มาตรา 1363 เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ มีสิทธิเรียกให้แบ่งทรัพย์สินได้ เว้นแต่จะมีนิติกรรมขัดอยู่ หรือถ้าวัตถุที่ประสงค์ที่เป็นเจ้าของรวมกันนั้นมีลักษณะเป็นการถาวร ก็เรียกให้แบ่งไม่ได้
สิทธิเรียกให้แบ่งทรัพย์สินนั้น ท่านว่าจะตัดโดยนิติกรรมเกินคราวละสิบปีไม่ได้
ท่านว่าเจ้าของรวมจะเรียกให้แบ่งทรัพย์สินในเวลาที่ไม่เป็นโอกาสอันควรไม่ได้
โดยปกติถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้านเดียว อาคารพาณิชย์(ตึกแถว) ก็จะแบ่งไม่ได้อยู่แล้ว ผมเข้าใจถูกใช่ไหมครับ
แต่ผมไปอ่าน คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16469/2555 ซึ่งเป็นคดีขอแบ่งอาคารพาณิชย์
https://deka.in.th/view-532866.html
ศาลกลับสั่งให้แบ่งได้ ซึ่งถ้าผมเข้าใจไม่ผิดสุดท้ายคดีนั้นก็ต้องขายทอดตลาดอยู่ดีแม้จะดำเนินขั้นตอนตาม มาตรา1364
และ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4229/2540 คดีแบ่งถนน
https://deka.in.th/view-91893.html
ก็ขอแบ่งไม่ได้เป็นไปตามข้อยกเว้น มาตรา 1363 ที่ว่าทรัพย์สินมีลักษณะถาวร
และอ้างอิงจากบทความ ที่มา
https://www.naewna.com/local/656204
วัตถุประสงค์ที่เป็นเจ้าของร่วมกันนั้นมีลักษณะเป็นการถาวร เช่น การตกลงโดยมีวัตถุประสงค์นำที่ดินที่เจ้าของรวมมีกรรมสิทธิ์ร่วมกัน โดยตกลงกันนำที่ดินส่วนใดส่วนหนึ่งมาทำเป็นถนนคอนกรีตเพื่อเป็นทางเข้า-ออกใช้ร่วมกันระหว่างเจ้าของรวมโดยการก่อสร้างนั้นมีลักษณะเป็นการถาวร ผลคือ อาจทำให้เจ้าของรวมคนใดคนหนึ่งไม่มีสิทธิ์เรียกร้องให้แบ่งที่ดินนั้นได้
เว้นแต่หากเป็นความต้องการของบุคคลอื่นที่ไม่ได้เป็นเจ้าของรวมมีวัตถุประสงค์ต้องการให้กรรมสิทธิ์รวมนั้นเป็นการถาวรก็ไม่ต้องด้วยมาตรานี้ กรณีนี้เจ้าของรวมเรียกให้แบ่งได้
ผมเลยตั้งข้อสังเกตว่า ถ้าหากยังมีเจ้าของรวมคนใดคนหนึ่งยังใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินนั้นอยู่ แล้วโดยสภาพแบ่งไม่ได้ ก็จะถือว่ามีลักษณะถาวร
เช่น ยังมีเจ้าของรวมคนหนึ่งอาศัยอยู่ในอาคารพาณิชย์(ตึกแถว) แม้เจ้าของรวมคนอื่นไม่อยู่ ศาลก็สั่งแบ่งไม่ได้
แต่ถ้าสมมุติ ไม่มีเจ้าของรวมอยู่เลย ก็จะกลายเป็นข้อยกเว้น ศาลก็สั่งแบ่งได้
และเมื่ออ้างอิงจากบทความ ที่มา
https://srisunglaw.com/sueseparateland/
เนื่องจากกฎหมาย วางหลักไว้ว่าหากเจ้าของรวม ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้ทำการแบ่งทรัพย์สินกันได้ เพราะกฎหมายคำนึงว่า การที่บุคคลใดจะพัฒนาหรือทำให้เกิดความเจริญในทรัพย์สินใดนั้น บุคคลนั้นก็จะต้องเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียวจึงจะกล้าลงทุนหรือจัดการทรัพย์สินดังกล่าวได้อย่างเต็มที่ (ป.พ.พ. มาตรา 1363)
ผมเลยคาดเดาว่า คดี คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16469/2555 กรรมสิทธิ์ร่วมนั้นน่าจะมีภาระติดพัน ทำให้เข้าหลักที่ว่าไม่ก่อให้เกิดความเจริญ ก็เลยกลายเป็นข้อยกเว้น ศาลสั่งให้แบ่งได้
แต่ผมก็สงสัยว่า
- ต้องเสียผลประโยชน์ทั้งหมด ถึงสั่งจะแบ่งได้
- ขอแค่มีใครคนใดคนหนึ่งได้ใช้ประโยชน์ ศาลก็สั่งแบ่งไม่ได้
ที่ผมเข้าใจถูกใช่ไหมครับ หรือมีข้อผิดพลาดตกหล่นอย่างไร
//ขอขอบคุณล่วงหน้าครับ สำหรับผู้ให้ความรู้ให้คำตอบกระผม
ข้อยกเว้น มาตรา1363 พิจารณาวัตถุที่ประสงค์เป็นลักษณะถาวรยังไงครับ
สิทธิเรียกให้แบ่งทรัพย์สินนั้น ท่านว่าจะตัดโดยนิติกรรมเกินคราวละสิบปีไม่ได้
ท่านว่าเจ้าของรวมจะเรียกให้แบ่งทรัพย์สินในเวลาที่ไม่เป็นโอกาสอันควรไม่ได้
โดยปกติถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้านเดียว อาคารพาณิชย์(ตึกแถว) ก็จะแบ่งไม่ได้อยู่แล้ว ผมเข้าใจถูกใช่ไหมครับ
แต่ผมไปอ่าน คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16469/2555 ซึ่งเป็นคดีขอแบ่งอาคารพาณิชย์
https://deka.in.th/view-532866.html
ศาลกลับสั่งให้แบ่งได้ ซึ่งถ้าผมเข้าใจไม่ผิดสุดท้ายคดีนั้นก็ต้องขายทอดตลาดอยู่ดีแม้จะดำเนินขั้นตอนตาม มาตรา1364
และ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4229/2540 คดีแบ่งถนน
https://deka.in.th/view-91893.html
ก็ขอแบ่งไม่ได้เป็นไปตามข้อยกเว้น มาตรา 1363 ที่ว่าทรัพย์สินมีลักษณะถาวร
และอ้างอิงจากบทความ ที่มา https://www.naewna.com/local/656204
วัตถุประสงค์ที่เป็นเจ้าของร่วมกันนั้นมีลักษณะเป็นการถาวร เช่น การตกลงโดยมีวัตถุประสงค์นำที่ดินที่เจ้าของรวมมีกรรมสิทธิ์ร่วมกัน โดยตกลงกันนำที่ดินส่วนใดส่วนหนึ่งมาทำเป็นถนนคอนกรีตเพื่อเป็นทางเข้า-ออกใช้ร่วมกันระหว่างเจ้าของรวมโดยการก่อสร้างนั้นมีลักษณะเป็นการถาวร ผลคือ อาจทำให้เจ้าของรวมคนใดคนหนึ่งไม่มีสิทธิ์เรียกร้องให้แบ่งที่ดินนั้นได้
เว้นแต่หากเป็นความต้องการของบุคคลอื่นที่ไม่ได้เป็นเจ้าของรวมมีวัตถุประสงค์ต้องการให้กรรมสิทธิ์รวมนั้นเป็นการถาวรก็ไม่ต้องด้วยมาตรานี้ กรณีนี้เจ้าของรวมเรียกให้แบ่งได้
ผมเลยตั้งข้อสังเกตว่า ถ้าหากยังมีเจ้าของรวมคนใดคนหนึ่งยังใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินนั้นอยู่ แล้วโดยสภาพแบ่งไม่ได้ ก็จะถือว่ามีลักษณะถาวร
เช่น ยังมีเจ้าของรวมคนหนึ่งอาศัยอยู่ในอาคารพาณิชย์(ตึกแถว) แม้เจ้าของรวมคนอื่นไม่อยู่ ศาลก็สั่งแบ่งไม่ได้
แต่ถ้าสมมุติ ไม่มีเจ้าของรวมอยู่เลย ก็จะกลายเป็นข้อยกเว้น ศาลก็สั่งแบ่งได้
และเมื่ออ้างอิงจากบทความ ที่มา https://srisunglaw.com/sueseparateland/
เนื่องจากกฎหมาย วางหลักไว้ว่าหากเจ้าของรวม ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้ทำการแบ่งทรัพย์สินกันได้ เพราะกฎหมายคำนึงว่า การที่บุคคลใดจะพัฒนาหรือทำให้เกิดความเจริญในทรัพย์สินใดนั้น บุคคลนั้นก็จะต้องเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียวจึงจะกล้าลงทุนหรือจัดการทรัพย์สินดังกล่าวได้อย่างเต็มที่ (ป.พ.พ. มาตรา 1363)
ผมเลยคาดเดาว่า คดี คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16469/2555 กรรมสิทธิ์ร่วมนั้นน่าจะมีภาระติดพัน ทำให้เข้าหลักที่ว่าไม่ก่อให้เกิดความเจริญ ก็เลยกลายเป็นข้อยกเว้น ศาลสั่งให้แบ่งได้
แต่ผมก็สงสัยว่า
- ต้องเสียผลประโยชน์ทั้งหมด ถึงสั่งจะแบ่งได้
- ขอแค่มีใครคนใดคนหนึ่งได้ใช้ประโยชน์ ศาลก็สั่งแบ่งไม่ได้
ที่ผมเข้าใจถูกใช่ไหมครับ หรือมีข้อผิดพลาดตกหล่นอย่างไร
//ขอขอบคุณล่วงหน้าครับ สำหรับผู้ให้ความรู้ให้คำตอบกระผม