปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อลดปัญหาหนี้สินเรื้อรังของครัวเรือนแบบยั่งยืน
“
ประชาชนส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบและต้องการให้รัฐบาลใหม่ดำเนินการอย่างเร่งด่วน คือ การกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งระบบ ช่วยลดค่าไฟฟ้าและพลังงาน เพิ่มบำนาญผู้สูงอายุ การเพิ่มสวัสดิการประชาชน และการส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบไทยเที่ยวไทย”ผศ.ดร.วิวัฒน์กล่าว
“อมรัตน์” ซัดแรง หลักการที่ไม่ใช่หลัก..จะปิดสวิตซ์ ส.ว.ไม่ใช่ให้ ก.ก.เสียสละโหวตให้
https://www.matichon.co.th/politics/news_4108046
“อมรัตน์” ซัดแรง หลักการที่ไม่ใช่หลัก..จะปิดสวิตซ์ ส.ว.ไม่ใช่ให้ ก.ก.เสียสละโหวตให้
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม นาง
อมรัตน์ โชคปมิตต์กุล กรรมการบริหารพรรคก้าวไกล ได้ทวีตข้อความผ่านทวิตเตอร์ โดยระบุ
#หลักการ ที่ไม่ใช่ #หลักกู
1. จะปิดสวิตช์ ส.ว.ไม่ใช่การให้ก้าวไกลเสียสละโหวตให้ โดยอ้างว่าไม่มีสองลุงแล้ว
2.จะปิดสวิตช์ ส.ว.ในบริบทการเมืองที่บิดเบี้ยวผิดปกติ เพื่อไทยต้องไปขอพรรคอื่น ๆ ร่วมใจรักษาหลักการโหวตให้ #สภาล่าง ตั้งรัฐบาลเสียงข้างมากที่มาจากการเลือกตั้งได้สำเร็จ
https://twitter.com/AmaratJeab/status/1686192404624486401
JJNY : 2 อาจารย์กฎหมาย ชี้ปัญหา│"หาดใหญ่โพล"เผยตั้งรบ.ล่าช้า ฉุดดัชนีเชื่อมั่น│“อมรัตน์” ซัดแรง│จีนเปลี่ยนตัวผบ.จรวด
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_4107807
ฟัง รศ.ดร.มุนินทร์ พงศาปาน และ ผศ.ดร. รณกรณ์ บุญมี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้สัมภาษณ์ในรายการเอ็กซ์-อ๊อก talk ทุกเรื่อง ว่าการที่ สว. และองค์อิสระ เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ โดนตั้งคำถามเยอะในการทำหน้าที่ ปัญหามาจากเหตุใด ติดตามชมรายละเอียดทั้งหมดจากคลิปด้านล่างนี้
"หาดใหญ่โพล" เผย ตั้งรบ.ล่าช้า ฉุดดัชนีเชื่อมั่น ปชช. 14 จังหวัดใต้ ลดวูบ ชี้หากข้ามขั้วหวั่นม็อบลงถนน
https://www.matichon.co.th/region/news_4108033
“หาดใหญ่โพล” เผย ตั้งรบ.ล่าช้า ฉุดดัชนีเชื่อมั่น ปชช.14 จังหวัดใต้ลดวูบ หวั่นม็อบลงถนน แถมค่าครองชีพพุ่ง ฝากรัฐบาลใหม่เร่งกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งระบบ
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ผศ.ดร.วิวัฒน์ จันทร์กิ่งทอง ผู้จัดการศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิดเผยรายงานผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชน 14 จังหวัดภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นโดยรวมเดือน ก.ค.ปรับตัวลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับเดือน มิ.ย. โดยดัชนีที่มีการปรับตัวลดลง ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม รายได้จากการทำงาน รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว ความสุขในการดำเนินชีวิต ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย) การออมเงิน การรักษามาตรฐานค่าครองชีพ การลดลงของหนี้สิน การแก้ปัญหายาเสพติด และการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ
“ปัจจัยลบที่สำคัญคือปัญหาหนี้สินสะสมของภาคครัวเรือนและธุรกิจที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากการใช้จ่ายเงินที่เพิ่มขึ้นในการฟื้นฟูธุรกิจหลังจากโควิด-19 และสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบันอยู่ในช่วงชะลอตัว เนื่องจากเป็นช่วงรัฐบาลรักษาการจึงไม่สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่เป็นรูปธรรม และขาดการกระตุ้นเศรษฐกิจให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น ส่งผลให้เงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจมีน้อย ทำให้ประชาชนมีรายได้น้อยไม่เพียงพอกับภาระหนี้สินที่มีอยู่”
ผศ.ดร.วิวัฒน์ กล่าวว่า ค่าครองชีพที่อยู่ในระดับสูงและมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นอีก ขณะที่ประชาชนส่วนหนึ่งรายได้เท่าเดิมหรือลดลง จึงเพิ่มความเสี่ยงให้ประชาชนกลุ่มนี้อาจจะต้องก่อหนี้สินเพิ่มขึ้น เพื่อความอยู่รอดในสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบัน
“สถานการณ์การเมืองมีความไม่แน่นอนมาก นักการเมืองในปัจจุบันแบ่งออกเป็นหลายฝ่าย โดยแต่ละฝ่ายมีความต้องการผลประโยชน์ ซึ่งในขณะนี้ยังไม่สามารถแบ่งปันผลประโยชน์ได้อย่างลงตัว โดยมีนักการเมืองส่วนหนึ่งจ้องแต่จะกอบโกยผลประโยชน์ให้แก่ตนเองและพรรคพวก มากกว่าผลประโยชน์ของประชาชน และมักใช้ประชาชนเป็นข้ออ้าง”
ผศ.ดร.วิวัฒน์ กล่าวว่า การที่ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ง่ายและรวดเร็ว ทำให้รู้ไส้รู้พุงของนักการเมืองเป็นอย่างดี ต้องการให้มีรัฐบาลใหม่เข้ามาบริหารประเทศอย่างรวดเร็ว เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และช่วยเหลือปัญหาปากท้องของประชาชน ซึ่งเป็นวิกฤตอยู่ในขณะนี้
ผศ.ดร.วิวัฒน์ กล่าวว่า แม้ว่าการจัดตั้งรัฐบาลจะมีความล่าช้ามาก แต่ประชาชนคาดหวังว่าประเทศไทยจะมีนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีชุดใหม่พร้อมปฏิบัติหน้าที่ได้ในช่วงเดือน ส.ค.-ก.ย.66 ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการจัดทำงบประมาณประจำปี 67 และทำให้ภาคธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศรู้ทิศทางนโยบายในการพัฒนาประเทศ เกิดความเชื่อมั่น และกล้าตัดสินใจในการลงทุน
“รัฐบาลที่เข้ามาบริหารประเทศควรเร่งดำเนินนโยบายตามที่ได้หาเสียงไว้ เช่น การกระตุ้นเศรษฐกิจ การลดราคาพลังงาน การเพิ่มสวัสดิการแบบครบวงจร การลดความเหลื่อมล้ำ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่”
ผศ.ดร.วิวัฒน์ กล่าวว่า ประชาชนภาคใต้ในหลายสาขาอาชีพ มีความกังวลต่อการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ที่ล่าช้า เพราะส่งผลให้ภาคธุรกิจและนักลงทุนขาดความเชื่อมั่น ทำให้ต้องชะลอการลงทุน ผู้บริโภคก็ชะลอการใช้จ่ายเช่นกัน ยังเฝ้ารอความชัดเจนของรัฐบาลชุดใหม่ คาดหวังให้รัฐบาลใหม่เป็นรัฐบาลที่มีเสถียรภาพ และขอให้จัดตั้งได้อย่างรวดเร็ว
“มีความกังวลต่อการจัดตั้งรัฐบาลข้ามขั้วทางการเมือง ซึ่งหากไม่เป็นไปตามที่ประชาชนส่วนหนึ่งคาดหวังไว้ อาจทำให้เกิดมวลชนที่เป็นฝ่ายตรงกันข้ามกับรัฐบาลทำการประท้วง ลงถนน เพื่อแสดงออก และอาจมีมวลชนบางกลุ่มใช้ความรุนแรงจนเกิดเหตุการณ์ลุกลามบานปลาย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก”
ผศ.ดร.วิวัฒน์ กล่าวว่า าครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำถึงปานกลางจำนวนมากยังมีปัญหาหนี้สิน ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงสถานการณ์โควิด-19 และยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ยังเกิดหนี้ใหม่ในช่วงนี้ จนกลายเป็นภาระหนี้สินครัวเรือนสะสม ต้องการให้ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยเหลือและแก้ปัญหาอย่างจริงจัง โดยการกำหนดเป็นนโยบายช่วยเหลือปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อลดปัญหาหนี้สินเรื้อรังของครัวเรือนแบบยั่งยืน
“ประชาชนส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบและต้องการให้รัฐบาลใหม่ดำเนินการอย่างเร่งด่วน คือ การกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งระบบ ช่วยลดค่าไฟฟ้าและพลังงาน เพิ่มบำนาญผู้สูงอายุ การเพิ่มสวัสดิการประชาชน และการส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบไทยเที่ยวไทย”ผศ.ดร.วิวัฒน์กล่าว
“อมรัตน์” ซัดแรง หลักการที่ไม่ใช่หลัก..จะปิดสวิตซ์ ส.ว.ไม่ใช่ให้ ก.ก.เสียสละโหวตให้
https://www.matichon.co.th/politics/news_4108046
“อมรัตน์” ซัดแรง หลักการที่ไม่ใช่หลัก..จะปิดสวิตซ์ ส.ว.ไม่ใช่ให้ ก.ก.เสียสละโหวตให้
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม นางอมรัตน์ โชคปมิตต์กุล กรรมการบริหารพรรคก้าวไกล ได้ทวีตข้อความผ่านทวิตเตอร์ โดยระบุ
#หลักการ ที่ไม่ใช่ #หลักกู
1. จะปิดสวิตช์ ส.ว.ไม่ใช่การให้ก้าวไกลเสียสละโหวตให้ โดยอ้างว่าไม่มีสองลุงแล้ว
2.จะปิดสวิตช์ ส.ว.ในบริบทการเมืองที่บิดเบี้ยวผิดปกติ เพื่อไทยต้องไปขอพรรคอื่น ๆ ร่วมใจรักษาหลักการโหวตให้ #สภาล่าง ตั้งรัฐบาลเสียงข้างมากที่มาจากการเลือกตั้งได้สำเร็จ
https://twitter.com/AmaratJeab/status/1686192404624486401