คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 9
สงสัยคล้ายๆ เราเลยค่ะ เราก็เคยหาคำตอบ อยากจะอ้างอิงพระสูตรหรือหลักการในตำรา แต่ก็ยังไม่เจอที่ใกล้เคียงค่ะ
โดยรวมแล้ว เราก็โน้มเอียงไปทางที่จะไม่สนับสนุนเรื่องที่ก่อโทษค่ะ ถึงแม้มันจะมีรายได้ หรือมีประโยชน์อื่นๆ ตามมา แต่เรามองว่ามันชดเชยกันไม่ได้ และเราเห็นด้วยกับประโยคที่กระทู้บอกว่า "การทำให้มันเข้าถึงได้ง่ายขึ้น" ... มันเป็นภัยมากกว่าเป็นประโยชน์ค่ะ
แต่เราก็เข้าใจนะคะในโลกนี้ เรื่องผลประโยชน์ รายได้อะไรต่างๆ มันเกี่ยวพันกับกิเลสของผู้คน
ส่วนเรื่องทางโลกกับเรื่องทางธรรม เรามองว่า จะมองให้มันแยกกันก็ได้ แต่สำหรับเรา เรามองว่า แก่นคำสอนของพระพุทธองค์
ไม่ได้ชี้ไปในทางที่ว่า เรื่องทางโลกและทางธรรม...แยกจากกัน และในทางตรงข้าม คือ แนวทางพุทธ เป็นการประสานเรื่องทางธรรม
ให้เข้ากับทางโลกค่ะ แต่ที่เป็นปัญหาในทุกวันนี้ ก็เพราะปัญญาและเจตนาของมนุษย์นี่แหละค่ะ ที่ไม่สามารถประสานทางโลกกับทางธรรม
ให้มันเข้าหากันได้ ทำให้เป็นปัญหาในทุกวันนี้ กรณีนี้ เราได้ฟังท่าน ป.อ. ปยุตโตแนะนำไว้ค่ะ เอาเป็นว่า สิ่งที่เราเขียน
เราไม่ได้มีปัญญามากขนาดน้านนนน 555 เราได้ฟังมาจากคลิปนี้ค่ะ
....การประสานธรรมะเข้ากับสังคม (เรื่อง"สมมติ") โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ปยุตฺโต)
โดยรวมแล้ว เราก็โน้มเอียงไปทางที่จะไม่สนับสนุนเรื่องที่ก่อโทษค่ะ ถึงแม้มันจะมีรายได้ หรือมีประโยชน์อื่นๆ ตามมา แต่เรามองว่ามันชดเชยกันไม่ได้ และเราเห็นด้วยกับประโยคที่กระทู้บอกว่า "การทำให้มันเข้าถึงได้ง่ายขึ้น" ... มันเป็นภัยมากกว่าเป็นประโยชน์ค่ะ
แต่เราก็เข้าใจนะคะในโลกนี้ เรื่องผลประโยชน์ รายได้อะไรต่างๆ มันเกี่ยวพันกับกิเลสของผู้คน
ส่วนเรื่องทางโลกกับเรื่องทางธรรม เรามองว่า จะมองให้มันแยกกันก็ได้ แต่สำหรับเรา เรามองว่า แก่นคำสอนของพระพุทธองค์
ไม่ได้ชี้ไปในทางที่ว่า เรื่องทางโลกและทางธรรม...แยกจากกัน และในทางตรงข้าม คือ แนวทางพุทธ เป็นการประสานเรื่องทางธรรม
ให้เข้ากับทางโลกค่ะ แต่ที่เป็นปัญหาในทุกวันนี้ ก็เพราะปัญญาและเจตนาของมนุษย์นี่แหละค่ะ ที่ไม่สามารถประสานทางโลกกับทางธรรม
ให้มันเข้าหากันได้ ทำให้เป็นปัญหาในทุกวันนี้ กรณีนี้ เราได้ฟังท่าน ป.อ. ปยุตโตแนะนำไว้ค่ะ เอาเป็นว่า สิ่งที่เราเขียน
เราไม่ได้มีปัญญามากขนาดน้านนนน 555 เราได้ฟังมาจากคลิปนี้ค่ะ
....การประสานธรรมะเข้ากับสังคม (เรื่อง"สมมติ") โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ปยุตฺโต)
แสดงความคิดเห็น
ขอหลักธรรมอ้างอิง เรื่อง "การนำสิ่งไม่ดีที่อยู่ใต้ดิน มาไว้บนดิน เพื่อง่ายต่อการควบคุม"
อยากจะรบกวนผู้รู้ทางตำรา ระบุให้หน่อยครับว่า
แนวคิดเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ พระพุทธองค์ทรงให้คำแนะนำไว้อย่างไร?
อยู่ในตำราส่วนไหนหรือหลักธรรมข้อไหน ???
ประเด็น คือ เรื่องที่เป็น อกุศล หรือสร้างโทษให้แก่ผู้คน
เช่น ยาเสพติด การพนัน การค้าประเวณี และอื่นๆ อีกหลายเรื่อง
ยกตัวอย่าง เรื่องการพนัน ละกันครับ
ก็จะมีแนวคิดของคนในสังคม ขอแบ่งเป็น 2 ฝ่ายใหญ่ๆ ละกันครับ คือ
ฝ่ายที่ 1. สนับสนุนให้เอาการพนัน การเปิดบ่อน ฯลฯ ที่เป็นเรื่อง "ใต้ดิน" ต้องหลบซ่อน แอบทำกัน
เอาเรื่องพวกนี้ให้มาอยู่ "บนดิน" โดยแก้กฎหมายให้มันถูกต้อง รัดกุม
แล้วอ้างว่า เพื่อเอารายได้ไปชดเชยปัญหาทางสังคม สร้างงาน กระตุ้นเศรษฐกิจ
ง่ายต่อการควบคุม ลดมาเฟียใต้ดินที่หาประโยชน์จากเรื่องใต้ดิน .... ฯลฯ
สรุปสั้นๆ คือ มันเป็นเรื่องที่ก่อโทษ แต่ไหนๆ ก็ห้ามไม่ได้แล้ว ยังไงก็ต้องมีคนแอบทำ
ก็เลยเอามาทำให้มันถูกกฎหมายซะเลย จะได้ควบคุมได้ง่าย ได้เงินหมุนเวียน
ได้สร้างงาน .... ฯลฯ
ซึ่งผมก็พอเข้าใจคนที่คิดแบบนี้ แต่ก็มีหลายคนที่ไม่เห็นด้วย
เพราะมันเป็นเหมือนว่า เราทำแบบนี้ ก็เป็นการไปสนับสนุนสิ่งเหล่านี้โดยตรง
โดยอ้างว่า แก้ไม่ได้ ควบคุมไม่ได้ ก็เอามาทำให้มันเข้าระบบซะเลย
จะได้ควบคุมง่ายขึ้น มีรายได้เข้าประเทศ ฯลฯ
ฝ่ายที่ 2. มองตรงข้ามกับฝ่ายแรก คือ ในเมื่อมันก่อโทษ เราต้องหาทางลดทอนมันให้ได้มากที่สุด
ถึงแม้มันจะไม่ได้หมดไปเป็น 0% แต่ก็ไม่ควรไปสนับสนุนให้มันแพร่หลาย เข้าถึงง่าย
แล้วมาอ้างว่า จะเอารายได้เหล่านี้มาชดเชยปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม มันไม่คุ้มกันแน่ๆ
...รวมทั้ง การไม่พยายามลดทอนปัญหาอย่างจริงจัง แต่มักง่าย โดยคิดว่า ในเมื่อแก้ไม่ได้
ก็เอามาทำให้ถูกกฎหมายเลย โดยคิดว่าจะควบคุมมันได้ง่ายกว่า
แต่จริงๆ แล้ว มันยิ่งทำให้เรื่องพวกนี้เข้าถึงได้ง่าย ปัญหาจะบานปลายหนักกว่าเดิม
.... ฯลฯ
----------------------------------------
คือ ผมก็รับรู้มาทั้งสองแนวคิดที่ต่างกันนี้ และก็เข้าใจว่า ต่างฝ่ายก็มีเหตุผล
ผมเองก็อยากรู้ว่า แล้วแนวทางพุทธล่ะ มองเรื่องพวกนี้ว่ายังไง?
อยากได้คำแนะนำว่า พระพุทธองค์ทรงได้กล่าวถึงเรื่องพวกนี้ หรือเรื่องที่สามารถเทียบเคียงเกี่ยวข้องกัน
ว่าเราควรรับมือเรื่องพวกนี้ยังไง?
...เราควรสนับสนุนเรื่องที่เป็นอกุศล ก่อโทษต่อสังคม โดยอ้างว่า ไม่สามารถขจัดปัญหานี้ให้หมดไปได้
ก็เลยเอามาสร้างประโยชน์ด้านอื่นๆ ทดแทน
หรือ อีกแนวคิดนึง คือ ในเมื่อพิจารณาแล้วว่ามันเป็นโทษ เราต้องลดทอนมัน ขัดเกลา ใช้ความเพียรในการว่ายทวนน้ำ
ไม่ใช่ลอยตามน้ำไปตามค่านิยมของสังคม หรือไหลไปตามข้ออ้างของกิเลส ???
ขอย้ำว่า ในฐานะปุถุชนทั่วไป แต่ละคนก็จะเห็นด้วยหรือเห็นต่างกันได้ครับ นานาจิตตัง
แต่ผมอยากได้คำแนะนำที่ระบุไว้ในตำราครับ รบกวนท่านผู้รู้หน่อยนะครับ
ว่า การรับมือกับเรื่องเหล่านี้ พระพุทธองค์ทรงแนะนำไว้ในเรื่องราวใดๆ ในตำราบทไหน??
ขอบคุณครับ
** มีการแก้ไขคำผิดครับ