ราษฎรหยุดเอเปค เช็กบิลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ยื่นฟ้องปมสลายชุมนุมแรงเกินเหตุ ทำสูญเสียดวงตา-เจ็บอื้อ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4064115
ราษฎรหยุดเอเปค เช็กบิลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ยื่นฟ้องปมสลายชุมนุมแรงเกินเหตุ ทำสูญเสียดวงตา-เจ็บอื้อ
เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน เวลาประมาณ 10.30 น. ที่ศาลปกครอง ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ กลุ่มราษฎรหยุด APEC 2022 นำโดย นางสาว
ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล หรือมายด์ จัดเวทีเสวนาและการอ่านแถลงการณ์ ‘
ฟ้องกลับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ทวงคืนเสรีภาพในการชุมนุมของประชาชน’ โดยมี นาย
พายุ บุญโสภณ หนึ่งในผู้ชุมนุมที่สูญเสียดวงตาจากเหตุการณ์ดังกล่าว และประชาชนจำนวนหนึ่งเข้าร่วม
บรรยากาศหน้าศาลปกครอง ผู้ร่วมกิจกรรมแต่งกายด้วยเสื้อผ้าโทนสีดำ มีการแขวนป้ายผ้าบนรั้ว มีข้อความว่า ‘
ราษฎร หยุด APEC เช็คบิล สตช.’
นางสาว
ภัสราวลีกล่าวผ่านเครื่องขยายเสียง กล่าวถึงเหตุการณ์การสลายการชุมนุมกลุ่มราษฎรหยุด APEC 2022 เมื่อวันที่ 18 พ.ย.2565 ในระหว่างที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation : APEC) ซึ่งมีการสลายการชุมนุมที่รุนแรง มีผู้ได้รับบาดเจ็บและถูกดำเนินคดีเป็นจำนวนมาก โดยการชุมนุมในครั้งนั้น ราษฎรหยุด APEC 2022 ผลักดันข้อเรียกร้อง 3 ข้อ ได้แก่
1. ต้องยกเลิกนโยบาย BCG รวมถึงระเบียบกฎหมายใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายนี้ ที่พยายามนำเสนอให้ที่ประชุม APEC รอง
2. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ไม่มีความชอบธรรมที่จะลงนามข้อตกลงร่วมกับผู้นำกลุ่ม APEC และจะต้องยุติบทบาทในการเป็นประธานการประชุม APEC โดยทันที
3. ประยุทธ์ต้องยุบสภาและเปิดทางให้มีการเลือกตั้ง พร้อมกับจัดให้มีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่โดยประชาชนเพื่อสร้างประชาธิปไตยที่แท้จริง รวมถึงสะท้อนความไม่ชอบธรรมของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในการเป็นประธานในที่ประชุม APEC
การชุมนุมดังกล่าว โดยใช้เส้นทางถนนดินสอ ใกล้กับลานคนเมือง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เพื่อไปยังศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เขตคลองเตย กรุงเทพฯ อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมฝูงชนได้ใช้ความรุนแรงเกินกว่าเหตุกับผู้ชุมนุม
เพื่อไทย ยันหนุน พิธา เป็นนายกฯ ย้ำสูตรเก้าอี้รมต. 14+1 แม้ยกปธ.สภาให้ ‘วันนอร์’
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7750257
เพื่อไทย ยันหนุน ‘พิธา’ เป็นนายกฯ ภูมิธรรม ย้ำสูตรเก้าอี้รมต. 14+1 แม้ยกประธานสภาให้ ‘วันนอร์’ ชี้เลือกนายกฯ ต้องคู่ขนานจัดทีมฟอร์มรัฐบาล
เมื่อวันที่ 5 ก.ค.2566 นาย
ภูมิธรรม เวชยชัย รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) ให้สัมภาษณ์ถึงความสัมพันธ์ระหว่างพรรคเพื่อไทยกับพรรคก้าวไกล (ก.ก.) หลังจากให้คนกลางมาทำหน้าที่ประธานสภาผู้แนราษฎรว่า ความสัมพันธ์ยังคงร่วมมือกันเพื่อเป้าหมายทางการเมือง ที่ต้องการให้ประเทศเป็นประชาธิปไตยและได้รัฐบาลประชาธิปไตยมาแก้ปัญหาให้กับประชาชนที่รอการเปลี่ยนแปลงอยู่
ส่วนที่มองว่าทั้ง 2 พรรคตกลงกันไม่ได้ จนต้องใช้คนกลางนั้น ไม่ได้มีปัญหา เพราะที่สุดแล้วทุกอย่างจบลงด้วยดี ยืนยันพรรคเพื่อไทยจะสนับสนุนพรรคก้าวไกล เป็นแกนกลางจัดตั้งรัฐบาล โดยมีนาย
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล เป็นนายกฯ เราจะทำให้ประสบความสำเร็จ อะไรที่ช่วยให้ไปถึงเป้าหมายรัฐบาลประชาธิปไตยได้ เราจะช่วยอย่างเต็มที่
เมื่อถามว่าหากนาย
พิธา ไม่สามารถฝ่าด่านส.ว.ได้ ทั้ง 8 พรรคจะดำเนินการอย่างไร นาย
ภูมิธรรม กล่าวว่า เรายืนยันจะพยายามทำให้ได้ และพรรคก้าวไกลก็แสดงความเชื่อมั่นว่าจะทำได้สำเร็จ เราจึงไม่คิดอะไรล่วงหน้า แต่ถ้ามีปัญหาอะไรเกิดขึ้น ทั้ง 8 พรรคจะหารือกันเพื่อหาทางออกร่วมกันให้ได้
เมื่อถามถึงสูตรแบ่งเก้าอี้รัฐมนตรี จากเดิมที่ยึด 14 บวก 1 ตอนนี้เมื่อประธานสภา เป็นนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ซึ่งถือเป็นคนกลางแล้ว มีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ นาย
ภูมิธรรม กล่าวว่า สูตรแบ่งเก้าอี้เป็น 14 บวก 1 มาตลอดตั้งแต่ต้น สูตรที่บอกว่าเป็น 15 กับ 13 นั้นไม่ทราบว่ามาจากไหน ตอนนี้เรื่องประธานสภา เรียบร้อยแล้ว ก็ต้องเลือกนายกฯ จากนั้นค่อยฟอร์มรัฐบาล ซึ่งตำแหน่งรัฐมนตรีต่างๆนั้นจะเป็นกระบวนการที่จะทำคู่ขนานกันไป
ดร.ธำรงศักดิ์ ฟันธง ‘พิธา’ ได้เป็นนายกฯ 100% เพื่อไทย-ก้าวไกล เดินร่วมกันได้
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_4065115
สัมภาษณ์พิเศษ รศ.ดร.
ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต หลังเสร็จสิ้นการเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎรและรองประธานผู้แทนราษฎร ฟันธง
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกลและแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ได้เป็นนายกรัฐมนตรี 100% ส่วนพรรคเพื่อไทยกับพรรคก้าวไกลมีจุดเหนี่ยวรั้งกันและกัน เดินไปด้วยกันได้ ติดตามฟังรายละเอียดทั้งหมดจากคลิปด้านล่างนี้
วิกฤต อยู่แค่เอื้อม อุณหภูมิโลกเฉลี่ยสูงขึ้นอีก 1 องศา รับ ‘ดับเบิลเอลนีโญ’ ร้อนขาดน้ำ
https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_4065227
วิกฤต อยู่แค่เอื้อม อุณหภูมิโลกเฉลี่ยสูงขึ้นอีก 1 องศา รับ ‘ดับเบิลเอลนีโญ’ ร้อนขาดน้ำ
วันที่ 5 กรกฎาคม ผศ.ดร.
ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้สัมภาษณ์ มติชนออนไลน์ ว่า ตอนนี้ประเทศไทยเข้าสู่ภาวะของปรากฎการณ์เอลนีโญเต็มตัวแล้ว เป็นช่วงต้นของเอลนีโญ ซึ่งตามการคาดการณ์แล้วจะยาวไปถึงเดือน มีนาคม 2567 ปรากฏการณ์ร้อน และภัยแล้งจากเอลนีโญนี้จะส่งผลรุนแรงที่สุดประมาณเดือนกันยายน ไปถึงเดือน มกราคม 2567 ที่น่าหวาดกลัวกว่านั้นคือ ปกติเมื่อประมาณเดือนมีนาคม ที่หลายคนเข้าใจว่า จะเป็นการสิ้นสุดลงของปรากฏการณ์นี้ แต่มีความเป็นไปได้สูงว่า เอลนีโญจะมีต่อ ซึ่งเรียกว่า ดับเบิลเอลนีโญ
“
ก็คิดดูเอาแล้วกัน ช่วงมีนา เมษา ถึงพฤษภาที่ผ่านมา ที่เราบ่นกันว่า ร้อนนักร้อนหนานั้น มันยังไม่เข้าช่วงเอลนีโญเลย มันเป็นช่วงปลายของปรากฏการณ์ลานีญาเท่านั้น แต่เอลนีโญเพิ่งจะเริ่มเมื่อต้นเดือนมิถุนายนนี่เอง มันจะร้อน จะแล้ง จะเกิดผลกระทบได้มากกว่าที่ผ่านมาอีก ที่สำคัญคือ เมื่อจะสิ้นสุดปรากฏการณ์ คือ ราวเดือนมีนาคม 2567 กลับมีแนวโน้มว่า ปรากฏการณ์เอลนีโญจะอยู่ต่อ กลายเป็น ดับเบิลเอลนีโญ ซึ่งน่าเป็นห่วงอย่างมาก โดยเฉพาะเรื่องน้ำ ทั้งน้ำกิน น้ำใช้ ไม่ต้องพูดถึงน้ำสำหรับทำการเกษตรซึ่งมีไม่พอแน่ๆ” ผศ.ดร.
ธรณ์ กล่าว
ผศ.ดร.
ธรณ์ กล่าวว่า ลำพังเอลนีโญปีนี้ เรายังพออาศัยน้ำจากน้ำต้นทุนที่สะสมไว้ตั้งแต่ปีที่ผ่านมาได้ แต่ปีต่อไปหากปีนี้ไม่มีน้ำเก็บเอาไว้ แล้วเราจะเอาน้ำที่ไหนกิน เอาน้ำที่ไหนใช้ ไหนจะผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในทะเลอีก ทะเลนั้นโดนเต็มๆจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นปีที่ผ่านมา ที่ไม่มีเอลนีโญนั้น อุณหภูมิของน้ำทะเลอยู่ที่ 32 องศาเซลเซียส เมื่อเข้าสู่เอลนีโญคาดว่าอุณภูมิน้ำทะเลจะเป็น 33 องศาเซลเซียส ซึ่งการที่อุณหภูมิน้ำทะเลเพิ่มขึ้นมา 1 องศา ถือเป็นเรื่องใหญ่ของโลก ที่จะส่งผลเสียมากมาย จะเกิดปะการังฟอกขาวกระจาย น้ำทะเลเปลี่ยนสี แพลงตอนบลูม ปลาจะตายจำนวนมาก
“
เรื่องใหญ่แบบนี้ ผู้ที่เกี่ยวข้องต้องหาทางรับมือตั้งแต่บัดนี้ เพราะผลกระทบที่เกิดขึ้นจะขยายเป็นวงกว้าง ไม่ใช่เรื่องที่จะมาพูดกันเล่นๆอีกแล้ว” ผศ.ดร.ธรณ์ กล่าว
ด้านนาย
ธารา บัวคำศรี ผู้อำนวยการกรีนพีซ ประเทศไทย ให้สัมภาษณ์ มติชนออนไลน์ ว่า เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ที่ผ่านมา องค์การอุตุนิยมวิทยาโลกประกาศว่า ทั่วโลกจะเข้าสู่สภาวะเอลนีโญ หรือ ร้อนแล้งอย่างเป็นทางการ ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ก็ได้มีการประกาศด้วยว่า ปกติแล้ว อุณหภูมิทั่วโลกที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 16 องศาเซลเซียส บัดนี้ เพิ่มขึ้นมาแล้ว เป็น 17 องศาเซลเซียส
“
สำหรับประเทศไทย ฟังดูแล้ว อาจจะยังรู้สึกชิลๆกันว่า 17 องศาเซลเซียสกำลังสบาย แต่ไม่ใช่นะครับ เพราะทั่วโลก มีหลายประเทศ หลายทวีป ทั้งร้อนจัด หนาวจัด เอาอุณหภูมิมาเฉลี่ย ได้ 16 องศาเซลเซียส แล้ว เพิ่มขึ้นมาเป็น 17 มันซีเรียสมาก มันคือ การเพิ่มขึ้นของค่าเฉลี่ย อย่างประเทศไทย อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งประเทศจะอยู่ที่ 28 องศาเซลเซียส ขณะที่บางพื้นที่บางจังหวัด อาจจะมีอุณหภูมิสูงถึง 45 องศาเซลเซียส ซึ่งการที่อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้นก็จะทำให้อุณหภูมิหลายๆพื้นที่สูงขึ้นมาแน่นอนเช่นเดียวกัน ซึ่งจะทำให้สภาวะแวดล้อมหลายๆอย่างเปลี่ยนแปลงไปด้วย” นาย
ธารา กล่าว
ผู้อำนวยการกรีนพีซ ประเทศไทย กล่าวด้วยว่า ที่ ผศ.ดร.
ธรณ์ บอกว่า มีแนวโน้มว่าจะเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญแบบดัลเบิล นั้นมีโอกาสเป็นไปได้สูง ซึ่งเห็นว่า ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องจะต้องหาทางรับมือกับภาวะดังกล่าวตั้งแต่บัดนี้
เศรษฐกิจโลกชะลอตัวครึ่งปีหลัง กดดัน กกร. ลดเป้าส่งออกเหลือ -2.0 ถึง 0%
https://www.matichon.co.th/economy/news_4064573
กกร. ตัดใจลดเป้าส่งออกเหลือ -2.0 ถึง 0% จากสัญญาณเศรษฐกิจโลกชะลอตัวครึ่งปีหลัง
นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย ประธานการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) กล่าวถึงผลการประชุม โดยมี นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และ นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย เข้าร่วม ว่าเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอลงมากขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2566 ภาคการผลิตยังคงหดตัวต่อเนื่อง ขณะที่ภาคบริการเริ่มเห็นสัญญาณชะลอลงในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลักทั้งสหรัฐ ยุโรป และญี่ปุ่น
นอกจากนี้ ธนาคารกลางของประเทศหลักฝั่งตะวันตกมีแนวโน้มปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อในช่วงครึ่งปีหลัง ภาวะการเงินตึงตัวจากความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อใหม่จะยิ่งกดดันภาคธุรกิจและจำกัดการใช้จ่าย นำไปสู่การชะลอตัวทางเศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มชะลอลงเช่นกัน มีการปรับลดประมาณการตัวเลขการเติบโตของ GDP จีนปี 2566 ลงสู่ระดับ 5.4-5.5% จากเดิม 6% ปัจจัยเหล่านี้อาจฉุดการเติบโตของภาคการส่งออกไทยในระยะข้างหน้า
ขณะที่เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง ภาคการท่องเที่ยวดีขึ้นต่อเนื่องจากนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งจำนวนนักท่องเที่ยวที่คาดว่าจะไปถึง 29-30 ล้านคน และรายได้ต่อหัวที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ที่ประชุม กกร.คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2566 ยังคงเติบโตประมาณ 3.0% ถึง 3.5% ตามกรอบเดิมที่เคยประเมินไว้ เนื่องจากการบริโภคภาคเอกชนถูกกดดันจากค่าครองชีพและหนี้ครัวเรือนในระดับสูงที่ 90.6% ต่อจีดีพี ซึ่งทำให้ผู้บริโภคมีข้อจำกัดและระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น ขณะที่ภาคการผลิตมีแนวโน้มชะลอตัวตามทิศทางเศรษฐกิจโลก
ส่วนมูลค่าการส่งออกประเมินว่าหดตัวมากขึ้นในกรอบ -2.0% ถึง 0.0% จากเป้าเดิม -1.0% ถึง 0.0% ขณะที่ภาวะเงินเฟ้อ แม้ยังมีความเสี่ยงจากภัยแล้ง (เอลนิโญ) และหากมีการปรับค่าแรง แต่คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปต่ำลงจากที่ประเมินไว้เดิมตามทิศทางราคาพลังงาน โดยจะอยู่ในกรอบ 2.2 ถึง 2.7%
JJNY : 6in1 ราษฎรเช็กบิล│พท.ยันหนุนพิธา│ธำรงศักดิ์ฟันธง‘พิธา’│วิกฤตอยู่แค่เอื้อม│กกร.ลดเป้าส่งออก│‘เซเลนสกี’หวั่นหายนะ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4064115
ราษฎรหยุดเอเปค เช็กบิลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ยื่นฟ้องปมสลายชุมนุมแรงเกินเหตุ ทำสูญเสียดวงตา-เจ็บอื้อ
เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน เวลาประมาณ 10.30 น. ที่ศาลปกครอง ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ กลุ่มราษฎรหยุด APEC 2022 นำโดย นางสาวภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล หรือมายด์ จัดเวทีเสวนาและการอ่านแถลงการณ์ ‘ฟ้องกลับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ทวงคืนเสรีภาพในการชุมนุมของประชาชน’ โดยมี นายพายุ บุญโสภณ หนึ่งในผู้ชุมนุมที่สูญเสียดวงตาจากเหตุการณ์ดังกล่าว และประชาชนจำนวนหนึ่งเข้าร่วม
บรรยากาศหน้าศาลปกครอง ผู้ร่วมกิจกรรมแต่งกายด้วยเสื้อผ้าโทนสีดำ มีการแขวนป้ายผ้าบนรั้ว มีข้อความว่า ‘ราษฎร หยุด APEC เช็คบิล สตช.’
นางสาวภัสราวลีกล่าวผ่านเครื่องขยายเสียง กล่าวถึงเหตุการณ์การสลายการชุมนุมกลุ่มราษฎรหยุด APEC 2022 เมื่อวันที่ 18 พ.ย.2565 ในระหว่างที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation : APEC) ซึ่งมีการสลายการชุมนุมที่รุนแรง มีผู้ได้รับบาดเจ็บและถูกดำเนินคดีเป็นจำนวนมาก โดยการชุมนุมในครั้งนั้น ราษฎรหยุด APEC 2022 ผลักดันข้อเรียกร้อง 3 ข้อ ได้แก่
1. ต้องยกเลิกนโยบาย BCG รวมถึงระเบียบกฎหมายใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายนี้ ที่พยายามนำเสนอให้ที่ประชุม APEC รอง
2. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ไม่มีความชอบธรรมที่จะลงนามข้อตกลงร่วมกับผู้นำกลุ่ม APEC และจะต้องยุติบทบาทในการเป็นประธานการประชุม APEC โดยทันที
3. ประยุทธ์ต้องยุบสภาและเปิดทางให้มีการเลือกตั้ง พร้อมกับจัดให้มีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่โดยประชาชนเพื่อสร้างประชาธิปไตยที่แท้จริง รวมถึงสะท้อนความไม่ชอบธรรมของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในการเป็นประธานในที่ประชุม APEC
การชุมนุมดังกล่าว โดยใช้เส้นทางถนนดินสอ ใกล้กับลานคนเมือง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เพื่อไปยังศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เขตคลองเตย กรุงเทพฯ อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมฝูงชนได้ใช้ความรุนแรงเกินกว่าเหตุกับผู้ชุมนุม
เพื่อไทย ยันหนุน พิธา เป็นนายกฯ ย้ำสูตรเก้าอี้รมต. 14+1 แม้ยกปธ.สภาให้ ‘วันนอร์’
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7750257
เพื่อไทย ยันหนุน ‘พิธา’ เป็นนายกฯ ภูมิธรรม ย้ำสูตรเก้าอี้รมต. 14+1 แม้ยกประธานสภาให้ ‘วันนอร์’ ชี้เลือกนายกฯ ต้องคู่ขนานจัดทีมฟอร์มรัฐบาล
เมื่อวันที่ 5 ก.ค.2566 นายภูมิธรรม เวชยชัย รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) ให้สัมภาษณ์ถึงความสัมพันธ์ระหว่างพรรคเพื่อไทยกับพรรคก้าวไกล (ก.ก.) หลังจากให้คนกลางมาทำหน้าที่ประธานสภาผู้แนราษฎรว่า ความสัมพันธ์ยังคงร่วมมือกันเพื่อเป้าหมายทางการเมือง ที่ต้องการให้ประเทศเป็นประชาธิปไตยและได้รัฐบาลประชาธิปไตยมาแก้ปัญหาให้กับประชาชนที่รอการเปลี่ยนแปลงอยู่
ส่วนที่มองว่าทั้ง 2 พรรคตกลงกันไม่ได้ จนต้องใช้คนกลางนั้น ไม่ได้มีปัญหา เพราะที่สุดแล้วทุกอย่างจบลงด้วยดี ยืนยันพรรคเพื่อไทยจะสนับสนุนพรรคก้าวไกล เป็นแกนกลางจัดตั้งรัฐบาล โดยมีนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล เป็นนายกฯ เราจะทำให้ประสบความสำเร็จ อะไรที่ช่วยให้ไปถึงเป้าหมายรัฐบาลประชาธิปไตยได้ เราจะช่วยอย่างเต็มที่
เมื่อถามว่าหากนายพิธา ไม่สามารถฝ่าด่านส.ว.ได้ ทั้ง 8 พรรคจะดำเนินการอย่างไร นายภูมิธรรม กล่าวว่า เรายืนยันจะพยายามทำให้ได้ และพรรคก้าวไกลก็แสดงความเชื่อมั่นว่าจะทำได้สำเร็จ เราจึงไม่คิดอะไรล่วงหน้า แต่ถ้ามีปัญหาอะไรเกิดขึ้น ทั้ง 8 พรรคจะหารือกันเพื่อหาทางออกร่วมกันให้ได้
เมื่อถามถึงสูตรแบ่งเก้าอี้รัฐมนตรี จากเดิมที่ยึด 14 บวก 1 ตอนนี้เมื่อประธานสภา เป็นนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ซึ่งถือเป็นคนกลางแล้ว มีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ นายภูมิธรรม กล่าวว่า สูตรแบ่งเก้าอี้เป็น 14 บวก 1 มาตลอดตั้งแต่ต้น สูตรที่บอกว่าเป็น 15 กับ 13 นั้นไม่ทราบว่ามาจากไหน ตอนนี้เรื่องประธานสภา เรียบร้อยแล้ว ก็ต้องเลือกนายกฯ จากนั้นค่อยฟอร์มรัฐบาล ซึ่งตำแหน่งรัฐมนตรีต่างๆนั้นจะเป็นกระบวนการที่จะทำคู่ขนานกันไป
ดร.ธำรงศักดิ์ ฟันธง ‘พิธา’ ได้เป็นนายกฯ 100% เพื่อไทย-ก้าวไกล เดินร่วมกันได้
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_4065115
สัมภาษณ์พิเศษ รศ.ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต หลังเสร็จสิ้นการเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎรและรองประธานผู้แทนราษฎร ฟันธง พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกลและแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ได้เป็นนายกรัฐมนตรี 100% ส่วนพรรคเพื่อไทยกับพรรคก้าวไกลมีจุดเหนี่ยวรั้งกันและกัน เดินไปด้วยกันได้ ติดตามฟังรายละเอียดทั้งหมดจากคลิปด้านล่างนี้
วิกฤต อยู่แค่เอื้อม อุณหภูมิโลกเฉลี่ยสูงขึ้นอีก 1 องศา รับ ‘ดับเบิลเอลนีโญ’ ร้อนขาดน้ำ
https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_4065227
วิกฤต อยู่แค่เอื้อม อุณหภูมิโลกเฉลี่ยสูงขึ้นอีก 1 องศา รับ ‘ดับเบิลเอลนีโญ’ ร้อนขาดน้ำ
วันที่ 5 กรกฎาคม ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้สัมภาษณ์ มติชนออนไลน์ ว่า ตอนนี้ประเทศไทยเข้าสู่ภาวะของปรากฎการณ์เอลนีโญเต็มตัวแล้ว เป็นช่วงต้นของเอลนีโญ ซึ่งตามการคาดการณ์แล้วจะยาวไปถึงเดือน มีนาคม 2567 ปรากฏการณ์ร้อน และภัยแล้งจากเอลนีโญนี้จะส่งผลรุนแรงที่สุดประมาณเดือนกันยายน ไปถึงเดือน มกราคม 2567 ที่น่าหวาดกลัวกว่านั้นคือ ปกติเมื่อประมาณเดือนมีนาคม ที่หลายคนเข้าใจว่า จะเป็นการสิ้นสุดลงของปรากฏการณ์นี้ แต่มีความเป็นไปได้สูงว่า เอลนีโญจะมีต่อ ซึ่งเรียกว่า ดับเบิลเอลนีโญ
“ก็คิดดูเอาแล้วกัน ช่วงมีนา เมษา ถึงพฤษภาที่ผ่านมา ที่เราบ่นกันว่า ร้อนนักร้อนหนานั้น มันยังไม่เข้าช่วงเอลนีโญเลย มันเป็นช่วงปลายของปรากฏการณ์ลานีญาเท่านั้น แต่เอลนีโญเพิ่งจะเริ่มเมื่อต้นเดือนมิถุนายนนี่เอง มันจะร้อน จะแล้ง จะเกิดผลกระทบได้มากกว่าที่ผ่านมาอีก ที่สำคัญคือ เมื่อจะสิ้นสุดปรากฏการณ์ คือ ราวเดือนมีนาคม 2567 กลับมีแนวโน้มว่า ปรากฏการณ์เอลนีโญจะอยู่ต่อ กลายเป็น ดับเบิลเอลนีโญ ซึ่งน่าเป็นห่วงอย่างมาก โดยเฉพาะเรื่องน้ำ ทั้งน้ำกิน น้ำใช้ ไม่ต้องพูดถึงน้ำสำหรับทำการเกษตรซึ่งมีไม่พอแน่ๆ” ผศ.ดร.ธรณ์ กล่าว
ผศ.ดร.ธรณ์ กล่าวว่า ลำพังเอลนีโญปีนี้ เรายังพออาศัยน้ำจากน้ำต้นทุนที่สะสมไว้ตั้งแต่ปีที่ผ่านมาได้ แต่ปีต่อไปหากปีนี้ไม่มีน้ำเก็บเอาไว้ แล้วเราจะเอาน้ำที่ไหนกิน เอาน้ำที่ไหนใช้ ไหนจะผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในทะเลอีก ทะเลนั้นโดนเต็มๆจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นปีที่ผ่านมา ที่ไม่มีเอลนีโญนั้น อุณหภูมิของน้ำทะเลอยู่ที่ 32 องศาเซลเซียส เมื่อเข้าสู่เอลนีโญคาดว่าอุณภูมิน้ำทะเลจะเป็น 33 องศาเซลเซียส ซึ่งการที่อุณหภูมิน้ำทะเลเพิ่มขึ้นมา 1 องศา ถือเป็นเรื่องใหญ่ของโลก ที่จะส่งผลเสียมากมาย จะเกิดปะการังฟอกขาวกระจาย น้ำทะเลเปลี่ยนสี แพลงตอนบลูม ปลาจะตายจำนวนมาก
“เรื่องใหญ่แบบนี้ ผู้ที่เกี่ยวข้องต้องหาทางรับมือตั้งแต่บัดนี้ เพราะผลกระทบที่เกิดขึ้นจะขยายเป็นวงกว้าง ไม่ใช่เรื่องที่จะมาพูดกันเล่นๆอีกแล้ว” ผศ.ดร.ธรณ์ กล่าว
ด้านนายธารา บัวคำศรี ผู้อำนวยการกรีนพีซ ประเทศไทย ให้สัมภาษณ์ มติชนออนไลน์ ว่า เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ที่ผ่านมา องค์การอุตุนิยมวิทยาโลกประกาศว่า ทั่วโลกจะเข้าสู่สภาวะเอลนีโญ หรือ ร้อนแล้งอย่างเป็นทางการ ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ก็ได้มีการประกาศด้วยว่า ปกติแล้ว อุณหภูมิทั่วโลกที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 16 องศาเซลเซียส บัดนี้ เพิ่มขึ้นมาแล้ว เป็น 17 องศาเซลเซียส
“สำหรับประเทศไทย ฟังดูแล้ว อาจจะยังรู้สึกชิลๆกันว่า 17 องศาเซลเซียสกำลังสบาย แต่ไม่ใช่นะครับ เพราะทั่วโลก มีหลายประเทศ หลายทวีป ทั้งร้อนจัด หนาวจัด เอาอุณหภูมิมาเฉลี่ย ได้ 16 องศาเซลเซียส แล้ว เพิ่มขึ้นมาเป็น 17 มันซีเรียสมาก มันคือ การเพิ่มขึ้นของค่าเฉลี่ย อย่างประเทศไทย อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งประเทศจะอยู่ที่ 28 องศาเซลเซียส ขณะที่บางพื้นที่บางจังหวัด อาจจะมีอุณหภูมิสูงถึง 45 องศาเซลเซียส ซึ่งการที่อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้นก็จะทำให้อุณหภูมิหลายๆพื้นที่สูงขึ้นมาแน่นอนเช่นเดียวกัน ซึ่งจะทำให้สภาวะแวดล้อมหลายๆอย่างเปลี่ยนแปลงไปด้วย” นายธารา กล่าว
ผู้อำนวยการกรีนพีซ ประเทศไทย กล่าวด้วยว่า ที่ ผศ.ดร.ธรณ์ บอกว่า มีแนวโน้มว่าจะเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญแบบดัลเบิล นั้นมีโอกาสเป็นไปได้สูง ซึ่งเห็นว่า ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องจะต้องหาทางรับมือกับภาวะดังกล่าวตั้งแต่บัดนี้
เศรษฐกิจโลกชะลอตัวครึ่งปีหลัง กดดัน กกร. ลดเป้าส่งออกเหลือ -2.0 ถึง 0%
https://www.matichon.co.th/economy/news_4064573
กกร. ตัดใจลดเป้าส่งออกเหลือ -2.0 ถึง 0% จากสัญญาณเศรษฐกิจโลกชะลอตัวครึ่งปีหลัง
นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย ประธานการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) กล่าวถึงผลการประชุม โดยมี นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และ นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย เข้าร่วม ว่าเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอลงมากขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2566 ภาคการผลิตยังคงหดตัวต่อเนื่อง ขณะที่ภาคบริการเริ่มเห็นสัญญาณชะลอลงในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลักทั้งสหรัฐ ยุโรป และญี่ปุ่น
นอกจากนี้ ธนาคารกลางของประเทศหลักฝั่งตะวันตกมีแนวโน้มปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อในช่วงครึ่งปีหลัง ภาวะการเงินตึงตัวจากความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อใหม่จะยิ่งกดดันภาคธุรกิจและจำกัดการใช้จ่าย นำไปสู่การชะลอตัวทางเศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มชะลอลงเช่นกัน มีการปรับลดประมาณการตัวเลขการเติบโตของ GDP จีนปี 2566 ลงสู่ระดับ 5.4-5.5% จากเดิม 6% ปัจจัยเหล่านี้อาจฉุดการเติบโตของภาคการส่งออกไทยในระยะข้างหน้า
ขณะที่เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง ภาคการท่องเที่ยวดีขึ้นต่อเนื่องจากนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งจำนวนนักท่องเที่ยวที่คาดว่าจะไปถึง 29-30 ล้านคน และรายได้ต่อหัวที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ที่ประชุม กกร.คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2566 ยังคงเติบโตประมาณ 3.0% ถึง 3.5% ตามกรอบเดิมที่เคยประเมินไว้ เนื่องจากการบริโภคภาคเอกชนถูกกดดันจากค่าครองชีพและหนี้ครัวเรือนในระดับสูงที่ 90.6% ต่อจีดีพี ซึ่งทำให้ผู้บริโภคมีข้อจำกัดและระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น ขณะที่ภาคการผลิตมีแนวโน้มชะลอตัวตามทิศทางเศรษฐกิจโลก
ส่วนมูลค่าการส่งออกประเมินว่าหดตัวมากขึ้นในกรอบ -2.0% ถึง 0.0% จากเป้าเดิม -1.0% ถึง 0.0% ขณะที่ภาวะเงินเฟ้อ แม้ยังมีความเสี่ยงจากภัยแล้ง (เอลนิโญ) และหากมีการปรับค่าแรง แต่คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปต่ำลงจากที่ประเมินไว้เดิมตามทิศทางราคาพลังงาน โดยจะอยู่ในกรอบ 2.2 ถึง 2.7%