เชื้อโควิด-19 เป็นเชื้อไวรัสที่ส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจเป็นสำคัญ
และในคนไข้บางรายก็จะมีอาการปอดอักเสบ จนทำให้
“ปอด” ไม่สามารถกลับมาทำงานได้เต็มศักยภาพเหมือนเดิม
แม้หายจากโรคแล้วการอักเสบอาจทิ้งร่องรอยไว้ในปอดที่เป็นพังผืดหรือแผล ทำให้สมรรถภาพของปอดลดลง
วันนี้มีหมอฝั่งธน...จะมาให้ความรู้ ฝึกหายใจฟื้นฟูปอด หลังจากหายป่วยโควิค
โควิด-19 ทำลาย “ปอด” อย่างไร
เชื้อโควิด-19 นั้นเข้าสู่ร่างกายของเราผ่านทางจมูกหรือปากเข้าสู่ปอด ซึ่งส่งผลกระทบกับระบบทางเดินหายใจโดยตรง
ในระยะแรกของการติดเชื้อ คนไข้จะมีอาการเหมือนติดเชื้อไวรัสทั่วไป เช่น มีไข้ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยเนื้อตัว
แต่อาการทางระบบทางเดินหายใจยังไม่ค่อยเด่นชัดนัก ต่อเมื่อผ่านไปสักระยะหนึ่ง คือราววันที่ 3-4 ของการติดเชื้อ
คนไข้จะเริ่มมีอาการไอ เหนื่อยหอบ แบบค่อยเป็นค่อยไป หากคนไข้ได้รับการเอกซเรย์ปอดจะเริ่มเห็นความผิดปกติ
พบฝ้าขาวเกิดขึ้นในปอดจากฟิล์มเอกซเรย์ ตรงนี้เป็นสิ่งที่ต้องกังวลเนื่องจากหากปล่อยทิ้งไว้ คนไข้จะเริ่มมีภาวะพร่องออกซิเจน
ซึ่งเกิดจากการอักเสบของปอด
โดยทั่วไปแล้วลักษณะเฉพาะของคนที่เป็นโรคโควิด-19 นั้น ปอดอักเสบที่เกิดขึ้นมักเป็นมากกว่า 1 ตำแหน่ง และเป็นที่ปอดทั้ง 2 ข้าง
หากในระยะนี้คนไข้ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที มีการให้ยาที่เหมาะสม ทั้งยาต้านไวรัส ยาสเตียรอยด์ และยาอื่นๆ
ปอดจะค่อยๆ ฟื้นตัวกลับมา แต่มีคนไข้อยู่ประมาณ 10% ที่จะกลายเป็นปอดอักเสบรุนแรง และมีเพียงแค่ 1% เท่านั้นที่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต
เมื่อหายจากโรคโควิด-19 แล้ว การอักเสบของร่างกายอย่างรุนแรงจากเชื้อโควิด-19
จะมีผลทำให้เกิดเป็นรอยโรคพวกแผลเป็นหรือพังผืดต่างๆ ในเนื้อปอด ทำให้เนื้อปอดขาดความยืดหยุ่น
และแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้ไม่ค่อยดีนัก หากตรวจวัดสมรรถภาพปอดจะพบว่า “สมรรถภาพปอด” ต่ำกว่าปกติ
ซึ่งหากอยู่เฉยๆ อาจไม่ค่อยรู้สึก แต่หากต้องไปออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมที่หนักๆ จะรู้สึกเหนื่อยง่ายกว่าปกติมาก
สำหรับผู้ป่วยที่หายจากโควิด-19 แล้ว สภาพของปอดหลังได้รับการรักษา
อาจเกิดเป็นรอยโรคพวกแผลเป็น หรือพังผืดต่างๆ ในเนื้อปอด ทำให้เนื้อปอดขาดความยืดหยุ่น
และแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้ไม่ค่อยดีนัก
วันนี้เรามีวิธีง่ายๆ ที่จะช่วยฟื้นฟูสุขภาพปอดมาบอกค่ะ
การบริหารปอด จำเป็นในช่วง 2 สัปดาห์แรกหลังการฟื้นตัวเช่นกัน เรียกว่าเป็นกลยุทธ์การฟื้นฟูสมรรถภาพปอดอย่างหนึ่งที่ได้ผลดี
ทำได้โดยการใช้เครื่องมือทางการแพทย์ ที่เรียกว่า Triflow โดยให้คนไข้ดูดลูกปิงปองที่มีทั้งหมด 3 ลูก ใน 3 ช่อง
ซึ่งจะลอยขึ้นกี่ลูกก็ขึ้นอยู่กับปริมาณลมที่สูดเข้าไป ยิ่งสูดลมเข้าไปมาก ลูกปิงปองก็จะลอยขึ้นเยอะ การดูดลมเข้าปอดโดยใช้เครื่อง Triflow
นั้นจึงถือเป็นเทคนิคการบริหารปอดรูปแบบนึงที่ทำให้ปอดขยายเต็มที่ ช่วยให้ปอดมีความยืดหยุ่นมากขึ้น และค่อยๆ ฟื้นตัวได
ออกกำลังกายเบาๆ สามารถทำได้ในสัปดาห์ที่ 3-4 เป็นต้นไป ในช่วงนี้ร่างกายอาจจะยังมีการอ่อนเพลีย
แต่ปอดอาจจะเริ่มฟื้นตัวบ้างแล้ว จึงต้องมีการออกกำลังกาย มีการเคลื่อนไหวร่างกายมากขึ้น
โดยอาจเริ่มจากการออกกำลังกายเบาๆ เช่น การลุกเดินบ่อยๆ พอร่างกายเริ่มชินแล้วค่อยขยับความหนักขึ้นไป อาจจะเดินให้ไวขึ้น
หรือวิ่ง jogging เบาๆ ก็ได้เช่นกัน
ฝึกการหายใจ บริหารปอด
ควบคุมลมที่หายใจออกมาทางปากช้า ๆ จนกระทั่งลมหมดปอด แล้วหายใจเข้าใหม่ให้ลมเต็มปอดแล้วค่อย ๆ หายใจออกช้า ๆ
เป็นการทำให้พังผืดที่ปอดมีการขยับทำให้ยืดหยุ่นมากขึ้น และปอดจะค่อย ๆ ฟื้นตัวกลับมา
ท่าที่ 1 ฝีกหายใจเข้าลึก ๆ ช้า ๆ หายใจเข้าทางจมูก ยกแขน 2 ข้างขึ้นด้านหน้าหรือด้านข้าง หายใจออกเป่าปากยาว ๆ ผ่อนแขนลง
ท่าที่ 2 วางมือข้างหนึ่งที่หน้าอก อีกข้างใต้ลิ้นปี่ หายใจเข้าทางจมูก ท้องป่องดันมือด้านล่างขึ้น หายใจออกเป่าปาก ท้องยุบ
ทำซ้ำ 5 - 10 รอบ ระหว่างรอบอาจจะมีการพักประมาณ 30 วินาที
ท่าที่ 3 หายใจให้ทรวงอกขยาย วางมือสองข้างที่ชายโครง หายใจเข้าให้ซี่โครงบานออก หายใจออกให้ซี่โครงยุบ ทำซ้ำ 3 - 4 รอบ
ท่าที่ 4 หายใจเข้าลึก ๆ ช้า ๆ ทางจมูก ยกแขน 2 ข้างขึ้นด้านหน้า หายใจออกเป่าปากยาว ๆ ผ่อนแขนลง ทำซ้ำ 5-10 รอบ
ท่าที่ 5 หายใจออกอย่างแรง นั่งโน้มตัวไปด้านหน้า หายใจเข้าค้างไว้ 1-3 วินาที หายใจออกอย่างแรงทางปาก 1-3 ครั้งติดกันโดยไม่หายใจเข้า ทำซ้ำ 1 - 2 รอบ การฝึกหายใจดังกล่าวควรทำซ้ำทุก 1-2 ชั่วโมง
หากมีอาการเหนื่อย หายใจเร็ว แน่นหน้าอก ปวดหัวเวียนหัว ใจสั่น ตามัว เหงื่อออกมาก หรือมีอาการซีดเขียว
ควรหยุดออกกำลังกายทันที ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัวดังที่กล่าวมาข้างต้นควรปรึกษาแพทย์ก่อนออกกำลังกายค่ะ
นอกจากการฟื้นฟู การสร้างภูมิคุ้มกันโดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ก็เป็นเป็นสิ่งสำคัญ
และเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการลดอัตราการป่วยหนักและอัตราการเสียชีวิต ถึงแม้ว่าจะได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว
ก็ควรใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อย ๆ และรักษาระยะห่างทางสังคม เพื่อป้องกันและลดอัตราการติดเชื้อได้อีกด้วยค่ะ
ฝึกหายใจฟื้นฟูปอด หลังจากหายป่วยโควิค
และในคนไข้บางรายก็จะมีอาการปอดอักเสบ จนทำให้ “ปอด” ไม่สามารถกลับมาทำงานได้เต็มศักยภาพเหมือนเดิม
แม้หายจากโรคแล้วการอักเสบอาจทิ้งร่องรอยไว้ในปอดที่เป็นพังผืดหรือแผล ทำให้สมรรถภาพของปอดลดลง
วันนี้มีหมอฝั่งธน...จะมาให้ความรู้ ฝึกหายใจฟื้นฟูปอด หลังจากหายป่วยโควิค
โควิด-19 ทำลาย “ปอด” อย่างไร
เชื้อโควิด-19 นั้นเข้าสู่ร่างกายของเราผ่านทางจมูกหรือปากเข้าสู่ปอด ซึ่งส่งผลกระทบกับระบบทางเดินหายใจโดยตรง
ในระยะแรกของการติดเชื้อ คนไข้จะมีอาการเหมือนติดเชื้อไวรัสทั่วไป เช่น มีไข้ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยเนื้อตัว
แต่อาการทางระบบทางเดินหายใจยังไม่ค่อยเด่นชัดนัก ต่อเมื่อผ่านไปสักระยะหนึ่ง คือราววันที่ 3-4 ของการติดเชื้อ
คนไข้จะเริ่มมีอาการไอ เหนื่อยหอบ แบบค่อยเป็นค่อยไป หากคนไข้ได้รับการเอกซเรย์ปอดจะเริ่มเห็นความผิดปกติ
พบฝ้าขาวเกิดขึ้นในปอดจากฟิล์มเอกซเรย์ ตรงนี้เป็นสิ่งที่ต้องกังวลเนื่องจากหากปล่อยทิ้งไว้ คนไข้จะเริ่มมีภาวะพร่องออกซิเจน
ซึ่งเกิดจากการอักเสบของปอด
โดยทั่วไปแล้วลักษณะเฉพาะของคนที่เป็นโรคโควิด-19 นั้น ปอดอักเสบที่เกิดขึ้นมักเป็นมากกว่า 1 ตำแหน่ง และเป็นที่ปอดทั้ง 2 ข้าง
หากในระยะนี้คนไข้ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที มีการให้ยาที่เหมาะสม ทั้งยาต้านไวรัส ยาสเตียรอยด์ และยาอื่นๆ
ปอดจะค่อยๆ ฟื้นตัวกลับมา แต่มีคนไข้อยู่ประมาณ 10% ที่จะกลายเป็นปอดอักเสบรุนแรง และมีเพียงแค่ 1% เท่านั้นที่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต
เมื่อหายจากโรคโควิด-19 แล้ว การอักเสบของร่างกายอย่างรุนแรงจากเชื้อโควิด-19
จะมีผลทำให้เกิดเป็นรอยโรคพวกแผลเป็นหรือพังผืดต่างๆ ในเนื้อปอด ทำให้เนื้อปอดขาดความยืดหยุ่น
และแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้ไม่ค่อยดีนัก หากตรวจวัดสมรรถภาพปอดจะพบว่า “สมรรถภาพปอด” ต่ำกว่าปกติ
ซึ่งหากอยู่เฉยๆ อาจไม่ค่อยรู้สึก แต่หากต้องไปออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมที่หนักๆ จะรู้สึกเหนื่อยง่ายกว่าปกติมาก
สำหรับผู้ป่วยที่หายจากโควิด-19 แล้ว สภาพของปอดหลังได้รับการรักษา
อาจเกิดเป็นรอยโรคพวกแผลเป็น หรือพังผืดต่างๆ ในเนื้อปอด ทำให้เนื้อปอดขาดความยืดหยุ่น
และแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้ไม่ค่อยดีนัก
วันนี้เรามีวิธีง่ายๆ ที่จะช่วยฟื้นฟูสุขภาพปอดมาบอกค่ะ
การบริหารปอด จำเป็นในช่วง 2 สัปดาห์แรกหลังการฟื้นตัวเช่นกัน เรียกว่าเป็นกลยุทธ์การฟื้นฟูสมรรถภาพปอดอย่างหนึ่งที่ได้ผลดี
ทำได้โดยการใช้เครื่องมือทางการแพทย์ ที่เรียกว่า Triflow โดยให้คนไข้ดูดลูกปิงปองที่มีทั้งหมด 3 ลูก ใน 3 ช่อง
ซึ่งจะลอยขึ้นกี่ลูกก็ขึ้นอยู่กับปริมาณลมที่สูดเข้าไป ยิ่งสูดลมเข้าไปมาก ลูกปิงปองก็จะลอยขึ้นเยอะ การดูดลมเข้าปอดโดยใช้เครื่อง Triflow
นั้นจึงถือเป็นเทคนิคการบริหารปอดรูปแบบนึงที่ทำให้ปอดขยายเต็มที่ ช่วยให้ปอดมีความยืดหยุ่นมากขึ้น และค่อยๆ ฟื้นตัวได
ออกกำลังกายเบาๆ สามารถทำได้ในสัปดาห์ที่ 3-4 เป็นต้นไป ในช่วงนี้ร่างกายอาจจะยังมีการอ่อนเพลีย
แต่ปอดอาจจะเริ่มฟื้นตัวบ้างแล้ว จึงต้องมีการออกกำลังกาย มีการเคลื่อนไหวร่างกายมากขึ้น
โดยอาจเริ่มจากการออกกำลังกายเบาๆ เช่น การลุกเดินบ่อยๆ พอร่างกายเริ่มชินแล้วค่อยขยับความหนักขึ้นไป อาจจะเดินให้ไวขึ้น
หรือวิ่ง jogging เบาๆ ก็ได้เช่นกัน
ฝึกการหายใจ บริหารปอด
ควบคุมลมที่หายใจออกมาทางปากช้า ๆ จนกระทั่งลมหมดปอด แล้วหายใจเข้าใหม่ให้ลมเต็มปอดแล้วค่อย ๆ หายใจออกช้า ๆ
เป็นการทำให้พังผืดที่ปอดมีการขยับทำให้ยืดหยุ่นมากขึ้น และปอดจะค่อย ๆ ฟื้นตัวกลับมา
ท่าที่ 1 ฝีกหายใจเข้าลึก ๆ ช้า ๆ หายใจเข้าทางจมูก ยกแขน 2 ข้างขึ้นด้านหน้าหรือด้านข้าง หายใจออกเป่าปากยาว ๆ ผ่อนแขนลง
ท่าที่ 2 วางมือข้างหนึ่งที่หน้าอก อีกข้างใต้ลิ้นปี่ หายใจเข้าทางจมูก ท้องป่องดันมือด้านล่างขึ้น หายใจออกเป่าปาก ท้องยุบ
ทำซ้ำ 5 - 10 รอบ ระหว่างรอบอาจจะมีการพักประมาณ 30 วินาที
ท่าที่ 3 หายใจให้ทรวงอกขยาย วางมือสองข้างที่ชายโครง หายใจเข้าให้ซี่โครงบานออก หายใจออกให้ซี่โครงยุบ ทำซ้ำ 3 - 4 รอบ
ท่าที่ 4 หายใจเข้าลึก ๆ ช้า ๆ ทางจมูก ยกแขน 2 ข้างขึ้นด้านหน้า หายใจออกเป่าปากยาว ๆ ผ่อนแขนลง ทำซ้ำ 5-10 รอบ
ท่าที่ 5 หายใจออกอย่างแรง นั่งโน้มตัวไปด้านหน้า หายใจเข้าค้างไว้ 1-3 วินาที หายใจออกอย่างแรงทางปาก 1-3 ครั้งติดกันโดยไม่หายใจเข้า ทำซ้ำ 1 - 2 รอบ การฝึกหายใจดังกล่าวควรทำซ้ำทุก 1-2 ชั่วโมง
หากมีอาการเหนื่อย หายใจเร็ว แน่นหน้าอก ปวดหัวเวียนหัว ใจสั่น ตามัว เหงื่อออกมาก หรือมีอาการซีดเขียว
ควรหยุดออกกำลังกายทันที ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัวดังที่กล่าวมาข้างต้นควรปรึกษาแพทย์ก่อนออกกำลังกายค่ะ
นอกจากการฟื้นฟู การสร้างภูมิคุ้มกันโดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ก็เป็นเป็นสิ่งสำคัญ
และเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการลดอัตราการป่วยหนักและอัตราการเสียชีวิต ถึงแม้ว่าจะได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว
ก็ควรใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อย ๆ และรักษาระยะห่างทางสังคม เพื่อป้องกันและลดอัตราการติดเชื้อได้อีกด้วยค่ะ