‘ตรีชฎา’ จี้ ‘ประยุทธ์’ แจงต้นตอรัฐประหาร 57 หวังช่วยคนผิดหลุดคดีสลายชุมนุม 53 หรือไม่
https://www.matichon.co.th/politics/news_4070628
‘ตรีชฎา’ จี้ ‘ประยุทธ์’ แจงต้นตอรัฐประหาร 57 หวังช่วยคนผิดหลุดคดีสลายชุมนุม 53 หรือไม่ เผย ‘เพื่อไทย’ เตรียมเดินหน้าแก้กฎหมาย ป.ป.ช. เปิดทางผู้เสียหายฟ้องศาลทวงคืนความยุติธรรม
เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม น.ส.
ตรีชฎา ศรีธาดา รองโฆษกพรรคเพื่อไทย (พท.) เปิเผยถึงกรณีที่นาย
ธาริต เพ็งดิษฐ์ อดีตอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) แถลงเรียกร้องให้รัฐบาลชุดใหม่ตั้งคณะกรรมการอิสระขึ้นมา เพื่อสอบสวนคืนความยุติธรรมให้ประชาชนที่สูญเสียในเหตุการณ์สลายการชุมนุมปี 2553 พร้อมเปิดเผยข้อมูลนายทหารใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับการรัฐประหาร ข่มขู่ พวกอั้วปฏิวัติแล้ว ลื้อจะโดนย้ายคนแรก เพื่อให้ยุติการดำเนินคดีสลายการชุมนุม ว่า พล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะรัฐประหารปี 2557 และนายทหารที่เกี่ยวข้องกับการรัฐประหารทั้งหมด ควรจะแสดงความกล้าหาญออกมาชี้แจงข้อเท็จจริงกับสังคมว่า สิ่งที่นายธาริตเปิดเผยออกมานั้นเป็นส่วนหนึ่งของต้นตอการรัฐประหาร 2557 จริงหรือไม่
เพราะการรัฐประหารที่ทำให้ประเทศเสียหายมหาศาลดังกล่าวนั้น แท้ที่จริงแล้วเป็นการพยายามช่วยเหลือให้ผู้เกี่ยวข้องกับการสั่งสลายการชุมนุมประชาชนในปี 2553 ให้หลุดคดี หรือเป็นเพียงการทำเพื่อให้ตัวเองรอดพ้นความผิดหรือไม่ เพราะข้อเท็จจริงที่สังคมกังขาคือ หลังการรัฐประหาร 2557 เป็นต้นมาคดีสลายการชุมนุมของประชาชนไม่มีความคืบหน้าใดๆ เลย
“
คดีสั่งสลายการชุมนุมของประชาชนปี 53 ที่ทำให้ประชาชนเสียชีวิตนับร้อย บาดเจ็บและสูญเสียอีกหลายพันคนนั้น หยุดนิ่งไม่มีความคืบหน้าใดๆ มานับตั้งแต่รัฐประหาร 2557 และมีกระแสข่าวมาตลอดว่ามีความพยายามที่จะทำให้คนสั่งการ คนกระทำผิดรอดพ้นจากความผิด หากย้อนไปก่อนหน้านี้ ก็พบกับกระแสข่าวความพยายามกดดันอัยการจนสังคมกังขา หรือแม้แต่ ป.ป.ช. ชุดหลังรัฐประหารก็ยกคำร้อง แม้ญาติผู้เสียชีวิตจะออกมาเรียกร้องความยุติธรรมตลอดเวลา แต่สิบกว่าปีที่ผ่านมาก็ยังไม่สามารถมีหน่วยงานหรือองค์กรในกระบวนการยุติธรรมใด ให้ความเป็นธรรมกับพวกเขาได้” น.ส.
ตรีชฎา กล่าว
น.ส.
ตรีชฎา กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ พรรคพท.ติดตามทวงคืนความยุติธรรมให้กับผู้สูญเสียมาอย่างต่อเนื่อง คนสั่งการจะต้องไม่ลอยนวลอยู่เหนือความผิด ประชาชนต้องไม่ตายและเจ็บฟรี พี่น้องคนเสื้อแดงจะต้องได้รับความยุติธรรม พรรค พท.เห็นความสำคัญอย่างยิ่งกับการที่รัฐบาลประชาธิปไตยที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนที่กำลังจัดตั้งขึ้นใหม่ จะต้องให้ความสำคัญกับการทำความจริงให้ปรากฎและคืนความยุติธรรมให้ประชาชนอย่างเร่งด่วน ไม่ว่าจะผ่านกระบวนการของการจัดตั้งคณะกรรมการอิสระหรือการดำเนินการใดๆ โดยพรรค พท.ได้เตรียมการที่จะเสนอให้มีการแก้ไขกฎหมาย ป.ป.ช. เพื่อเปิดทางให้ผู้เสียหายมีสิทธิฟ้องร้องต่อศาลได้โดยตรง ทันทีที่การจัดตั้งรัฐบาลประชาธิปไตยเสร็จสิ้น
‘อ.นันทนา’ ทำจม.เปิดผนึกถึง ส.ว. วอนโหวต ‘พิธา’ นายกฯ ร่วมเขียนปวศ.หน้าใหม่กับปชช.
https://www.matichon.co.th/politics/news_4070556
‘อ.นันทนา’ ทำจดหมายเปิดผนึกถึง ส.ว. วอนร่วมเขียนประวัติศาสตร์หน้าใหม่กับปชช.ด้วยการโหวต ‘พิธา’ นายกฯ
เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม รศ.ดร.
นันทนา นันทวโรภาส คณบดีวิทยาลัยสื่อสารการเมือง มหาวิทยาลัยเกริก ทำจดหมายเปิดผนึกถึงส.ว. โดยโพสต์ขึ้นเฟซบุ๊กส่วนตัว พร้อมกับเขียนข้อความระบุว่า
ในฐานะนักวิชาการที่จับตาการเมืองหลังเลือกตั้งอย่างมีความหวัง ที่จะเห็นประเทศไทยเปลี่ยนผ่านสู่ยุคประชาธิปไตยแบบอารยะ
ซึ่งสิ่งนี้จะไม่เป็นจริง หากไม่ได้รับความเห็นชอบจากสมาชิกวุฒิสภา จึงขอส่งจดหมายเปิดผนึกฉบับนี้มา เพื่อวิงวอนให้ท่านส.ว. ร่วมเขียนประวัติศาสตร์หน้าใหม่กับประชาชนคนไทยทั้งประเทศ
https://www.facebook.com/dr.nantana/posts/6376327079127416?ref=embed_post
เปิดแผน 2 คณะทำงาน สู้ศึก “เอลนีโญ” กู้วิกฤติประมง
https://www.thansettakij.com/business/trade-agriculture/570192
เปิดแผน 2 คณะทำงาน 8 พรรคร่วม ช่วงเปลี่ยนผ่านรัฐบาล รับมือ “เอลนีโญ-กู้วิกฤติประมง” ดันปลูกพืชใช้น้ำน้อย 2 ล้านไร่ ภาคกลาง เหนือ สู้ภัยแล้ง เล็งยุบ “IUU Hunter” ตั้งกองทุนเยียวยาฟื้นฟูประมง หลัง 8 ปีแก้ไอยูยู ทำชาวประมง ธุรกิจเกี่ยวเนื่องเสียหายกว่า 2 แสนล้าน
ย้อนไปวันที่ 7 มิถุนายน 2566 หลังการประชุมคณะกรรมการช่วงเปลี่ยนผ่านของ 8 พรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาล ได้มีมติตั้งคณะทำงานเรื่องการดูแลการเปลี่ยนผ่านเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาให้พี่น้องประชาชนได้อย่างรวดเร็ว มีทั้งหมด 14 คณะ ได้แก่ คณะทำงานที่ 1 ด้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ, คณะทำงานที่ 2 ด้านค่าไฟฟ้า ค่านํ้ามัน และราคาพลังงาน, คณะทำงานที่ 3 ด้านภัยแล้ง เอลนีโญ, คณะทำงานที่ 4 ด้านการแก้ปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้, คณะทำงานที่ 5 ด้านปัญหาสิ่งแวดล้อม และ PM2.5
คณะทำงานที่ 6 ด้านการแก้ปัญหาเศรษฐกิจปากท้อง และ SME, คณะทำงานที่ 7 ด้านการแก้ปัญหายาเสพติด, คณะทำงานที่ 8 ด้านรัฐบาลและเศรษฐกิจดิจิทัล, คณะทำงานที่ 9 ด้านการต่อต้านคอร์รัปชัน,คณะทำงานที่ 10 ด้านสาธารณสุข, คณะทำงานที่ 11 ด้านความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจและสังคม, คณะทำงานที่ 12 ด้านการปฏิรูปที่ดิน, คณะทำงานที่ 13 ด้านการประมง และคณะทำงานที่ 14 ด้านการเปลี่ยนผ่านงบประมาณ ล่าสุด “ฐานเศรษฐกิจ” ได้ติดตามภารกิจของ 2 คณะ คือคณะทำงานที่ 3 ด้านภัยแล้ง เอลนีโญ และคณะทำงานที่ 13 ด้านการประมง โดย 2 คณะทำงานนี้มีการประชุมไปแล้ว 2 ครั้ง มีความคืบหน้าอย่างน่าสนใจ
นาย
เดชรัต สุขกำเนิด ประธานคณะทำงานด้านภัยแล้ง เอลนีโญ เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า กรอบการทำงานของคณะทำงานทั้ง 14 ชุด คือการเตรียมแนวทางเพื่อเสนอต่อคณะทำงานประสานงานที่ต้องทำให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 10 กรกฎาคมนี้ ในส่วนของคณะทำงานด้านภัยแล้งฯ จะมีการประชุมครั้งสุดท้าย รวมทั้งการลงพื้นเพื่อดูการบริหารจัดการนํ้าที่จังหวัดชัยนาท ในวันที่ 9 กรกฎาคมนี้
เหตุที่เลือกลงไปดูการบริหารจัดการนํ้าที่ชัยนาท มี 2 ประการ เหตุผลแรก เพื่อดูการบริหารจัดการ นํ้าในพื้นที่ภาคกลางว่าแผนที่ชลประทานวางไว้มีการบริหารจัดการอย่างไร และเหตุผลที่ 2 มีชาวบ้านได้ร่วมกับกรมชลประทานวางแผนระบบการจัดสรรนํ้าแบบใหม่ ทำให้ระยะเวลาการจัดสรรนํ้าภายในคลองส่งนํ้าสายเดียวกันสั้นลง ได้นํ้าพร้อมกัน และสามารถส่งนํ้าไปที่คลองอื่นได้ด้วย อยากจะไปดูแนวทางว่าจะขยายผลไปพื้นที่อื่นได้ด้วยหรือไม่
“
ภัยแล้งจากเอลนีโญ จากการประเมินไทยค่อนข้างมีความเสี่ยงสูงมาก ซึ่งต้องติดตามสถานการณ์ฝนในทุก ๆ เดือน จะเห็นว่าในรอบเดือนมิถุนายนนี้ปริมาณฝนจะน้อยกว่าค่าเฉลี่ยปกติ ถือเป็นสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงที่อาจลากยาวไปจนถึงฤดูแล้ง หรือฤดูฝนปีหน้าสิ่งที่จะต้องดำเนินการคือการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนการบริหารนํ้า”
อย่างไรก็ดี ขณะนี้ยังไม่สามารถที่จะเข้าไปสั่งการหรือไปบอกกับหน่วยราชการได้เพราะยังไม่ได้เป็นรัฐบาล แค่เตรียมการไว้ก่อน แต่ด้วยประสบการณ์ของทีมงานหลายพรรคร่วมกัน เห็นควรที่จะเตรียมการในการส่งเสริมและสนับสนุนการปลูกพืชที่ใช้นํ้าน้อยเพื่อรับมือกับเอลนีโญ (กราฟิกประกอบ) สำหรับต้นปี 2567 คาดจะมีพื้นที่ประมาณ 2 ล้านไร่ในเขตพื้นที่ชลประทานภาคกลางและภาคเหนือตอนล่าง ส่วนภาค อื่นๆ คงต้องประเมินตามสถานการณ์ นํ้าอีกครั้ง ส่วนนอกพื้นที่ชลประทานต้องเร่งเพิ่มแหล่งนํ้า ทั้งระบบนํ้าบาดาล และระบบสระนํ้าในไร่นา
ด้านนาย
ไตรฤกษ์ มือสันทัดประธานคณะทำงานด้านการประมง กล่าวว่า การแก้ปัญหาประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU) ที่ผิดพลาดตลอด 8 ปีที่ผ่านมา ทำให้ภาคประมงและธุรกิจต่อเนื่องได้รับความเสียหายไม่ตํ่ากว่า 2 แสนล้านบาท เรือประมงพาณิชย์ในน่านนํ้าไทยจากจำนวน 42,512 ลำคงเหลือที่สามารถออกใบอนุญาตทำการประมงในปัจจุบันเพียง 9,000 ลำเท่านั้น ส่วนเรือประมงนอกน่านนํ้าไทยสามารถออกเรือไปทำประมงได้เพียง 3 ลำ จากเคยมีมากกว่า 1,000 ลำ ดังนั้นจำเป็นที่จะต้องมีคณะกรรมการนโยบายแห่งชาติชุดใหม่มากำกับดูแลให้สอดคล้องกับวิถีการทำประมงของไทย
“
นอกจากนี้จะให้ยกเลิกคณะกรรมการเฉพาะกิจ หรือไอยูยูฮันเตอร์(IUU Hunter) ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อจับกุมผู้กระทำผิดที่เกี่ยวข้องกับการประมงทะเลตั้งแต่เดือนมีนาคม 2561จนถึงปัจจุบัน เมื่อยุบแล้วจะคืนอำนาจให้แต่ละกระทรวงที่มีภารกิจโดยตรงและมีอำนาจอยู่แล้ว การชดเชยเยียวยา และการนิรโทษกรรมเรือประมงที่ผ่านกระบวนการศาลมาแล้ว จะทำให้เรือต่าง ๆไม่ต้องติดแบล็กลิสต์ รวมถึงการทบทวนแก้ไขพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 และแก้ไขเพิ่มเติมปี 2560 ที่มีผลบังคับใช้ และจะนำร่างพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ...ฉบับใหม่ที่ผ่านวาระแรก (รัฐบาลชุดที่แล้ว) บรรจุวาระ เข้าสู่การพิจารณาของสภาภายใน 60 วัน พร้อมเสนอแผนการพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่องประมง และการจัดตั้งกองทุนเพื่อการพัฒนาและฟื้นฟูการประมงไทยซึ่งจะแถลงเป็นนโยบายเร่งด่วน 100 วัน”
อนึ่ง เก็บควันหลงประชุมคณะทำงานด้านประมง ( 3 กค.66) เวลา 9.00 น. ณ.ห้องประชุมพรรคเพื่อไทยชั้น 6
1. นาย
วรภพ วิริยะโรจน์ พรรคก้าวไกล
2. นา
ยณัฐพงษ์ สุมโนธรรม พรรคก้าวไกล
3. นาย
ประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร พรรคก้าวไกล
4. นาย
คเชนทร์ สุขเกษม พรรคก้าวไกล
5. นาย
นิธิวัตน์ ธีระนันทกุล พรรคก้าวไกล
6. นางสาว
กนกวรรณ มณีโรจน์ เลขาฯที่ประชุม
7. นาง
อันน์เกตุ ลีลาไพบูลย์ พรรคประชาชาติ
8. นาย
สฤษฏ์พัฒน์ ภมรวิสิฐ พรรคประชาชาติ
9. นาย
พิชัย แซ่ซิ้ม พรรคเป็นธรรม
10. นาย
ปณิธาน ประจวบเหมาะ พรรคไทยสร้างไทย
11. นาย
นันทชัย สุขเกื้อ พรรคไทยสร้างไทย
12. นาย
ไตรฤกษ์ มือสันทัด พรรคเพื่อไทย
13. นาย
มงคล สุขเจริญคณา พรรคเพื่อไทย
14. นาย
สุวัฐน์ วงศ์สุวัฒน์ พรรคเพื่อไทย
15. นาย
ศุภชัย นาคสุวรรณ์ พรรคเสรีรวมไทย
16. นาย
ธนวร นาคสุวรรณ์ พรรคเสรีรวมไทย
17. นาย
มงคล มงคลตรีลักษณ์ นายกสมาคมประมงสมุทรสาคร
JJNY : ‘ตรีชฎา’จี้ ‘ประยุทธ์’แจง│‘อ.นันทนา’ทำจม.เปิดผนึกถึงส.ว.│เปิดแผนสู้ศึก “เอลนีโญ”│ปชช.ประท้วงต้านกษัตริย์ชาร์ลส์
https://www.matichon.co.th/politics/news_4070628
‘ตรีชฎา’ จี้ ‘ประยุทธ์’ แจงต้นตอรัฐประหาร 57 หวังช่วยคนผิดหลุดคดีสลายชุมนุม 53 หรือไม่ เผย ‘เพื่อไทย’ เตรียมเดินหน้าแก้กฎหมาย ป.ป.ช. เปิดทางผู้เสียหายฟ้องศาลทวงคืนความยุติธรรม
เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม น.ส.ตรีชฎา ศรีธาดา รองโฆษกพรรคเพื่อไทย (พท.) เปิเผยถึงกรณีที่นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อดีตอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) แถลงเรียกร้องให้รัฐบาลชุดใหม่ตั้งคณะกรรมการอิสระขึ้นมา เพื่อสอบสวนคืนความยุติธรรมให้ประชาชนที่สูญเสียในเหตุการณ์สลายการชุมนุมปี 2553 พร้อมเปิดเผยข้อมูลนายทหารใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับการรัฐประหาร ข่มขู่ พวกอั้วปฏิวัติแล้ว ลื้อจะโดนย้ายคนแรก เพื่อให้ยุติการดำเนินคดีสลายการชุมนุม ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะรัฐประหารปี 2557 และนายทหารที่เกี่ยวข้องกับการรัฐประหารทั้งหมด ควรจะแสดงความกล้าหาญออกมาชี้แจงข้อเท็จจริงกับสังคมว่า สิ่งที่นายธาริตเปิดเผยออกมานั้นเป็นส่วนหนึ่งของต้นตอการรัฐประหาร 2557 จริงหรือไม่
เพราะการรัฐประหารที่ทำให้ประเทศเสียหายมหาศาลดังกล่าวนั้น แท้ที่จริงแล้วเป็นการพยายามช่วยเหลือให้ผู้เกี่ยวข้องกับการสั่งสลายการชุมนุมประชาชนในปี 2553 ให้หลุดคดี หรือเป็นเพียงการทำเพื่อให้ตัวเองรอดพ้นความผิดหรือไม่ เพราะข้อเท็จจริงที่สังคมกังขาคือ หลังการรัฐประหาร 2557 เป็นต้นมาคดีสลายการชุมนุมของประชาชนไม่มีความคืบหน้าใดๆ เลย
“คดีสั่งสลายการชุมนุมของประชาชนปี 53 ที่ทำให้ประชาชนเสียชีวิตนับร้อย บาดเจ็บและสูญเสียอีกหลายพันคนนั้น หยุดนิ่งไม่มีความคืบหน้าใดๆ มานับตั้งแต่รัฐประหาร 2557 และมีกระแสข่าวมาตลอดว่ามีความพยายามที่จะทำให้คนสั่งการ คนกระทำผิดรอดพ้นจากความผิด หากย้อนไปก่อนหน้านี้ ก็พบกับกระแสข่าวความพยายามกดดันอัยการจนสังคมกังขา หรือแม้แต่ ป.ป.ช. ชุดหลังรัฐประหารก็ยกคำร้อง แม้ญาติผู้เสียชีวิตจะออกมาเรียกร้องความยุติธรรมตลอดเวลา แต่สิบกว่าปีที่ผ่านมาก็ยังไม่สามารถมีหน่วยงานหรือองค์กรในกระบวนการยุติธรรมใด ให้ความเป็นธรรมกับพวกเขาได้” น.ส.ตรีชฎา กล่าว
น.ส.ตรีชฎา กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ พรรคพท.ติดตามทวงคืนความยุติธรรมให้กับผู้สูญเสียมาอย่างต่อเนื่อง คนสั่งการจะต้องไม่ลอยนวลอยู่เหนือความผิด ประชาชนต้องไม่ตายและเจ็บฟรี พี่น้องคนเสื้อแดงจะต้องได้รับความยุติธรรม พรรค พท.เห็นความสำคัญอย่างยิ่งกับการที่รัฐบาลประชาธิปไตยที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนที่กำลังจัดตั้งขึ้นใหม่ จะต้องให้ความสำคัญกับการทำความจริงให้ปรากฎและคืนความยุติธรรมให้ประชาชนอย่างเร่งด่วน ไม่ว่าจะผ่านกระบวนการของการจัดตั้งคณะกรรมการอิสระหรือการดำเนินการใดๆ โดยพรรค พท.ได้เตรียมการที่จะเสนอให้มีการแก้ไขกฎหมาย ป.ป.ช. เพื่อเปิดทางให้ผู้เสียหายมีสิทธิฟ้องร้องต่อศาลได้โดยตรง ทันทีที่การจัดตั้งรัฐบาลประชาธิปไตยเสร็จสิ้น
‘อ.นันทนา’ ทำจม.เปิดผนึกถึง ส.ว. วอนโหวต ‘พิธา’ นายกฯ ร่วมเขียนปวศ.หน้าใหม่กับปชช.
https://www.matichon.co.th/politics/news_4070556
‘อ.นันทนา’ ทำจดหมายเปิดผนึกถึง ส.ว. วอนร่วมเขียนประวัติศาสตร์หน้าใหม่กับปชช.ด้วยการโหวต ‘พิธา’ นายกฯ
เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม รศ.ดร.นันทนา นันทวโรภาส คณบดีวิทยาลัยสื่อสารการเมือง มหาวิทยาลัยเกริก ทำจดหมายเปิดผนึกถึงส.ว. โดยโพสต์ขึ้นเฟซบุ๊กส่วนตัว พร้อมกับเขียนข้อความระบุว่า
ในฐานะนักวิชาการที่จับตาการเมืองหลังเลือกตั้งอย่างมีความหวัง ที่จะเห็นประเทศไทยเปลี่ยนผ่านสู่ยุคประชาธิปไตยแบบอารยะ
ซึ่งสิ่งนี้จะไม่เป็นจริง หากไม่ได้รับความเห็นชอบจากสมาชิกวุฒิสภา จึงขอส่งจดหมายเปิดผนึกฉบับนี้มา เพื่อวิงวอนให้ท่านส.ว. ร่วมเขียนประวัติศาสตร์หน้าใหม่กับประชาชนคนไทยทั้งประเทศ
https://www.facebook.com/dr.nantana/posts/6376327079127416?ref=embed_post
เปิดแผน 2 คณะทำงาน สู้ศึก “เอลนีโญ” กู้วิกฤติประมง
https://www.thansettakij.com/business/trade-agriculture/570192
เปิดแผน 2 คณะทำงาน 8 พรรคร่วม ช่วงเปลี่ยนผ่านรัฐบาล รับมือ “เอลนีโญ-กู้วิกฤติประมง” ดันปลูกพืชใช้น้ำน้อย 2 ล้านไร่ ภาคกลาง เหนือ สู้ภัยแล้ง เล็งยุบ “IUU Hunter” ตั้งกองทุนเยียวยาฟื้นฟูประมง หลัง 8 ปีแก้ไอยูยู ทำชาวประมง ธุรกิจเกี่ยวเนื่องเสียหายกว่า 2 แสนล้าน
ย้อนไปวันที่ 7 มิถุนายน 2566 หลังการประชุมคณะกรรมการช่วงเปลี่ยนผ่านของ 8 พรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาล ได้มีมติตั้งคณะทำงานเรื่องการดูแลการเปลี่ยนผ่านเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาให้พี่น้องประชาชนได้อย่างรวดเร็ว มีทั้งหมด 14 คณะ ได้แก่ คณะทำงานที่ 1 ด้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ, คณะทำงานที่ 2 ด้านค่าไฟฟ้า ค่านํ้ามัน และราคาพลังงาน, คณะทำงานที่ 3 ด้านภัยแล้ง เอลนีโญ, คณะทำงานที่ 4 ด้านการแก้ปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้, คณะทำงานที่ 5 ด้านปัญหาสิ่งแวดล้อม และ PM2.5
คณะทำงานที่ 6 ด้านการแก้ปัญหาเศรษฐกิจปากท้อง และ SME, คณะทำงานที่ 7 ด้านการแก้ปัญหายาเสพติด, คณะทำงานที่ 8 ด้านรัฐบาลและเศรษฐกิจดิจิทัล, คณะทำงานที่ 9 ด้านการต่อต้านคอร์รัปชัน,คณะทำงานที่ 10 ด้านสาธารณสุข, คณะทำงานที่ 11 ด้านความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจและสังคม, คณะทำงานที่ 12 ด้านการปฏิรูปที่ดิน, คณะทำงานที่ 13 ด้านการประมง และคณะทำงานที่ 14 ด้านการเปลี่ยนผ่านงบประมาณ ล่าสุด “ฐานเศรษฐกิจ” ได้ติดตามภารกิจของ 2 คณะ คือคณะทำงานที่ 3 ด้านภัยแล้ง เอลนีโญ และคณะทำงานที่ 13 ด้านการประมง โดย 2 คณะทำงานนี้มีการประชุมไปแล้ว 2 ครั้ง มีความคืบหน้าอย่างน่าสนใจ
นายเดชรัต สุขกำเนิด ประธานคณะทำงานด้านภัยแล้ง เอลนีโญ เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า กรอบการทำงานของคณะทำงานทั้ง 14 ชุด คือการเตรียมแนวทางเพื่อเสนอต่อคณะทำงานประสานงานที่ต้องทำให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 10 กรกฎาคมนี้ ในส่วนของคณะทำงานด้านภัยแล้งฯ จะมีการประชุมครั้งสุดท้าย รวมทั้งการลงพื้นเพื่อดูการบริหารจัดการนํ้าที่จังหวัดชัยนาท ในวันที่ 9 กรกฎาคมนี้
เหตุที่เลือกลงไปดูการบริหารจัดการนํ้าที่ชัยนาท มี 2 ประการ เหตุผลแรก เพื่อดูการบริหารจัดการ นํ้าในพื้นที่ภาคกลางว่าแผนที่ชลประทานวางไว้มีการบริหารจัดการอย่างไร และเหตุผลที่ 2 มีชาวบ้านได้ร่วมกับกรมชลประทานวางแผนระบบการจัดสรรนํ้าแบบใหม่ ทำให้ระยะเวลาการจัดสรรนํ้าภายในคลองส่งนํ้าสายเดียวกันสั้นลง ได้นํ้าพร้อมกัน และสามารถส่งนํ้าไปที่คลองอื่นได้ด้วย อยากจะไปดูแนวทางว่าจะขยายผลไปพื้นที่อื่นได้ด้วยหรือไม่
“ภัยแล้งจากเอลนีโญ จากการประเมินไทยค่อนข้างมีความเสี่ยงสูงมาก ซึ่งต้องติดตามสถานการณ์ฝนในทุก ๆ เดือน จะเห็นว่าในรอบเดือนมิถุนายนนี้ปริมาณฝนจะน้อยกว่าค่าเฉลี่ยปกติ ถือเป็นสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงที่อาจลากยาวไปจนถึงฤดูแล้ง หรือฤดูฝนปีหน้าสิ่งที่จะต้องดำเนินการคือการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนการบริหารนํ้า”
อย่างไรก็ดี ขณะนี้ยังไม่สามารถที่จะเข้าไปสั่งการหรือไปบอกกับหน่วยราชการได้เพราะยังไม่ได้เป็นรัฐบาล แค่เตรียมการไว้ก่อน แต่ด้วยประสบการณ์ของทีมงานหลายพรรคร่วมกัน เห็นควรที่จะเตรียมการในการส่งเสริมและสนับสนุนการปลูกพืชที่ใช้นํ้าน้อยเพื่อรับมือกับเอลนีโญ (กราฟิกประกอบ) สำหรับต้นปี 2567 คาดจะมีพื้นที่ประมาณ 2 ล้านไร่ในเขตพื้นที่ชลประทานภาคกลางและภาคเหนือตอนล่าง ส่วนภาค อื่นๆ คงต้องประเมินตามสถานการณ์ นํ้าอีกครั้ง ส่วนนอกพื้นที่ชลประทานต้องเร่งเพิ่มแหล่งนํ้า ทั้งระบบนํ้าบาดาล และระบบสระนํ้าในไร่นา
ด้านนายไตรฤกษ์ มือสันทัดประธานคณะทำงานด้านการประมง กล่าวว่า การแก้ปัญหาประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU) ที่ผิดพลาดตลอด 8 ปีที่ผ่านมา ทำให้ภาคประมงและธุรกิจต่อเนื่องได้รับความเสียหายไม่ตํ่ากว่า 2 แสนล้านบาท เรือประมงพาณิชย์ในน่านนํ้าไทยจากจำนวน 42,512 ลำคงเหลือที่สามารถออกใบอนุญาตทำการประมงในปัจจุบันเพียง 9,000 ลำเท่านั้น ส่วนเรือประมงนอกน่านนํ้าไทยสามารถออกเรือไปทำประมงได้เพียง 3 ลำ จากเคยมีมากกว่า 1,000 ลำ ดังนั้นจำเป็นที่จะต้องมีคณะกรรมการนโยบายแห่งชาติชุดใหม่มากำกับดูแลให้สอดคล้องกับวิถีการทำประมงของไทย
“นอกจากนี้จะให้ยกเลิกคณะกรรมการเฉพาะกิจ หรือไอยูยูฮันเตอร์(IUU Hunter) ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อจับกุมผู้กระทำผิดที่เกี่ยวข้องกับการประมงทะเลตั้งแต่เดือนมีนาคม 2561จนถึงปัจจุบัน เมื่อยุบแล้วจะคืนอำนาจให้แต่ละกระทรวงที่มีภารกิจโดยตรงและมีอำนาจอยู่แล้ว การชดเชยเยียวยา และการนิรโทษกรรมเรือประมงที่ผ่านกระบวนการศาลมาแล้ว จะทำให้เรือต่าง ๆไม่ต้องติดแบล็กลิสต์ รวมถึงการทบทวนแก้ไขพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 และแก้ไขเพิ่มเติมปี 2560 ที่มีผลบังคับใช้ และจะนำร่างพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ...ฉบับใหม่ที่ผ่านวาระแรก (รัฐบาลชุดที่แล้ว) บรรจุวาระ เข้าสู่การพิจารณาของสภาภายใน 60 วัน พร้อมเสนอแผนการพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่องประมง และการจัดตั้งกองทุนเพื่อการพัฒนาและฟื้นฟูการประมงไทยซึ่งจะแถลงเป็นนโยบายเร่งด่วน 100 วัน”
อนึ่ง เก็บควันหลงประชุมคณะทำงานด้านประมง ( 3 กค.66) เวลา 9.00 น. ณ.ห้องประชุมพรรคเพื่อไทยชั้น 6
1. นายวรภพ วิริยะโรจน์ พรรคก้าวไกล
2. นายณัฐพงษ์ สุมโนธรรม พรรคก้าวไกล
3. นายประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร พรรคก้าวไกล
4. นายคเชนทร์ สุขเกษม พรรคก้าวไกล
5. นายนิธิวัตน์ ธีระนันทกุล พรรคก้าวไกล
6. นางสาวกนกวรรณ มณีโรจน์ เลขาฯที่ประชุม
7. นางอันน์เกตุ ลีลาไพบูลย์ พรรคประชาชาติ
8. นายสฤษฏ์พัฒน์ ภมรวิสิฐ พรรคประชาชาติ
9. นายพิชัย แซ่ซิ้ม พรรคเป็นธรรม
10. นายปณิธาน ประจวบเหมาะ พรรคไทยสร้างไทย
11. นายนันทชัย สุขเกื้อ พรรคไทยสร้างไทย
12. นายไตรฤกษ์ มือสันทัด พรรคเพื่อไทย
13. นายมงคล สุขเจริญคณา พรรคเพื่อไทย
14. นายสุวัฐน์ วงศ์สุวัฒน์ พรรคเพื่อไทย
15. นายศุภชัย นาคสุวรรณ์ พรรคเสรีรวมไทย
16. นายธนวร นาคสุวรรณ์ พรรคเสรีรวมไทย
17. นายมงคล มงคลตรีลักษณ์ นายกสมาคมประมงสมุทรสาคร