การเตรียมตัวก่อนดูแลพ่อแม่
ผมมีประสบการณ์ในการดูแลพ่อและแม่ และการับฟังจากเคสอื่นๆ
ตอนที่พ่อผมป่วยหนัก เป็นเวลาหลายเดือน ผมดูแบบพาร์ทไทม์ คือจ้างคนเฝ้าบ้าง
ทำเองบ้าง แน่นอนไม่ค่อยได้เรียนรู้มากนัก
แม่ผมป่วยหนักมาหลายครั้ง จนอาการดีขึ้ัน คือไม่ป่วย แต่เดินไม่ได้ ต้องนั่งเก้าอี้เข็น
ใส่ผ้าอ้อม แต่โชคดีที่ยังช่วยตัวเองได้บ้าง และผมได้ดูแลแม่แบบสมบูรณ์ห้าปีแล้ว
ใครควรเป็นคนดู
ถ้าลูกมีงานทำทุกคนอาจต้องใช้วิธีรวมตังค์กันจ้างคนมาดูแล หรือให้ลูกคนหนึ่งรับหน้าที่นี้ไปเลย
โดยสิ่งที่แปลกคือพ่อแม่มักต้องจับคู่กับลูกที่เกเรหรือไม่มีงานประจำ
ถ้าคนที่เป็นครอบครัวใหญ่แบบทางอีสานที่มีคนอยู่บ้านเดียวกันเป็นสิบอาจไม่ใช่ปัญหา แต่ครอบครัวแบบนี้มีน้อย
การเตรียมตัวของคนดูแล
หลักสำคัญที่สุดคือ
1. คนดูแลเองต้องอยู่ได้ เช่นมีเงินใช้เพียงพอ ถ้าต้องออกจากงาน ญาติพี่น้องก็ต้องช่วยจ่ายเงินให้คุณ จะต้องไม่มีการกอดคอกันจมลงไปทั้งพ่อแม่และตัวคุณเอง
สมมุติคุณอยู่ตัวคนเดียวและต้องเลี้ยงพ่อหรือแม่ คุณจะต้องทำงานตามปกติ ทำเท่าที่ทำได้เท่านั้น อะไรจะเกิดก็ต้องเกิด
หลักการนี้ก็เช่นเดียวกับเวลาขึ้นเครื่องบิน คุณต้องใส่ออกซิเจนให้ตัวคุณเองก่อน จึงค่อยใส่ให้คนอื่นที่อ่อนแอกว่า
2. ตัวคุณควรเป็นคนที่ได้อะไรจากพ่อแม่บ้าง ไม่ใช่เป็นศูนย์ เคยมีกรณีแบบที่พ่อแม่ให้ทุกอย่างกับลูกคนหนึ่ง แต่มาอยู่กับลูกอีกคนหนึ่ง แบบนี้มักไปไม่รอด
3. ควรหาความรู้ในการดูแลผู้ป่วย หรือคนสูงอายุ เช่นโภชนาการ หลักการป้องกันการติดเชื้อ ยิ่งรู้มากก็ยิ่งประหยัดและได้ผลดี
4. ไม่วิตกกังวลจนเกิดเหตุ เพราะจริงๆแล้วอาจไม่ลำบากเหมือนที่คุณคิด ไม่ซื้อของมากมายเตรียมไว้
5. ระวังอย่าให้เกิดโรคจากการทำงาน เช่นปวดหลัง ปวดเอว เท้าเปื่อย รวมทั้งระวังความเสี่ยงทางกฎหมาย
การเตรียมตัวทางการเงิน
ผมให้ความสำคัญกับการอยู่รอดและการวางแผนอย่างละเอียด
ค้นหาสิทธิฟรีของคุณพ่อคุณแม่ทุกชนิด เช่นประกันสังคม สิทธิบำนาญ ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ
ที่ไม่ควรมองข้ามคือบัตร ATM ที่มีประกันอุบัติเหตุ ซึ่งอาจเกิดได้แม้แต่ผู้ป่วยติดเตียง เช่นตกเตียงแขนหัก
เตรียมเอกสารเช่นบัตรประชาชนไว้เสมอ
เพราะคนสูงอายุอาจทำบัตรหายไปนานแล้ว แค่รักษาฟรีได้ปัญหาก็หมดไป 60 เปอร์เซนต์แล้ว
ประมาณค่าใช้จ่าย
- ค่าผ้าอ้อม วันละอย่างน้อยสามผืน ผ้าอ้อมราคาต่างกันมากในแต่ละร้าน แต่ต้องไม่เกิน 15 บาท
คือกระสอบละ 30 ผืน ราคาต้องไม่เกิน 450 บาท เดือนหนึ่งจะใช้สามกระสอบ รวม 1350 บาทแล้ว
ผ้าอ้อมเป็นอะไรที่ราคาต่างกันมาก เช่นบางร้านขาย 520 บางร้านขาย 420 ต้องพยายามหาแหล่งถูก
- ค่าผ้ารองซับ แผ่นละ 8 บาท ควรใช้ไม่เกินวันละ 1 ผืน เพราะส่วนใหญ่จะถูกผ้าอ้อมซับไว้ รวมเดือนละ 240 บาท
- ค่าอาหาร ถ้าแม่กินได้ วันละ 40 บาท คือซื้อโจ๊กหรือข้าวมากล่องเดียวกินได้ทั้งวัน
เคล็ดลับคืออาหารที่ซื้อมามักไม่มีผัก เต็มไปด้วยเครื่องปรุงและข้าวเปล่า เราก็เพียงแต่ซื้อผักราคาถูกมาใส่ เช่นแครอท มะเขือเทศ แตงกวา วันละสัก 20 บาท รวมค่าอาหาระเดือนละ 1800 บาท
- ค่าถุงมือ กล่องละ 250 บาท ไม่ควรใช้เกินเดือนละกล่อง
ที่ออฟฟิศเมตขายกล่องละ 150 บาท
ถ้าไม่สกปรกมากพยายามนำกลับมาใช้ โดยล้างให้สะอาดก่อนถอดเหมือนล้างมือ
- ค่าทิชชู แป้ง โลชั่นซึ่งเดี๋ยวนี้โึคตรแพง ราวๆเดือนละ 500 บาท
รวมแล้วเดือนหนึ่งต้องใช้เงินราว 4140 ถ้าให้ดีก็เผื่อค่าขนมไว้ด้วย สรุปแล้วเดือนละ 5000 บาท พยายามขอค่าผู้สุงอายุเดือนละ 88 –1000 บาท จะช่วยได้เยอะ
ไม่ใช้เงินเกินควร เช่นอาจไม่จำเป็นต้องใช้เตียงแบบโรงพยาบาล แต่ควรซื้อที่นอนลม ผ้ายางปูเตียงสามารถใช้ถุงผ้าอ้อมทำได้ ฯลฯ
ทิป แอนด์ ทริค
ผมพยายามให้ข้อคิด แต่ไม่ลงลึกถึงเทคนิก
1.พยายามทำตัวให้กลมกลืน(ซิงค์) ไปกับคุณแม่ เช่นอาบน้ำ กินข้าว ในเวลาใกล้เคียงกัน รวมทั้งเวลานอน
สำคัญมาก เช่นแม่ผมชอบนอนตอนสองทุ่มและตื่นตีหนึ่ง ผมก็นอนเวลาเดียวกันและตื่นพร้อมกัน เปลี่ยนผ้าอ้อม แล้วไม่นอน แม่ก็ดูยูทูบไป ผมก็พิมพ์งานไป
2.กินอาหารให้คล้ายๆกัน เช่นแม่กินอาหารปั่นที่ใช้ฟักทอง แครอท
คุณก็กินสลัดฟักทอง แครอทไปด้วย มันจะง่ายแล้วไม่เหนื่อยมาก
3. ควรมีเก้าอี้เข็นไว้ แล้วพาคุณแม่เข้าห้องน้ำ เว้นแต่ไม่รู้ตัวจริงๆ เพราะการที่คนป่วยเข้าห้องน้ำจะทำให้ท่านรู้สึกดีกับชีวิตมาก และสะดวกกับเรา
ไม่ควรใช้เบดแพน เพราะทำให้เราเหนื่อยมาก หลังหักได้
4.ไม่ซื้อ ไม่กิน อาหารเสริมทุกชนิด อย่างมากก็ให้กินนมถั่วเหลือง หรือนมจริง ถ้าคนไข้รู้ตัว ควรเสริมด้วยกาแฟวันละแก้ว กันสมองเสื่อม(ความเห็นส่วนตัว)
5.ยูทูบและติ๊กต๊อกสำคัญมาก ผมเอาขึ้นจอทีวีให้แม่ดูหมาแมวเล่นกัน ทั้งวัน สลับกับข่าวการเมือง
6. มองหาข้อดีของการได้เลี้ยงคุณแม่ หรือคุณพ่อ เช่นทำให้คุณได้ค้นพบตัวเอง
เพราะความเป็นคุณนั้นมักแฝงอยู่ในตัวของพ่อแม่
ความเจ้าอารมณ์ ความงี่เง่า การเอาความคิดของตัวเองเป็นใหญ่
คิดบวก เช่นคุณแม่ติดเตียงแบบไปไหนไม่ได้ ก็ดีกว่าคนที่แม่เป็นอัลไซเมอร์ชอบวิ่งหนี
หรือถ้าแม่เป็นอัลไซเมอร์ชอบวิ่งหนีก็ถือว่าดีกว่าติดเตียง
7. หลีกเลี่ยงการด่าว่า การทำร้ายพ่อแม่ การด่ากันพบบ่อยมาก
คนเลี้ยงคนแก่มักมีความอดทนต่ำ เช่นกรณีผู้สูงอายุชอบหนีออกจากบ้าน หรือทำสกปรก
เช่นดึงผ้าอ้อมออกแล้วฉี่ ดีที่สุดคือตำหนิแต่อย่าด่า
ถ้าท่านความจำเสื่อม ตำหนิไปก็จำไม่ได้อยู่ดี ส่วนการทุบตี ทำร้ายนั้นห้ามขาด
การทุบตี ทำร้าย ส่วนหนึ่งเกิดจากประเพณีปฏิบัติในครอบครัว
8. ถ้าเป็นบางโรคที่คุมเองได้ง่ยๆ เช่นความดัน ไขมันสูงนานๆไปโรงพยาบาลครั้ง
พยามยามรับยาที่ รพ.สต.ใกล้บ้าน หัดใส่สายอาหารเอง หัดสวนก้นเอง ดูดเสมหะเอง
9. พยายามประหยัดให้มากที่สุด เช่นถุงมือใช้เสร็จแล้วให้ผึ่งแห้งใช้ได้อีกสองสามครั้ง ถ้าไม่สกปรกมาก
10.คนเลี้ยงต้องออกกำลังกายทุกวัน ก่อนพ่อแม่ตื่น ทำแพลงก์หรือโยคะ เพื่อกันปวดหลัง
ความเสี่ยงทางกฎหมาย
เป็นไปได้ทั้งสองทาง เช่น
1.เกิดอาการแทรกซ้อนในระหว่างการดูแล
เช่นผู้ป่วยสำลักอาหาร หรือหกล้มบาดเจ็บ หรือเจ็บป่วยด้วยเหตุใดก็ตาม
ทำให้ญาติที่ไม่ค่อยดูแลโทษคุณ ซึ่งอาจรุนแรงมาก เพราะเขารู้สึกผิดอยู่แล้ว
2. ผู้ป่วยใส่ร้าย กรณีนี้ก็พบบ่อย
บางคนอาจไม่เชื่อว่าคนป่วยติดเตียงสามารถแต่งเรื่องได้
แต่เขาเชื่อแบบนั้นจริงๆ ที่เจอบ่อยคือคนสูงอายุชอบกล่าวโทษคนดูแลว่าขโมยของ
วิธีแก้คือต้องติดกล้องวงจรปิด เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่าย
โรคที่คนดูแลชอบป่วยเอง
1.ปวดหลัง อย่ายกของหนัก
ใช้ผ้าอ้อมอย่าใช้เบดแพน
อย่าโชว์พลัง เช่นอุ้มคนป่วยไปมา ถ้าต้องยกของหนักผมแนะนำให้นั่งยองๆ แล้วยกโดยเอาศอกวางไว้บนเข่า
อย่าลืมว่าถ้าคนดูแลปวดหลังคือจบเลย
2.มือเปื่อย จากการซักผ้าเยอะ+ทำอาหารเยอะ ทำให้เสียชั้นไขมัน ร่วมกับการแพ้ผงซักฟอกฯลฯ ควรใส่ถุงมือเสมอ
3.เท้าเปื่อย จากการยืนที่แฉะๆ ทั้งวัน ควรใส่รองเท้าบู้ท หรือรองเท้าแตะที่หนาๆ แต่รองเท้าบู้ทช่วยได้มากกว่าเยอะ
4.โรคที่ติดจากคนไข้ เช่นวัณโรค ตับอักเสบ
5.โรคภูมิแพ้เช่นเวลาทำความสะอาดเตียง ฝุ่นแป้งเก่าๆปนกับความชื้นมักฟุ้งขึ้นมา
สุดท้าย ผมจะให้ข้อคิดอย่างหนึ่ง คือการดูแลพ่อแม่นั้น
- เป็นเรื่องระหว่างคุณกับพ่อแม่ เป็นเรื่องของมนุษย์สองคน คุณรักพ่อแม่แค่ไหน หรือไม่รักเลย
เป็นส่วนสำคัญในการตัดสินใจ
คำถามในพันทิปที่พบบ่อยๆ เช่นพ่อทิ้งไปตั้งแต่เกิด
พอแก่จะขอให้เราลาออกจากงานไปดูแล ถ้าใช้หลักนี้จะตอบง่าย
ในสังคมไทยนั้นคนชอบใช้คุณธรรมมาบังคับคนอื่น
- หลีกเลี่ยงแนวคิดแบบเพ้อฝันที่ไม่สามารถประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติ
เช่นคำว่า “พระในบ้าน” คนสูงอายุ นั้นเมื่ออายุมากขึ้นเรื่อยๆ ก็จะหลง
ความร้าย ความหยาบคาย จะออกมาหมด บางทีถึงขนาดที่คนรับไม่ได้
ถ้าคุณคาดหวังสูงก็จะผิดหวัง คนที่บัญญัติคำที่ซาบซึ้งต่างๆนี้อาจเป็นเพียงผู้ไม่รู้จริงเท่านั้นเอง
- ญาติที่ไม่ค่อยได้ดูแลจะรู้สึกผิดบาป
ถ้าคุณพลาดเขาจะอัดคุณแน่ เพื่อให้รู้สึกว่าคุณก็ไม่ได้ดีกว่าเขา
คุณจึงต้องวางตัวแบบมืออาชีพเสมอ เช่นประเมินความเสี่ยงในทุกอย่าง
คำแนะนำก่อนเริ่มให้การดูแลพ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่ที่ติดเตียง
ผมมีประสบการณ์ในการดูแลพ่อและแม่ และการับฟังจากเคสอื่นๆ
ตอนที่พ่อผมป่วยหนัก เป็นเวลาหลายเดือน ผมดูแบบพาร์ทไทม์ คือจ้างคนเฝ้าบ้าง
ทำเองบ้าง แน่นอนไม่ค่อยได้เรียนรู้มากนัก
แม่ผมป่วยหนักมาหลายครั้ง จนอาการดีขึ้ัน คือไม่ป่วย แต่เดินไม่ได้ ต้องนั่งเก้าอี้เข็น
ใส่ผ้าอ้อม แต่โชคดีที่ยังช่วยตัวเองได้บ้าง และผมได้ดูแลแม่แบบสมบูรณ์ห้าปีแล้ว
ใครควรเป็นคนดู
ถ้าลูกมีงานทำทุกคนอาจต้องใช้วิธีรวมตังค์กันจ้างคนมาดูแล หรือให้ลูกคนหนึ่งรับหน้าที่นี้ไปเลย
โดยสิ่งที่แปลกคือพ่อแม่มักต้องจับคู่กับลูกที่เกเรหรือไม่มีงานประจำ
ถ้าคนที่เป็นครอบครัวใหญ่แบบทางอีสานที่มีคนอยู่บ้านเดียวกันเป็นสิบอาจไม่ใช่ปัญหา แต่ครอบครัวแบบนี้มีน้อย
การเตรียมตัวของคนดูแล
หลักสำคัญที่สุดคือ
1. คนดูแลเองต้องอยู่ได้ เช่นมีเงินใช้เพียงพอ ถ้าต้องออกจากงาน ญาติพี่น้องก็ต้องช่วยจ่ายเงินให้คุณ จะต้องไม่มีการกอดคอกันจมลงไปทั้งพ่อแม่และตัวคุณเอง
สมมุติคุณอยู่ตัวคนเดียวและต้องเลี้ยงพ่อหรือแม่ คุณจะต้องทำงานตามปกติ ทำเท่าที่ทำได้เท่านั้น อะไรจะเกิดก็ต้องเกิด
หลักการนี้ก็เช่นเดียวกับเวลาขึ้นเครื่องบิน คุณต้องใส่ออกซิเจนให้ตัวคุณเองก่อน จึงค่อยใส่ให้คนอื่นที่อ่อนแอกว่า
2. ตัวคุณควรเป็นคนที่ได้อะไรจากพ่อแม่บ้าง ไม่ใช่เป็นศูนย์ เคยมีกรณีแบบที่พ่อแม่ให้ทุกอย่างกับลูกคนหนึ่ง แต่มาอยู่กับลูกอีกคนหนึ่ง แบบนี้มักไปไม่รอด
3. ควรหาความรู้ในการดูแลผู้ป่วย หรือคนสูงอายุ เช่นโภชนาการ หลักการป้องกันการติดเชื้อ ยิ่งรู้มากก็ยิ่งประหยัดและได้ผลดี
4. ไม่วิตกกังวลจนเกิดเหตุ เพราะจริงๆแล้วอาจไม่ลำบากเหมือนที่คุณคิด ไม่ซื้อของมากมายเตรียมไว้
5. ระวังอย่าให้เกิดโรคจากการทำงาน เช่นปวดหลัง ปวดเอว เท้าเปื่อย รวมทั้งระวังความเสี่ยงทางกฎหมาย
การเตรียมตัวทางการเงิน
ผมให้ความสำคัญกับการอยู่รอดและการวางแผนอย่างละเอียด
ค้นหาสิทธิฟรีของคุณพ่อคุณแม่ทุกชนิด เช่นประกันสังคม สิทธิบำนาญ ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ
ที่ไม่ควรมองข้ามคือบัตร ATM ที่มีประกันอุบัติเหตุ ซึ่งอาจเกิดได้แม้แต่ผู้ป่วยติดเตียง เช่นตกเตียงแขนหัก
เตรียมเอกสารเช่นบัตรประชาชนไว้เสมอ
เพราะคนสูงอายุอาจทำบัตรหายไปนานแล้ว แค่รักษาฟรีได้ปัญหาก็หมดไป 60 เปอร์เซนต์แล้ว
ประมาณค่าใช้จ่าย
- ค่าผ้าอ้อม วันละอย่างน้อยสามผืน ผ้าอ้อมราคาต่างกันมากในแต่ละร้าน แต่ต้องไม่เกิน 15 บาท
คือกระสอบละ 30 ผืน ราคาต้องไม่เกิน 450 บาท เดือนหนึ่งจะใช้สามกระสอบ รวม 1350 บาทแล้ว
ผ้าอ้อมเป็นอะไรที่ราคาต่างกันมาก เช่นบางร้านขาย 520 บางร้านขาย 420 ต้องพยายามหาแหล่งถูก
- ค่าผ้ารองซับ แผ่นละ 8 บาท ควรใช้ไม่เกินวันละ 1 ผืน เพราะส่วนใหญ่จะถูกผ้าอ้อมซับไว้ รวมเดือนละ 240 บาท
- ค่าอาหาร ถ้าแม่กินได้ วันละ 40 บาท คือซื้อโจ๊กหรือข้าวมากล่องเดียวกินได้ทั้งวัน
เคล็ดลับคืออาหารที่ซื้อมามักไม่มีผัก เต็มไปด้วยเครื่องปรุงและข้าวเปล่า เราก็เพียงแต่ซื้อผักราคาถูกมาใส่ เช่นแครอท มะเขือเทศ แตงกวา วันละสัก 20 บาท รวมค่าอาหาระเดือนละ 1800 บาท
- ค่าถุงมือ กล่องละ 250 บาท ไม่ควรใช้เกินเดือนละกล่อง
ที่ออฟฟิศเมตขายกล่องละ 150 บาท
ถ้าไม่สกปรกมากพยายามนำกลับมาใช้ โดยล้างให้สะอาดก่อนถอดเหมือนล้างมือ
- ค่าทิชชู แป้ง โลชั่นซึ่งเดี๋ยวนี้โึคตรแพง ราวๆเดือนละ 500 บาท
รวมแล้วเดือนหนึ่งต้องใช้เงินราว 4140 ถ้าให้ดีก็เผื่อค่าขนมไว้ด้วย สรุปแล้วเดือนละ 5000 บาท พยายามขอค่าผู้สุงอายุเดือนละ 88 –1000 บาท จะช่วยได้เยอะ
ไม่ใช้เงินเกินควร เช่นอาจไม่จำเป็นต้องใช้เตียงแบบโรงพยาบาล แต่ควรซื้อที่นอนลม ผ้ายางปูเตียงสามารถใช้ถุงผ้าอ้อมทำได้ ฯลฯ
ทิป แอนด์ ทริค
ผมพยายามให้ข้อคิด แต่ไม่ลงลึกถึงเทคนิก
1.พยายามทำตัวให้กลมกลืน(ซิงค์) ไปกับคุณแม่ เช่นอาบน้ำ กินข้าว ในเวลาใกล้เคียงกัน รวมทั้งเวลานอน
สำคัญมาก เช่นแม่ผมชอบนอนตอนสองทุ่มและตื่นตีหนึ่ง ผมก็นอนเวลาเดียวกันและตื่นพร้อมกัน เปลี่ยนผ้าอ้อม แล้วไม่นอน แม่ก็ดูยูทูบไป ผมก็พิมพ์งานไป
2.กินอาหารให้คล้ายๆกัน เช่นแม่กินอาหารปั่นที่ใช้ฟักทอง แครอท
คุณก็กินสลัดฟักทอง แครอทไปด้วย มันจะง่ายแล้วไม่เหนื่อยมาก
3. ควรมีเก้าอี้เข็นไว้ แล้วพาคุณแม่เข้าห้องน้ำ เว้นแต่ไม่รู้ตัวจริงๆ เพราะการที่คนป่วยเข้าห้องน้ำจะทำให้ท่านรู้สึกดีกับชีวิตมาก และสะดวกกับเรา
ไม่ควรใช้เบดแพน เพราะทำให้เราเหนื่อยมาก หลังหักได้
4.ไม่ซื้อ ไม่กิน อาหารเสริมทุกชนิด อย่างมากก็ให้กินนมถั่วเหลือง หรือนมจริง ถ้าคนไข้รู้ตัว ควรเสริมด้วยกาแฟวันละแก้ว กันสมองเสื่อม(ความเห็นส่วนตัว)
5.ยูทูบและติ๊กต๊อกสำคัญมาก ผมเอาขึ้นจอทีวีให้แม่ดูหมาแมวเล่นกัน ทั้งวัน สลับกับข่าวการเมือง
6. มองหาข้อดีของการได้เลี้ยงคุณแม่ หรือคุณพ่อ เช่นทำให้คุณได้ค้นพบตัวเอง
เพราะความเป็นคุณนั้นมักแฝงอยู่ในตัวของพ่อแม่
ความเจ้าอารมณ์ ความงี่เง่า การเอาความคิดของตัวเองเป็นใหญ่
คิดบวก เช่นคุณแม่ติดเตียงแบบไปไหนไม่ได้ ก็ดีกว่าคนที่แม่เป็นอัลไซเมอร์ชอบวิ่งหนี
หรือถ้าแม่เป็นอัลไซเมอร์ชอบวิ่งหนีก็ถือว่าดีกว่าติดเตียง
7. หลีกเลี่ยงการด่าว่า การทำร้ายพ่อแม่ การด่ากันพบบ่อยมาก
คนเลี้ยงคนแก่มักมีความอดทนต่ำ เช่นกรณีผู้สูงอายุชอบหนีออกจากบ้าน หรือทำสกปรก
เช่นดึงผ้าอ้อมออกแล้วฉี่ ดีที่สุดคือตำหนิแต่อย่าด่า
ถ้าท่านความจำเสื่อม ตำหนิไปก็จำไม่ได้อยู่ดี ส่วนการทุบตี ทำร้ายนั้นห้ามขาด
การทุบตี ทำร้าย ส่วนหนึ่งเกิดจากประเพณีปฏิบัติในครอบครัว
8. ถ้าเป็นบางโรคที่คุมเองได้ง่ยๆ เช่นความดัน ไขมันสูงนานๆไปโรงพยาบาลครั้ง
พยามยามรับยาที่ รพ.สต.ใกล้บ้าน หัดใส่สายอาหารเอง หัดสวนก้นเอง ดูดเสมหะเอง
9. พยายามประหยัดให้มากที่สุด เช่นถุงมือใช้เสร็จแล้วให้ผึ่งแห้งใช้ได้อีกสองสามครั้ง ถ้าไม่สกปรกมาก
10.คนเลี้ยงต้องออกกำลังกายทุกวัน ก่อนพ่อแม่ตื่น ทำแพลงก์หรือโยคะ เพื่อกันปวดหลัง
ความเสี่ยงทางกฎหมาย
เป็นไปได้ทั้งสองทาง เช่น
1.เกิดอาการแทรกซ้อนในระหว่างการดูแล
เช่นผู้ป่วยสำลักอาหาร หรือหกล้มบาดเจ็บ หรือเจ็บป่วยด้วยเหตุใดก็ตาม
ทำให้ญาติที่ไม่ค่อยดูแลโทษคุณ ซึ่งอาจรุนแรงมาก เพราะเขารู้สึกผิดอยู่แล้ว
2. ผู้ป่วยใส่ร้าย กรณีนี้ก็พบบ่อย
บางคนอาจไม่เชื่อว่าคนป่วยติดเตียงสามารถแต่งเรื่องได้
แต่เขาเชื่อแบบนั้นจริงๆ ที่เจอบ่อยคือคนสูงอายุชอบกล่าวโทษคนดูแลว่าขโมยของ
วิธีแก้คือต้องติดกล้องวงจรปิด เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่าย
โรคที่คนดูแลชอบป่วยเอง
1.ปวดหลัง อย่ายกของหนัก
ใช้ผ้าอ้อมอย่าใช้เบดแพน
อย่าโชว์พลัง เช่นอุ้มคนป่วยไปมา ถ้าต้องยกของหนักผมแนะนำให้นั่งยองๆ แล้วยกโดยเอาศอกวางไว้บนเข่า
อย่าลืมว่าถ้าคนดูแลปวดหลังคือจบเลย
2.มือเปื่อย จากการซักผ้าเยอะ+ทำอาหารเยอะ ทำให้เสียชั้นไขมัน ร่วมกับการแพ้ผงซักฟอกฯลฯ ควรใส่ถุงมือเสมอ
3.เท้าเปื่อย จากการยืนที่แฉะๆ ทั้งวัน ควรใส่รองเท้าบู้ท หรือรองเท้าแตะที่หนาๆ แต่รองเท้าบู้ทช่วยได้มากกว่าเยอะ
4.โรคที่ติดจากคนไข้ เช่นวัณโรค ตับอักเสบ
5.โรคภูมิแพ้เช่นเวลาทำความสะอาดเตียง ฝุ่นแป้งเก่าๆปนกับความชื้นมักฟุ้งขึ้นมา
สุดท้าย ผมจะให้ข้อคิดอย่างหนึ่ง คือการดูแลพ่อแม่นั้น
- เป็นเรื่องระหว่างคุณกับพ่อแม่ เป็นเรื่องของมนุษย์สองคน คุณรักพ่อแม่แค่ไหน หรือไม่รักเลย
เป็นส่วนสำคัญในการตัดสินใจ
คำถามในพันทิปที่พบบ่อยๆ เช่นพ่อทิ้งไปตั้งแต่เกิด
พอแก่จะขอให้เราลาออกจากงานไปดูแล ถ้าใช้หลักนี้จะตอบง่าย
ในสังคมไทยนั้นคนชอบใช้คุณธรรมมาบังคับคนอื่น
- หลีกเลี่ยงแนวคิดแบบเพ้อฝันที่ไม่สามารถประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติ
เช่นคำว่า “พระในบ้าน” คนสูงอายุ นั้นเมื่ออายุมากขึ้นเรื่อยๆ ก็จะหลง
ความร้าย ความหยาบคาย จะออกมาหมด บางทีถึงขนาดที่คนรับไม่ได้
ถ้าคุณคาดหวังสูงก็จะผิดหวัง คนที่บัญญัติคำที่ซาบซึ้งต่างๆนี้อาจเป็นเพียงผู้ไม่รู้จริงเท่านั้นเอง
- ญาติที่ไม่ค่อยได้ดูแลจะรู้สึกผิดบาป
ถ้าคุณพลาดเขาจะอัดคุณแน่ เพื่อให้รู้สึกว่าคุณก็ไม่ได้ดีกว่าเขา
คุณจึงต้องวางตัวแบบมืออาชีพเสมอ เช่นประเมินความเสี่ยงในทุกอย่าง