ในบุษบาลุยไฟตอนนี้ ได้มีการพบกันของบุคคลสำคัญ ๒ ท่าน คือ ครูมีแขก และท่านสุนทรภู่ ซึ่งทั้งสองท่านต่างก็มีผลงานเด่นในด้านดนตรีไทย และวรรณคดีไทย ตามลำดับ
ท่านสุนทรภู่ หรือ พระสุนทรโวหาร (ภู่) นั้นเรารู้จักกันดีอยู่แล้วว่าเป็นกวีเอกของไทย มีผลงานวรรณคดีสำคัญ ๆ มากมาย เช่น พระอภัยมณี,สิงหไกรภพ,โคบุตร,นิราศเมืองแกลง,นิราศภูเขาทอง ฯลฯ จนได้รับการยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกโดยองค์การยูเนสโกในวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๒๙ อันเป็นวันครบรอบวันเกิด ๒๐๐ ปีของสุนทรภู่
ส่วนครูมีแขก หรือ พระประดิษฐไพเราะ (มี ดุริยางกูร) ก็เป็นนักดนตรีคนสำคัญของไทย เกิดในช่วงไล่เลี่ยกันกับสุนทรภู่ มีความสามารถในด้านดนตรีหลายชนิด แต่ที่ถนัดที่สุดคือปี่ ดังที่ได้เห็นในละครบุษบาลุยไฟในวันนี้ ท่านเป็นครูดนตรีในช่วงรัชกาลที่ ๓-รัชกาลที่ ๔ และเคยเป็นครูปี่พาทย์ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วย นอกจากนี้ท่านยังเป็นอาจารย์ของหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) บุคคลสำคัญด้านดนตรีไทยอีกท่านหนึ่งของไทย (ประวัติของท่านถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์เรื่อง โหมโรง)
ผลงานเพลงเด่น ๆ ของท่านมีมากมาย เช่น ทยอยเดี่ยว,โหมโรงขวัญเมือง,แขกบรเทศ สามชั้น,พระอาทิตย์ชิงดวง สองชั้น ฯลฯ
บางแหล่งข้อมูลได้สันนิษฐานว่า ทั้งสุนทรภู่ และครูมีแขกอาจเป็นแรงบันดาลใจในผลงานของกันและกันก็ได้ โดยสุนทรภู่อาจได้แรงบันดาลใจในความสามารถด้านการเป่าปี่ของครูมีแขกมาดัดแปลงเป็นพระอภัยมณี หรือไม่ครูมีแขกอาจได้แรงบันดาลใจจากพระอภัยมณีมาแต่งเพลงทยอยเดี่ยวก็ได้
ภาพอนุสาวรีย์ของสุนทรภู่นั้น ผมถ่ายที่ อ.แกลง จ.ระยอง ตอนไปงานสุนทรภู่กวีโลกเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งน้อง ๆ BNK48 ก็ได้ไปแสดงที่นั่นในวันนั้นด้วย ซึ่งการที่มีอนุสาวรีย์สุนทรภู่ที่ระยองมักทำให้คนเข้าใจผิดว่าสุนทรภู่เป็นคนระยอง แต่แท้จริงแล้วสุนทรภู่เป็นคนกรุงเทพฯ อ้างอิงจากหนังสือสุนทรภู่ไม่ได้เป่าปี่ พระอภัยมณีไม่ใช่คนระยองที่เขียนโดยครูทอม คำไทย (แฟนพันธุ์แท้สุนทรภู่ ซึ่งก็รับบทสุนทรภู่ในเรื่องบุษบาลุยไฟนี้เอง)
ส่วนอนุสาวรีย์ครูมีแขกนั้น ผมถ่ายที่มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา ในวันที่ไปร่วมงานรับปริญญาของเฌอในปี พ.ศ.๒๕๖๒
บุษบาลุยไฟ ตอนที่ ๑๒ การพบกันของครูมีแขก และ สุนทรภู่ สองบุคคลสำคัญด้านดนตรีและวรรณคดีไทย
ท่านสุนทรภู่ หรือ พระสุนทรโวหาร (ภู่) นั้นเรารู้จักกันดีอยู่แล้วว่าเป็นกวีเอกของไทย มีผลงานวรรณคดีสำคัญ ๆ มากมาย เช่น พระอภัยมณี,สิงหไกรภพ,โคบุตร,นิราศเมืองแกลง,นิราศภูเขาทอง ฯลฯ จนได้รับการยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกโดยองค์การยูเนสโกในวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๒๙ อันเป็นวันครบรอบวันเกิด ๒๐๐ ปีของสุนทรภู่
ส่วนครูมีแขก หรือ พระประดิษฐไพเราะ (มี ดุริยางกูร) ก็เป็นนักดนตรีคนสำคัญของไทย เกิดในช่วงไล่เลี่ยกันกับสุนทรภู่ มีความสามารถในด้านดนตรีหลายชนิด แต่ที่ถนัดที่สุดคือปี่ ดังที่ได้เห็นในละครบุษบาลุยไฟในวันนี้ ท่านเป็นครูดนตรีในช่วงรัชกาลที่ ๓-รัชกาลที่ ๔ และเคยเป็นครูปี่พาทย์ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วย นอกจากนี้ท่านยังเป็นอาจารย์ของหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) บุคคลสำคัญด้านดนตรีไทยอีกท่านหนึ่งของไทย (ประวัติของท่านถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์เรื่อง โหมโรง)
ผลงานเพลงเด่น ๆ ของท่านมีมากมาย เช่น ทยอยเดี่ยว,โหมโรงขวัญเมือง,แขกบรเทศ สามชั้น,พระอาทิตย์ชิงดวง สองชั้น ฯลฯ
บางแหล่งข้อมูลได้สันนิษฐานว่า ทั้งสุนทรภู่ และครูมีแขกอาจเป็นแรงบันดาลใจในผลงานของกันและกันก็ได้ โดยสุนทรภู่อาจได้แรงบันดาลใจในความสามารถด้านการเป่าปี่ของครูมีแขกมาดัดแปลงเป็นพระอภัยมณี หรือไม่ครูมีแขกอาจได้แรงบันดาลใจจากพระอภัยมณีมาแต่งเพลงทยอยเดี่ยวก็ได้
ภาพอนุสาวรีย์ของสุนทรภู่นั้น ผมถ่ายที่ อ.แกลง จ.ระยอง ตอนไปงานสุนทรภู่กวีโลกเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งน้อง ๆ BNK48 ก็ได้ไปแสดงที่นั่นในวันนั้นด้วย ซึ่งการที่มีอนุสาวรีย์สุนทรภู่ที่ระยองมักทำให้คนเข้าใจผิดว่าสุนทรภู่เป็นคนระยอง แต่แท้จริงแล้วสุนทรภู่เป็นคนกรุงเทพฯ อ้างอิงจากหนังสือสุนทรภู่ไม่ได้เป่าปี่ พระอภัยมณีไม่ใช่คนระยองที่เขียนโดยครูทอม คำไทย (แฟนพันธุ์แท้สุนทรภู่ ซึ่งก็รับบทสุนทรภู่ในเรื่องบุษบาลุยไฟนี้เอง)
ส่วนอนุสาวรีย์ครูมีแขกนั้น ผมถ่ายที่มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา ในวันที่ไปร่วมงานรับปริญญาของเฌอในปี พ.ศ.๒๕๖๒