.
.
J. Robert Oppenheimer
© Universal Pictures
.
.
J. Robert Oppenheimer (1904-1967)
มีชื่อเสียงในด้านการพัฒนาระเบิดปรมาณู
ลูกแรกของโลกที่มีการใช้ในสนามรบจริง
แต่ชีวิตส่วนตัวของนักฟิสิกส์ผู้นี้
ใช้ชีวิตห่างไกลจากความน่าเบื่อในห้องทดลอง
จากชีวประวัติ American Prometheus
: ชัยชนะและโศกนาฏกรรม
American Prometheus: The Triumph and Tragedy of J. Robert Oppenheimer
(Knopf, 2005), by Kai Bird and Martin J. Sherwin
8 เรื่องเล่าของ J. Robert Oppenheimer
บิดาแห่งระเบิดปรมาณู ที่มีชีวิตโลดโผนมาก
ตั้งแต่การทำนายการมีอยู่ของหลุมดำ
จนกระทั่งการถูก Einstein ดูถูกเล็กน้อย
ข้อเท็จจริง 8 ประการเกี่ยวกับท่านคือ
.
.
.
.
J. Robert Oppenheimer
เขียนสมการบนกระดานดำ
© ullstein bild Dtl via Getty Images
.
.
1. คนแรกที่เสนอการมีอยู่ของหลุมดำ
Oppenheimer เป็นคนขยันขันแข็ง ทนถึก
ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยและชอบที่จะติดตาม
ความอยากรู้อยากเห็นทางสติปัญญา
ไปในทุกทิศทุกทางที่ต้องการ/อยากรู้
หลังจากที่
Richard Tolman เพื่อนร่วมงาน
ได้รับการแนะนำให้รู้จักกับฟิสิกส์ดาราศาสตร์
Oppenheimer ก็เริ่มเผยแพร่เอกสารเกี่ยวกับ
วัตถุจักรวาลที่เป็นทฤษฎีซึ่งยังไม่มีใครค้นพบ
เอกสารนี้รวมถึงการคำนวณคุณสมบัติ
ของดาวแคระขาว ขีดจำกัดมวล
ตามทฤษฎีของดาวนิวตรอน
บางทีคำทำนายทางดาราศาสตร์ฟิสิกส์
ที่น่าทึ่งที่สุดของท่านอาจเกิดขึ้นในปี 1939
เมื่อ Oppenheimer ร่วมเขียนกับ
Hartland Snyder นักเรียนของท่านในขณะนั้น
เรื่อง On Continued Gravitational Contraction
บทความนี้ทำนายว่าในส่วนลึกของอวกาศ
น่าจะมี ดาวฤกษ์ที่กำลังจะตายซึ่งมีแรงดึงดูด
เกินกว่าการผลิตพลังงานภายในของพวกมัน
ในช่วงเวลานั้น
บทความนี้ได้รับความสนใจเพียงเล็กน้อย
แต่ต่อมานักฟิสิกส์ค้นพบอีกครั้ง
โดยตระหนักว่า Oppenheimer
มองเห็นล่วงหน้าถึงการมีอยู่ของหลุมดำ
(นักเรียนในสยามเดิมใช้กับโรงเรียนกฎหมาย
โรงเรียนนายร้อยทหารบก โรงเรียนทั่วไป
โรงเรียนข้าราชการพลเรือน
ต่อมา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อตั้งโดย
พระธีรราชเจ้า (รัชกาลที่ 6)
มีหอพักทั้งชาย/หญิง จึงใช้คำว่า นิสิต นิสิตา
มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง
ก่อตั้งโดย นายปรีดี พนมยงค์ มีหอพักส่วนหนึ่ง
เป็นมหาวิทยาลัยเปิดแห่งแรกของสยาม
มีการริเริ่มใช้คำว่า นักศึกษา ให้ต่างกับจุฬาฯ)
.
.
.
.
.
.
Oppenheimer เรียนรู้กับ Einstein
© CORBIS/Corbis via Getty Images
.
.
2. Einstein เรียกท่านว่า คนโง่/คนซื่อบื้อ
ความเฉลียวฉลาดที่น่าทึ่ง
และการเรียนรู้มากมายของ Oppenheimer
แต่ยังเอาชนะความไม่บรรลุนิติภาวะ EQ
ทางอารมณ์/ความไร้เดียงสาทางการเมือง
ตัวอย่างหนึ่งคือ ความไม่ลงรอยกัน
ของท่านกับ Albert Einstein
ในช่วง
McCarthy Red Scare ถึงจุดสูงสุด
(การไล่ล่าแม่มด/พ่อมดของสหรัฐ
คนที่ต้องสงสัยว่าเป็นพวกคอมมี่รัสเซีย
มีการกล่าวหา ไล่ออก จับติดคุกหลายคน
บางคนก็ถูกศาลตัดสินประหารชีวิต)
หลังจากที่ทั้งคู่พบกับที่ทำงาน Advanced Study in Princeton
Einstein ได้แนะนำ Oppenheimer ว่า
ท่านไม่จำเป็นต้องยอมจำนนต่อ
การสืบสวนและการพิจารณาคดีแบบยาวนาน
ของคณะกรรมาธิการพลังงานปรมาณู
ให้ท่านทำแค่เดินจากไป/เดินออกไปจากที่นั่น
แต่ Oppenheimer ตอบว่า
" จะสร้างผลดีภายในสถานสืบสวนสอบสวน
ที่ Washington (ที่ตั้ง) มากกว่าจากภายนอก
และได้ตัดสินใจว่า จะอยู่ต่อสู้ต่อไป
และต่อสู้ยืนหยัดความจริงในเรื่องนี่ "
Einstein จึงเดินไปที่ห้องทำงานของท่าน
และพยักหน้าให้กับเลขานุการ Oppenheimer
แล้วพูดว่า
" There goes a narr [Yiddish = fool]."
นั่นไง ไอ้คนโง่/ไอ้คนซื่อบื้อ
(Yiddish ภาษาคนยิวในยุโรปพัฒนามาจาก
ภาษายิวผสมกับภาษาท้องถิ่นที่เข้าไปทำกิน
เริ่มต้นที่สเปญ โปรตุเกส ก่อนเข้าไปในเยอรมัน
แล้วขยายตัวใช้กันทั่วยุโรปหลายชาติ
นายธารินทร์ นิมมานเหมินทร์ เคยกล่าวไว้
ตอนอบรมพนักงานสินเชื่อทิดพาไนว่า
" พนักงานซื่อได้ แต่อย่าซื่อบื้อ "
(ซื่อสัตย์ได้ แต่อย่าซื่อจนเซ่อ จนถูกลูกค้า
หลอกลวงด้วยข้อมูลที่ไม่เป็นจริงส่วนมาก)
.
.
.
.
Illustration of Trinity College
at the University of Cambridge
© Universal Images Group
via Getty Images
.
.
3. พยายามวางยาพิษอาจารย์ด้วยแอปเปิ้ล
Oppenheimer เผชิญกับช่วงเวลาที่ยากลำบาก
ในขณะที่กำลังศึกษาปริญญาเอกสาขาฟิสิกส์
ที่ Cavendish Laboratory ใน Cambridge
ปัญหาทางอารมณ์ที่รุนแรง/ความรู้สึกโดดเดี่ยว
ค่อย ๆ เพิ่มทวีขึ้นจนอยู่ในช่วงภาวะซึมเศร้า
ที่ปรึกษาของ Oppenheimer ที่ Cambridge
คือ
Patrick Maynard Stuart Blackett
นักฟิสิกส์เชิงทดลองที่ชาญฉลาด/มีพรสวรรค์
แม้แต่ Oppenheimer ก็ยังอิจฉาความสามารถ
แต่ Oppenheimer ยังสงสัยว่าจะเป็นจริงหรือไม่
ศาสตราจารย์ก็ยังคงผลักดันให้ Oppenheimer
ทำงานในห้องทดลองอย่างต่อเนื่อง
แม้ว่าผลงานจะล้มเหลวหลายต่อหลายครั้ง
ความล้มเหลวอย่างต่อเนื่องของ Oppenheimer
ในห้องทดลองและการที่ท่านไม่ได้รับการอนุมัติ
ให้ผ่านหัวข้อการทดลองจากศาสตราจารย์
ทำให้ Oppenheimer กังวลอย่างมาก
จนอาจถูกครอบงำด้วยความโกรธ
ความอิจฉาริษยาจนสุดขีดจะทน
Francis Fergusson เพื่อนสนิทอ้างว่า
Oppenheimer ยอมรับว่าใส่สารพิษในแอปเปิ้ล
แล้ววางมันไว้บนโต๊ะทำงานของอาจารย์
อย่างไรก็ตาม ไม่มีหลักฐานของเหตุการณ์นี้
มีแต่คำกล่าวอ้างของ Francis Fergusson
ส่วน Charles Oppenheimer
หลานชายของ Oppenheimer
ได้โต้แย้งว่า เหตุการณ์นี้เคยเกิดขึ้นจริง
แต่แค่ในระดับโรงเรียนที่สหรัฐที่ท่านเรียน
และข้อกล่าวหาทางอาญาก็ยุติลง
เพราะ Oppenheimer แค่พยายามจะทำ
และตัดสินใจยกเลิกการกระทำในภายหลัง
ก่อนที่พ่อของท่านจะเข้ามาแทรกแซง
และเจรจาต่อรองกับคณะกรรมการโรงเรียน
ให้ยุติเรื่องนี้และท่านถูกโรงเรียนภาคทัณฑ์
.
.
.
.
.
นายพลดักลาส แมคอาเธอร์
ผู้บัญชาการกองทัพสหรัฐฯ (1880 - 1964)
กับ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ
แฮร์รี เอส. ทรูแมน (1884 - 1972)
ขณะพูดคุยกันที่เบาะหลังรถใน Wake Island
เมื่อวันทึ่ 18 ตุลาคม 1950
© Fotosearch/Getty Images
.
.
4. ประธานาธิบดี Truman เรียกท่านว่า เด็กขี้แย
Oppenheimer พยายามอย่างมาก
ที่จะผ่อนคลายอารมณ์ภายใต้สภาพแวดล้อม
ที่กดดันตนเองอย่างมากมายเกินทน
เพียงสองเดือนหลังจากการทิ้งระเบิดปรมาณู
ที่ฮิโรชิมาและนางาซากิ โดยกองทัพสหรัฐฯ
Oppenheimer ได้พบกับ ประธานาธิบดี
Harry S. Truman
ในห้องทำงานประธานาธิบดี Oval Office
เพื่อหารือเกี่ยวกับข้อกังวลของท่านเกี่ยวกับ
สงครามนิวเคลียร์ที่อาจเกิดขึ้นกับ
สหภาพโซเวียต(รัสเซีย) ในอนาคต
Harry S. Truman ให้ความมั่นใจกับท่านว่า
โซเวียตจะไม่มีทางพัฒนาระเบิดปรมาณูได้
แต่ท่านโกรธประธานาธิบดีเพิกเฉยต่อเรื่องนี้
Oppenheimer จึงได้บีบมือของประธานาธิบดี
แล้วพูดด้วยเสียงทุ้มต่ำว่า
" ท่านประธานาธิบดี
ผมรู้ดีว่า มือผมเปื้อนเลือดมามากแล้ว "
ประธานาธิบดี Harry S. Truman
รู้สึกโกรธกับคำพูดนี้มาก
และยุติการประชุมสนทนาทันที
“ มือของมันเปื้อนเลือด บ้าจริงเลย
มือของมันเปื้อนเลือดไม่ถึงครึ่งมือของมือกูเลย
มันแค่พร่ำเพ้อถึงเรื่องนี้ อย่าไปสนใจมัน
กูไม่อยากเห็นหน้าไอ้เด็กนรกในที่นี่อีกแล้ว "
เรื่องนี้
Dean Acheso รัฐมนตรีต่างประเทศ
ของ ประธานาธิบดี Harry S. Truman
ที่มักจะพบปะและมีหัวข้อการประชุมกับ Oppenheimer กันเป็นประจำ
ได้เขียนบันทึกความทรงจำในปี 1946 ว่า
บิดาระเบิดปรมาณูเป็น
นักวิทยาศาสตร์ขี้แย
เพราะเรื่องมาจากที่ทำงานของผม
เมื่อประมาณห้าหรือหกเดือนก่อน
และท่านใช้เวลาส่วนใหญ่กับการจับมือกับผม
แล้วบอกผมว่า พวกเขามือเปื้อนเลือด
เพราะการค้นพบพลังงานปรมาณู ”
(ทำให้คนญี่ปุ่นตายไปจำนวนมาก
และบาดเจ็บจากผลข้างเคียงอีกหลายแสนคน)
(กู คือ คำเรียกตนเองของ ฮ่องเต้จีน
คาดว่านำมาจากชนเผ่าไท เผ่าเย่ว์
ที่เดิมมีถิ่นฐานแถวซังไห่(เซี่ยงไฮ้)
ก่อนอพยพหนีภัยลงมาทางตอนใต้ของจีน
บรรพบุรุษพระนางไซซี (เดิมก็อยู่แถวนี้)
พระนางงามล่มแผ่นดินที่โด่งดัง
อีกคำคือ เฉิน หรือ ฉัน แทนตนเอง
หรือคำเรียกฮ่องเต้ด้วยความเคารพ
ภาษาใต้คือ ตน หรือ เติน บุรุษสรรพนามที่ 2)
.
.
.
.
.
.
นักทฤษฏีฟิสิคส์สหรัฐฯ Robert Oppenheimer
บรรยายที่ Kyoto University ในญี่ปุ่น
เมื่อวันที่ 14 กันยายน 1960
© The Asahi Shimbun via Getty Images
.
.
5. นักเรียนต่างเป็นด้อม/ติ่งของท่าน
Oppenheimer นักฟิสิกส์ที่พูดได้อารมณ์/ถึงใจ
ท่านไม่ได้พึ่งพาคณิตศาสตร์เพียงอย่างเดียว
ในการทำความเข้าใจโลกและวิชาการ
ทั้งยังหาวิธีที่เป็นประโยชน์
ในการอธิบายด้วยคำพูด
มีสุนทรียศาสตร์ทางโวหาร
และความรู้ในหัวข้อที่อยู่ห่างไกลจากฟิสิกส์
ทำให้ท่านเป็น ปากกระบอกเสียงที่น่ารัก
Oppenheimer มีพรสวรรค์อย่างมาก
ในการประดิษฐ์ประโยคที่สวยงาม
บ่อยครั้งและหลายครั้งที่ทำให้นักเรียนชื่นชอบ
กับคำบรรยายที่ติดตาตรึงใจ
นักเรียนบางคนหลงใหลในตัว Oppenheimer
มากเสียจนเริ่มแต่งตัวและทำตัวเหมือนกับท่าน
เช่น สวมสูทสีเทา รองเท้าสีดำที่ไม่เรียบร้อย
สูบบุหรี่
Chesterfield ที่ท่านโปรดปราน
และเลียนแบบท่าทางแปลก ๆ ของท่าน
พวกนักเรียนที่รู้สึกดีใจเวลาเจอคนโปรด
(จนทำตัวไม่ถูกว่าจะพูด จะต้อนรับอย่างไร)
มักจะได้รับฉายาว่า พวกเด็กนิมนิม
เพราะพวกนี้ชอบเลียนแบบการฮัมเพลง
nim nim ที่มีเสียงประหลาด ๆ
ของ Oppenheimer ในการร้องเพลงนี้
8 เรื่องเล่าของ J. Robert Oppenheimer
.
J. Robert Oppenheimer
© Universal Pictures
.
J. Robert Oppenheimer (1904-1967)
มีชื่อเสียงในด้านการพัฒนาระเบิดปรมาณู
ลูกแรกของโลกที่มีการใช้ในสนามรบจริง
แต่ชีวิตส่วนตัวของนักฟิสิกส์ผู้นี้
ใช้ชีวิตห่างไกลจากความน่าเบื่อในห้องทดลอง
จากชีวประวัติ American Prometheus
: ชัยชนะและโศกนาฏกรรม
American Prometheus: The Triumph and Tragedy of J. Robert Oppenheimer
(Knopf, 2005), by Kai Bird and Martin J. Sherwin
8 เรื่องเล่าของ J. Robert Oppenheimer
บิดาแห่งระเบิดปรมาณู ที่มีชีวิตโลดโผนมาก
ตั้งแต่การทำนายการมีอยู่ของหลุมดำ
จนกระทั่งการถูก Einstein ดูถูกเล็กน้อย
ข้อเท็จจริง 8 ประการเกี่ยวกับท่านคือ
.
.
.
J. Robert Oppenheimer
เขียนสมการบนกระดานดำ
© ullstein bild Dtl via Getty Images
.
1. คนแรกที่เสนอการมีอยู่ของหลุมดำ
Oppenheimer เป็นคนขยันขันแข็ง ทนถึก
ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยและชอบที่จะติดตาม
ความอยากรู้อยากเห็นทางสติปัญญา
ไปในทุกทิศทุกทางที่ต้องการ/อยากรู้
หลังจากที่ Richard Tolman เพื่อนร่วมงาน
ได้รับการแนะนำให้รู้จักกับฟิสิกส์ดาราศาสตร์
Oppenheimer ก็เริ่มเผยแพร่เอกสารเกี่ยวกับ
วัตถุจักรวาลที่เป็นทฤษฎีซึ่งยังไม่มีใครค้นพบ
เอกสารนี้รวมถึงการคำนวณคุณสมบัติ
ของดาวแคระขาว ขีดจำกัดมวล
ตามทฤษฎีของดาวนิวตรอน
บางทีคำทำนายทางดาราศาสตร์ฟิสิกส์
ที่น่าทึ่งที่สุดของท่านอาจเกิดขึ้นในปี 1939
เมื่อ Oppenheimer ร่วมเขียนกับ
Hartland Snyder นักเรียนของท่านในขณะนั้น
เรื่อง On Continued Gravitational Contraction
บทความนี้ทำนายว่าในส่วนลึกของอวกาศ
น่าจะมี ดาวฤกษ์ที่กำลังจะตายซึ่งมีแรงดึงดูด
เกินกว่าการผลิตพลังงานภายในของพวกมัน
ในช่วงเวลานั้น
บทความนี้ได้รับความสนใจเพียงเล็กน้อย
แต่ต่อมานักฟิสิกส์ค้นพบอีกครั้ง
โดยตระหนักว่า Oppenheimer
มองเห็นล่วงหน้าถึงการมีอยู่ของหลุมดำ
(นักเรียนในสยามเดิมใช้กับโรงเรียนกฎหมาย
โรงเรียนนายร้อยทหารบก โรงเรียนทั่วไป
โรงเรียนข้าราชการพลเรือน
ต่อมา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อตั้งโดย
พระธีรราชเจ้า (รัชกาลที่ 6)
มีหอพักทั้งชาย/หญิง จึงใช้คำว่า นิสิต นิสิตา
มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง
ก่อตั้งโดย นายปรีดี พนมยงค์ มีหอพักส่วนหนึ่ง
เป็นมหาวิทยาลัยเปิดแห่งแรกของสยาม
มีการริเริ่มใช้คำว่า นักศึกษา ให้ต่างกับจุฬาฯ)
.
.
.
.
.
Oppenheimer เรียนรู้กับ Einstein
© CORBIS/Corbis via Getty Images
.
2. Einstein เรียกท่านว่า คนโง่/คนซื่อบื้อ
ความเฉลียวฉลาดที่น่าทึ่ง
และการเรียนรู้มากมายของ Oppenheimer
แต่ยังเอาชนะความไม่บรรลุนิติภาวะ EQ
ทางอารมณ์/ความไร้เดียงสาทางการเมือง
ตัวอย่างหนึ่งคือ ความไม่ลงรอยกัน
ของท่านกับ Albert Einstein
ในช่วง McCarthy Red Scare ถึงจุดสูงสุด
(การไล่ล่าแม่มด/พ่อมดของสหรัฐ
คนที่ต้องสงสัยว่าเป็นพวกคอมมี่รัสเซีย
มีการกล่าวหา ไล่ออก จับติดคุกหลายคน
บางคนก็ถูกศาลตัดสินประหารชีวิต)
หลังจากที่ทั้งคู่พบกับที่ทำงาน Advanced Study in Princeton
Einstein ได้แนะนำ Oppenheimer ว่า
ท่านไม่จำเป็นต้องยอมจำนนต่อ
การสืบสวนและการพิจารณาคดีแบบยาวนาน
ของคณะกรรมาธิการพลังงานปรมาณู
ให้ท่านทำแค่เดินจากไป/เดินออกไปจากที่นั่น
แต่ Oppenheimer ตอบว่า
" จะสร้างผลดีภายในสถานสืบสวนสอบสวน
ที่ Washington (ที่ตั้ง) มากกว่าจากภายนอก
และได้ตัดสินใจว่า จะอยู่ต่อสู้ต่อไป
และต่อสู้ยืนหยัดความจริงในเรื่องนี่ "
Einstein จึงเดินไปที่ห้องทำงานของท่าน
และพยักหน้าให้กับเลขานุการ Oppenheimer
แล้วพูดว่า
" There goes a narr [Yiddish = fool]."
นั่นไง ไอ้คนโง่/ไอ้คนซื่อบื้อ
(Yiddish ภาษาคนยิวในยุโรปพัฒนามาจาก
ภาษายิวผสมกับภาษาท้องถิ่นที่เข้าไปทำกิน
เริ่มต้นที่สเปญ โปรตุเกส ก่อนเข้าไปในเยอรมัน
แล้วขยายตัวใช้กันทั่วยุโรปหลายชาติ
นายธารินทร์ นิมมานเหมินทร์ เคยกล่าวไว้
ตอนอบรมพนักงานสินเชื่อทิดพาไนว่า
" พนักงานซื่อได้ แต่อย่าซื่อบื้อ "
(ซื่อสัตย์ได้ แต่อย่าซื่อจนเซ่อ จนถูกลูกค้า
หลอกลวงด้วยข้อมูลที่ไม่เป็นจริงส่วนมาก)
.
.
.
Illustration of Trinity College
at the University of Cambridge
© Universal Images Group
via Getty Images
.
3. พยายามวางยาพิษอาจารย์ด้วยแอปเปิ้ล
Oppenheimer เผชิญกับช่วงเวลาที่ยากลำบาก
ในขณะที่กำลังศึกษาปริญญาเอกสาขาฟิสิกส์
ที่ Cavendish Laboratory ใน Cambridge
ปัญหาทางอารมณ์ที่รุนแรง/ความรู้สึกโดดเดี่ยว
ค่อย ๆ เพิ่มทวีขึ้นจนอยู่ในช่วงภาวะซึมเศร้า
ที่ปรึกษาของ Oppenheimer ที่ Cambridge
คือ Patrick Maynard Stuart Blackett
นักฟิสิกส์เชิงทดลองที่ชาญฉลาด/มีพรสวรรค์
แม้แต่ Oppenheimer ก็ยังอิจฉาความสามารถ
แต่ Oppenheimer ยังสงสัยว่าจะเป็นจริงหรือไม่
ศาสตราจารย์ก็ยังคงผลักดันให้ Oppenheimer
ทำงานในห้องทดลองอย่างต่อเนื่อง
แม้ว่าผลงานจะล้มเหลวหลายต่อหลายครั้ง
ความล้มเหลวอย่างต่อเนื่องของ Oppenheimer
ในห้องทดลองและการที่ท่านไม่ได้รับการอนุมัติ
ให้ผ่านหัวข้อการทดลองจากศาสตราจารย์
ทำให้ Oppenheimer กังวลอย่างมาก
จนอาจถูกครอบงำด้วยความโกรธ
ความอิจฉาริษยาจนสุดขีดจะทน
Francis Fergusson เพื่อนสนิทอ้างว่า
Oppenheimer ยอมรับว่าใส่สารพิษในแอปเปิ้ล
แล้ววางมันไว้บนโต๊ะทำงานของอาจารย์
อย่างไรก็ตาม ไม่มีหลักฐานของเหตุการณ์นี้
มีแต่คำกล่าวอ้างของ Francis Fergusson
ส่วน Charles Oppenheimer
หลานชายของ Oppenheimer
ได้โต้แย้งว่า เหตุการณ์นี้เคยเกิดขึ้นจริง
แต่แค่ในระดับโรงเรียนที่สหรัฐที่ท่านเรียน
และข้อกล่าวหาทางอาญาก็ยุติลง
เพราะ Oppenheimer แค่พยายามจะทำ
และตัดสินใจยกเลิกการกระทำในภายหลัง
ก่อนที่พ่อของท่านจะเข้ามาแทรกแซง
และเจรจาต่อรองกับคณะกรรมการโรงเรียน
ให้ยุติเรื่องนี้และท่านถูกโรงเรียนภาคทัณฑ์
.
.
.
.
นายพลดักลาส แมคอาเธอร์
ผู้บัญชาการกองทัพสหรัฐฯ (1880 - 1964)
กับ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ
แฮร์รี เอส. ทรูแมน (1884 - 1972)
ขณะพูดคุยกันที่เบาะหลังรถใน Wake Island
เมื่อวันทึ่ 18 ตุลาคม 1950
© Fotosearch/Getty Images
.
4. ประธานาธิบดี Truman เรียกท่านว่า เด็กขี้แย
Oppenheimer พยายามอย่างมาก
ที่จะผ่อนคลายอารมณ์ภายใต้สภาพแวดล้อม
ที่กดดันตนเองอย่างมากมายเกินทน
เพียงสองเดือนหลังจากการทิ้งระเบิดปรมาณู
ที่ฮิโรชิมาและนางาซากิ โดยกองทัพสหรัฐฯ
Oppenheimer ได้พบกับ ประธานาธิบดี Harry S. Truman
ในห้องทำงานประธานาธิบดี Oval Office
เพื่อหารือเกี่ยวกับข้อกังวลของท่านเกี่ยวกับ
สงครามนิวเคลียร์ที่อาจเกิดขึ้นกับ
สหภาพโซเวียต(รัสเซีย) ในอนาคต
Harry S. Truman ให้ความมั่นใจกับท่านว่า
โซเวียตจะไม่มีทางพัฒนาระเบิดปรมาณูได้
แต่ท่านโกรธประธานาธิบดีเพิกเฉยต่อเรื่องนี้
Oppenheimer จึงได้บีบมือของประธานาธิบดี
แล้วพูดด้วยเสียงทุ้มต่ำว่า
" ท่านประธานาธิบดี
ผมรู้ดีว่า มือผมเปื้อนเลือดมามากแล้ว "
ประธานาธิบดี Harry S. Truman
รู้สึกโกรธกับคำพูดนี้มาก
และยุติการประชุมสนทนาทันที
“ มือของมันเปื้อนเลือด บ้าจริงเลย
มือของมันเปื้อนเลือดไม่ถึงครึ่งมือของมือกูเลย
มันแค่พร่ำเพ้อถึงเรื่องนี้ อย่าไปสนใจมัน
กูไม่อยากเห็นหน้าไอ้เด็กนรกในที่นี่อีกแล้ว "
เรื่องนี้ Dean Acheso รัฐมนตรีต่างประเทศ
ของ ประธานาธิบดี Harry S. Truman
ที่มักจะพบปะและมีหัวข้อการประชุมกับ Oppenheimer กันเป็นประจำ
ได้เขียนบันทึกความทรงจำในปี 1946 ว่า
บิดาระเบิดปรมาณูเป็น นักวิทยาศาสตร์ขี้แย
เพราะเรื่องมาจากที่ทำงานของผม
เมื่อประมาณห้าหรือหกเดือนก่อน
และท่านใช้เวลาส่วนใหญ่กับการจับมือกับผม
แล้วบอกผมว่า พวกเขามือเปื้อนเลือด
เพราะการค้นพบพลังงานปรมาณู ”
(ทำให้คนญี่ปุ่นตายไปจำนวนมาก
และบาดเจ็บจากผลข้างเคียงอีกหลายแสนคน)
(กู คือ คำเรียกตนเองของ ฮ่องเต้จีน
คาดว่านำมาจากชนเผ่าไท เผ่าเย่ว์
ที่เดิมมีถิ่นฐานแถวซังไห่(เซี่ยงไฮ้)
ก่อนอพยพหนีภัยลงมาทางตอนใต้ของจีน
บรรพบุรุษพระนางไซซี (เดิมก็อยู่แถวนี้)
พระนางงามล่มแผ่นดินที่โด่งดัง
อีกคำคือ เฉิน หรือ ฉัน แทนตนเอง
หรือคำเรียกฮ่องเต้ด้วยความเคารพ
ภาษาใต้คือ ตน หรือ เติน บุรุษสรรพนามที่ 2)
.
.
.
.
.
นักทฤษฏีฟิสิคส์สหรัฐฯ Robert Oppenheimer
บรรยายที่ Kyoto University ในญี่ปุ่น
เมื่อวันที่ 14 กันยายน 1960
© The Asahi Shimbun via Getty Images
.
5. นักเรียนต่างเป็นด้อม/ติ่งของท่าน
Oppenheimer นักฟิสิกส์ที่พูดได้อารมณ์/ถึงใจ
ท่านไม่ได้พึ่งพาคณิตศาสตร์เพียงอย่างเดียว
ในการทำความเข้าใจโลกและวิชาการ
ทั้งยังหาวิธีที่เป็นประโยชน์
ในการอธิบายด้วยคำพูด
มีสุนทรียศาสตร์ทางโวหาร
และความรู้ในหัวข้อที่อยู่ห่างไกลจากฟิสิกส์
ทำให้ท่านเป็น ปากกระบอกเสียงที่น่ารัก
Oppenheimer มีพรสวรรค์อย่างมาก
ในการประดิษฐ์ประโยคที่สวยงาม
บ่อยครั้งและหลายครั้งที่ทำให้นักเรียนชื่นชอบ
กับคำบรรยายที่ติดตาตรึงใจ
นักเรียนบางคนหลงใหลในตัว Oppenheimer
มากเสียจนเริ่มแต่งตัวและทำตัวเหมือนกับท่าน
เช่น สวมสูทสีเทา รองเท้าสีดำที่ไม่เรียบร้อย
สูบบุหรี่ Chesterfield ที่ท่านโปรดปราน
และเลียนแบบท่าทางแปลก ๆ ของท่าน
พวกนักเรียนที่รู้สึกดีใจเวลาเจอคนโปรด
(จนทำตัวไม่ถูกว่าจะพูด จะต้อนรับอย่างไร)
มักจะได้รับฉายาว่า พวกเด็กนิมนิม
เพราะพวกนี้ชอบเลียนแบบการฮัมเพลง
nim nim ที่มีเสียงประหลาด ๆ
ของ Oppenheimer ในการร้องเพลงนี้