เมื่อราว ๆ 150 ปีก่อน
ผลงานครั้งสำคัญของ
Louis Pasteur กับ
Robert Koch
ทั้งคู่ได้วางรากฐานทฤษฎีเชื้อโรค
แต่ถึงกระนั้นก็ตาม ต้องใช้เวลานานมาก
ในการโน้มน้าวให้ผู้ให้บริการดูแลสุขภาพ
หันมาล้างมืออย่างจริงจังยังเป็นเรื่องยากมาก
Centers for Disease Control and Prevention
ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐฯ
ได้ประเมินว่า การฆ่าเชื้อที่ไม่เหมาะสม
และการปนเปื้อนภายในโรงพยาบาล
จะส่งผลให้เกิดการติดเชื้อราว 1.7 ล้านราย
เฉพาะในสหรัฐอเมริกาเพียงแห่งเดียว
ซึ่งมีส่วนทำให้คนป่วยเสียชีวิต 99,000 ราย/ปี
สุขอนามัยของมือเป็นมาตรการเดียว
ที่สำคัญที่สุดในการลดการติดเชื้อดังกล่าว
ความสำคัญของการล้างมือเพื่อสุขภาพของคน
ได้รับการยอมรับในช่วงกลางศตวรรษที่ 19
โดยแพทย์ชาวฮังการีชื่อ Ignaz Semmelweis
.
.
.
.
.
ในปี ค.ศ.1846
นายแพทย์
Ignaz Semmelweis
ซึ่งเพิ่งจะจบแพทย์จากมหาวิทยาลัยเวียนนา
ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยนายแพทย์
ที่คลีนิกคลอดบุตรโรงพยาบาลเวียนนา
ในช่วงแรก ๆ
ท่านทำหน้าที่ตรวจคนไข้ทุกเช้า
เพื่อเตรียมความพร้อมการออกรอบของอาจารย์
ในการดูแลการคลอดบุตรที่เป็นเรื่องยาก
รวมถึงการสอนนักศึกษาแพทย์วิชาสูติศาสตร์
โรงพยาบาลมีคลีนิกคลอดบุตร 2 แห่ง
แห่งแรกแพทย์ชายดูแลนักศึกษาแพทย์ชาย
และอีกแห่งหนึ่งดูแลโดยนางผดุงครรภ์หญิง
Ignaz Semmelweis เริ่มสังเกต/ยังงงงงว่า
อัตราการตายของผู้ป่วยในคลีนิค
ที่มีแพทย์ชายและนักศึกษาแพทย์ชาย
มีคนตาย 2-3 เท่ามากกว่าคลีนิกนางผดุงครรภ์
แม้ว่าแพทย์ชายและนักศึกษาแพทย์ชาย
จะได้รับการฝึกฝนในการจัดการทำคลอด
เช่นเดียวกับคลีนิคนางผดุงครรภ์
แต่เหตุใดสตรีจำนวนมากในคลีนิกแรก
จึงเสียชีวิตด้วยไข้หลังคลอด (ไข้เด็ก)
Ignaz Semmelweis จึงเริ่มลงพื้นที่จริง
เพื่อทำการตรวจสอบและสืบหาสาเหตุการตาย
โดยตรวจสอบความเหมือนและความแตกต่าง
ของคลีนิกทั้งสองแห่งแล้วนำขัอมูลมาหา Diff
เพื่อแยกแยะสาเหตุที่เป็นไปได้
ความแตกต่างประการแรกที่ค้นพบ คือ
นางผดุงครรภ์คลอดผู้หญิงโดยนอนตะแคง
ในขณะที่ในคลินิกแพทย์ชาย
ผู้หญิงจะคลอดด้วยการนอนหงาย
ดังนั้น จึงลองให้ผู้หญิงในคลินิกแพทย์ชาย
ทำคลอดแบบนอนตะแคง แต่ก็ไม่เป็นผล
หลังจากนั้นยังสังเกตเห็นและพบว่า
เมื่อใดก็ตามที่มีคนในวอร์ดเสียชีวิตด้วยไข้เด็ก
นักบวชจะเดินผ่านคลินิกแพทย์อย่างช้า ๆ
เดินผ่านเตียงสตรีที่มีเจ้าหน้าที่คอยกดกริ่ง
ท่านจึงตั้งทฤษฎีว่า นักบวชและเสียงกริ่ง
ทำให้สตรีหลังคลอดต่างพากันหวาดกลัว
จนป่วยเป็นไข้และเสียชีวิต
ท่านจึงขอให้นักบวชเปลี่ยนเส้นทางเดิน
และนำกริ่งออกไป แต่ก็ยังไม่เป็นผล
.
.
.
.
Ignaz Semmelweis ล้างมือ
ในน้ำผสมคลอรีนก่อนปฏิบัติงาน
.
.
ในปี ค.ศ.1847
ท่านก็ค้นพบสาเหตุโดยบังเอิญ
เมื่อนายแพทย์
Jakob Kolletschka
เสียชีวิตหลังจากโดนมีดผ่าตัดจิ้มถูกตัวเอง
โดยไม่ได้ตั้งใจขณะทำการชันสูตรศพ
ผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากไข้คลอดบุตร
ผลการชันสูตรศพ Jakob Kolletschka
เปิดเผยให้เห็นว่า พยาธิสภาพคนตาย
คล้ายกับของสตรีที่ตายด้วยไข้หลังคลอด
ทำให้ท่านสามารถเห็นการเชื่อมโยงกันได้ทันที
.
.
.
.
ท่านได้ตระหนัก/รับรู้เลยว่า
ความแตกต่างที่สำคัญอย่างหนึ่ง
ระหว่างสองคลีนิกที่ได้มองข้ามไป คือ
เริ่มต้นวันใหม่ แพทย์ชายและนักศึกษาชาย
จะเริ่มชันสูตรศพผู้หญิงที่เสียชีวิตก่อน
หลังจากเดินออกจากห้องชันสูตรศพ
ก็จะเดินตรงไปที่ห้องคลอด
โดยแทบจะไม่ล้างมือในระหว่างนั้น
และเริ่มทำคลอดทารกตลอดทั้งวัน
แต่ในทางกลับกัน
นางผดุงครรภ์ไม่ได้ทำหน้าที่ชันสูตรศพ
ท่านจึงเสนอกรอบแนวคิด/ทฤษฏี
อนุภาคซากศพ Cadaverous particles ว่า
" มีบางสิ่งบางอย่างติดอยู่ที่มือของ
แพทย์ชายและนักศึกษาชาย
เมื่อตอนที่พวกเขาทำการชันสูตรศพ
ซึ่งส่งต่อไปยังผู้หญิงที่มีสุขภาพแข็งแรง
ขณะคลอดบุตรในคลีนิคแห่งแรก
ทำให้พวกคนไข้เกิดอาการไข้ขึ้นหลังคลอด "
วิธีแก้ปัญหาของท่านประหยัดและเรียบง่าย
ด้วยการให้ทุกคนในแผนกของท่าน
ล้างมือก่อนเข้าห้องคลอด
แพทย์และนักศึกษาแพทย์
ยังต้องแปรงฟัน/ล้างมือด้วยน้ำที่มีส่วนผสม
คลอรีน
Chlorinated lime
คลอรีนเป็นสารฆ่าเชื้อที่ทรงพลังมาก
แม้ว่าตอนนั้น ท่านจะยังไม่ทราบก็ตาม
แต่ที่ท่านเลือกคลอรีนเพียงเพราะว่า
มีประสิทธิภาพในการขจัดกลิ่นเน่า
ของเนื้อเยื่อที่มาจากการชันสูตรศพที่ติดเชื้อ
หลังจากที่ท่านกำหนดให้ล้างมือก่อนทำคลอด
อัตราคนไข้ติดเตียงภายในแผนกของท่าน
ลดลง 90% เป็นเวลา 2 เดือนติดต่อกัน
และไม่มีผู้เสียชีวิตในแผนกของท่าน
.
.
.
.
แต่เรื่องแบบนี้ ไม่ใช่แพทย์ทุกคนจะเห็นด้วย
หรือตื่นเต้นกับการค้นพบอันน่าทึ่งนี้
โดยเฉพาะแพทย์รุ่นพี่ของท่าน
เพราะสมมติฐานของท่านที่นำเสนอ
เท่ากับระบุว่า พวกแพทย์ขาดสุขอนามัย
ทำให้พวกแพทย์รู้สึกไม่พอใจ
กับคำแนะนำที่ว่าควรจะล้างมือก่อนรักษาคนไข้
เพราะในยุคนั้นสถานะทางสังคมของแพทย์
ยังมีความรู้สึกว่า แพทย์สูงส่งกว่าคนไข้
และการล้างมือทุกครั้งก่อนรักษาคนไข้
เท่ากับยอมรับว่า
มือพวกตนมีมลทิน
ทฤษฎีอนุภาคซากศพ ที่ส่งผ่านเชื้อโรคนั้น
ขัดแย้งกับทฤษฎีเก่าที่แพร่หลายมานานแล้วว่า
โรคต่าง ๆ เกิดจากความไม่สมดุลของ
Four humours พื้นฐานในร่างกายคนเรา
.
.
.
.
ชุมชนทางการแพทย์ส่วนใหญ่
จึงต่างเพิกเฉย ปฏิเสธ และบางครั้งก็เยาะเย้ย
Ignaz Semmelweis กับทฤษฎี
มือสกปรก
ทำให้ท่านรู้สึกเดือดดาลกับความเมินเฉย
ของวงการวิชาชีพแพทย์ในยุโรป
ท่านจึงเริ่มเขียนจดหมายเปิดผนึกเป็นทางการ
และโกรธแค้นมากยิ่งขึ้น
กับบรรดาสูติแพทย์ผู้มีชื่อเสียงของยุโรป
ที่ไม่นิยมล้างมือก่อนทำการคลอดบุตร
บางครั้งท่านก็ประณามว่า พวกนี้เป็นฆาตกร
ที่ขาดความรับผิดชอบหรือโง่เขลาเบาปัญญา
การขาดไหวพริบและออกตัวอย่างแรงของท่าน
ทำให้ท่านบ่มเพาะเชื้อโรคศัตรูมากมาย
ท่านจึงถูกบังคับให้ย้ายออกจาก
เวียนนาไปยังบูดาเปสต์
ในยุคจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี
(แบบมิตรร่วมรบหนึ่งคน
ยังพ่ายแพ้ศัตรูหลายคน
สิงโตหนึ่งตัว ฤาจะสู้ฝูงไฮยีน่า
การถูกย้ายในแวดวงคนทำงาน
เรียกว่า ถีบข้ามห้วย ไล่ลงจากภูเขา)
.
.
.
.
.
ในบูดาเปสต์ ฮังการี
Ignaz Semmelweis ได้เป็นหัวหน้าแพทย์
แผนกสูติกรรมในโรงพยาบาลขนาดเล็ก
หลังจากท่านสั่งให้แพทย์ทุกคนล้างมือที่นั่นแล้ว
ก็สามารถกำจัดไข้สตรีหลังคลอดได้สำเร็จ
ในปี ค.ศ.1855
ท่านเป็นศาสตราจารย์ด้านสูติศาสตร์
ที่ University of Pest
ท่านสั่งให้ทุกคนล้างมือด้วยน้ำผสมคลอรีน
ที่คลีนิกคลอดบุตรก่อนทำคลอด
และผลลัพธ์ที่นั่นก็น่าประทับใจอีกครั้ง
.
.
.
.
ในปี ค.ศ. 1860
ท่านได้ตีพิมพ์
The Etiology, Concept และ Prophylaxis of Childbed Fever
อธิบายเรื่องล้างมือก่อนทำคลอด
และคร่ำครวญถึงการยอมรับแนวคิดนี้
ที่มีแพทย์/บุคลากรยอมรับอย่างเชื่องช้า
แต่หนังสือเล่มนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก
ทำให้ท่านถลำลึกเข้าสู่ภาวะเป็นโรคซึมเศร้า
เพราะความโกรธเกรี้ยว/ความคับข้องใจ
ในปี ค.ศ.1865
ท่านจึงลงเอยที่โรงพยาบาลโรคจิต
การรักษาคนไข้ในยุคนั้น
ผู้ถูกคุมขังจะถูกเฆี่ยนตีอย่างรุนแรง
ท่านเสียชีวิตในอีกสองสัปดาห์ต่อมา
จากการเฆี่ยนตีจนเป็นบาดแผลฉกรรจ์
ผลการชันสูตรศพระบุว่า
ท่านเสียชีวิตด้วยโรคเดียวกับ
ที่ท่านต่อสู้มาตลอดชีวิตการทำงาน
การตายของท่านไม่มีผู้คนสนใจมากนัก
แม้แต่วารสารทางการแพทย์
ของกรุงเวียนนาและบูดาเปสต์ จัดทำโดย
สมาคมแพทย์และนักวิทยาศาสตร์แห่งฮังการี
จะมีกฎว่าให้ระบุชื่อที่อยู่สมาชิกที่ตายปีที่แล้ว
เพื่อเป็นที่ระลึก/เป็นเกียรติ
แต่ก็ไม่มีชื่อที่อยู่ของ Ignaz Semmelweis
ความตายของท่านไม่เคยถูกกล่าวถึงด้วยซ้ำ
.
.
.
© Miklós Sziklai
.
.
© Miklós Sziklai
.
.
.
.
หลังจากท่านเสียชีวิต
นายแพทย์
János Diescher
ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ดำรงตำแหน่งแทน
ที่คลีนิกคลอดบุตร University of Pest
แต่อัตราการตายของสตรี
กลับเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิมเป็น 6 เท่า
แต่พวกแพทย์ของบูดาเปสต์
ต่างไม่ได้พูดอะไรเลย ไม่มีการสอบถาม
และไม่มีการทักท้วงใด ๆ แต่อย่างใดเลย
“ แทบจะไม่มีใคร
ไม่ว่าจะในเวียนนาหรือในบูดาเปสต์
ดูเหมือนว่า จะเต็มใจที่จะรับรู้ชีวิต
และผลงานของ Ignaz Semmelweis "
โดย K. Codell Carter กับ Barbara R. Carter
ใน Childbed Fever: A Scientific Biography of Ignaz Semmelweis
.
.
.
.
20 ปีหลังจากท่านตาย
ทฤษฎีเชื้อโรคและอนุภาคซากศพ
จึงได้รับการยอมรับจากวงการแพทย์
ในปัจจุบันท่านได้รับการยอมรับว่า
เป็นผู้บุกเบิกกระบวนการฆ่าเชื้อโรค
และได้รับการยกย่องว่าเป็น
บิดาแห่งสุขอนามัยของมือ
และ ผู้ช่วยชีวิตบรรดาแม่แม่
.
เรียบเรียง/ที่มา
https://bit.ly/3Y0EPjR
https://bit.ly/43zlHKY
https://bit.ly/46TWvSt
https://bit.ly/43xNFqD
https://bit.ly/3pVJ3wJ
.
.
เรื่องเล่าไร้สาระ
ในวงการวิชาชีพสายวิทยาศาสตร์/วิศวกร
มักจะพูดกันตรง ๆ ไม่อ้อมค้อม
ยืนยันกันด้วยตัวเลข/ข้อมูล
ไม่มีการบิดพริ้ว/ตามใจคนฟังมากนัก
เพราะความผิดพลาดทางวิชาชีพ
หมายถึงภยันตราย/ความตาย
และโทษทางอาญาทึ่ตามมา
แบบความผิดพลาดบางอย่าง
ไม่มีโอกาสได้แก้ตัวแก้มืออีกตลอดไป
เช่น การเก็บกู้วัตถุระเบิดที่ผ่านมา
ถ้าพลาดไม่ตายก็บาดเจ็บ
ในวงการช่างโรงงาน/ซ่อมเครื่องยนต์
แถวบ้านที่เคยพบเจอเป็นประจำ
พวกช่างมักจะตักเตือน/พูดกับแรง ๆ
ออกจะหยาบคายระคายหูคนนอกที่รับฟัง
เวลาพวกช่างพูดกันเอง/อัดกันเอง
คนนอกวงการฟังแล้วรู้สึกไม่ค่อยบายใจ
แต่เป็นเรื่องปรกติในวงการพวกช่าง
เพราะความผิดพลาดบางอย่างที่เกิดขึ้น
เบาะ ๆ ก็ได้เลือด หรือ แขนขาดขาขาด
หรือไม่ก็บาดเจ็บ ถึงตายได้เช่นกัน
ถ้าช่างฝีมือระดับอาวุโสอาจจะใจเย็น
พูดจาสุภาพมากกว่าตอนเป็นมือใหม่หัดขับ
และเวลาพูดจากับคนนอกวงการ
มักจะสุภาพกว่าพูดกับคนในวงการ
.
.
ใน Pantip ยุคอดีตก็มี Pinhead 2000
ที่มักจะมาตอบกระทู้แบบดุดัน ก้าวร้าว
เรื่องเครื่องมือช่าง/นิยมซื้อใหม่มากกว่าซ่อม
จนเป็นประเด็นดราม่าหลายครั้ง
เซนเซญี่ปุ่นเคยสอนเรื่องตัวชึ้วัดงานซ่อมว่า
ถ้าราคาซ่อมของไม่เกินกว่า 30% ของใหม่
พอยอมรับให้ซ่อมได้ แต่อายุรับประกันสั้น
แต่ถ้าราคาซ่อมของเกินกว่า 50% ของใหม่
ซื้อใหม่ดีกว่า อายุรับประกันยาวนานกว่า
ของที่ค่าซ่อมแพงมาก บางคนยอมซ่อม
เพราะเป็นของที่มีคุณค่า/ความทรงจำเจ้าของ
หรือไม่มีขายอีกแล้ว (รถเก่า พัดลม ฯลฯ)
โศกนาฏกรรมนายแพทย์ Ignaz Semmelweis ผู้บุกเบิกการล้างมือ
.
© freepik
.
.
.
.
เมื่อราว ๆ 150 ปีก่อน
ผลงานครั้งสำคัญของ
Louis Pasteur กับ Robert Koch
ทั้งคู่ได้วางรากฐานทฤษฎีเชื้อโรค
แต่ถึงกระนั้นก็ตาม ต้องใช้เวลานานมาก
ในการโน้มน้าวให้ผู้ให้บริการดูแลสุขภาพ
หันมาล้างมืออย่างจริงจังยังเป็นเรื่องยากมาก
Centers for Disease Control and Prevention
ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐฯ
ได้ประเมินว่า การฆ่าเชื้อที่ไม่เหมาะสม
และการปนเปื้อนภายในโรงพยาบาล
จะส่งผลให้เกิดการติดเชื้อราว 1.7 ล้านราย
เฉพาะในสหรัฐอเมริกาเพียงแห่งเดียว
ซึ่งมีส่วนทำให้คนป่วยเสียชีวิต 99,000 ราย/ปี
สุขอนามัยของมือเป็นมาตรการเดียว
ที่สำคัญที่สุดในการลดการติดเชื้อดังกล่าว
ความสำคัญของการล้างมือเพื่อสุขภาพของคน
ได้รับการยอมรับในช่วงกลางศตวรรษที่ 19
โดยแพทย์ชาวฮังการีชื่อ Ignaz Semmelweis
.
.
.
ในปี ค.ศ.1846
นายแพทย์ Ignaz Semmelweis
ซึ่งเพิ่งจะจบแพทย์จากมหาวิทยาลัยเวียนนา
ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยนายแพทย์
ที่คลีนิกคลอดบุตรโรงพยาบาลเวียนนา
ในช่วงแรก ๆ
ท่านทำหน้าที่ตรวจคนไข้ทุกเช้า
เพื่อเตรียมความพร้อมการออกรอบของอาจารย์
ในการดูแลการคลอดบุตรที่เป็นเรื่องยาก
รวมถึงการสอนนักศึกษาแพทย์วิชาสูติศาสตร์
โรงพยาบาลมีคลีนิกคลอดบุตร 2 แห่ง
แห่งแรกแพทย์ชายดูแลนักศึกษาแพทย์ชาย
และอีกแห่งหนึ่งดูแลโดยนางผดุงครรภ์หญิง
Ignaz Semmelweis เริ่มสังเกต/ยังงงงงว่า
อัตราการตายของผู้ป่วยในคลีนิค
ที่มีแพทย์ชายและนักศึกษาแพทย์ชาย
มีคนตาย 2-3 เท่ามากกว่าคลีนิกนางผดุงครรภ์
แม้ว่าแพทย์ชายและนักศึกษาแพทย์ชาย
จะได้รับการฝึกฝนในการจัดการทำคลอด
เช่นเดียวกับคลีนิคนางผดุงครรภ์
แต่เหตุใดสตรีจำนวนมากในคลีนิกแรก
จึงเสียชีวิตด้วยไข้หลังคลอด (ไข้เด็ก)
Ignaz Semmelweis จึงเริ่มลงพื้นที่จริง
เพื่อทำการตรวจสอบและสืบหาสาเหตุการตาย
โดยตรวจสอบความเหมือนและความแตกต่าง
ของคลีนิกทั้งสองแห่งแล้วนำขัอมูลมาหา Diff
เพื่อแยกแยะสาเหตุที่เป็นไปได้
ความแตกต่างประการแรกที่ค้นพบ คือ
นางผดุงครรภ์คลอดผู้หญิงโดยนอนตะแคง
ในขณะที่ในคลินิกแพทย์ชาย
ผู้หญิงจะคลอดด้วยการนอนหงาย
ดังนั้น จึงลองให้ผู้หญิงในคลินิกแพทย์ชาย
ทำคลอดแบบนอนตะแคง แต่ก็ไม่เป็นผล
หลังจากนั้นยังสังเกตเห็นและพบว่า
เมื่อใดก็ตามที่มีคนในวอร์ดเสียชีวิตด้วยไข้เด็ก
นักบวชจะเดินผ่านคลินิกแพทย์อย่างช้า ๆ
เดินผ่านเตียงสตรีที่มีเจ้าหน้าที่คอยกดกริ่ง
ท่านจึงตั้งทฤษฎีว่า นักบวชและเสียงกริ่ง
ทำให้สตรีหลังคลอดต่างพากันหวาดกลัว
จนป่วยเป็นไข้และเสียชีวิต
ท่านจึงขอให้นักบวชเปลี่ยนเส้นทางเดิน
และนำกริ่งออกไป แต่ก็ยังไม่เป็นผล
.
.
.
Ignaz Semmelweis ล้างมือ
ในน้ำผสมคลอรีนก่อนปฏิบัติงาน
.
ในปี ค.ศ.1847
ท่านก็ค้นพบสาเหตุโดยบังเอิญ
เมื่อนายแพทย์ Jakob Kolletschka
เสียชีวิตหลังจากโดนมีดผ่าตัดจิ้มถูกตัวเอง
โดยไม่ได้ตั้งใจขณะทำการชันสูตรศพ
ผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากไข้คลอดบุตร
ผลการชันสูตรศพ Jakob Kolletschka
เปิดเผยให้เห็นว่า พยาธิสภาพคนตาย
คล้ายกับของสตรีที่ตายด้วยไข้หลังคลอด
ทำให้ท่านสามารถเห็นการเชื่อมโยงกันได้ทันที
.
.
ท่านได้ตระหนัก/รับรู้เลยว่า
ความแตกต่างที่สำคัญอย่างหนึ่ง
ระหว่างสองคลีนิกที่ได้มองข้ามไป คือ
เริ่มต้นวันใหม่ แพทย์ชายและนักศึกษาชาย
จะเริ่มชันสูตรศพผู้หญิงที่เสียชีวิตก่อน
หลังจากเดินออกจากห้องชันสูตรศพ
ก็จะเดินตรงไปที่ห้องคลอด
โดยแทบจะไม่ล้างมือในระหว่างนั้น
และเริ่มทำคลอดทารกตลอดทั้งวัน
แต่ในทางกลับกัน
นางผดุงครรภ์ไม่ได้ทำหน้าที่ชันสูตรศพ
ท่านจึงเสนอกรอบแนวคิด/ทฤษฏี
อนุภาคซากศพ Cadaverous particles ว่า
" มีบางสิ่งบางอย่างติดอยู่ที่มือของ
แพทย์ชายและนักศึกษาชาย
เมื่อตอนที่พวกเขาทำการชันสูตรศพ
ซึ่งส่งต่อไปยังผู้หญิงที่มีสุขภาพแข็งแรง
ขณะคลอดบุตรในคลีนิคแห่งแรก
ทำให้พวกคนไข้เกิดอาการไข้ขึ้นหลังคลอด "
วิธีแก้ปัญหาของท่านประหยัดและเรียบง่าย
ด้วยการให้ทุกคนในแผนกของท่าน
ล้างมือก่อนเข้าห้องคลอด
แพทย์และนักศึกษาแพทย์
ยังต้องแปรงฟัน/ล้างมือด้วยน้ำที่มีส่วนผสม
คลอรีน Chlorinated lime
คลอรีนเป็นสารฆ่าเชื้อที่ทรงพลังมาก
แม้ว่าตอนนั้น ท่านจะยังไม่ทราบก็ตาม
แต่ที่ท่านเลือกคลอรีนเพียงเพราะว่า
มีประสิทธิภาพในการขจัดกลิ่นเน่า
ของเนื้อเยื่อที่มาจากการชันสูตรศพที่ติดเชื้อ
หลังจากที่ท่านกำหนดให้ล้างมือก่อนทำคลอด
อัตราคนไข้ติดเตียงภายในแผนกของท่าน
ลดลง 90% เป็นเวลา 2 เดือนติดต่อกัน
และไม่มีผู้เสียชีวิตในแผนกของท่าน
.
.
แต่เรื่องแบบนี้ ไม่ใช่แพทย์ทุกคนจะเห็นด้วย
หรือตื่นเต้นกับการค้นพบอันน่าทึ่งนี้
โดยเฉพาะแพทย์รุ่นพี่ของท่าน
เพราะสมมติฐานของท่านที่นำเสนอ
เท่ากับระบุว่า พวกแพทย์ขาดสุขอนามัย
ทำให้พวกแพทย์รู้สึกไม่พอใจ
กับคำแนะนำที่ว่าควรจะล้างมือก่อนรักษาคนไข้
เพราะในยุคนั้นสถานะทางสังคมของแพทย์
ยังมีความรู้สึกว่า แพทย์สูงส่งกว่าคนไข้
และการล้างมือทุกครั้งก่อนรักษาคนไข้
เท่ากับยอมรับว่า มือพวกตนมีมลทิน
ทฤษฎีอนุภาคซากศพ ที่ส่งผ่านเชื้อโรคนั้น
ขัดแย้งกับทฤษฎีเก่าที่แพร่หลายมานานแล้วว่า
โรคต่าง ๆ เกิดจากความไม่สมดุลของ
Four humours พื้นฐานในร่างกายคนเรา
.
.
ชุมชนทางการแพทย์ส่วนใหญ่
จึงต่างเพิกเฉย ปฏิเสธ และบางครั้งก็เยาะเย้ย
Ignaz Semmelweis กับทฤษฎี มือสกปรก
ทำให้ท่านรู้สึกเดือดดาลกับความเมินเฉย
ของวงการวิชาชีพแพทย์ในยุโรป
ท่านจึงเริ่มเขียนจดหมายเปิดผนึกเป็นทางการ
และโกรธแค้นมากยิ่งขึ้น
กับบรรดาสูติแพทย์ผู้มีชื่อเสียงของยุโรป
ที่ไม่นิยมล้างมือก่อนทำการคลอดบุตร
บางครั้งท่านก็ประณามว่า พวกนี้เป็นฆาตกร
ที่ขาดความรับผิดชอบหรือโง่เขลาเบาปัญญา
การขาดไหวพริบและออกตัวอย่างแรงของท่าน
ทำให้ท่านบ่มเพาะเชื้อโรคศัตรูมากมาย
ท่านจึงถูกบังคับให้ย้ายออกจาก
เวียนนาไปยังบูดาเปสต์
ในยุคจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี
(แบบมิตรร่วมรบหนึ่งคน
ยังพ่ายแพ้ศัตรูหลายคน
สิงโตหนึ่งตัว ฤาจะสู้ฝูงไฮยีน่า
การถูกย้ายในแวดวงคนทำงาน
เรียกว่า ถีบข้ามห้วย ไล่ลงจากภูเขา)
.
.
.
.
ในบูดาเปสต์ ฮังการี
Ignaz Semmelweis ได้เป็นหัวหน้าแพทย์
แผนกสูติกรรมในโรงพยาบาลขนาดเล็ก
หลังจากท่านสั่งให้แพทย์ทุกคนล้างมือที่นั่นแล้ว
ก็สามารถกำจัดไข้สตรีหลังคลอดได้สำเร็จ
ในปี ค.ศ.1855
ท่านเป็นศาสตราจารย์ด้านสูติศาสตร์
ที่ University of Pest
ท่านสั่งให้ทุกคนล้างมือด้วยน้ำผสมคลอรีน
ที่คลีนิกคลอดบุตรก่อนทำคลอด
และผลลัพธ์ที่นั่นก็น่าประทับใจอีกครั้ง
.
.
ในปี ค.ศ. 1860
ท่านได้ตีพิมพ์ The Etiology, Concept และ Prophylaxis of Childbed Fever
อธิบายเรื่องล้างมือก่อนทำคลอด
และคร่ำครวญถึงการยอมรับแนวคิดนี้
ที่มีแพทย์/บุคลากรยอมรับอย่างเชื่องช้า
แต่หนังสือเล่มนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก
ทำให้ท่านถลำลึกเข้าสู่ภาวะเป็นโรคซึมเศร้า
เพราะความโกรธเกรี้ยว/ความคับข้องใจ
ในปี ค.ศ.1865
ท่านจึงลงเอยที่โรงพยาบาลโรคจิต
การรักษาคนไข้ในยุคนั้น
ผู้ถูกคุมขังจะถูกเฆี่ยนตีอย่างรุนแรง
ท่านเสียชีวิตในอีกสองสัปดาห์ต่อมา
จากการเฆี่ยนตีจนเป็นบาดแผลฉกรรจ์
ผลการชันสูตรศพระบุว่า
ท่านเสียชีวิตด้วยโรคเดียวกับ
ที่ท่านต่อสู้มาตลอดชีวิตการทำงาน
การตายของท่านไม่มีผู้คนสนใจมากนัก
แม้แต่วารสารทางการแพทย์
ของกรุงเวียนนาและบูดาเปสต์ จัดทำโดย
สมาคมแพทย์และนักวิทยาศาสตร์แห่งฮังการี
จะมีกฎว่าให้ระบุชื่อที่อยู่สมาชิกที่ตายปีที่แล้ว
เพื่อเป็นที่ระลึก/เป็นเกียรติ
แต่ก็ไม่มีชื่อที่อยู่ของ Ignaz Semmelweis
ความตายของท่านไม่เคยถูกกล่าวถึงด้วยซ้ำ
.
.
© Miklós Sziklai
.
.
© Miklós Sziklai
.
.
.
หลังจากท่านเสียชีวิต
นายแพทย์ János Diescher
ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ดำรงตำแหน่งแทน
ที่คลีนิกคลอดบุตร University of Pest
แต่อัตราการตายของสตรี
กลับเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิมเป็น 6 เท่า
แต่พวกแพทย์ของบูดาเปสต์
ต่างไม่ได้พูดอะไรเลย ไม่มีการสอบถาม
และไม่มีการทักท้วงใด ๆ แต่อย่างใดเลย
“ แทบจะไม่มีใคร
ไม่ว่าจะในเวียนนาหรือในบูดาเปสต์
ดูเหมือนว่า จะเต็มใจที่จะรับรู้ชีวิต
และผลงานของ Ignaz Semmelweis "
โดย K. Codell Carter กับ Barbara R. Carter
ใน Childbed Fever: A Scientific Biography of Ignaz Semmelweis
.
.
20 ปีหลังจากท่านตาย
ทฤษฎีเชื้อโรคและอนุภาคซากศพ
จึงได้รับการยอมรับจากวงการแพทย์
ในปัจจุบันท่านได้รับการยอมรับว่า
เป็นผู้บุกเบิกกระบวนการฆ่าเชื้อโรค
และได้รับการยกย่องว่าเป็น
บิดาแห่งสุขอนามัยของมือ
และ ผู้ช่วยชีวิตบรรดาแม่แม่
.
เรียบเรียง/ที่มา
https://bit.ly/3Y0EPjR
https://bit.ly/43zlHKY
https://bit.ly/46TWvSt
https://bit.ly/43xNFqD
https://bit.ly/3pVJ3wJ
.
.
เรื่องเล่าไร้สาระ
ในวงการวิชาชีพสายวิทยาศาสตร์/วิศวกร
มักจะพูดกันตรง ๆ ไม่อ้อมค้อม
ยืนยันกันด้วยตัวเลข/ข้อมูล
ไม่มีการบิดพริ้ว/ตามใจคนฟังมากนัก
เพราะความผิดพลาดทางวิชาชีพ
หมายถึงภยันตราย/ความตาย
และโทษทางอาญาทึ่ตามมา
แบบความผิดพลาดบางอย่าง
ไม่มีโอกาสได้แก้ตัวแก้มืออีกตลอดไป
เช่น การเก็บกู้วัตถุระเบิดที่ผ่านมา
ถ้าพลาดไม่ตายก็บาดเจ็บ
ในวงการช่างโรงงาน/ซ่อมเครื่องยนต์
แถวบ้านที่เคยพบเจอเป็นประจำ
พวกช่างมักจะตักเตือน/พูดกับแรง ๆ
ออกจะหยาบคายระคายหูคนนอกที่รับฟัง
เวลาพวกช่างพูดกันเอง/อัดกันเอง
คนนอกวงการฟังแล้วรู้สึกไม่ค่อยบายใจ
แต่เป็นเรื่องปรกติในวงการพวกช่าง
เพราะความผิดพลาดบางอย่างที่เกิดขึ้น
เบาะ ๆ ก็ได้เลือด หรือ แขนขาดขาขาด
หรือไม่ก็บาดเจ็บ ถึงตายได้เช่นกัน
ถ้าช่างฝีมือระดับอาวุโสอาจจะใจเย็น
พูดจาสุภาพมากกว่าตอนเป็นมือใหม่หัดขับ
และเวลาพูดจากับคนนอกวงการ
มักจะสุภาพกว่าพูดกับคนในวงการ
.
.
ใน Pantip ยุคอดีตก็มี Pinhead 2000
ที่มักจะมาตอบกระทู้แบบดุดัน ก้าวร้าว
เรื่องเครื่องมือช่าง/นิยมซื้อใหม่มากกว่าซ่อม
จนเป็นประเด็นดราม่าหลายครั้ง
เซนเซญี่ปุ่นเคยสอนเรื่องตัวชึ้วัดงานซ่อมว่า
ถ้าราคาซ่อมของไม่เกินกว่า 30% ของใหม่
พอยอมรับให้ซ่อมได้ แต่อายุรับประกันสั้น
แต่ถ้าราคาซ่อมของเกินกว่า 50% ของใหม่
ซื้อใหม่ดีกว่า อายุรับประกันยาวนานกว่า
ของที่ค่าซ่อมแพงมาก บางคนยอมซ่อม
เพราะเป็นของที่มีคุณค่า/ความทรงจำเจ้าของ
หรือไม่มีขายอีกแล้ว (รถเก่า พัดลม ฯลฯ)