เรืองไกร ยอมรับรู้เป็นเอกสารไม่เป็นทางการ ยื่น กกต. แค่ชี้เป้า
https://www.matichon.co.th/heading-news/news_4031822
เรืองไกร ยอมรับรู้เป็นเอกสารไม่เป็นทางการ ยื่น กกต. แค่ชี้เป้า หน้าที่ตรวจสอบ ‘กกต-ศาลรธน.’
จากกรณีที่อินทัช ออกเอกสารแถลงการณ์ชี้แจงถึงเหตุการณ์ที่เผยแพร่ในสื่อเกี่ยวกับการบันทึกรายงานการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566 (“รายงานการประชุม”) แบบนำส่งงบการเงิน (ส.บช.3) ของบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) (“บริษัท”) ปี 2565 และงบการเงินไตรมาส 1 ประจำปี 2566 ของบริษัท โดยระบุว่าที่บันทึกรายงานการประชุมว่า “
ปัจจุบัน บริษัทยังดำเนินกิจการอยู่ ตามวัตถุประสงค์ของบริษัทและมีการส่งงบการเงินและยื่นแบบภาษีเงินได้นิติบุคคลตามปกติ” นั้น
บริษัทไม่ได้ต้องการสื่อสารว่าบริษัทยังประกอบกิจการสื่ออยู่ แต่หมายถึงบริษัทยังคงดำเนินการอยู่ภายใต้วัตถุประสงค์ที่บริษัทได้จดทะเบียนไว้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าโดยมิได้มีการเลิกกิจการแต่อย่างใด ส่วนประเด็นแบบนำส่งงบการเงิน (ส.บช.3) ของบริษัทประจำปี 2565 นั้น ชี้แจงว่าเป็นรายได้จากผลตอบแทนจากการลงทุนและดอกเบี้ยรับ ขณะที่งบการเงินไตรมาส 1/2566 ที่ปรากฏบนเว็บไซต์ ยังเป็นแค่ร่างที่ใช้ภายในองค์กร ไม่สามารถนำไปอ้างอิงและไม่มีผลผูกพันทางกฎหมายนั้น
ล่าสุดเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน นาย
เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีตสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) และสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) ในฐานะผู้ยื่นกกต. ขอให้ตรวจสอบการถือหุ้นไอทีวีของนาย
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์รายการเจาะลึกทั่วไทย โดยมี
ดนัย เอกมหาสวัสดิ์ และ
อมรรัตน์ มหิทธิรุกข์ เป็นพิธีกร
โดย
ดนัยถามว่า กรณีที่อินทัชชี้แจงว่างบการเงินไตรมาส 1/66 เป็นแค่ร่างใช้ภายใน ไม่สามารถใช้อ้างอิง ไม่มีผลทางกฎหมาย ฉะนั้นจะสามารถนำมาใช้สอยนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ได้หรือไม่ มีปัญหาหรือไม่ นาย
เรืองไกร ตอบว่า ทำได้ ไม่มีปัญหา ตนรู้ว่ามันยัง unofficial (ไม่เป็นทางการ) คนทำบัญชีรู้กันทั้งนั้น มันเป็นแนวทางซึ่งต้องสอบทานทางบัญชีและกิจการ รายรับรายจ่าย ซึ่งเป็นเรื่องปกติ คนไม่เข้าใจก็จับไปกระเดียดกันเยอะแยะไปหมด
เมื่อถามว่าในเมื่อเอกสารงบการเงินไตรมาสที่ 1/2566 ยังไม่เป็นทางการ ก็นำสามารถดึงไปใช้ได้หรือ นาย
เรืองไกร ตอบว่า ในเมื่อเว็บไซต์ไอทีวีเผยแพร่ นักข่าวบางคนมาถามตนว่าดูอย่างไร ตนถึงได้บอก เมื่อนักข่าวเข้าไปเปิดดูก็เห็น ก็ไม่มีปัญหาอะไร ก็เหมือนรายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎรซึ่งจะตีว่ายังไม่รับรอง นำไปอ้างอิงทางกฎหมายไม่ได้ แต่เขาก็ออกให้
ส่วนที่ถามว่าเมื่อยังไม่เป็นทาง จะนำไปหยิบฉวยไปเช็กบิลในทางการเมืองได้อย่างไรนั้น นาย
เรืองไกร ตอบว่า คนหยิบฉวยไปเช็กบิล ไม่ใช่ผู้ร้อง แต่เป็นจนท.ที่ต้องตรวจสอบหรือศาลรัฐธรรมนูญที่วิเคราะห์พยานหลักฐาน เราเพียงแต่มีข้อความ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องไปสอบยัน เหมือนกับที่ป.ป.ช. สอบยันหนังสือผู้จัดการกองมรดก จะได้ยินคำพูดหนึ่งคือ รีเช็กว่าศาลยังไม่ตอบ เมื่อศาลตอบมาแล้ว เขาก็รับไว้ คือข้อเท็จจริงต้องได้ข้อยุติสิ้นกระแสความ แต่เรื่องนี้ขณะนี้กระแสความยังไม่สิ้น ก็จับตรงนั้นทีตรงนี้ สนุกสนาน
เมื่อถามย้ำว่า แต่คนที่จับตรงนั้นตรงนี้ที ไม่ใช่สังคมแต่เป็นนาย
เรืองไกร ที่จับมาให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ มันไม่เยอะไปเหรอ นายเรืองไกร ตอบว่า ตนในฐานะผู้ร้องไม่เยอะ แต่ในฐานะไม่ใช่ผู้ร้อง เยอะไป นอกสำนวนเยอะ ตนก็พูดหลายครั้งแล้วว่าคนที่เห็นต่างให้ร้องเข้าไป จะได้เป็นน้ำหนักของอีกฝ่าย ไม่ใช่มาโพสต์ มาเถียง มาออกรายการอย่างนี้
เมื่อถามต่อว่านายเรืองไกร ตั้งคำถามไปที่ไอทีวีบ้างหรือไม่ในเมื่อยังเป็นข้อมูลไม่เป็นทางการแล้วขึ้นเว็บไซต์เผยแพร่ต่อสาธารณะทำไม ประเด็นนี้นาย
เรืองไกร ชี้แจงว่า คนถามควรต้องเป็นกกต.หรือศาล ตนเป็นแค่ผู้ร้อง ไม่ใช่ผู้สอบสวน หรือไตร่สวน
ฟังรายละเอียด
https://www.facebook.com/watch/?ref=embed_video&v=1824981814564087
ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็ก-วัยรุ่น สะท้อนปม เด็กถูกโรงเรียนปฏิเสธ ชี้สร้างกฎต้องตกลงร่วมกันด้วยสติ
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7716918
ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็ก-วัยรุ่น สะท้อนปม เด็กถูกโรงเรียนปฏิเสธ ชี้การสร้างกฎต้องตกลงร่วมกันด้วยสติ เหตุผล มากกว่าความคึกคะนอง
วันที่ 16 มิ.ย.2566 นพ.
สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม และกุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น โพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊ก กรณี
หยก เยาวชนอายุ 15 ปี ความว่า
มีผู้ใหญ่และสื่อสอบถามความเห็น กรณีเด็กที่ถูกโรงเรียนปฏิเสธ
- วินัยในการอยู่ร่วมกัน เป็นสิ่งจำเป็น
- การแก้ปัญหาที่ดีคือสันติวิธี ไม่ใช้อารมณ์ ให้เกียรติกันและกัน
- การเคารพและปฏิบัติตามกติกา ที่มีส่วนร่วมออกแบบมาด้วยกันนั้น
- ความเข้าใจจิตวิทยาพัฒนาการวัยรุ่น สำคัญกับการรับมือแก้ปัญหา
- อำนาจนิยมของผู้ปกครองและผู้ใหญ่ ที่หลายครั้งเด็กๆหลายคนเจ็บปวดกับการใช้อำนาจนิยมของผู้ใหญ่ โดยที่ผู้ใหญ่ไม่เป็นต้นแบบที่ดี แต่บังคับเด็ก ออก ระบบระเบียบ โดยขาดการรับฟังด้วยสติ เปิดใจ ฟัง
- สิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลที่ไม่รุกล้ำคนอื่น จึงเป็นเหตุให้ต้องกำหนดกติกาการอยู่ร่วมกัน ที่เราเรียกว่า วินัยในการอยู่ร่วมกัน นั่นเอง
- ความสมดุล ของ การทำให้สิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล และวินัยในการอยู่ร่วมเป็นไปได้ด้วยกันนั้น เกิดขึ้นจากการมีส่วนร่วม สังเกตุวิธิปฏิบัติได้ดังนี้
- กฎขององค์กร บังคับใช้กับทุกคนไม่มีข้อยกเว้น เช่น หากเรียกว่านี่เป็น กฎของโรงเรียน ก็แสดงว่า ทั้งเด็กทั้งผู้ใหญ่ที่อยู่ในองค์กรต้องปฏิบัติร่วมกันเหมือนๆกัน
- กฎของบุคคล เพื่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเฉพาะ เวลาออกแบบกฎกติกา ต้องสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย เช่น กฎของนักเรียน ก็แสดงว่า ต้องดึงการมีส่วนร่วมจากเด็กทุกฝ่าย ไม่เพียงแต่สภานักเรียน แต่รวมทั้งกลุ่มเด็ก ที่อยู่ในรั้ว ไม่ได้เป็นสภานักเรียนแต่อาจจะเป็นเด็กหลังห้อง เด็กทุกกลุ่ม มาใช้หลัก
- สุนทรียสนทนา (ด้วยหลักการ 5ให้ และ 5 ไม่) เพื่อกำหนดกติการ่วมกัน และเคารพ และปฏิบัติร่วมกัน
ทั้งนี้กฎกติกาที่ออกแบบต้องไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งชาติ และเป็นไปด้วยเจตนารมณ์ที่ใช้สติและความสันติสุขในการอยู่ร่วมกันก่อให้เกิดการอยู่ร่วมกันแบบสร้างสรรค์ ไม่ทำลายล้าง หรือ ไม่ใช้อารมณ์เหนือเหตุผล ใช้การพูดคุยดีๆ ตกลงกันดีๆมากกว่าการด่าทอ ที่หลุดอารมณ์
อีกเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจ
-จิตวิทยาพัฒนาการวัยรุ่น จากกราฟแท่ง ดำ แท่งขาว สะท้อนพฤติกรรม ตั้งแต่เป็นวัยรุ่น จนเติบโตเป็นผู้ใหญ่
-แท่งดำสะท้อนพฤติกรรมเสี่ยง ขณะอยู่ด้วยกันเป็นกลุ่ม ก๊วน ที่ #อยากเป็นที่สนใจ อยากดัง อยากเป็นเป้าสายตา
-แท่งขาว สะท้อนพฤติกรรมที่ไม่มีความเสี่ยง เมื่ออยู่คนเดียว ไม่มีการสร้างภาพอยากดัง การยอมรับแบบผิดๆ การเป็นจุดสนใจใดๆ
เมื่อนำพฤติกรรมเสี่ยงมาวัด จะพบว่า เด็กวัยรุ่น 13-16 ปี ช่วงวัยรุ่นตอนกลาง ต่อปลายนั้น เมื่อเด็กอยู่ตัวคนเดียว จะใช้สติ ความคิด มาคุยและพฤติกรรมจะมีความเสี่ยงลดลง ในขณะที่ หากอยู่เป็นกลุ่ม ก๊วน แก๊ง พฤติกรรมเสี่ยงจะพุ่งสูงขึ้นมากๆ (แท่งสีดำ) ทั้งนี้อยู่ที่ทุนชีวิต (Braker ทุนชีวิต)ว่าจะแสดงออก ความเสี่ยงรุนแรงมาก เบา หนักต่างกันในแต่ละคน
ขณะที่พออายุมากขึ้น ประสบการณ์ที่หล่อหลอม ขึ้นกับ ทุนชีวิต และระบบนิเวศน์ ที่ดี จะช่วยหล่อหลอมให้ ใจเย็นลง และใช้สติ ใช้เหตุผล มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ดีขึ้น เรื่อยๆ จน ทำให้ แท่งดำ (พฤติกรรมเสี่ยง ในขณะที่อยู่ในกลุ่ม ก๊วน แก๊งค์) ลดระดับความเข้มข้นลง เรื่อยๆ
ย้ำว่า ขึ้นกับทุนชีวิต และระบบนิเวศน์ ที่ช่วยหล่อหลอม ทุนชีวิต หากอยู่ในระบบทุนชีวิต ที่ย่ำแย่ แท่งดำ จะยิ่งพุ่งสูงขึ้นกว่าเดิม
ฉะนั้นการสร้างทุนชีวิต จึงมีความหมายต่อเด็กทุกคน ระบบพี่เลี้ยงในชุมชน โดยใช้จิตวิทยาพลังบวก และกระบวนการทุนชีวิตทั่วประเทศ คือ คำตอบ ในการสร้างพลังบวก ( ไม่ใช่พร้อมบวก) กรณีที่เกิดขึ้น หากกติกา นั้นเกิดขึ้นจากการมีส่วนร่วมอย่างดีแล้ว จำต้องปฏิบัติตามข้อตกลงที่ร่วมกันออกแบบนั้น
ผู้ใหญ่ทุกคนต้องเข้าใจว่า กฎเกณฑ์นั้นร่างเพื่อทั้งโรงเรียนที่เรียกว่า กฎของโรงเรียน บังคับใช้แม้แต่ครูและผู้อำนวยการ ผู้บริหารด้วยกัน หรือว่า เป็นกฎเฉพาะนักเรียน
หากเฉพาะนักเรียน โปรดอย่าลืมว่า เด็กคือ องค์ประกอบสำคัญการมีส่วนร่วมในการออกแบบนั้นๆด้วย การตกลงร่วมกันด้วยสติ เหตุผลมากกว่าความคึกคะนอง และ ยอมรับได้
สำหรับผู้ที่ฝ่าฝืน ทั้งๆที่ออกกติกาการอยู่ร่วมด้วยกันเองแท้ๆ ก็จำเป็นที่ต้องมีการพูดคุย รับฟัง เข้าใจ และตกลงร่วมกัน (ด้วยหลักสุนทรียสนทนา) พร้อมกำหนดขั้นตอนหากไม่เคารพต่อกัน การตักเตือน และ ถ้าถึงที่สุด จริงๆ ด้วยอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก และ พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กนั้น ผู้ปกครองที่เด็กไว้วางใจร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำเป็นต้องจัดหาระบบการศึกษาที่เหมาะสมให้กับเด็กต่อไป (พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก 2546 เด็กหมายถึงบุคคลที่อายุน้อยกว่า 18ปีบริบูรณ์)
https://www.facebook.com/moraltouch/posts/584542707146383?ref=embed_post
หนี้เสีย "รถยนต์-รถจักรยานยนต์"พุ่งเสี่ยงถูกยึด
https://www.nationtv.tv/economy-business/finance-investment/378919774
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเผยยอดรถยนต์-รถจักรยานยนต์ถูกยึดปีนี้แตะ 2-2.5 คัน หลังลูกหนี้มีรายได้ไม่พอรายจ่าย ขณะที่เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ คาดธปท.เตรียมคลอดหลักเกณฑ์คุมธุรกิจเช่าซื้อ 1 พ.ย.นี้
น.ส.
เกวลิน หวังพิชญสุข รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด เปิดเผยว่า ปีนี้คาดว่าการยึดรถยนต์และจักรยานยนต์จะอยู่ที่ 2-2.5 แสนคัน จากปกติเฉลี่ยอยู่ที่ 1.7-1.8 แสนคันเป็นผลมาจากลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด หรือเกิดการผิดนัดชำระหนี้ เนื่องจาก ลูกค้าได้รับผลกระทบจากโควิด และเศรษฐกิจปัจจุบันอยู่ช่วงฟื้นตัว แต่ยังไม่ทั่วถึงทุกพื้นที่ ขณะที่ผู้บริโภคมีรายจ่ายที่สูงขึ้น และรายได้ยังไม่กลับมาทำให้มีการผิดนัดชำระหนี้
นอกจากนี้ได้รับผลกระทบจากดอกเบี้ยที่สูงขึ้น เช่น การนำรถมาเป็นสินทรัพย์ เพื่อเป็นหลักประกันกู้สินเชื่อ เป็นต้น โดยที่ผ่านมาสถาบันการเงินและผู้ให้บริการที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (นอนแบงก์) มีมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ เพื่อพยุงไม่ให้เป็นหนี้เอ็นพีแอล
อย่างไรก็ตาม ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เตรียมจัดทำหลักเกณฑ์พระราชกฤษฎีกากำหนดการประกอบธุรกิจทางการเงินบางประเภทอยู่ภายใต้บังคับของ พ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ.2551 คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ภายในวันที่ 1 พ.ย.นี้ เพื่อควบคุมธุรกิจเช่าซื้อและรถยนต์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และป้องกันไม่ให้เกิดเป็นหนี้เสียในอนาคต
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แจ้งว่า สัญญาณสินเชื่อกล่าวถึงเป็นพิเศษ (SM) ทั้งระบบสถาบันการเงินภายใต้การกำกับของ ธปท. ไตรมาส 1/66 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 6.6 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นเล็กน้อยหากเทียบกับไตรมาส 4/65 โดยตัวเลขต่ำกว่าช่วงวิกฤตโควิด
JJNY : เรืองไกรรับเอกสารไม่เป็นทางการ│ผู้เชี่ยวชาญชี้สร้างกฎต้องตกลงร่วมกันด้วยสติ│หนี้เสียพุ่งเสี่ยงถูกยึด│ยูเครนรุกคืบ
https://www.matichon.co.th/heading-news/news_4031822
เรืองไกร ยอมรับรู้เป็นเอกสารไม่เป็นทางการ ยื่น กกต. แค่ชี้เป้า หน้าที่ตรวจสอบ ‘กกต-ศาลรธน.’
จากกรณีที่อินทัช ออกเอกสารแถลงการณ์ชี้แจงถึงเหตุการณ์ที่เผยแพร่ในสื่อเกี่ยวกับการบันทึกรายงานการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566 (“รายงานการประชุม”) แบบนำส่งงบการเงิน (ส.บช.3) ของบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) (“บริษัท”) ปี 2565 และงบการเงินไตรมาส 1 ประจำปี 2566 ของบริษัท โดยระบุว่าที่บันทึกรายงานการประชุมว่า “ปัจจุบัน บริษัทยังดำเนินกิจการอยู่ ตามวัตถุประสงค์ของบริษัทและมีการส่งงบการเงินและยื่นแบบภาษีเงินได้นิติบุคคลตามปกติ” นั้น
บริษัทไม่ได้ต้องการสื่อสารว่าบริษัทยังประกอบกิจการสื่ออยู่ แต่หมายถึงบริษัทยังคงดำเนินการอยู่ภายใต้วัตถุประสงค์ที่บริษัทได้จดทะเบียนไว้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าโดยมิได้มีการเลิกกิจการแต่อย่างใด ส่วนประเด็นแบบนำส่งงบการเงิน (ส.บช.3) ของบริษัทประจำปี 2565 นั้น ชี้แจงว่าเป็นรายได้จากผลตอบแทนจากการลงทุนและดอกเบี้ยรับ ขณะที่งบการเงินไตรมาส 1/2566 ที่ปรากฏบนเว็บไซต์ ยังเป็นแค่ร่างที่ใช้ภายในองค์กร ไม่สามารถนำไปอ้างอิงและไม่มีผลผูกพันทางกฎหมายนั้น
ล่าสุดเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีตสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) และสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) ในฐานะผู้ยื่นกกต. ขอให้ตรวจสอบการถือหุ้นไอทีวีของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์รายการเจาะลึกทั่วไทย โดยมี ดนัย เอกมหาสวัสดิ์ และ อมรรัตน์ มหิทธิรุกข์ เป็นพิธีกร
โดยดนัยถามว่า กรณีที่อินทัชชี้แจงว่างบการเงินไตรมาส 1/66 เป็นแค่ร่างใช้ภายใน ไม่สามารถใช้อ้างอิง ไม่มีผลทางกฎหมาย ฉะนั้นจะสามารถนำมาใช้สอยนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ได้หรือไม่ มีปัญหาหรือไม่ นายเรืองไกร ตอบว่า ทำได้ ไม่มีปัญหา ตนรู้ว่ามันยัง unofficial (ไม่เป็นทางการ) คนทำบัญชีรู้กันทั้งนั้น มันเป็นแนวทางซึ่งต้องสอบทานทางบัญชีและกิจการ รายรับรายจ่าย ซึ่งเป็นเรื่องปกติ คนไม่เข้าใจก็จับไปกระเดียดกันเยอะแยะไปหมด
เมื่อถามว่าในเมื่อเอกสารงบการเงินไตรมาสที่ 1/2566 ยังไม่เป็นทางการ ก็นำสามารถดึงไปใช้ได้หรือ นายเรืองไกร ตอบว่า ในเมื่อเว็บไซต์ไอทีวีเผยแพร่ นักข่าวบางคนมาถามตนว่าดูอย่างไร ตนถึงได้บอก เมื่อนักข่าวเข้าไปเปิดดูก็เห็น ก็ไม่มีปัญหาอะไร ก็เหมือนรายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎรซึ่งจะตีว่ายังไม่รับรอง นำไปอ้างอิงทางกฎหมายไม่ได้ แต่เขาก็ออกให้
ส่วนที่ถามว่าเมื่อยังไม่เป็นทาง จะนำไปหยิบฉวยไปเช็กบิลในทางการเมืองได้อย่างไรนั้น นายเรืองไกร ตอบว่า คนหยิบฉวยไปเช็กบิล ไม่ใช่ผู้ร้อง แต่เป็นจนท.ที่ต้องตรวจสอบหรือศาลรัฐธรรมนูญที่วิเคราะห์พยานหลักฐาน เราเพียงแต่มีข้อความ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องไปสอบยัน เหมือนกับที่ป.ป.ช. สอบยันหนังสือผู้จัดการกองมรดก จะได้ยินคำพูดหนึ่งคือ รีเช็กว่าศาลยังไม่ตอบ เมื่อศาลตอบมาแล้ว เขาก็รับไว้ คือข้อเท็จจริงต้องได้ข้อยุติสิ้นกระแสความ แต่เรื่องนี้ขณะนี้กระแสความยังไม่สิ้น ก็จับตรงนั้นทีตรงนี้ สนุกสนาน
เมื่อถามย้ำว่า แต่คนที่จับตรงนั้นตรงนี้ที ไม่ใช่สังคมแต่เป็นนายเรืองไกร ที่จับมาให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ มันไม่เยอะไปเหรอ นายเรืองไกร ตอบว่า ตนในฐานะผู้ร้องไม่เยอะ แต่ในฐานะไม่ใช่ผู้ร้อง เยอะไป นอกสำนวนเยอะ ตนก็พูดหลายครั้งแล้วว่าคนที่เห็นต่างให้ร้องเข้าไป จะได้เป็นน้ำหนักของอีกฝ่าย ไม่ใช่มาโพสต์ มาเถียง มาออกรายการอย่างนี้
เมื่อถามต่อว่านายเรืองไกร ตั้งคำถามไปที่ไอทีวีบ้างหรือไม่ในเมื่อยังเป็นข้อมูลไม่เป็นทางการแล้วขึ้นเว็บไซต์เผยแพร่ต่อสาธารณะทำไม ประเด็นนี้นายเรืองไกร ชี้แจงว่า คนถามควรต้องเป็นกกต.หรือศาล ตนเป็นแค่ผู้ร้อง ไม่ใช่ผู้สอบสวน หรือไตร่สวน
ฟังรายละเอียด
https://www.facebook.com/watch/?ref=embed_video&v=1824981814564087
ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็ก-วัยรุ่น สะท้อนปม เด็กถูกโรงเรียนปฏิเสธ ชี้สร้างกฎต้องตกลงร่วมกันด้วยสติ
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7716918
ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็ก-วัยรุ่น สะท้อนปม เด็กถูกโรงเรียนปฏิเสธ ชี้การสร้างกฎต้องตกลงร่วมกันด้วยสติ เหตุผล มากกว่าความคึกคะนอง
วันที่ 16 มิ.ย.2566 นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม และกุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น โพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊ก กรณี หยก เยาวชนอายุ 15 ปี ความว่า
มีผู้ใหญ่และสื่อสอบถามความเห็น กรณีเด็กที่ถูกโรงเรียนปฏิเสธ
- วินัยในการอยู่ร่วมกัน เป็นสิ่งจำเป็น
- การแก้ปัญหาที่ดีคือสันติวิธี ไม่ใช้อารมณ์ ให้เกียรติกันและกัน
- การเคารพและปฏิบัติตามกติกา ที่มีส่วนร่วมออกแบบมาด้วยกันนั้น
- ความเข้าใจจิตวิทยาพัฒนาการวัยรุ่น สำคัญกับการรับมือแก้ปัญหา
- อำนาจนิยมของผู้ปกครองและผู้ใหญ่ ที่หลายครั้งเด็กๆหลายคนเจ็บปวดกับการใช้อำนาจนิยมของผู้ใหญ่ โดยที่ผู้ใหญ่ไม่เป็นต้นแบบที่ดี แต่บังคับเด็ก ออก ระบบระเบียบ โดยขาดการรับฟังด้วยสติ เปิดใจ ฟัง
- สิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลที่ไม่รุกล้ำคนอื่น จึงเป็นเหตุให้ต้องกำหนดกติกาการอยู่ร่วมกัน ที่เราเรียกว่า วินัยในการอยู่ร่วมกัน นั่นเอง
- ความสมดุล ของ การทำให้สิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล และวินัยในการอยู่ร่วมเป็นไปได้ด้วยกันนั้น เกิดขึ้นจากการมีส่วนร่วม สังเกตุวิธิปฏิบัติได้ดังนี้
- กฎขององค์กร บังคับใช้กับทุกคนไม่มีข้อยกเว้น เช่น หากเรียกว่านี่เป็น กฎของโรงเรียน ก็แสดงว่า ทั้งเด็กทั้งผู้ใหญ่ที่อยู่ในองค์กรต้องปฏิบัติร่วมกันเหมือนๆกัน
- กฎของบุคคล เพื่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเฉพาะ เวลาออกแบบกฎกติกา ต้องสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย เช่น กฎของนักเรียน ก็แสดงว่า ต้องดึงการมีส่วนร่วมจากเด็กทุกฝ่าย ไม่เพียงแต่สภานักเรียน แต่รวมทั้งกลุ่มเด็ก ที่อยู่ในรั้ว ไม่ได้เป็นสภานักเรียนแต่อาจจะเป็นเด็กหลังห้อง เด็กทุกกลุ่ม มาใช้หลัก
- สุนทรียสนทนา (ด้วยหลักการ 5ให้ และ 5 ไม่) เพื่อกำหนดกติการ่วมกัน และเคารพ และปฏิบัติร่วมกัน
ทั้งนี้กฎกติกาที่ออกแบบต้องไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งชาติ และเป็นไปด้วยเจตนารมณ์ที่ใช้สติและความสันติสุขในการอยู่ร่วมกันก่อให้เกิดการอยู่ร่วมกันแบบสร้างสรรค์ ไม่ทำลายล้าง หรือ ไม่ใช้อารมณ์เหนือเหตุผล ใช้การพูดคุยดีๆ ตกลงกันดีๆมากกว่าการด่าทอ ที่หลุดอารมณ์
อีกเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจ
-จิตวิทยาพัฒนาการวัยรุ่น จากกราฟแท่ง ดำ แท่งขาว สะท้อนพฤติกรรม ตั้งแต่เป็นวัยรุ่น จนเติบโตเป็นผู้ใหญ่
-แท่งดำสะท้อนพฤติกรรมเสี่ยง ขณะอยู่ด้วยกันเป็นกลุ่ม ก๊วน ที่ #อยากเป็นที่สนใจ อยากดัง อยากเป็นเป้าสายตา
-แท่งขาว สะท้อนพฤติกรรมที่ไม่มีความเสี่ยง เมื่ออยู่คนเดียว ไม่มีการสร้างภาพอยากดัง การยอมรับแบบผิดๆ การเป็นจุดสนใจใดๆ
เมื่อนำพฤติกรรมเสี่ยงมาวัด จะพบว่า เด็กวัยรุ่น 13-16 ปี ช่วงวัยรุ่นตอนกลาง ต่อปลายนั้น เมื่อเด็กอยู่ตัวคนเดียว จะใช้สติ ความคิด มาคุยและพฤติกรรมจะมีความเสี่ยงลดลง ในขณะที่ หากอยู่เป็นกลุ่ม ก๊วน แก๊ง พฤติกรรมเสี่ยงจะพุ่งสูงขึ้นมากๆ (แท่งสีดำ) ทั้งนี้อยู่ที่ทุนชีวิต (Braker ทุนชีวิต)ว่าจะแสดงออก ความเสี่ยงรุนแรงมาก เบา หนักต่างกันในแต่ละคน
ขณะที่พออายุมากขึ้น ประสบการณ์ที่หล่อหลอม ขึ้นกับ ทุนชีวิต และระบบนิเวศน์ ที่ดี จะช่วยหล่อหลอมให้ ใจเย็นลง และใช้สติ ใช้เหตุผล มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ดีขึ้น เรื่อยๆ จน ทำให้ แท่งดำ (พฤติกรรมเสี่ยง ในขณะที่อยู่ในกลุ่ม ก๊วน แก๊งค์) ลดระดับความเข้มข้นลง เรื่อยๆ
ย้ำว่า ขึ้นกับทุนชีวิต และระบบนิเวศน์ ที่ช่วยหล่อหลอม ทุนชีวิต หากอยู่ในระบบทุนชีวิต ที่ย่ำแย่ แท่งดำ จะยิ่งพุ่งสูงขึ้นกว่าเดิม
ฉะนั้นการสร้างทุนชีวิต จึงมีความหมายต่อเด็กทุกคน ระบบพี่เลี้ยงในชุมชน โดยใช้จิตวิทยาพลังบวก และกระบวนการทุนชีวิตทั่วประเทศ คือ คำตอบ ในการสร้างพลังบวก ( ไม่ใช่พร้อมบวก) กรณีที่เกิดขึ้น หากกติกา นั้นเกิดขึ้นจากการมีส่วนร่วมอย่างดีแล้ว จำต้องปฏิบัติตามข้อตกลงที่ร่วมกันออกแบบนั้น
ผู้ใหญ่ทุกคนต้องเข้าใจว่า กฎเกณฑ์นั้นร่างเพื่อทั้งโรงเรียนที่เรียกว่า กฎของโรงเรียน บังคับใช้แม้แต่ครูและผู้อำนวยการ ผู้บริหารด้วยกัน หรือว่า เป็นกฎเฉพาะนักเรียน
หากเฉพาะนักเรียน โปรดอย่าลืมว่า เด็กคือ องค์ประกอบสำคัญการมีส่วนร่วมในการออกแบบนั้นๆด้วย การตกลงร่วมกันด้วยสติ เหตุผลมากกว่าความคึกคะนอง และ ยอมรับได้
สำหรับผู้ที่ฝ่าฝืน ทั้งๆที่ออกกติกาการอยู่ร่วมด้วยกันเองแท้ๆ ก็จำเป็นที่ต้องมีการพูดคุย รับฟัง เข้าใจ และตกลงร่วมกัน (ด้วยหลักสุนทรียสนทนา) พร้อมกำหนดขั้นตอนหากไม่เคารพต่อกัน การตักเตือน และ ถ้าถึงที่สุด จริงๆ ด้วยอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก และ พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กนั้น ผู้ปกครองที่เด็กไว้วางใจร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำเป็นต้องจัดหาระบบการศึกษาที่เหมาะสมให้กับเด็กต่อไป (พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก 2546 เด็กหมายถึงบุคคลที่อายุน้อยกว่า 18ปีบริบูรณ์)
https://www.facebook.com/moraltouch/posts/584542707146383?ref=embed_post
หนี้เสีย "รถยนต์-รถจักรยานยนต์"พุ่งเสี่ยงถูกยึด
https://www.nationtv.tv/economy-business/finance-investment/378919774
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเผยยอดรถยนต์-รถจักรยานยนต์ถูกยึดปีนี้แตะ 2-2.5 คัน หลังลูกหนี้มีรายได้ไม่พอรายจ่าย ขณะที่เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ คาดธปท.เตรียมคลอดหลักเกณฑ์คุมธุรกิจเช่าซื้อ 1 พ.ย.นี้
น.ส.เกวลิน หวังพิชญสุข รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด เปิดเผยว่า ปีนี้คาดว่าการยึดรถยนต์และจักรยานยนต์จะอยู่ที่ 2-2.5 แสนคัน จากปกติเฉลี่ยอยู่ที่ 1.7-1.8 แสนคันเป็นผลมาจากลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด หรือเกิดการผิดนัดชำระหนี้ เนื่องจาก ลูกค้าได้รับผลกระทบจากโควิด และเศรษฐกิจปัจจุบันอยู่ช่วงฟื้นตัว แต่ยังไม่ทั่วถึงทุกพื้นที่ ขณะที่ผู้บริโภคมีรายจ่ายที่สูงขึ้น และรายได้ยังไม่กลับมาทำให้มีการผิดนัดชำระหนี้
นอกจากนี้ได้รับผลกระทบจากดอกเบี้ยที่สูงขึ้น เช่น การนำรถมาเป็นสินทรัพย์ เพื่อเป็นหลักประกันกู้สินเชื่อ เป็นต้น โดยที่ผ่านมาสถาบันการเงินและผู้ให้บริการที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (นอนแบงก์) มีมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ เพื่อพยุงไม่ให้เป็นหนี้เอ็นพีแอล
อย่างไรก็ตาม ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เตรียมจัดทำหลักเกณฑ์พระราชกฤษฎีกากำหนดการประกอบธุรกิจทางการเงินบางประเภทอยู่ภายใต้บังคับของ พ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ.2551 คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ภายในวันที่ 1 พ.ย.นี้ เพื่อควบคุมธุรกิจเช่าซื้อและรถยนต์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และป้องกันไม่ให้เกิดเป็นหนี้เสียในอนาคต
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แจ้งว่า สัญญาณสินเชื่อกล่าวถึงเป็นพิเศษ (SM) ทั้งระบบสถาบันการเงินภายใต้การกำกับของ ธปท. ไตรมาส 1/66 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 6.6 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นเล็กน้อยหากเทียบกับไตรมาส 4/65 โดยตัวเลขต่ำกว่าช่วงวิกฤตโควิด