วิธีฟื้นฟูปอด หลังรอดโควิด-19
อย่างที่พี่หมอเคยเล่าให้ฟังว่า เป้าหมายของเชื้อโควิดเมื่อเข้าสู่ร่างกายก็คือ ปอด เพราะที่ปอดของเราจะมีตัวรับชนิดหนึ่งที่ชื่อ ACE II โดย ACE II ก็คือ แม่กุญแจสำหรับเปิดประตูให้ไวรัสเข้าสู่ร่างกาย เมื่อไวรัสเดินทางมาถึงพร้อมกับแม่กุญแจ หรือที่เราเห็นเป็นหนามแหลมๆ รอบตัวคล้ายมงกุฎ ดังนั้น เมื่อหนามแหลมๆ เจอกับตัวรับ นั่นก็คือ วินาทีที่เกิดการติดเชื้อนั่นเอง 😷
เมื่อเชื้อโควิดโจมตีปอดของเรา ผลกระทบที่ตามมาก็คือ เกิดปัญหาที่ระบบทางเดินหายใจ ซึ่งอาจเริ่มตั้งแต่ไม่มีอาการเลย มีอาการเล็กน้อย หรือรุนแรงจนถึงปอดอักเสบ ซึ่งอาจส่งผลให้เสียชีวิตได้ แถมเมื่อหายแล้วก็ยังทิ้งรอยโรคไว้ เหลือเป็นพังผืดและแผลในปอด ทำให้สมรรถภาพของปอดลดลง หายใจได้ไม่เต็มปอด เหนื่อยง่าย รวมถึงทำกิจกรรมต่างๆ ไม่ได้เหมือนเดิม
ดังนั้น ผู้ที่รักษาตัวจนหายจากโรคโควิด-19 แล้ว จึงจำเป็นต้องฟื้นฟูสมรรถภาพปอดให้กลับมาใช้งานได้ดีเหมือนเดิม ซึ่งจะต้องใช้เวลาอยู่พอสมควรทีเดียว ส่วนจะมีวิธีการอย่างไรบ้าง เดี๋ยววันนี้พี่หมอจะมาเล่าให้ฟัง
ทำไมเชื้อโควิดถึงทำให้ปอดอักเสบ❓
ในระยะแรกๆ เมื่อเชื้อโควิดเข้าสู่ร่างกาย ผู้ป่วยจะมีอาการเหมือนติดเชื้อไวรัสทั่วไป คือ มีไข้ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามร่างกาย ส่วนอาการทางระบบทางเดินหายใจจะยังไม่ค่อยปรากฏชัดนัก จนกระทั่งประมาณวันที่ 3-4 ของการติดเชื้อ ผู้ป่วยจึงจะเริ่มมีอาการไอ และเหนื่อยหอบ ซึ่งถ้าเอกซเรย์ปอดก็จะเริ่มเห็นถึงความผิดปกติ คือมีฝ้าขาวเกิดขึ้น ซึ่งเป็นอาการที่ค่อนข้างน่ากังวล เนื่องจากผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการขาดออกซิเจน และเกิดการอักเสบของปอด จนกลายเป็นปอดอักเสบในที่สุด
โดยทั่วไปแล้ว คนที่เป็นโรคโควิด-19 จะเกิดปอดอักเสบได้มากกว่า 1 ตำแหน่ง โดยมักจะเกิดขึ้น 3-4 ตำแหน่ง และจะเป็นที่ปอดทั้ง 2 ข้าง แต่หากได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที คือได้ยาที่เหมาะสม ทั้งยาต้านไวรัสและยาสเตียรอยด์ ปอดก็จะค่อยๆ ฟื้นตัวกลับมา จะมีประมาณ 10% ที่เป็นปอดอักเสบรุนแรง และมีเพียงแค่ 1% เท่านั้นที่รุนแรงจนเสียชีวิต
ปัจจัยที่ทำให้ปอดถูกทำลาย
เชื้อโควิด นอกจากจะทำให้เกิดปอดอักเสบ ยังทำให้เกิดพังผืดและแผลเป็นต่างๆ ในปอดตามมา ซึ่งจะมีมากน้อยแค่ไหน หรือสามารถฟื้นตัวหลังหายจากโควิดได้มากเท่าไหร่ ขึ้นอยู่กับ
👉 1. ปริมาณของเชื้อที่ได้รับ หรือมีการติดเชื้อชนิดอื่นซ้ำซ้อนหรือไม่
👉 2. พื้นฐานสุขภาพร่างกาย และระบบการตอบสนองของภูมิคุ้มกันต่อเชื้อของผู้ป่วย
👉 3. ความรวดเร็วในการรักษา
สภาพของปอดหลังหายจากโควิด
การอักเสบอย่างรุนแรงหลังติดเชื้อโควิด ทำให้เกิดแผลเป็นและพังผืดต่างๆ ในเนื้อปอด ทำให้เนื้อปอดขาดความยืดหยุ่น และแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้ไม่ดีนัก ซึ่งถ้ามีการตรวจวัดสมรรถภาพปอด จะพบว่าสมรรถภาพปอดต่ำกว่าปกติ ซึ่งถ้าผู้ป่วยไม่ได้ทำอะไรมากก็อาจจะไม่ค่อยรู้สึก แต่ถ้าต้องทำกิจกรรมต่างๆ ที่ต้องใช้แรง ก็อาจจะรู้สึกเหนื่อยง่ายกว่าปกติ
การฟื้นตัวของปอดหลังหายจากโรคโควิด-19 จะแบ่งเป็น 2 ช่วง ช่วงแรก คือ 2 สัปดาห์แรกหลังหายจากโรค สิ่งที่พบคือ ยังคงพบฝ้าขาวที่ปอดในฟิล์มเอกซเรย์ แต่ปริมาณจะน้อยลงเมื่อเทียบกับช่วงที่ติดเชื้อ ส่วนช่วงหลัง คือสัปดาห์ที่ 3-4 หลังหายจากโควิด ร่างกายจะฟื้นฟูกลับมาบ้างแล้ว แต่ผู้ป่วยอาจจะยังรู้สึกอ่อนเพลีย ไม่สดชื่น กระปรี้กระเปร่าเหมือนเดิม 😫
วิธีฟื้นฟูสมรรถภาพปอด มีอยู่ด้วยกัน 3 วิธี คือ
✅ 1.
การฝึกการหายใจ โดยควรทำในช่วง 2 สัปดาห์แรกหลังการฟื้นตัว ซึ่งทำได้โดยการหายใจเข้าทางจมูกจนสุด แล้วควบคุมลมที่หายใจออกมาทางปากช้าๆ หรือพูดคำว่า “อู” ยาวๆ ช้าๆ จนกระทั่งลมหมดปอด แล้วจึงหายใจเข้าใหม่ให้เต็มปอด แล้วค่อยๆ ปล่อยออกช้าๆ เช่นเดิม สาเหตุที่ต้องฝึกการหายใจก็เพราะ ในช่วงที่เป็นโควิดจะมีพังผืดเกิดขึ้นที่ปอด ทำให้เนื้อปอดมีความแข็ง แต่พังผืดนี้เมื่อได้ขยับบ่อยๆ ก็จะมีความยืดหยุ่นมากขึ้น ซึ่งการฝึกการหายใจจะช่วยให้ความยืดหยุ่นของเนื้อปอดค่อยๆ ฟื้นตัวกลับมา
✅ 2.
การบริหารปอด ควรทำในช่วง 2 สัปดาห์แรกหลังการฟื้นตัวเช่นกัน ซึ่งทำได้ด้วยการใช้เครื่องมือทางการแพทย์ที่เรียกว่า Triflow โดยให้ผู้ป่วยดูดลูกปิงปองทั้งหมด 3 ลูกใน 3 ช่อง ซึ่งลูกปิงปองจะลอยขึ้นกี่ลูกก็ขึ้นอยู่กับปริมาณลมที่สูดเข้าไป ยิ่งสูดลมเข้าไปมาก ลูกปิงปองก็จะลอยขึ้นเยอะ การดูดลมเข้าปอดโดยใช้เครื่อง Triflow ถือเป็นเทคนิคการบริหารปอดที่ทำให้ปอดขยายตัวได้เต็มที่ ช่วยให้ปอดมีความยืดหยุ่นมากขึ้น และฟื้นตัวได้ดี
✅ 3.
การออกกำลังกายเบาๆ สามารถทำได้ในสัปดาห์ที่ 3-4 เป็นต้นไป ในช่วงนี้ร่างกายของผู้ป่วยอาจจะยังมีอาการอ่อนเพลีย แต่ปอดจะเริ่มฟื้นตัวแล้ว ดังนั้น จึงควรออกกำลังกายเบาๆ เพื่อให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหวมากขึ้น เช่น การลุกเดินบ่อยๆ ไม่นั่งอยู่เฉยๆ พอร่างกายเริ่มปรับตัวได้ ก็ค่อยๆ ออกกำลังกายให้หนักขึ้น อาจจะเปลี่ยนเป็นเดินเร็ว หรือวิ่งจ๊อกกิ้งก็ได้ แต่ห้ามหักโหมนะครับ
สมรรถภาพปอดของผู้ป่วยที่เพิ่งหายจากโควิด จะยังไม่เป็นปกติ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟู เพื่อให้เนื้อปอดและถุงลมต่างๆ กลับมามีความยืดหยุ่น ซึ่งนอกจากทั้ง 3 วิธีที่พี่หมอบอกมาแล้ว สิ่งที่ผู้ป่วยควรปฏิบัติเมื่ออยู่ในช่วงพักฟื้นก็คือรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่หรือสูดดมควันพิษต่างๆ โดยเฉพาะผู้ที่ผ่านการรักษาตัวมาเป็นเวลานาน และมีอาการรุนแรง เพื่อให้ร่างกายฟื้นตัว และกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้โดยเร็วที่สุด
รักษาสุขภาพกันด้วยนะครับทุกคน 😷😷😷
วิธีฟื้นฟูปอด หลังรอดโควิด-19
อย่างที่พี่หมอเคยเล่าให้ฟังว่า เป้าหมายของเชื้อโควิดเมื่อเข้าสู่ร่างกายก็คือ ปอด เพราะที่ปอดของเราจะมีตัวรับชนิดหนึ่งที่ชื่อ ACE II โดย ACE II ก็คือ แม่กุญแจสำหรับเปิดประตูให้ไวรัสเข้าสู่ร่างกาย เมื่อไวรัสเดินทางมาถึงพร้อมกับแม่กุญแจ หรือที่เราเห็นเป็นหนามแหลมๆ รอบตัวคล้ายมงกุฎ ดังนั้น เมื่อหนามแหลมๆ เจอกับตัวรับ นั่นก็คือ วินาทีที่เกิดการติดเชื้อนั่นเอง 😷
เมื่อเชื้อโควิดโจมตีปอดของเรา ผลกระทบที่ตามมาก็คือ เกิดปัญหาที่ระบบทางเดินหายใจ ซึ่งอาจเริ่มตั้งแต่ไม่มีอาการเลย มีอาการเล็กน้อย หรือรุนแรงจนถึงปอดอักเสบ ซึ่งอาจส่งผลให้เสียชีวิตได้ แถมเมื่อหายแล้วก็ยังทิ้งรอยโรคไว้ เหลือเป็นพังผืดและแผลในปอด ทำให้สมรรถภาพของปอดลดลง หายใจได้ไม่เต็มปอด เหนื่อยง่าย รวมถึงทำกิจกรรมต่างๆ ไม่ได้เหมือนเดิม
ดังนั้น ผู้ที่รักษาตัวจนหายจากโรคโควิด-19 แล้ว จึงจำเป็นต้องฟื้นฟูสมรรถภาพปอดให้กลับมาใช้งานได้ดีเหมือนเดิม ซึ่งจะต้องใช้เวลาอยู่พอสมควรทีเดียว ส่วนจะมีวิธีการอย่างไรบ้าง เดี๋ยววันนี้พี่หมอจะมาเล่าให้ฟัง
ทำไมเชื้อโควิดถึงทำให้ปอดอักเสบ❓
ในระยะแรกๆ เมื่อเชื้อโควิดเข้าสู่ร่างกาย ผู้ป่วยจะมีอาการเหมือนติดเชื้อไวรัสทั่วไป คือ มีไข้ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามร่างกาย ส่วนอาการทางระบบทางเดินหายใจจะยังไม่ค่อยปรากฏชัดนัก จนกระทั่งประมาณวันที่ 3-4 ของการติดเชื้อ ผู้ป่วยจึงจะเริ่มมีอาการไอ และเหนื่อยหอบ ซึ่งถ้าเอกซเรย์ปอดก็จะเริ่มเห็นถึงความผิดปกติ คือมีฝ้าขาวเกิดขึ้น ซึ่งเป็นอาการที่ค่อนข้างน่ากังวล เนื่องจากผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการขาดออกซิเจน และเกิดการอักเสบของปอด จนกลายเป็นปอดอักเสบในที่สุด
โดยทั่วไปแล้ว คนที่เป็นโรคโควิด-19 จะเกิดปอดอักเสบได้มากกว่า 1 ตำแหน่ง โดยมักจะเกิดขึ้น 3-4 ตำแหน่ง และจะเป็นที่ปอดทั้ง 2 ข้าง แต่หากได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที คือได้ยาที่เหมาะสม ทั้งยาต้านไวรัสและยาสเตียรอยด์ ปอดก็จะค่อยๆ ฟื้นตัวกลับมา จะมีประมาณ 10% ที่เป็นปอดอักเสบรุนแรง และมีเพียงแค่ 1% เท่านั้นที่รุนแรงจนเสียชีวิต
ปัจจัยที่ทำให้ปอดถูกทำลาย
เชื้อโควิด นอกจากจะทำให้เกิดปอดอักเสบ ยังทำให้เกิดพังผืดและแผลเป็นต่างๆ ในปอดตามมา ซึ่งจะมีมากน้อยแค่ไหน หรือสามารถฟื้นตัวหลังหายจากโควิดได้มากเท่าไหร่ ขึ้นอยู่กับ
👉 1. ปริมาณของเชื้อที่ได้รับ หรือมีการติดเชื้อชนิดอื่นซ้ำซ้อนหรือไม่
👉 2. พื้นฐานสุขภาพร่างกาย และระบบการตอบสนองของภูมิคุ้มกันต่อเชื้อของผู้ป่วย
👉 3. ความรวดเร็วในการรักษา
สภาพของปอดหลังหายจากโควิด
การอักเสบอย่างรุนแรงหลังติดเชื้อโควิด ทำให้เกิดแผลเป็นและพังผืดต่างๆ ในเนื้อปอด ทำให้เนื้อปอดขาดความยืดหยุ่น และแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้ไม่ดีนัก ซึ่งถ้ามีการตรวจวัดสมรรถภาพปอด จะพบว่าสมรรถภาพปอดต่ำกว่าปกติ ซึ่งถ้าผู้ป่วยไม่ได้ทำอะไรมากก็อาจจะไม่ค่อยรู้สึก แต่ถ้าต้องทำกิจกรรมต่างๆ ที่ต้องใช้แรง ก็อาจจะรู้สึกเหนื่อยง่ายกว่าปกติ
การฟื้นตัวของปอดหลังหายจากโรคโควิด-19 จะแบ่งเป็น 2 ช่วง ช่วงแรก คือ 2 สัปดาห์แรกหลังหายจากโรค สิ่งที่พบคือ ยังคงพบฝ้าขาวที่ปอดในฟิล์มเอกซเรย์ แต่ปริมาณจะน้อยลงเมื่อเทียบกับช่วงที่ติดเชื้อ ส่วนช่วงหลัง คือสัปดาห์ที่ 3-4 หลังหายจากโควิด ร่างกายจะฟื้นฟูกลับมาบ้างแล้ว แต่ผู้ป่วยอาจจะยังรู้สึกอ่อนเพลีย ไม่สดชื่น กระปรี้กระเปร่าเหมือนเดิม 😫
วิธีฟื้นฟูสมรรถภาพปอด มีอยู่ด้วยกัน 3 วิธี คือ
✅ 1. การฝึกการหายใจ โดยควรทำในช่วง 2 สัปดาห์แรกหลังการฟื้นตัว ซึ่งทำได้โดยการหายใจเข้าทางจมูกจนสุด แล้วควบคุมลมที่หายใจออกมาทางปากช้าๆ หรือพูดคำว่า “อู” ยาวๆ ช้าๆ จนกระทั่งลมหมดปอด แล้วจึงหายใจเข้าใหม่ให้เต็มปอด แล้วค่อยๆ ปล่อยออกช้าๆ เช่นเดิม สาเหตุที่ต้องฝึกการหายใจก็เพราะ ในช่วงที่เป็นโควิดจะมีพังผืดเกิดขึ้นที่ปอด ทำให้เนื้อปอดมีความแข็ง แต่พังผืดนี้เมื่อได้ขยับบ่อยๆ ก็จะมีความยืดหยุ่นมากขึ้น ซึ่งการฝึกการหายใจจะช่วยให้ความยืดหยุ่นของเนื้อปอดค่อยๆ ฟื้นตัวกลับมา
✅ 2. การบริหารปอด ควรทำในช่วง 2 สัปดาห์แรกหลังการฟื้นตัวเช่นกัน ซึ่งทำได้ด้วยการใช้เครื่องมือทางการแพทย์ที่เรียกว่า Triflow โดยให้ผู้ป่วยดูดลูกปิงปองทั้งหมด 3 ลูกใน 3 ช่อง ซึ่งลูกปิงปองจะลอยขึ้นกี่ลูกก็ขึ้นอยู่กับปริมาณลมที่สูดเข้าไป ยิ่งสูดลมเข้าไปมาก ลูกปิงปองก็จะลอยขึ้นเยอะ การดูดลมเข้าปอดโดยใช้เครื่อง Triflow ถือเป็นเทคนิคการบริหารปอดที่ทำให้ปอดขยายตัวได้เต็มที่ ช่วยให้ปอดมีความยืดหยุ่นมากขึ้น และฟื้นตัวได้ดี
✅ 3. การออกกำลังกายเบาๆ สามารถทำได้ในสัปดาห์ที่ 3-4 เป็นต้นไป ในช่วงนี้ร่างกายของผู้ป่วยอาจจะยังมีอาการอ่อนเพลีย แต่ปอดจะเริ่มฟื้นตัวแล้ว ดังนั้น จึงควรออกกำลังกายเบาๆ เพื่อให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหวมากขึ้น เช่น การลุกเดินบ่อยๆ ไม่นั่งอยู่เฉยๆ พอร่างกายเริ่มปรับตัวได้ ก็ค่อยๆ ออกกำลังกายให้หนักขึ้น อาจจะเปลี่ยนเป็นเดินเร็ว หรือวิ่งจ๊อกกิ้งก็ได้ แต่ห้ามหักโหมนะครับ
สมรรถภาพปอดของผู้ป่วยที่เพิ่งหายจากโควิด จะยังไม่เป็นปกติ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟู เพื่อให้เนื้อปอดและถุงลมต่างๆ กลับมามีความยืดหยุ่น ซึ่งนอกจากทั้ง 3 วิธีที่พี่หมอบอกมาแล้ว สิ่งที่ผู้ป่วยควรปฏิบัติเมื่ออยู่ในช่วงพักฟื้นก็คือรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่หรือสูดดมควันพิษต่างๆ โดยเฉพาะผู้ที่ผ่านการรักษาตัวมาเป็นเวลานาน และมีอาการรุนแรง เพื่อให้ร่างกายฟื้นตัว และกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้โดยเร็วที่สุด
รักษาสุขภาพกันด้วยนะครับทุกคน 😷😷😷