JJNY : 5in1 ‘อิ๊งค์-เศรษฐา’ร่วมประชุมทีมศก.│เพื่อไทยพ้อทัวร์ลง│ยอดพลแนะ‘คุยกันให้ขาด’│ส.อ.ท.จี้ลดค่าไฟ│“ซูโรวิคิน”ถูกจับ

‘อิ๊งค์-เศรษฐา’ ร่วมประชุมทีมเศรษฐกิจ ‘ก้าวไกล-เพื่อไทย’ หารือวางแผนงานบริหาร
https://www.khaosod.co.th/politics/news_7740068
 
 
‘อิ๊งค์-เศรษฐา’ ร่วมประชุมทีมเศรษฐกิจ ‘ก้าวไกล-เพื่อไทย’ หารือวางแผนงานบริหาร บอกทำงานต่อไม่รอแล้วนะ แกนนำ 2 พรรคเข้าร่วม
 
เมื่อวันที่ 29 มิ.ย.66 น.ส.แพทองธาร ชินวัตร แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรคเพื่อไทย (พท.) และหัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย โพสต์ไอจีสตอรี่ เป็นวิดีโอการประชุมร่วมกันระหว่างพรรคเพื่อไทยและพรรคก้าวไกล
 
โดยฝั่งของพรรคเพื่อไทย นำโดยน.ส.แพทองธาร นายเศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรคเพื่อไทย และประธานที่ปรึกษาหัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย และนพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช ประธานคณะกรรมการด้านเศรษฐกิจและประธานคณะกรรมการนโยบายพรรค เพื่อไทย และนายจักรพงษ์ แสงมณี นายทะเบียนพรรคเพื่อไทย
 
ส่วนตัวแทนจากพรรคก้าวไกล มีนายพิจารณ์ เชาวพัฒนวงศ์ และน.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล รองหัวหน้าพรรค
 
ต่อมาน.ส.ศิริกัญญา ทวีตรูปภาพผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัว พร้อมระบุข้อความว่า “หารือร่วมกันกับเพื่อวางแผนงานบริหาร ทำงานต่อไม่รอแล้วนะ
  
โดยมีรายงานว่า การประชุมดังกล่าวได้นัดหมายที่โรงแรมโรสวูด กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นโรงแรมของน.ส.แพทองธาร โดยเป็นการหารือร่วมกันของทั้ง 2 ฝ่าย  เพื่อพิจารณาถึงการจัดสรรงานบริหารร่วมกัน

https://twitter.com/SirikanyaTansa1/status/1674346711437950982
https://twitter.com/ingshin/status/1674354131300139008
 

 
เพื่อไทย พ้อทัวร์ลง แจงขอเก้าอี้ปธ.สภา ไม่ได้แย่ง ย้ำถูก25ล้านเสียงมัดติดก้าวไกล
https://www.khaosod.co.th/election-2023/news_7739961

ชลน่าน เจียมตัวเคารพพรรคอันดับ 1 แจงขอตำแหน่งประธานสภา ไม่ได้แย่งหรือบังคับ ครวญทัวร์ลงแต่เพื่อไทย ย้ำ 2 ก.ค.เจรจาต้องจบ ยอมรับถูก 25 ล้านเสียงมัดติดก้าวไกล
 
เมื่อวันที่ 29 มิ.ย.2566 ที่วอยซ์ทีวี นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงความคืบหน้าการหารือเรื่องตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร ระหว่างพรรคเพื่อไทยกับพรรคก้าวไกล (ก.ก.) ว่า มีการนัดหารือกันในช่วงเช้าวันที่ 2 ก.ค. พร้อมกับการประชุมหัวหน้าพรรค 8 พรรคร่วมในช่วงบ่าย สิ่งที่เรามีความชัดเจน คือการหารือร่วมกันภายใน พบปะพูดคุยกับคณะเจรจา และมั่นใจว่าจะคุยกันจนได้ข้อสรุปที่ดี
 
ทั้งนี้ เราเข้าใจตัวเองดีว่าเราเป็นพรรคอันดับ 2 เราเคารพพรรคอันดับ 1 ตลอดเวลา ข้อเสนอที่เราเสนอไป คือให้พรรคอันดับ 1 พิจารณา เราเคารพสิทธิตลอดเวลา เราร้องขอไปว่าท่านจะพิจารณาให้หรือไม่ ไม่ใช่การยื้อแย่งตำแหน่ง ไม่ใช่การบีบบังคับกัน ในวงเจรจาเรารู้ถึงสิทธิ์ของตัวเองดี แต่ตอนนี้เราขอประธานสภา เพื่อดุลยภาพในการทำงาน ไม่ใช่การยื้อแย่ง และไม่ได้หักหลังประชาชน จะให้หรือไม่เราขอตำแหน่งเป็นทางการตามหลักการเท่านั้นเอง
 
นพ.ชลน่าน กล่าวต่อว่า การเจรจาที่เอาหลักพื้นฐานเดียวกันคือ เอาประชาชนจากทั้ง 25 ล้านเสียงที่เลือกทั้ง 2 พรรค เป็นหลักการเจรจาเพื่อจัดตั้งรัฐบาลจากฝ่ายประชาธิปไตย หากยึดสิ่งนี้เป็นจุดเริ่มต้นจะมีข้อสรุปที่ดีแน่นอน สิทธิ์ของพรรคอับดับ 1 หากขอแล้วไม่ให้ เราก็ต้องมาพิจารณาต่อว่าจะเอาอย่างไร ยืนยันว่าหลักการคือการเป็นรัฐบาลของฝั่งประชาธิปไตย
 
นพ.ชลน่าน กล่าวต่อว่า ส่วนที่พรรคก้าวไกลเปิดตัว นายปดิพัทธ์ สันติภาดา ส.ส.พิษณุโลก ชิงตำแหน่งประธานสภานั้น ทางพรรคก้าวไกลจะเสนออะไรในฐานะพรรคอันดับ 1 สามารถทำได้โดยชอบ แต่เราในฐานะพรรคอันดับ 2 เราก็ร่วมแถลงสนันสนุนจัดตั้งรัฐบาล เราค่อนข้างระมัดระวัง การที่เราเสนอตำแหน่งประธานสภานั้น ไม่ใช่แค่ทัวร์ลง แต่ทุกอย่างมาลงที่พรรคเพื่อไทยหมดเลย
 
หากเราเสนอชื่อใครออกไปประกบกับพรรคก้าวไกล เราจะถูกประณามมากกว่านี้ และถูกมองว่าเป็นการแข่งทันที ซึ่งเราขอ ไม่ได้แข่ง เป็นคนละความหมายกันเลย เราขอให้คุณอนุญาตให้เราหรือไม่ คุณจะให้เราหรือเปล่า และเป็นสิทธิ์ของพรรคอันดับหนึ่งในการตัดสินใจ เราจะได้กลับมาพิจารณาว่าจะทำอย่างไร หากไม่ให้ และกลับคิดว่าจะทำงานแบบไหน
 
เมื่อถามว่าจะทบทวนออกจากพรรคร่วมหรือไม่ นพ.ชลน่าน กล่าวว่า เราถูกมัดด้วยอาณัติของประชาชน แม้เราอยากออกไป แต่เราออกไปไม่ได้ ขอเน้นเราออกไปไม่ได้ แม้เป็นสิทธิ์ของเราในการออกไปด้วย แต่ถูกประชาชน 25 ล้านเสียงมัดเรากับก้าวไกลให้ติดกัน เปรียบเสมือนพ่อแม่จับเราที่เป็นลูกคลุมถุงชนให้มาแต่งงานกัน เราไม่มีสิทธิปฏิเสธ ฉะนั้น เสียงของประชาชน 25 ล้านคนสำคัญที่สุด เราคำนึงถึงจุดนี้เป็นหลักในการเจรจาพูดคุย และการนำเสนอทุกเรื่อง
 
เมื่อถามว่าการโหวตประธานสภา ของพรรคร่วม ควรเสนอชื่อเพียงชื่อเดียวหรือไม่ นพ.ชลน่าน กล่าวว่า เมื่อมีมติชัดเจนออกมาอย่างไร ต้องไปทางนั้น จะแหวกมติไม่ได้ ซึ่งต้องป้องกันไม่ให้เกิดการฟรีโหวตขึ้น ส่วนการเลื่อนโหวตประธานสภานั้น ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ยืนยันว่าไม่เกี่ยวกับไทม์ไลน์การคุยเรื่องประธานสภา ยิ่งเลื่อนช้า ยิ่งเสียประโยชน์ ทุกอย่างต้องจบภายในวันที่ 2 ก.ค. เพราะเราจะโหวตในวันที่ 4 ก.ค.แล้ว เราเป็นผู้เจรจา สิ่งที่เราต้องมีวัตถุประสงค์ร่วมกัน ทั้งสองฝ่ายต้องทำให้จบ



ยอดพล แนะ ก.ก.-พท. ‘คุยกันให้ขาด’ อย่าให้ใครสตาร์ทรถ-วนลูป เชื่อถ้าจับมือแน่น ส.ว.โหวตให้ชัวร์
https://www.matichon.co.th/politics/news_4054898

‘ยอดพล’ เชื่อ ถ้า 8 พรรคจับมือแน่น ส.ว.โหวตให้ชัวร์ แนะ เพื่อไทย-ก้าวไกลคุยให้ขาด เพื่อประเทศหลุดพ้นหล่ม อย่าให้ใครสตาร์ทรถ-วนลูป

เมื่อวันที่ 28 มิถุนายนที่ผ่านมา ผศ.ดร.ยอดพล เทพสิทธา อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการ “ข่าวเด่น ประเด็นฮอต” ทางมติชนทีวี ถึงกรณีชิงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร ระหว่างพรรคเพื่อไทย กับพรรคก้าวไกล เมื่อการเมืองไทยเดินทางมาถึงจุดที่ไม่มีความไว้ใจกันเองอีกต่อไป
 
โดยเมื่อพิธีกรถามว่า 8 พรรค ที่รวมได้ 312 เสียง จะมีโอกาสในการจัดตั้งรัฐบาลได้หรือไม่ ?
 
ผศ.ดร.ยอดพลกล่าวว่า ตัดปัจจัยสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ทิ้งไปก่อน มองแค่สภาล่างที่มี 500 คน ตอนนี้รวมเสียงได้ 300 กว่าเสียง ถ้ามองในระบอบปกติถือว่าค่อนข้างมีเสถียรภาพมาก โหวตอะไรก็ผ่าน คราวนี้มี ส.ว.มา ก็ขึ้นอยู่กับว่าจะสามารถจูงใจ ส.ว.มาโหวตได้หรือไม่ แต่ตนเชื่อว่าถ้า ส.ว.ยังมองเห็นว่า 8 พรรคการเมืองยังจับมือกันแน่น เชื่อว่า ส.ว.เองก็คงต้องยอมที่จะโหวตให้
 
ถ้าโหวตอีกขั้วให้รัฐบาลเสียงข้างน้อย ไม่มีประโยชน์ เสียงบประมาณแผ่นดินเปล่าๆ หรืออาจมีอีก scenario ใหม่ที่เกิดขึ้น คือ ส.ว.ไปโหวตแคนดิเดตของพรรคร่วมรัฐบาล ปรากฏว่าพรรคฝ่ายค้าน (รัฐบาลเดิม) เอาด้วย แต่สุดท้ายเชื่อว่า 8 พรรคการเมืองยังจับมือกันแน่นอยู่” ผศ.ดร.ยอดพลกล่าว
 
มีการปรับสูตรใหม่ ก้าวไกล 15+1 เพื่อไทย 13+1 ถือว่าเป็นทางออกได้หรือไม่ ?
 
ผศ.ดร.ยอดพลมองว่า ถ้าคุยถึงสูตรได้ มีทางออกเสมอสำหรับพรรคร่วม แต่ติดตรงที่ว่าจะคุยกันรู้เรื่องหรือไม่

อยากฝากอะไรให้พรรคก้าวไกล และพรรคเพื่อไทย ณ นาทีนี้ ?
 
ผศ.ดร.ยอดพลกล่าวว่า ประเทศไทยติดหล่มมาตั้งแต่ปี 2549 จนถึงปี 2566 จะเห็นว่ามีการใช้อำนาจนอกระบบเข้ามาแทรกแซงการเมืองบ่อยครั้ง ผลการเลือกตั้งครั้งนี้ปี 2566 สะท้อนเจตจำนงของประชาชนออกมาแล้ว รวมกัน 8 พรรค ทั้งหมด 26-27 ล้านเสียง พรรคก้าวไกลกับพรรคเพื่อไทยควรจับมือกันให้แน่น
 
เรื่องบางเรื่อง ถอยได้ถอย ถอยไม่ได้คุยกันให้ขาด เพราะเราจะติดหล่มต่อไปไม่ได้อีกแล้ว เราเห็นแล้วว่าพรรคเพื่อไทยมีประสบการณ์การบริหารประเทศ ไม่ว่าจะยุคนายทักษิณ ชินวัตร นางยิ่งลักษณ์ ชินวัตร หรือ นายสมัคร สุนทรเวช จะเห็นว่ามีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ในส่วนของพรรคก้าวไกลมาในแนวคิด ‘ปฏิรูปโครงสร้างทางสังคม’ ซึ่ง 2 อันนี้เป็นแนวคิดที่สามารถอยู่ด้วยกันได้ ดังนั้น อยากให้มองไปข้างหน้า อย่าให้เกิดเหตุการณ์ใครก็ไม่รู้สตาร์ทรถ แล้วตกลงกันไม่ได้ กลับมาวนลูปเดิม คนไทยทนไม่ได้ คนรุ่นผมอาจทนได้เพราะเคยชิน ถามว่าคนรุ่นใหม่ เยาวชนจะรับได้ไหมกับสถานการณ์ทางการเมืองที่มีสภาพการแย่งชิงกัน แล้วเป็นฝั่งที่ออกตัวเป็นประชาธิปไตยด้วย มันเลยกลายเป็นจุดขายของ 2 พรรค ว่าใครจะเป็นประชาธิปไตยกว่ากัน ซึ่งจริงๆ ไม่ใช่ คุณมาด้วยวิถีทางที่ถูกต้องทั้งคู่ มันต้องไปด้วยกัน” ผศ.ดร.ยอดพลกล่าว
 


ส.อ.ท.จี้ลดค่าไฟงวดปลายปีเหลือหน่วยละ 4.25 บาท
https://www.khaosod.co.th/economics/news_7739886

นายอิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า แนวโน้มค่าไฟงวดสุดท้ายของปีนี้ (ก.ย.-ธ.ค. 2566) ควรลดลงกว่า 10% หรือไม่เกิน 4.25 บาทต่อหน่วย จากงวดปัจจุบันเดือนพ.ค.-ส.ค. 2566 อยู่ที่ 4.70 บาทต่อหน่วย
 
ทั้งนี้ เนื่องจากส่วนตัวเห็นว่า 

1. ปริมาณก๊าซจากอ่าวไทยสูงขึ้น เนื่องจากหลุมเอราวัณทยอยเพิ่มจาก 200 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เป็น 600 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันในช่วงปลายปี 
2. ปริมาณก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) นำเข้าลดลง
3. ราคาแอลเอ็นจีสปอต (ตลาดจร) ลดลงมากกว่า 30% ราคาไม่เกิน 14 เหรียญสหรัฐต่อล้านลูกบาศก์ฟุต จาก 20 เหรียญสหรัฐต่อล้านลูกบาศก์ฟุต
4. ราคาพลังงานโลก มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง และ 5.หนี้ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ทั้งงวดม.ค.-เม.ย. 2566 และงวดพ.ค.-ส.ค. 2566 ที่ผ่านมา ลดลงเร็วกว่าแผนเพราะต้นทุนจริงของแอลเอ็นจีต่ำกว่าที่เรียกเก็บค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (เอฟที)
 
ส่วนปัจจัยลบมีแค่เรื่องค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง ดังนั้นสิ่งที่เอกชนและประชาชนอยากเห็นในการบริหารค่าไฟฟ้าที่ยึดประโยชน์ของส่วนรวมเป็นที่ตั้งด้วยภาระค่าเอฟที เป็นระบบคอสพลัสผลักเป็นภาระผู้บริโภค
 
นายอิศเรศ กล่าวว่าดังนั้น ภาครัฐในทุกระดับควรมีแนวทางบริหารจัดการ 

1. ฝั่งนโยบายควรให้แนวทางบริหารที่เหมาะสม ในแต่ละสถานการณ์ อาทิ การแก้ปัญหาโอเวอร์ซัพพลายโรงไฟฟ้า , ปลดล็อคด้านกฎระเบียบ โดยเฉพาะโซลาร์และการเร่งจัดหาแอลเอ็นจีก่อนหน้าหนาวในยุโรป
 
2. ฝั่งผู้ควบคุมควรประสานผู้เกี่ยวข้องอย่างทั่วถึง และเปิดเผยข้อมูล อาทิ สมมุติฐาน ต้นทุนต่างๆ ในการคำนวณเอฟที รวมทั้งพิจารณาการคาดการณ์ต้นทุนที่เร็วกว่ารอตามงวด 4 เดือน 
 
3. ฝั่งผู้ปฏิบัติการ ควรมีส่วนร่วมบริหารแบบทีมเดียวกัน เพื่อช่วยแก้ปัญหาด้านพลังงาน ค่าไฟฟ้าของประเทศให้ดีที่สุด รวมทั้งมีการเปิดเผยข้อมูลให้ผู้เกี่ยวข้องรับทราบตามหลักธรรมาภิบาล
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่