ไม่ใช่แค่การชนกับภูเขาน้ำแข็งแต่เพียงอย่างเดียวที่ทำให้เรือไททานิกล่ม
แต่ปัญหาเรื่องวัสดุก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดโศกนาฏกรรมกับเรือไททานิก
สำหรับนักโลหะวิทยาการล่มของเรือไททานิกเป็นกรณีศึกษาที่มักถูกยกมาใช้เป็นบทเรียนแรก ๆ
เกี่ยวกับความสำคัญของโลหะวิทยาในงานวิศวกรรม
เพราะหากเราไม่ได้คำนึงถึงความสำคัญและไม่ได้เข้าใจวัสดุอย่างถ่องแท้แล้ว
เรือไททานิค” (Titanic) ถูกสร้างขึ้นด้วยวิศวกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดในยุคนั้น
จนได้ฉายามันว่า
“Unsinkable” หรือ“เรือที่ไม่มีวันจม” ก็สามารถจมดิ่งลงในมหาสมุทรเพียงแค่การเดินทางในครั้งแรก
ผมเชื่อว่าหลายคนคงได้ยินเรื่องราวของไททานิกกันมามาก
และคิดว่าการที่เรือชนกับภูเขาน้ำแข็งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เรือไททานิกล่ม
ซึ่งนั้นก็เป็นความจริงส่วนหนึ่ง แต่สิ่งที่น่าสนใจคือสำหรับนักโลหะวิทยาคือ
ทำไมหลังจากเรือชนกับภูเขาน้ำแข็งแล้วเรือเกิดการแตกร้าวเป็นทางยาว
จนทำให้น้ำทะเลปริมาณมหาศาลไหลทะลักเข้าสู่ตัวเรือ
หลังจากการเก็บกู้และตรวจสอบเศษซากของเรือไททานิกโดย Tim Foecke
จาก National Institute of Standards and Technology U.S. DEPARTMENT OF COMMERCE
ก็พบว่า
ชิ้นส่วนของเรือไททานิกแตกหักแบบเปราะ (Brittle Fracture)
และไม่พบการเสียรูปก่อนเกิดการแตกหักแตกอย่างใด
ซึ่งบ่งชี้ได้ว่าแผ่นเหล็กที่ใช้ในการทำเรือมีความเหนียวต่ำมากในขณะที่เรือเกิดการชนกระแทกกับภูเขาน้ำแข็ง
อีกอย่างหนึ่งที่น่าตกใจก็คือ เหล็กที่ใช้ในการผลิตเรือไททานิกเต็มไปด้วยสารมลทินแมงกานิสซัลไฟด์ MnS (Manganese Sulphide) ที่มีขนาดใหญ่
และมีอัตราส่วนของธาตุแมงการนิสต่อซัลเฟอร์ และแมงการนิสต่อคาร์บอน Mn/S และ Mn/C ต่ำ ซึ่งส่งผลให้ความสามารถในการรับแรงกระแทกของเหล็กลดลง และยังพบเกรนเฟอร์ไรท์ที่หยาบที่ส่งผลให้ความสามารถในการรับแรงกระแทกต่ำมากยิ่งขึ้น
ประกอบกับเทคโนโลยีในการผลิตเหล็กสมัยนั้นที่ยังไม่มีการคำนึงถึงสมบัติ
Transition Temperature หรือองค์ความรู้ทางด้านโลหะวิทยาที่อธิบายว่า
เหล็กจะมีความสามารถในการรับแรงกระแทกที่ต่ำลงเมื่อมีการใช้งานที่อุณหภูมิต่ำและไม่ควรนำเหล็กมาใช้งานที่อุณหภูมิต่ำกว่า Transition Temperature
และเมื่อมีการทดลองนำเหล็กที่มีส่วนผสมทางเคมีเช่นเดียวกับเหล็กที่ใช้ในการประกอบเรือไททานิกมาทดสอบแรงกระแทก
ก็พบว่า Transition Temperature ของเรือไททานิกนั้นมีค่าสูงมากโดย
Transition Temperature ในแนวยาว (longitudinal direction) นั้นสูงถึง 40
oC และมีค่าสูงถึง 70
oC เมื่อทำการทดสอบในแนวขวาง (transverse direction)
ในขณะที่อุณหภูมิของผิวน้ำในขณะที่เรือเกิดการชนอยู่ที่ -2
oC
ดังนั้นหากนำเรือไททานิกมาวิ่งวนรอบอ่าวไทย การชนกับหินโสโครกเพียงครั้งเดียวก็อาจทำให้เรือไททานิกล่มได้เช่นเดียวกัน
ด้วยเหตุนี้การจมของเรือของไททานิค จึงกลายเป็นกรณีที่ศึกษาที่น่าสนใจและเป็นเรื่องเล่าคลาสสิคของนักโลหะวิทยา
ที่จะบอกกับคนอื่นว่าองค์ความรู้ทางด้านวัสดุนั้นสำคัญเพียงใด และทำไมถึงต้องมีนักวัสดุ
สุดท้ายนี้ขอแสดงความเสียใจกับผู้เสียชีวิตทุกท่านกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเรือดำน้ำไททันด้วยครับ
#เหล็กไม่เอาถ่าน
Ref.
1. Tim Foecke, Metallurgy of the RMS Titanic, NIST-IR 6118
2. Zumdahl, Steven S.; Zumdahl, Susan A. (2008). Chemistry. Belmont, CA: Cengage Learning. ISBN 978-0-547-12532-9.
บรรลัยวิทยา: ไททานิกโศกนาฎกรรมกับปัญหาทางด้านวัสดุ
แต่ปัญหาเรื่องวัสดุก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดโศกนาฏกรรมกับเรือไททานิก
สำหรับนักโลหะวิทยาการล่มของเรือไททานิกเป็นกรณีศึกษาที่มักถูกยกมาใช้เป็นบทเรียนแรก ๆ
เกี่ยวกับความสำคัญของโลหะวิทยาในงานวิศวกรรม
เพราะหากเราไม่ได้คำนึงถึงความสำคัญและไม่ได้เข้าใจวัสดุอย่างถ่องแท้แล้ว
เรือไททานิค” (Titanic) ถูกสร้างขึ้นด้วยวิศวกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดในยุคนั้น
จนได้ฉายามันว่า “Unsinkable” หรือ“เรือที่ไม่มีวันจม” ก็สามารถจมดิ่งลงในมหาสมุทรเพียงแค่การเดินทางในครั้งแรก
ผมเชื่อว่าหลายคนคงได้ยินเรื่องราวของไททานิกกันมามาก
และคิดว่าการที่เรือชนกับภูเขาน้ำแข็งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เรือไททานิกล่ม
ซึ่งนั้นก็เป็นความจริงส่วนหนึ่ง แต่สิ่งที่น่าสนใจคือสำหรับนักโลหะวิทยาคือ
ทำไมหลังจากเรือชนกับภูเขาน้ำแข็งแล้วเรือเกิดการแตกร้าวเป็นทางยาว
จนทำให้น้ำทะเลปริมาณมหาศาลไหลทะลักเข้าสู่ตัวเรือ
หลังจากการเก็บกู้และตรวจสอบเศษซากของเรือไททานิกโดย Tim Foecke
จาก National Institute of Standards and Technology U.S. DEPARTMENT OF COMMERCE
ก็พบว่า ชิ้นส่วนของเรือไททานิกแตกหักแบบเปราะ (Brittle Fracture)
และไม่พบการเสียรูปก่อนเกิดการแตกหักแตกอย่างใด
ซึ่งบ่งชี้ได้ว่าแผ่นเหล็กที่ใช้ในการทำเรือมีความเหนียวต่ำมากในขณะที่เรือเกิดการชนกระแทกกับภูเขาน้ำแข็ง
อีกอย่างหนึ่งที่น่าตกใจก็คือ เหล็กที่ใช้ในการผลิตเรือไททานิกเต็มไปด้วยสารมลทินแมงกานิสซัลไฟด์ MnS (Manganese Sulphide) ที่มีขนาดใหญ่
และมีอัตราส่วนของธาตุแมงการนิสต่อซัลเฟอร์ และแมงการนิสต่อคาร์บอน Mn/S และ Mn/C ต่ำ ซึ่งส่งผลให้ความสามารถในการรับแรงกระแทกของเหล็กลดลง และยังพบเกรนเฟอร์ไรท์ที่หยาบที่ส่งผลให้ความสามารถในการรับแรงกระแทกต่ำมากยิ่งขึ้น
ประกอบกับเทคโนโลยีในการผลิตเหล็กสมัยนั้นที่ยังไม่มีการคำนึงถึงสมบัติ
Transition Temperature หรือองค์ความรู้ทางด้านโลหะวิทยาที่อธิบายว่า
เหล็กจะมีความสามารถในการรับแรงกระแทกที่ต่ำลงเมื่อมีการใช้งานที่อุณหภูมิต่ำและไม่ควรนำเหล็กมาใช้งานที่อุณหภูมิต่ำกว่า Transition Temperature
และเมื่อมีการทดลองนำเหล็กที่มีส่วนผสมทางเคมีเช่นเดียวกับเหล็กที่ใช้ในการประกอบเรือไททานิกมาทดสอบแรงกระแทก
ก็พบว่า Transition Temperature ของเรือไททานิกนั้นมีค่าสูงมากโดย
Transition Temperature ในแนวยาว (longitudinal direction) นั้นสูงถึง 40 oC และมีค่าสูงถึง 70 oC เมื่อทำการทดสอบในแนวขวาง (transverse direction)
ในขณะที่อุณหภูมิของผิวน้ำในขณะที่เรือเกิดการชนอยู่ที่ -2 oC
ดังนั้นหากนำเรือไททานิกมาวิ่งวนรอบอ่าวไทย การชนกับหินโสโครกเพียงครั้งเดียวก็อาจทำให้เรือไททานิกล่มได้เช่นเดียวกัน
ด้วยเหตุนี้การจมของเรือของไททานิค จึงกลายเป็นกรณีที่ศึกษาที่น่าสนใจและเป็นเรื่องเล่าคลาสสิคของนักโลหะวิทยา
ที่จะบอกกับคนอื่นว่าองค์ความรู้ทางด้านวัสดุนั้นสำคัญเพียงใด และทำไมถึงต้องมีนักวัสดุ
สุดท้ายนี้ขอแสดงความเสียใจกับผู้เสียชีวิตทุกท่านกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเรือดำน้ำไททันด้วยครับ
#เหล็กไม่เอาถ่าน
Ref.
1. Tim Foecke, Metallurgy of the RMS Titanic, NIST-IR 6118
2. Zumdahl, Steven S.; Zumdahl, Susan A. (2008). Chemistry. Belmont, CA: Cengage Learning. ISBN 978-0-547-12532-9.