"อ.เสรี" ชำแหละพวก "ตรรกวิบัติ" พวกขี้แพ้ชวนตี ชี้ประชาชนไม่ได้เซ็นเช็คเปล่า!
วันที่ 9 ก.ค.66 รศ.ดร.เสรี พงศ์พิศ นักวิชาการอิสระพัฒนาสังคม ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Seri Phongphit ระบุว่า...
#ตรรกะวิบัติ
มีคำฮิตมากมายในการถกเถียงทางการเมืองระหว่างรอรัฐบาลใหม่ หนึ่งในนั้น คือ “ตรรกะวิบัติ”
ที่วิจารณ์การให้เหตุผลของฝ่ายอนุรักษ์นิยม ที่ปฏิเสธพรรคก้าวไกลและนายพิธา ไม่ให้เป็นนายกฯ
ตรรกะวิบัติ มีความหมายใกล้เคียงกับการให้เหตุผลแบบ “ศรีธนญชัย” และคำพังเพยภาษิตที่ว่า “เอาสีข้างเข้าถู” “ข้างๆ คูๆ”
ตรรกะเหล่านี้ผิดและเพี้ยน แต่อาจมีวิธีพูดที่ทำให้คนเชื่อว่า “จริง” "ถูก" ได้ เหมือนเมื่อ “กีฬาแพ้ คนไม่แพ้”
ก็ย่อมหาเหตุผลต่างๆ มาอ้างแบบ “ขี้แพ้ชวนตี”
เราตัดสินใจเลือกระบอบประชาธิปไตย ก็ต้องทำตามกติกาประชาธิปไตย
ไม่ใช่อยากได้ประชาธิปไตย แต่ไปเอา “กฎเผด็จการ” มาใช้
ปฏิเสธฟาสซิสต์และคอมมิวนิสต์ แต่คิดและทำไม่ต่างกัน
เล่นฟุตบอลก็ต้องเอากฎกติกามารยาทฟุตบอล ไม่ใช่เอากติการักบี้
#ตรรกะประชาธิปไตย
ประเทศไทยเข้าสู่ยุค “ประชาธิปไตยก้าวหน้า” ตั้งแต่ 14 พฤษภาคม 2566 ไม่ใช่ประชาธิปไตย “ล้าหลัง” แบบเดิม
ที่เลือกตั้งเสร็จก็นั่งดูว่า บรรดานักการเมืองและพลพรรคจะไปทำอะไรกันต่อไป แบบ “ไม่เห็นหัวชาวบ้าน” (ไม่เกรงใจประชาชน)
แต่วันนี้ ประชาธิปไตย “ก้าวหน้า” ประชาชนไม่ได้ “เซ็นเช็คเปล่า” ให้นักการเมืองไปเขียนตัวเลขเอาเองแล้ว ไม่ได้นั่งดูเฉยๆ
แต่ยังมีบทบาทสำคัญและมีส่วนร่วมในความเป็นไปของการตัดสินใจของพรรคและคนที่ตนได้เลือกเข้าไปสภาฯ
ประชาชนมีวิธีการมากมายในการมีส่วนร่วมกับการตั้งรัฐบาล การกำหนดนโยบายสำคัญ
แม้จะไม่ก้าวไปไกลแบบประชาธิปไตย “สายตรง” ของสวิส แต่ก็พัฒนาไปสู่ประชาธิปไตยแบบประเทศที่เจริญพัฒนาแล้ว
ประชาชนคงไม่อยากรออีก 4 ปีเพื่อให้รางวัลหรือลงโทษพรรคการเมือง แต่อยากเห็นรัฐบาลที่ได้รับการเลือกตั้งเข้ามามากที่สุด
นำการก่อตั้งรัฐบาลให้สำเร็จ นำประเทศเดินไปข้างหน้า เพราะหยุดอยู่กับที่เท่ากับถอยหลัง
สังคมไม่ต้องการ “ตรรกะ” สูงส่งหรือลึกลับซับซ้อนอะไร เพียงสามัญสำนึก (common sense) หรือจิตสำนึก
ที่มาจากส่วนลึกของจิตใจที่รักความถูกต้องเป็นธรรม “แบบตรงไปตรงมา” เท่านั้น
https://siamrath.co.th/n/460658
.
เรื่องตรรกะวิบัตินี่ ผมว่า อันดับหนึ่งของประเทศ ก็ต้องคนชื่อ เสรี แหละครับ
เสรี วงษ์มณฑา นั่นแหละ สุดยอดตรรกะวิบัติเลย
ทุกวันนี้ ไม่ว่าบรรดา ส.ว. หลายคน สื่อสลิ่ม สลิ่มโซเชียล ล้วนใช้ตรรกะวิบัติกันตรึม
วิบัติกันจนหลงเชื่อกันว่า ตรรกะวิบัติที่พวกตัวเองปั้นแต่งขึ้นมานั้น คือความจริง คือความถูกต้องไปแล้ว
สลิ่ม สามัญสำนึกตายสนิท ตรรกะวิบัติจึงงอกงามในดงหลิ่ม
คนชื่อ เสรี กับ ตรรกะวิบัติ
วันที่ 9 ก.ค.66 รศ.ดร.เสรี พงศ์พิศ นักวิชาการอิสระพัฒนาสังคม ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Seri Phongphit ระบุว่า...
#ตรรกะวิบัติ
มีคำฮิตมากมายในการถกเถียงทางการเมืองระหว่างรอรัฐบาลใหม่ หนึ่งในนั้น คือ “ตรรกะวิบัติ”
ที่วิจารณ์การให้เหตุผลของฝ่ายอนุรักษ์นิยม ที่ปฏิเสธพรรคก้าวไกลและนายพิธา ไม่ให้เป็นนายกฯ
ตรรกะวิบัติ มีความหมายใกล้เคียงกับการให้เหตุผลแบบ “ศรีธนญชัย” และคำพังเพยภาษิตที่ว่า “เอาสีข้างเข้าถู” “ข้างๆ คูๆ”
ตรรกะเหล่านี้ผิดและเพี้ยน แต่อาจมีวิธีพูดที่ทำให้คนเชื่อว่า “จริง” "ถูก" ได้ เหมือนเมื่อ “กีฬาแพ้ คนไม่แพ้”
ก็ย่อมหาเหตุผลต่างๆ มาอ้างแบบ “ขี้แพ้ชวนตี”
เราตัดสินใจเลือกระบอบประชาธิปไตย ก็ต้องทำตามกติกาประชาธิปไตย
ไม่ใช่อยากได้ประชาธิปไตย แต่ไปเอา “กฎเผด็จการ” มาใช้
ปฏิเสธฟาสซิสต์และคอมมิวนิสต์ แต่คิดและทำไม่ต่างกัน
เล่นฟุตบอลก็ต้องเอากฎกติกามารยาทฟุตบอล ไม่ใช่เอากติการักบี้
#ตรรกะประชาธิปไตย
ประเทศไทยเข้าสู่ยุค “ประชาธิปไตยก้าวหน้า” ตั้งแต่ 14 พฤษภาคม 2566 ไม่ใช่ประชาธิปไตย “ล้าหลัง” แบบเดิม
ที่เลือกตั้งเสร็จก็นั่งดูว่า บรรดานักการเมืองและพลพรรคจะไปทำอะไรกันต่อไป แบบ “ไม่เห็นหัวชาวบ้าน” (ไม่เกรงใจประชาชน)
แต่วันนี้ ประชาธิปไตย “ก้าวหน้า” ประชาชนไม่ได้ “เซ็นเช็คเปล่า” ให้นักการเมืองไปเขียนตัวเลขเอาเองแล้ว ไม่ได้นั่งดูเฉยๆ
แต่ยังมีบทบาทสำคัญและมีส่วนร่วมในความเป็นไปของการตัดสินใจของพรรคและคนที่ตนได้เลือกเข้าไปสภาฯ
ประชาชนมีวิธีการมากมายในการมีส่วนร่วมกับการตั้งรัฐบาล การกำหนดนโยบายสำคัญ
แม้จะไม่ก้าวไปไกลแบบประชาธิปไตย “สายตรง” ของสวิส แต่ก็พัฒนาไปสู่ประชาธิปไตยแบบประเทศที่เจริญพัฒนาแล้ว
ประชาชนคงไม่อยากรออีก 4 ปีเพื่อให้รางวัลหรือลงโทษพรรคการเมือง แต่อยากเห็นรัฐบาลที่ได้รับการเลือกตั้งเข้ามามากที่สุด
นำการก่อตั้งรัฐบาลให้สำเร็จ นำประเทศเดินไปข้างหน้า เพราะหยุดอยู่กับที่เท่ากับถอยหลัง
สังคมไม่ต้องการ “ตรรกะ” สูงส่งหรือลึกลับซับซ้อนอะไร เพียงสามัญสำนึก (common sense) หรือจิตสำนึก
ที่มาจากส่วนลึกของจิตใจที่รักความถูกต้องเป็นธรรม “แบบตรงไปตรงมา” เท่านั้น
https://siamrath.co.th/n/460658