โพสต์ยาวนะคะ เราตั้งใจพูดให้หมดจากประสบการณ์ขอวีซ่าอเมริกาครั้งเดียว ครั้งแรก และเจอท่านกงในตำนาน ผ่านเลย ผู้หญิงโสด เที่ยวคนเดียว เป็นหลายข้อมูลในนี้เป็นการตั้งข้อสังเกต / สมมุติฐาน จากการทำ Research ของเราเอง อาจจะจริงหรือไม่จริงก็ได้ อันไหนคือข้อสังเกตเราจะมาร์กเอาไว้ ใช้วิจารณญาณด้วยค่ะ
การเตรียมตัว
ส่วนตัวเราใช้เวลาในการเตรียมตัวก่อนที่จะไปสัมภาษณ์ประมาณ 1 เดือนครึ่ง ซึ่งอย่างแรกเลยคือเราต้องไปรวบรวมเอกสารที่พอจะหาได้มาก่อน (ใบลา, ใบเปลี่ยนชื่อสกุล, อื่น ๆ) เพื่อที่เวลากรอกข้อมูลใน DS160 จะได้ข้อมูลถูกต้องตรงกันทุกอย่าง ไม่มีข้อสะดุด จากนั้นเราก็ไปสร้างโปรไฟล์ และกรอกใบสมัครแค่หน้าแรกเท่านั้น เซฟแล้วเอาเลขไปจ่ายเงินก่อน ไม่ต้องกรอกจนหมดค่ะ
เรื่องคิวนัด
อันนี้เราค่อนข้างโชคดีก็ว่าได้ หลังจากที่เราจ่ายเงินเสร็จ เรารอวันรุ่งขึ้นถึงจะนัดคิวได้ ซึ่งมีคนบอกว่าอาจจะสามารถจองคิวได้ประมาณช่วงบ่าย 2 แต่เรายุ่ง ๆ ก็เลยไปจองช่วงบ่าย 4 บ่าย 5 และปรากฏว่าช่วงนั้น เกิดเหตุการณ์เว็บล่ม จองคิวนัดไม่ได้ไปหลาย ๆ วันติด แต่เรารีเฟรชบ่อย ๆ แล้วบังเอิญหลุดเข้าไปได้ คิวเร็วสุดที่เราเจอในตอนนั้นคือประมาณ 1 เดือนหลังจากจ่ายเงิน แต่เราไม่เอาค่ะ ไม่อยากกดดันตัวเอง เลยเลือกประมาณวันที่ 1 เดือนครึ่ง ให้เวลาตัวเองได้หายใจ
เข้าใจว่าสถานทูตต้องการอะไร
ส่วนสิ่งที่สถานทูตต้องการนั้น อ้างอิงจากเว็บไซต์ของสถานทูตอเมริกา (ขอโทษด้วยค่ะเราแคปมาเพราะไปเจอ หาลิงก์ไม่เจอ) คือการที่เราแสดงให้เห็นเหตุผลของการกลับมา มากกว่าเหตุผลที่จะไป พูดง่าย ๆ คือมี Strong Ties โดยอ้างอิงจาก 3 อย่างคือ
- การงาน
- ที่อยู่อาศัย
- ความสัมพันธ์กับเพื่อนและคนในครอบครัว
ส่วนอันนี้เป็นเกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสินว่าจะให้หรือไม่ให้วีซ่า ตามที่ระบุไว้ในเว็บไซต์ USCIS นะคะ
- มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่งในประเทศ ที่ทำให้เราไม่ต้องการที่จะทิ้งไป
- ตั้งใจที่จะเข้าสหรัฐอเมริกาแค่ในช่วงเวลาที่กำหนด (พูดง่าย ๆ คือ ไม่ Overstay)
- เข้าไปอเมริกาแล้วทำตรงตามวัตถุประสงค์ที่กล่าวอ้างจริง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านธุรกิจ (เช่น สัมมนา) พูดง่าย ๆ คือเข้าไปแล้วจะทำตัวตรงตามวัตถุประสงค์ของวีซ่า ไม่โดด หรือไม่ทำงาน ไม่ว่าจะงานแบบ Remote หรือไม่ หรือไม่ไปเปลี่ยนวีซ่าหรือใช้วีซ่าผิดประเภท
Research
ช่วงเวลาในการกรอก DS160 ของเรา เป็นช่วงเวลาเดียวกับที่เราหาข้อมูลไปด้วย ด้วยความที่เราภาษาอังกฤษพอไปได้ นอกเหนือจากการไปอ่านเคสต่าง ๆ เป็นภาษาไทยตาม Pantip, Facebook Group แล้ว (ซึ่งตรงจุดนี้ข้อมูลภาษาไทยเราว่าไม่พอ ส่วนมากคนจะมารีวิวแค่ตอนผ่าน ไม่ค่อยรีวิวตอนไม่ผ่านมากเท่าไร ทั้งที่เคสไม่ผ่านคือล้ำค่าและมีประโยชน์มาก ๆ และหลายกระทู้ไม่ว่าจะผ่านหรือไม่ ให้ข้อมูลไม่ครบ) เรายังไปดูตาม ํYoutube ทั้งคนไทย-ต่างชาติ Reddit ในห้อง r/Thailand และ r/USCIS และ r/Immigration โดยเฉพาะห้องนี้มี Federal Agent อยู่ในห้อง และช่วยวิเคราะห์เคสไม่ผ่านจากคนทั้งโลกที่เข้ามาถาม และจะทำให้เราพอเข้าใจได้ว่าแต่ละคนที่ตก ตกเพราะอะไร และเอามาปรับใช้ได้
DS 160
ในการกรอก DS160 เราใช้เวลาในการกรอกประมาณ 1 เดือนนะคะ กรอกไป เซฟไป ทำ Research ไป และเราสรุปออกมาได้ดังนี้
- ในการกรอกข้อมูลใด ๆ คุณอาจจะได้รับคำแนะนำมาว่า กรอกให้ละเอียดที่สุด ซึ่งสำหรับเราแล้ว สิ่งสำคัญกว่าการกรอกให้ละเอียดคือ “ตรงไปตรงมา” “ตรงประเด็น” “ไม่โกหกหรือปิดบังข้อมูล” แต่ในขณะเดียวกัน การเปิดเผยข้อมูลใด ๆ ต้องมีวิธีการเล่าความจริงอย่างมี “ยุทธศาสตร์” ด้วย คือ ไม่ให้ข้อมูลที่น้อยเกินไปจนเจ้าหน้าที่ตัดสินใจไม่ได้ และไม่ให้ข้อมูลที่มากเกินไปจนข้อมูลขัดแย้งกันเอง
- การกรอกข้อมูลแบบมียุทธศาสตร์ของเราคือ เราจะเน้นเหตุผล “ที่ต้องกลับ” มากกว่าเหตุผล “ที่ต้องไป” ซึ่งหากจะมองหาเหตุผลที่ต้องกลับ ก็ต้องย้อนกลับไปอ่านทีหัวข้อ “เข้าใจว่าสถานทูตต้องการอะไร” และพยายามตอบคำถามทั้ง 3 อย่างนั้นให้ตรงประเด็นมากที่สุด เพื่อปิดช่องโหว่ของตัวเอง
อย่างในกรณีของเรา เรื่องงาน เราระบุว่าเราทำงานที่ไหน บริษัททำอะไร และเราระบุหน้าที่ประมาณ 5 บรรทัด แยกออกมาเป็นข้อ และสิ่งสำคัญคือ ระบุว่ากลับมาจะมาทำอะไร และเรามีอนาคตต่อไปอย่างไรกับบริษัท, เรื่องที่อยู่อาศัย เราระบุว่าเรามีบ้าน และบ้านหลังนี้ปลอดหนี้ โฉนดเป็นชื่อของตัวเอง มีการลงทุนในหุ้น มีเงินฝาก (ไม่ได้ระบุจำนวนเงินฝาก) และเรื่องความสัมพันธ์กับครอบครัวตัวเองว่าป็นยังไง
- ในส่วนเหตุผลที่ไป เราไม่เน้นเวิ่นเว้อแบบประเทศในฝัน ใฝ่ฝันอยากเห็นดินแดนแห่งเสรีภาพ อะไรแบบนี้ (ตอบแบบนี้ก็ได้นะคะ ไม่มีถูกผิด แต่เรามองแค่ว่ามันค่อนข้าง Vague ไปหน่อย) สิ่งที่เราระบุคือ เราระบุรัฐ และเราจะไปสถานที่ไหนในรัฐนั้นและไปทำอะไร อยู่ในแต่ละรัฐประมาณกี่วัน เราเอากระชับ ๆ แค่ไม่กี่บรรทัดค่ะ อย่างที่บอก เราเน้นเหตุผลในการกลับมากกว่าเหตุผลที่จะไป
- ข้อสังเกต : อันนี้เกิดจากการตั้งของเรานะคะ (อาจจะจริงหรือไม่จริงก็ได้) เรามองว่าสถานทูตน่าจะเข้าถึงข้อมูลบางอย่างของเราอยู่แล้ว เท่าที่เราอ่านคือ อาจจะเข้าถึงข้อมูลประกันสังคม ซึ่งจุดนี้อาจจะบ่งถึงเงินเดือนและประวัติว่าเราทำงานที่ไหน เราอ้างอิงเรื่องนี้มาจากโพสต์หนึ่งที่เปลี่ยนงานไม่นาน แล้วเค้าไม่ระบุว่าเปลี่ยนงานแต่กลายเป็นฝั่งกงสุลที่เป็นคนทัก กับเรื่องเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล หรือสถานะสมรสในปัจจุบัน เราอ่านผ่าน ๆ ว่ามีบางคนที่เปลี่ยนชื่อตั้งแต่เด็ก ๆ แล้วไม่ระบุว่าเคยเปลี่ยนมา แล้วเจอสถานทูตทักว่าเปลี่ยนชื่อมานี่ ตอนปี xxxx ดังนั้น อาจจะต้องระวังในข้อนี้ด้วย
ส่วนตัวเรา เราให้ความสำคัญกับการกรอก DS 160 มาเป็นอันดับ 1 เพราะนี่คือใบสมัครที่ทำให้เขาทราบเกี่ยวกับเรามากที่สุด เราเน้นไปที่การเน้นให้ข้อมูลที่เขาต้องการจนไม่ต้องมาถามอะไรอีก และหลังจากที่กรอกเสร็จก่อนที่จะกด submit เราถามตัวเองก่อนว่ามีอะไรที่เราอยากจะเพิ่มเติมไหม ถ้าสมมุติเราไม่ได้วีซ่า เราต้องการที่จะแก้ไขอะไรหรือไม่
การพรีเซนต์ตัวเอง : จากประสบการณ์การสมัครและทำวีซ่ามาเอง ระหว่างวีซ่าเชงเก้น และวีซ่าอเมริกา เรามองว่าวีซ่าเชงเก้นมันคือโปรไฟล์ หลอกกันยากเพราะว่ากันไปตามเอกสาร แต่วีซ่าอเมริกามันคือการ “พรีเซนต์ตัวเอง” ลองนึกถึงการประกวดนางงามค่ะ คนที่ได้มงไม่จำเป็นต้องเป็นคนที่สวยที่สุด แต่ต้องเป็นคนที่พรีเซนต์ตัวเองดีที่สุด
ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่า คนที่ได้วีซ่าอเมริกา ไม่จำเป็นต้องเป็นคนที่มีเงินในบัญชีเยอะ หรือเป็นคนที่มีประวัติการเดินทางมาโชกโชน ตรงกันข้าม หลายคนมีเงินในบัญชีเยอะ มีธุรกิจเป็นของตัวเอง มีลูกมีสามีมีภรรยา ผ่านการได้วีซ่าเชงเก้น อังกฤษ ออส หรือมีอายุ แต่มาตกที่วีซ่าอเมริกา ไม่ใช่เพราะโปรไฟล์คุณไม่ดี แต่คุณพรีเซนต์ตัวเองไม่เป็น
การสัมภาษณ์
ส่วนตัวเรามองว่าส่วนที่ยากที่สุดคือ DS160 ส่วนสัมภาษณ์ก็มีความสำคัญแต่น้อยลงมา คนที่มุ่งไปและมองไปที่ว่าสัมภาษณ์นั้นสำคัญกว่า สุดท้ายเวลาคุณตกคุณจะบ่นว่า
“เอาเอกสารไปไม่ดูเลย” “ถาม 3 คำถามแล้วปัดตกทันที” ***เพราะทุกอย่างได้ถูกตรวจเช็กมาแล้วจาก Ds160***** (ความเห็นส่วนตัว) การสัมภาษณ์นั้นเป็นแค่การย้ำข้อมูลเดิมว่าคุณใช่คนที่คุณพูดเอาไว้จริงไหม
- ก่อนที่จะสัมภาษณ์ เราใช้ AI ของ Bing กับ ChatGPT ช่วยลิสต์คำถามที่คาดว่าจะเจอในระหว่างสัมภาษณ์ ซึ่งลิสต์มาทั้งหมดประมาณ 10 คำถาม คำถามส่วนใหญ่ก็เหมือนกับที่คนอื่นโดนสัมภาษณ์นั่นแหละค่ะ ไม่ได้ประหลาดพิศดารอะไร แล้วเรา “ซ้อม” ตอบคำถามก่อน ตอบลงไปในกระดาษ ถ้ารู้สึกว่าคำตอบยังไม่ใช่ก็แก้ไขใหม่ ทวนคำตอบซ้ำ ๆ เวลาว่างไม่มีอะไรทำก็หยิบขึ้นมาอ่านทบทวน ซึ่งคำถามจาก AI นี่ก็ช่วยให้เวลาเราเจอคำถามจากท่านกงแล้วไม่ตระหนก รับมือได้
- อย่าประเมินการสัมภาษณ์กับคนไทยต่ำจนเกินไป หลายคนประมาทตรงจุดนี้ ในส่วนการสัมภาษณ์กับคนไทย เขาถามเราว่าจะไปไหน เราก็ระบุไปเลยค่ะว่าไปที่นี่ ๆ กี่วัน ๆ แพลนอยู่แต่ละที่กี่วัน ตอบเร็ว กระชับ ได้ใจความ และเขาถามถึงการเปลี่ยนนามสกุลของเรา เราระบุว่าเราเปลี่ยนนามสกุลนานมากแล้วตั้งแต่อายุ 10 ขวบ เปลี่ยนจากนามสกุลพ่อมาเป็นนามสกุลแม่ ทางนั้นรับทราบและบอกให้เราศึกษาการวางนิ้ว ซึ่งในระหว่างนั้นเขาก็เอาข้อมูลเราไปกรอกอยู่ประมาณหนึ่ง แล้วให้เราวางนิ้ว ซึ่งตรงจุดนี้ค่ะ เราคาดว่า อาจทำให้ตอนที่เราสัมภาษณ์ เราไม่ได้โดนถามเลยว่าจะไปไหน
คำถามที่ถูกถามในการสัมภาษณ์
เราสัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษ ท่านกงที่เราเจอคือท่านกงในตำนานคนที่ไม่มีผม คนที่มีเสียงลือเสียงเล่าอ้างว่าโหดและปัดตกเยอะ ๆ นั่นแหละค่ะ ตอนนั้นเปิดทั้งหมด 3 ช่อง (ท่านกงในตำนาน ll กงสุลผู้ชายใส่แว่นผมหยักศก ll ผู้หญิง) ท่านกงที่เราได้คือผู้ชายซ้ายมือสุด ท่านนี้เหมือนจะสัมภาษณ์วีซ่า F-1 ซะเยอะ อีก 2 ช่องสัมภาษณ์วีซ่าท่องเที่ยว เราอยากได้ท่านกงผู้หญิง คนนี้ดูจะใช้เวลาพิเคราะห์นาน ส่วนท่านกงผู้ชายคนกลางนี่เราเห็นปัดตกเยอะเหมือนกัน
จากนั้นท่านกงผู้หญิงก็สัมภาษณ์เสร็จพอดี เรากำลังจะก้าวขาเจอท่านกงในตำนานเรียกก่อน เลยต้องไปหาท่าน ท่านเจอเราตอนแรกอ่านข้อมูลเราในจอแล้วคิ้วขมวดค่ะ เราก็คิดว่าเอาแล้วไง ต้องเป็นจุด Previous Work แน่ ๆ จริง ๆ ตรงจุดนี้เราใส่ข้อมูลตอนที่เราได้รับการเลื่อนตำแหน่ง+ขึ้นเงินเดือน สุดท้ายก็หันมาถาม ทุกคำตอบ-คำถามเป็นภาษาอังกฤษนะคะ แต่เราแปลตามนี้
- คุณทำงานมานานแค่ไหนแล้ว
- 11 ปีค่ะ กำลังจะ 12 ปีในเดือนพฤศจิกายนนี้
- 12 ปีนะ (พูดแทรก ตัดบทเลย) งานที่ทำมีอะไรบ้าง
- เรา : อธิบายลักษณะงานที่ทำ กำลังไล่ 1 2 3 4 ตามที่ระบุไว้ใน Ds-160 เป๊ะ ๆ (ท่านกงฟังไปได้ไม่กี่วินาที ประมาณถึงข้อ 2 พูดแทรก ตัดบท) คุณจะไปกี่วัน
- ไป 12 วันค่ะ 4 วันแรกไปที่ xxxx จากนั้นอีก 4 วันไปที่ xxxxx จากนั้น......
- (ท่านกงพูดแทรก ตัดบท) คุณไปเที่ยวกับใคร
- ไปคนเดียวค่ะ ชอบไปคน....
(ท่านกงพูดแทรก ตัดบท) คุณรู้จักใครที่นั่นไหม ไปเจอใคร
- ไม่รู้จักใครเลยค่ะ
- กรุณาวาง 4 นิ้ว ลงบนเครื่อง (เราวาง 4 นิ้ว จ้องนิ้วตัวเองจนไฟเขียวขึ้น) เดี๋ยวรอพาสปอร์ตจะส่งไปให้ที่บ้านใน 5-7 วัน
ทุกอย่างเกิดขึ้นไม่น่าจะเกิน 5 นาที เราได้แต่บอก “โอ้ว ขอบคุณค่ะ” แล้วเห็นภาพท่านกงเอาพาสปอร์ตเราไปวางไว้ด้านหลัง ทั้งหมดนี้ไม่มีการขอดูเอกสารใด ๆ ที่พกไปค่ะ และเราสังเกตว่า สิ่งที่เค้าถาม ก็คือสิ่งที่เรากรอกใน DS160 นั่นแหละค่ะ
การมู - อื่น ๆ
เราไม่ได้มูอะไรเป็นพิเศษนะคะ มีแค่เช็กวันสีเสื้อมงคล ไม่ใส่สีกาลกิณีไปรวมถึงรองเท้าด้วย และไหว้พระก่อนนอน ตั้งจิตอธิษฐานขอให้ได้ และถ้าได้เราจะเอาความรู้ที่เรา Research มาทั้งหมด มาบอกต่อเพื่อเป็นวิทยาทานทุกคนที่นี่ค่ะ
รีวิวการขอวีซ่าอเมริกา 2023 ผู้หญิง โสด เดินทางคนเดียว
การเตรียมตัว
ส่วนตัวเราใช้เวลาในการเตรียมตัวก่อนที่จะไปสัมภาษณ์ประมาณ 1 เดือนครึ่ง ซึ่งอย่างแรกเลยคือเราต้องไปรวบรวมเอกสารที่พอจะหาได้มาก่อน (ใบลา, ใบเปลี่ยนชื่อสกุล, อื่น ๆ) เพื่อที่เวลากรอกข้อมูลใน DS160 จะได้ข้อมูลถูกต้องตรงกันทุกอย่าง ไม่มีข้อสะดุด จากนั้นเราก็ไปสร้างโปรไฟล์ และกรอกใบสมัครแค่หน้าแรกเท่านั้น เซฟแล้วเอาเลขไปจ่ายเงินก่อน ไม่ต้องกรอกจนหมดค่ะ
เรื่องคิวนัด
อันนี้เราค่อนข้างโชคดีก็ว่าได้ หลังจากที่เราจ่ายเงินเสร็จ เรารอวันรุ่งขึ้นถึงจะนัดคิวได้ ซึ่งมีคนบอกว่าอาจจะสามารถจองคิวได้ประมาณช่วงบ่าย 2 แต่เรายุ่ง ๆ ก็เลยไปจองช่วงบ่าย 4 บ่าย 5 และปรากฏว่าช่วงนั้น เกิดเหตุการณ์เว็บล่ม จองคิวนัดไม่ได้ไปหลาย ๆ วันติด แต่เรารีเฟรชบ่อย ๆ แล้วบังเอิญหลุดเข้าไปได้ คิวเร็วสุดที่เราเจอในตอนนั้นคือประมาณ 1 เดือนหลังจากจ่ายเงิน แต่เราไม่เอาค่ะ ไม่อยากกดดันตัวเอง เลยเลือกประมาณวันที่ 1 เดือนครึ่ง ให้เวลาตัวเองได้หายใจ
เข้าใจว่าสถานทูตต้องการอะไร
ส่วนสิ่งที่สถานทูตต้องการนั้น อ้างอิงจากเว็บไซต์ของสถานทูตอเมริกา (ขอโทษด้วยค่ะเราแคปมาเพราะไปเจอ หาลิงก์ไม่เจอ) คือการที่เราแสดงให้เห็นเหตุผลของการกลับมา มากกว่าเหตุผลที่จะไป พูดง่าย ๆ คือมี Strong Ties โดยอ้างอิงจาก 3 อย่างคือ
- การงาน
- ที่อยู่อาศัย
- ความสัมพันธ์กับเพื่อนและคนในครอบครัว
- มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่งในประเทศ ที่ทำให้เราไม่ต้องการที่จะทิ้งไป
- ตั้งใจที่จะเข้าสหรัฐอเมริกาแค่ในช่วงเวลาที่กำหนด (พูดง่าย ๆ คือ ไม่ Overstay)
- เข้าไปอเมริกาแล้วทำตรงตามวัตถุประสงค์ที่กล่าวอ้างจริง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านธุรกิจ (เช่น สัมมนา) พูดง่าย ๆ คือเข้าไปแล้วจะทำตัวตรงตามวัตถุประสงค์ของวีซ่า ไม่โดด หรือไม่ทำงาน ไม่ว่าจะงานแบบ Remote หรือไม่ หรือไม่ไปเปลี่ยนวีซ่าหรือใช้วีซ่าผิดประเภท
ช่วงเวลาในการกรอก DS160 ของเรา เป็นช่วงเวลาเดียวกับที่เราหาข้อมูลไปด้วย ด้วยความที่เราภาษาอังกฤษพอไปได้ นอกเหนือจากการไปอ่านเคสต่าง ๆ เป็นภาษาไทยตาม Pantip, Facebook Group แล้ว (ซึ่งตรงจุดนี้ข้อมูลภาษาไทยเราว่าไม่พอ ส่วนมากคนจะมารีวิวแค่ตอนผ่าน ไม่ค่อยรีวิวตอนไม่ผ่านมากเท่าไร ทั้งที่เคสไม่ผ่านคือล้ำค่าและมีประโยชน์มาก ๆ และหลายกระทู้ไม่ว่าจะผ่านหรือไม่ ให้ข้อมูลไม่ครบ) เรายังไปดูตาม ํYoutube ทั้งคนไทย-ต่างชาติ Reddit ในห้อง r/Thailand และ r/USCIS และ r/Immigration โดยเฉพาะห้องนี้มี Federal Agent อยู่ในห้อง และช่วยวิเคราะห์เคสไม่ผ่านจากคนทั้งโลกที่เข้ามาถาม และจะทำให้เราพอเข้าใจได้ว่าแต่ละคนที่ตก ตกเพราะอะไร และเอามาปรับใช้ได้
DS 160
ในการกรอก DS160 เราใช้เวลาในการกรอกประมาณ 1 เดือนนะคะ กรอกไป เซฟไป ทำ Research ไป และเราสรุปออกมาได้ดังนี้
- ในการกรอกข้อมูลใด ๆ คุณอาจจะได้รับคำแนะนำมาว่า กรอกให้ละเอียดที่สุด ซึ่งสำหรับเราแล้ว สิ่งสำคัญกว่าการกรอกให้ละเอียดคือ “ตรงไปตรงมา” “ตรงประเด็น” “ไม่โกหกหรือปิดบังข้อมูล” แต่ในขณะเดียวกัน การเปิดเผยข้อมูลใด ๆ ต้องมีวิธีการเล่าความจริงอย่างมี “ยุทธศาสตร์” ด้วย คือ ไม่ให้ข้อมูลที่น้อยเกินไปจนเจ้าหน้าที่ตัดสินใจไม่ได้ และไม่ให้ข้อมูลที่มากเกินไปจนข้อมูลขัดแย้งกันเอง
- การกรอกข้อมูลแบบมียุทธศาสตร์ของเราคือ เราจะเน้นเหตุผล “ที่ต้องกลับ” มากกว่าเหตุผล “ที่ต้องไป” ซึ่งหากจะมองหาเหตุผลที่ต้องกลับ ก็ต้องย้อนกลับไปอ่านทีหัวข้อ “เข้าใจว่าสถานทูตต้องการอะไร” และพยายามตอบคำถามทั้ง 3 อย่างนั้นให้ตรงประเด็นมากที่สุด เพื่อปิดช่องโหว่ของตัวเอง
อย่างในกรณีของเรา เรื่องงาน เราระบุว่าเราทำงานที่ไหน บริษัททำอะไร และเราระบุหน้าที่ประมาณ 5 บรรทัด แยกออกมาเป็นข้อ และสิ่งสำคัญคือ ระบุว่ากลับมาจะมาทำอะไร และเรามีอนาคตต่อไปอย่างไรกับบริษัท, เรื่องที่อยู่อาศัย เราระบุว่าเรามีบ้าน และบ้านหลังนี้ปลอดหนี้ โฉนดเป็นชื่อของตัวเอง มีการลงทุนในหุ้น มีเงินฝาก (ไม่ได้ระบุจำนวนเงินฝาก) และเรื่องความสัมพันธ์กับครอบครัวตัวเองว่าป็นยังไง
- ในส่วนเหตุผลที่ไป เราไม่เน้นเวิ่นเว้อแบบประเทศในฝัน ใฝ่ฝันอยากเห็นดินแดนแห่งเสรีภาพ อะไรแบบนี้ (ตอบแบบนี้ก็ได้นะคะ ไม่มีถูกผิด แต่เรามองแค่ว่ามันค่อนข้าง Vague ไปหน่อย) สิ่งที่เราระบุคือ เราระบุรัฐ และเราจะไปสถานที่ไหนในรัฐนั้นและไปทำอะไร อยู่ในแต่ละรัฐประมาณกี่วัน เราเอากระชับ ๆ แค่ไม่กี่บรรทัดค่ะ อย่างที่บอก เราเน้นเหตุผลในการกลับมากกว่าเหตุผลที่จะไป
- ข้อสังเกต : อันนี้เกิดจากการตั้งของเรานะคะ (อาจจะจริงหรือไม่จริงก็ได้) เรามองว่าสถานทูตน่าจะเข้าถึงข้อมูลบางอย่างของเราอยู่แล้ว เท่าที่เราอ่านคือ อาจจะเข้าถึงข้อมูลประกันสังคม ซึ่งจุดนี้อาจจะบ่งถึงเงินเดือนและประวัติว่าเราทำงานที่ไหน เราอ้างอิงเรื่องนี้มาจากโพสต์หนึ่งที่เปลี่ยนงานไม่นาน แล้วเค้าไม่ระบุว่าเปลี่ยนงานแต่กลายเป็นฝั่งกงสุลที่เป็นคนทัก กับเรื่องเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล หรือสถานะสมรสในปัจจุบัน เราอ่านผ่าน ๆ ว่ามีบางคนที่เปลี่ยนชื่อตั้งแต่เด็ก ๆ แล้วไม่ระบุว่าเคยเปลี่ยนมา แล้วเจอสถานทูตทักว่าเปลี่ยนชื่อมานี่ ตอนปี xxxx ดังนั้น อาจจะต้องระวังในข้อนี้ด้วย
ส่วนตัวเรา เราให้ความสำคัญกับการกรอก DS 160 มาเป็นอันดับ 1 เพราะนี่คือใบสมัครที่ทำให้เขาทราบเกี่ยวกับเรามากที่สุด เราเน้นไปที่การเน้นให้ข้อมูลที่เขาต้องการจนไม่ต้องมาถามอะไรอีก และหลังจากที่กรอกเสร็จก่อนที่จะกด submit เราถามตัวเองก่อนว่ามีอะไรที่เราอยากจะเพิ่มเติมไหม ถ้าสมมุติเราไม่ได้วีซ่า เราต้องการที่จะแก้ไขอะไรหรือไม่
การพรีเซนต์ตัวเอง : จากประสบการณ์การสมัครและทำวีซ่ามาเอง ระหว่างวีซ่าเชงเก้น และวีซ่าอเมริกา เรามองว่าวีซ่าเชงเก้นมันคือโปรไฟล์ หลอกกันยากเพราะว่ากันไปตามเอกสาร แต่วีซ่าอเมริกามันคือการ “พรีเซนต์ตัวเอง” ลองนึกถึงการประกวดนางงามค่ะ คนที่ได้มงไม่จำเป็นต้องเป็นคนที่สวยที่สุด แต่ต้องเป็นคนที่พรีเซนต์ตัวเองดีที่สุด
ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่า คนที่ได้วีซ่าอเมริกา ไม่จำเป็นต้องเป็นคนที่มีเงินในบัญชีเยอะ หรือเป็นคนที่มีประวัติการเดินทางมาโชกโชน ตรงกันข้าม หลายคนมีเงินในบัญชีเยอะ มีธุรกิจเป็นของตัวเอง มีลูกมีสามีมีภรรยา ผ่านการได้วีซ่าเชงเก้น อังกฤษ ออส หรือมีอายุ แต่มาตกที่วีซ่าอเมริกา ไม่ใช่เพราะโปรไฟล์คุณไม่ดี แต่คุณพรีเซนต์ตัวเองไม่เป็น
การสัมภาษณ์
ส่วนตัวเรามองว่าส่วนที่ยากที่สุดคือ DS160 ส่วนสัมภาษณ์ก็มีความสำคัญแต่น้อยลงมา คนที่มุ่งไปและมองไปที่ว่าสัมภาษณ์นั้นสำคัญกว่า สุดท้ายเวลาคุณตกคุณจะบ่นว่า “เอาเอกสารไปไม่ดูเลย” “ถาม 3 คำถามแล้วปัดตกทันที” ***เพราะทุกอย่างได้ถูกตรวจเช็กมาแล้วจาก Ds160***** (ความเห็นส่วนตัว) การสัมภาษณ์นั้นเป็นแค่การย้ำข้อมูลเดิมว่าคุณใช่คนที่คุณพูดเอาไว้จริงไหม
- ก่อนที่จะสัมภาษณ์ เราใช้ AI ของ Bing กับ ChatGPT ช่วยลิสต์คำถามที่คาดว่าจะเจอในระหว่างสัมภาษณ์ ซึ่งลิสต์มาทั้งหมดประมาณ 10 คำถาม คำถามส่วนใหญ่ก็เหมือนกับที่คนอื่นโดนสัมภาษณ์นั่นแหละค่ะ ไม่ได้ประหลาดพิศดารอะไร แล้วเรา “ซ้อม” ตอบคำถามก่อน ตอบลงไปในกระดาษ ถ้ารู้สึกว่าคำตอบยังไม่ใช่ก็แก้ไขใหม่ ทวนคำตอบซ้ำ ๆ เวลาว่างไม่มีอะไรทำก็หยิบขึ้นมาอ่านทบทวน ซึ่งคำถามจาก AI นี่ก็ช่วยให้เวลาเราเจอคำถามจากท่านกงแล้วไม่ตระหนก รับมือได้
- อย่าประเมินการสัมภาษณ์กับคนไทยต่ำจนเกินไป หลายคนประมาทตรงจุดนี้ ในส่วนการสัมภาษณ์กับคนไทย เขาถามเราว่าจะไปไหน เราก็ระบุไปเลยค่ะว่าไปที่นี่ ๆ กี่วัน ๆ แพลนอยู่แต่ละที่กี่วัน ตอบเร็ว กระชับ ได้ใจความ และเขาถามถึงการเปลี่ยนนามสกุลของเรา เราระบุว่าเราเปลี่ยนนามสกุลนานมากแล้วตั้งแต่อายุ 10 ขวบ เปลี่ยนจากนามสกุลพ่อมาเป็นนามสกุลแม่ ทางนั้นรับทราบและบอกให้เราศึกษาการวางนิ้ว ซึ่งในระหว่างนั้นเขาก็เอาข้อมูลเราไปกรอกอยู่ประมาณหนึ่ง แล้วให้เราวางนิ้ว ซึ่งตรงจุดนี้ค่ะ เราคาดว่า อาจทำให้ตอนที่เราสัมภาษณ์ เราไม่ได้โดนถามเลยว่าจะไปไหน
คำถามที่ถูกถามในการสัมภาษณ์
เราสัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษ ท่านกงที่เราเจอคือท่านกงในตำนานคนที่ไม่มีผม คนที่มีเสียงลือเสียงเล่าอ้างว่าโหดและปัดตกเยอะ ๆ นั่นแหละค่ะ ตอนนั้นเปิดทั้งหมด 3 ช่อง (ท่านกงในตำนาน ll กงสุลผู้ชายใส่แว่นผมหยักศก ll ผู้หญิง) ท่านกงที่เราได้คือผู้ชายซ้ายมือสุด ท่านนี้เหมือนจะสัมภาษณ์วีซ่า F-1 ซะเยอะ อีก 2 ช่องสัมภาษณ์วีซ่าท่องเที่ยว เราอยากได้ท่านกงผู้หญิง คนนี้ดูจะใช้เวลาพิเคราะห์นาน ส่วนท่านกงผู้ชายคนกลางนี่เราเห็นปัดตกเยอะเหมือนกัน
จากนั้นท่านกงผู้หญิงก็สัมภาษณ์เสร็จพอดี เรากำลังจะก้าวขาเจอท่านกงในตำนานเรียกก่อน เลยต้องไปหาท่าน ท่านเจอเราตอนแรกอ่านข้อมูลเราในจอแล้วคิ้วขมวดค่ะ เราก็คิดว่าเอาแล้วไง ต้องเป็นจุด Previous Work แน่ ๆ จริง ๆ ตรงจุดนี้เราใส่ข้อมูลตอนที่เราได้รับการเลื่อนตำแหน่ง+ขึ้นเงินเดือน สุดท้ายก็หันมาถาม ทุกคำตอบ-คำถามเป็นภาษาอังกฤษนะคะ แต่เราแปลตามนี้
- คุณทำงานมานานแค่ไหนแล้ว
- 11 ปีค่ะ กำลังจะ 12 ปีในเดือนพฤศจิกายนนี้
- 12 ปีนะ (พูดแทรก ตัดบทเลย) งานที่ทำมีอะไรบ้าง
- เรา : อธิบายลักษณะงานที่ทำ กำลังไล่ 1 2 3 4 ตามที่ระบุไว้ใน Ds-160 เป๊ะ ๆ (ท่านกงฟังไปได้ไม่กี่วินาที ประมาณถึงข้อ 2 พูดแทรก ตัดบท) คุณจะไปกี่วัน
- ไป 12 วันค่ะ 4 วันแรกไปที่ xxxx จากนั้นอีก 4 วันไปที่ xxxxx จากนั้น......
- (ท่านกงพูดแทรก ตัดบท) คุณไปเที่ยวกับใคร
- ไปคนเดียวค่ะ ชอบไปคน....
(ท่านกงพูดแทรก ตัดบท) คุณรู้จักใครที่นั่นไหม ไปเจอใคร
- ไม่รู้จักใครเลยค่ะ
- กรุณาวาง 4 นิ้ว ลงบนเครื่อง (เราวาง 4 นิ้ว จ้องนิ้วตัวเองจนไฟเขียวขึ้น) เดี๋ยวรอพาสปอร์ตจะส่งไปให้ที่บ้านใน 5-7 วัน
ทุกอย่างเกิดขึ้นไม่น่าจะเกิน 5 นาที เราได้แต่บอก “โอ้ว ขอบคุณค่ะ” แล้วเห็นภาพท่านกงเอาพาสปอร์ตเราไปวางไว้ด้านหลัง ทั้งหมดนี้ไม่มีการขอดูเอกสารใด ๆ ที่พกไปค่ะ และเราสังเกตว่า สิ่งที่เค้าถาม ก็คือสิ่งที่เรากรอกใน DS160 นั่นแหละค่ะ
การมู - อื่น ๆ
เราไม่ได้มูอะไรเป็นพิเศษนะคะ มีแค่เช็กวันสีเสื้อมงคล ไม่ใส่สีกาลกิณีไปรวมถึงรองเท้าด้วย และไหว้พระก่อนนอน ตั้งจิตอธิษฐานขอให้ได้ และถ้าได้เราจะเอาความรู้ที่เรา Research มาทั้งหมด มาบอกต่อเพื่อเป็นวิทยาทานทุกคนที่นี่ค่ะ